ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
แห่เทียนเข้าพรรษา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย
เมืองใหญ่สุดนครราชสีมา
ภาษาลาวอีสาน, ไทย, เขมรเหนือ, กูย, พวน, ผู้ไท, ไทยโคราช, โส้, ญ้อ และอื่น ๆ
จังหวัด
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด168,855 ตร.กม. (65,195 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2565[1])
 • ทั้งหมด21,826,920 คน
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมคนอีสาน
ดัชนีการพัฒนามนุษย์
 • HDI (2019)0.758 (สูง) [2]
เขตเวลาUTC+7 (ประเทศไทย)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน (มาจากภาษาบาลี อีสาน, ภาษาสันสกฤต ईशान्य īśānya อีศานฺย แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ")[3] เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม

ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาลาวอีสาน ซึ่งเป็นภาษาสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหารอีสาน ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น

ภูมิศาสตร์[แก้]

จากภาพถ่ายดาวเทียมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะสามารถมองเห็นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชาได้ เนื่องจากการทำลายป่าที่มากขึ้นในภาคอีสาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครอบคลุมพื้นที่ 160,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของประเทศเยอรมนี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร โดยลาดเอียงมาจากทิวเขาเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันตกของภูมิภาค ลงไปยังแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภูมิภาค และทิศใต้กั้นประเทศกัมพูชาด้วยทิวเขาพนมดงรัก แอ่งโคราชจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ทิศเหนือของแอ่งโคราชจะจรดแอ่งสกลนครโดยมีเทือกเขาภูพานกั้นไว้ แอ่งสกลนครมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเลย และแม่น้ำสงคราม ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นทราย ประกอบกับแหล่งสะสมเกลือเป็นจำนวนมาก

ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบ บางส่วนเป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบึงกาฬ โดยมีจุดสูงสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ ยอดภูหลวง 1,835 เมตร เหนือระดับทะเลปานกลาง ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง (จังหวัดเลย)

เทือกเขาและแม่น้ำในภาคอีสาน

ลำน้ำสาขาหลักของแม่น้ำโขงในประเทศไทย ได้แก่ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี แม่น้ำมูลไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา และไหลไปทางทิศตะวันออก บรรจบกับแม่น้ำโขงในจังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำอีกสายหนึ่ง คือ แม่น้ำชี ซึ่งไหลผ่านตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่จะไหลไปทางใต้เพื่อบรรจบกับแม่น้ำมูลในจังหวัดศรีสะเกษ แม่น้ำเลย และแม่น้ำสงคราม ก็เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเช่นเดียวกัน โดยแม่น้ำเลยไหลไปทางทิศเหนือผ่านจังหวัดเลย และแม่น้ำสงครามไหลไปทางตะวันออกผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย

ช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ ตั้งแต่ 30.2 องศาเซลเซียส ถึง 19.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ คือ 43.9 องศาเซลเซียส ในจังหวัดอุดรธานี อุณหภูมิต่ำสุด คือ -1.4 องศาเซลเซียส ในจังหวัดสกลนคร[ต้องการอ้างอิง]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งหมด 20 จังหวัด ตามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[4] ได้แก่

ตราประจำ
จังหวัด
ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
กาฬสินธุ์ Kalasin 982,578 6,946.746 141.4
ขอนแก่น Khon Kaen 1,767,601 10,885.991 162.4
ชัยภูมิ Chaiyaphum 1,127,423 12,778.287 88.2
นครพนม Nakhon Phanom 703,392 5,512.668 127.6
นครราชสีมา Nakhon Ratchasima 2,628,818 20,493.964 126.0
บึงกาฬ Bueng Kan 385,053 4,305.000 89.4
บุรีรัมย์ Buri Ram 1,553,765 10,322.885 150.5
มหาสารคาม Maha Sarakham 962,665 5,291.683 180.0
มุกดาหาร Mukdahan 339,575 4,339.830 78.2
ยโสธร Yasothon 539,257 4,161.664 129.6
ร้อยเอ็ด Roi Et 1,309,708 8,299.449 157.8
เลย Loei 624,066 11,424.612 54.6
ศรีสะเกษ Si Sa Ket 1,452,472 8,839.976 164.3
สกลนคร Sakon Nakhon 1,122,905 9,605.764 116.9
สุรินทร์ Surin 1,381,761 8,124.056 170.1
หนองคาย Nong Khai 521,886 3,027.280 124.5
หนองบัวลำภู Nong Bua Lam Phu 502,868 3,859.086 130.3
อำนาจเจริญ Amnat Charoen 372,137 3,161.248 117.7
อุดรธานี Udon Thani 1,544,786 11,730.302 131.7
อุบลราชธานี Ubon Ratchathani 1,813,088 15,774.000 115.2

ประชากรศาสตร์[แก้]

ประชากรรวมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนประมาณ 21,781,418 คน ร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น จังหวัดดังกล่าวนี้มีเทศบาลนครที่มีชื่อเดียวกันกับจังหวัด เรียกกันว่า "สี่เมืองใหญ่ของอีสาน" ในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนประชากรในเทศบาลนครทั้งสี่ ได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมา 118,061 คน, เทศบาลนครอุดรธานี 116,870 คน, เทศบาลนครขอนแก่น 104,037 คน, และเทศบาลนครอุบลราชธานี 70,870 คน อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2553 มีเพียงร้อยละ 50 ของประชากรในภาคนี้อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีประชากรในเขตเทศบาลมากที่สุด ส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดน้อยที่สุด ดังนั้น ประชากรอีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่ในเขตชนบท แต่อาศัยอยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางเขตเมือง

ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีจำนวนผู้ใช้ภาษาอีสานประมาณ 15 ถึง 23 ล้านคน ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรถิ่นไทย ซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเขมร ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันทั่วไปเป็นทางการโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ แต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ ยังมีภาษาไทยสำเนียงโคราช ใช้พูดกันในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง มีผู้ใช้ราว 10,000 คน[5] มีตำแหน่งทางภาษาระหว่างภาษาลาวและภาษาไทยกลาง

มีชนกลุ่มน้อยชาวเขมรจำนวนมากกระจุกตัวอยู่ในทางตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ และผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามบางส่วนในจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม

นอกจากนี้ ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ดังนี้

ภาษา ตระกูลภาษา จำนวนผู้พูด จังหวัดที่มีการพูด
โซ่ (ทะวืง) ออสโตรเอเชียติก 750 สกลนคร
บรูตะวันออก ออสโตรเอเชียติก 5,000 สกลนคร
บรูตะวันตก ออสโตรเอเชียติก 20,000 มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
เขมรถิ่นไทย ออสโตรเอเชียติก 1,000,000 สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด
กูย ออสโตรเอเชียติก 300,000 สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา
ญัฮกุร ออสโตรเอเชียติก 1,500 นครราชสีมา ชัยภูมิ
ญ้อ ขร้า–ไท 50,000 สกลนคร หนองคาย นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร
เยอ ออสโตรเอเชียติก 200 ศรีสะเกษ
ผู้ไท ขร้า–ไท 156,000 นครพนม อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บึงกาฬ มุกดาหาร
พวน ขร้า–ไท 200,000 อุดรธานี เลย
แสก ขร้า–ไท 11,000 นครพนม
โส้ ออสโตรเอเชียติก 55,000 นครพนม สกลนคร หนองคาย กาฬสินธุ์
ไทดำ ขร้า–ไท 20,000 หนองคาย นครราชสีมา เลย (รวมถึงสระบุรี)
โย้ย ขร้า–ไท 5,000 สกลนคร

สถิติประชากรแบ่งตามจังหวัด[แก้]

อันดับ จังหวัด จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2558) [6]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2557) [7]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2556) [8]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [9]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [10]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [11]
1 นครราชสีมา 2,628,818 2,620,517 2,610,164 2,605,014 2,585,325 2,582,089
2 อุบลราชธานี 1,857,429 1,844,669 1,836,523 1,826,920 1,816,057 1,813,088
3 ขอนแก่น 1,798,014 1,790,049 1,781,655 1,774,816 1,766,066 1,767,601
4 บุรีรัมย์ 1,584,661 1,579,248 1,573,438 1,566,740 1,559,085 1,553,765
5 อุดรธานี 1,575,152 1,570,300 1,563,964 1,557,298 1,548,107 1,544,786
6 ศรีสะเกษ 1,468,798 1,465,213 1,462,028 1,458,370 1,452,203 1,452,471
7 สุรินทร์ 1,395,024 1,391,636 1,388,194 1,386,277 1,380,399 1,381,761
8 ร้อยเอ็ด 1,308,166 1,308,318 1,308,958 1,308,570 1,305,058 1,309,708
9 สกลนคร 1,142,737 1,138,609 1,134,322 1,129,174 1,123,351 1,122,905
10 ชัยภูมิ 1,138,252 1,137,049 1,135,723 1,133,034 1,127,423 1,127,423
11 กาฬสินธุ์ 985,203 984,907 984,030 985,084 981,655 982,578
12 มหาสารคาม 964,596 960,588 955,644 945,149 939,736 940,911
13 นครพนม 715,399 713,341 710,860 708,350 704,768 703,392
14 เลย 638,819 634,513 632,205 629,787 624,920 624,066
15 ยโสธร 540,182 540,211 540,383 540,267 538,853 539,257
16 หนองคาย 519,580 517,260 514,943 512,439 509,870 509,395
17 หนองบัวลำภู 510,074 508,864 507,137 505,071 502,551 502,868
18 บึงกาฬ 420,647 418,566 416,236 412,613 407,634 403,542
19 อำนาจเจริญ 376,382 375,380 374,698 373,494 372,241 372,137
20 มุกดาหาร 348,101 346,016 344,302 342,868 340,581 339,575
รวม 21,916,034 21,845,254 21,775,407 21,701,335 21,585,883 21,573,318

