นภาเดช ธูปะเตมีย์
นภาเดช ธูปะเตมีย์ | |
---|---|
![]() | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565 | |
ก่อนหน้า | แอร์บูล สุทธิวรรณ |
ถัดไป | อลงกรณ์ วัณณรถ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565 | |
ก่อนหน้า | แอร์บูล สุทธิวรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มกราคม พ.ศ. 2505 |
บิดา | ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ |
มารดา | วนิดา ธูปะเตมีย์ |
คู่สมรส | ปัญญดาว ธูปะเตมีย์ |
บุตร | กนกนันท์ ธูปะเตมีย์ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21 โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 28 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 71 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 58 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ชื่อเล่น | ป้อง |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | ![]() |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศไทย กองบิน 23 ฝูงบิน 103 |
พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ (ชื่อเล่น: ป้อง) เป็นนายทหารอากาศชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศไทย คนที่ 28[1][2]
นภาเดชเกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของพลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศไทย คนที่ 10 และคุณหญิงวนิดา ธูปะเตมีย์ นภาเดชจบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21 จากนั้น เข้าสู่โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 28 โดยดำรงตำแหน่งเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ เอฟ 5 และเอฟ 16 เป็นผู้บังคับฝูงบิน 103 ผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำปักกิ่ง ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้บังคับการกองบิน 23 รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ กระทั่ง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ[3][4][5]
ในช่วงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ นภาเดชกำลังพิจารณาจัดหาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่รุ่นเก่าที่ล้าสมัย โดยเสนอเครื่องบินขับไล่เอฟ-35 เพื่อมาทดแทนเอฟ-5 มีการริเริ่มตั้งโครงการในแผนงบประมาณของกองทัพอากาศในปี พ.ศ. 2566 เมื่อมีความต้องการและผลิตมากขึ้นทำให้ราคาลดต่ำลง ด้วยกลไกของการตลาดและการเมือง[6][7][8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2545 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2544 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รู้จัก 21 ข้อเด่น "บิ๊กป้อง" "พล.อ.อ.นภาเดช ธูปปะเตมีย์"ผบ.ทอ.คนใหม่
- ↑ เปิดโผ‘ปลัดกห.-ผบ.ทอ.-ทร.’ วรเกียรติ-นภาเดช-ธีรกุล ‘สุพจน์’จากกองทัพผงาดสมช.
- ↑ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ ๒๘
- ↑ เปิดปูม “พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปเตมีย์” ผบ.ทอ.ส้มหล่น ไอดอล “พ่อทัพฟ้า”
- ↑ ฟัง "บิ๊กป้อง" ย้อนอดีต โชว์อนาคต นำทัพฟ้า สู่กองทัพคุณภาพ ไร้แตกแยก
- ↑ กองทัพอากาศเปิดแผนเตรียมซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 เชื่อผู้ที่เข้าใจจะสนับสนุน เพราะซื้อเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
- ↑ ถอดรหัส ‘ยุทธการ F35’ ของ ‘บิ๊กป้อง 9 G’ ย้อนตำนาน Snowy กับแผนจัดทัพฟ้า และอนาคต Top 5 เสืออากาศ/รายงานพิเศษ
- ↑ ผบ.ทอ. เปิดแผนซื้อ เอฟ-35 เครื่องละ 2.7 พันล้าน เทคโนโลยีสูง เผยจังหวะดีราคาตก เชื่อทัวร์ไม่ลง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๒๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๓๒, ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๔๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- ↑ Ministry of Defence Singapore . Royal Thai Air Force Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 16 สิงหาคม 2565 สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566