เมืองใหญ่สุด[แก้]

รายชื่อเมืองใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 อันดับแรก เรียงตามจำนวนประชากร

การศึกษา[แก้]

สถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้

สาธารณสุข[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A

โรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S

การขนส่ง[แก้]

ทางราง[แก้]

ทางอากาศ สนามบิน[แก้]

อาหาร[แก้]

ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมการกินหลากหลายที่สุดของประเทศไทย ดังตัวอย่างประเภทอาหารต่อไปนี้

  • ข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมขึ้นชื่อที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก[ต้องการอ้างอิง] นิยมปลูกกันมากในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และนครราชสีมา
  • ปลาแดก คืออาหารที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากกว่า 5,000 ปี[ต้องการอ้างอิง] โดยการนำปลาหรือสัตว์ชนิดอื่น เช่น อึ่งอ่าง มาหมักกับเกลือและรำข้าวหรือข้าวคั่ว ใช้เป็นอาหารและเครื่องปรุงรส
  • ปลาร้าหลน หรือหลนปาแดก คือการนำปลาร้าเป็นตัว ขนาดใหญ่พอประมาณนำไปทอดในกระทะให้สุก นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว เครื่องเคียง เช่น พริกสด โหระพา กระเทียม
  • ข้าวจี่ คือนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนโรยเกลือเสียบไม้ นำไปย่างไฟ แล้วทาทับด้วยไข่ น้ำผึ้ง หรือน้ำตาล
  • ปลาร้าบอง หรือปาแดกบอง คือการนำปลาร้าเป็นตัวมาสับให้ละเอียดพร้อมกับใส่เครื่องปรุง เช่น ตะไคร้ พริก หอม กระเทียม ใบมะกรูด
  • ลาบ เช่น ลาบหมู, ลาบไก่, ลาบซี้น, ลาบเนื้อ, ลาบควาย, ลาบไข่มดแดง, ลาบปลาตอง[13]
  • น้ำตก มีลักษณะเหมือนกับลาบทุกประการ ต่างกันเพียงแค่ไม่ใช้เนื้อสับแต่จะใช้เนื้อย่างหั่นเป็นชิ้น ๆ แทน โดยมากนิยมใช้เนื้อหมูย่างหรือเนื้อวัวย่าง
  • ไข่มดแดง
  • แกงอ่อม หรืออ่อม
  • แกงเห็ด
  • ก้อย
  • แกงผักหวานไข่มดแดง
  • หม่ำเนื้อ
  • ข้าวเหนียวไก่ย่าง
  • ส้มตำ หรือตำบักหุ่ง
  • เลือดแปลง
  • หมก คืออาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยมใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผัก และหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ
  • เนื้อหมูแห้งแดดเดียว
  • เนื้อวัวแห้งแดดเดียวหรือซี้นแห้ง
  • ซกเล็ก
  • ซั่ว เช่น ซั่วไก่
  • เอาะ เช่น เอาะกะปู
  • เหนี่ยน เช่น เหนี่ยนบักเขีย เหนี่ยนบักมี่
  • ป่น เช่น ป่นปลา ป่นกบ มีทั้งป่นแห้งและป่นน้ำ
  • ซุบ เช่น ซุบหน่อไม้
  • แจ่ว คือน้ำพริกอีสาน เช่น แจ่วปลา แจ่วกุ้ง แจ่วหมากเผ็ด แจ่วบอง
  • แจ่วฮ้อน คือจิ้มจุ่มอีสาน
  • ซิ้นดาด คือหมูกระทะอีสาน
  • เข้าหลาม คือข้าวหลาม
  • เข้าปุ้น คือขนมจีนอีสาน รับประทานกับน้ำยาประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำนัว (น้ำปลาร้า) น้ำยาป่า น้ำยาโคราช น้ำงัว (เนื้อวัว) หรือรับประทานกับส้มตำประเภทต่าง ๆ เช่น ตำเข้าปุ้น ตำป่า ตำซั่ว (ตำซ่า) เป็นต้น
  • เข้าเปียก คือกวยจั๊บอีสานเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม
  • น้ำผัก
  • ยำสลัดลาว
  • แหนมเนือง คืออาหารที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม รับประทานใส่กะปิ ซอสหวาน ซีอิ๊วขาว และผักโหระพา
  • เฝอ คือก๋วยเตี๋ยวที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม บางท้องถิ่นรับประทานใส่ซอสพริก กะปิ ซีอิ๊วดำ บางท้องที่ใส่มะเขือเทศลงในน้ำซุป
  • หมาน้อยหรือหม้อน้อย
  • ต้ม เช่น ต้มส้ม ต้มไก่ ต้มแซบ ต้มยำ
  • ซ่า หรือซว่า
  • แกงกล้วย เป็นอาหารพื้นบ้านอีสานใต้
  • อ๋อหรือเอาะ ใช้น้ำน้อยกว่าอ่อม ใช้ผักและเนื้อสัตว์เคล้ากับน้ำพริกแกง แล้วตั้งไฟให้สุก จนน้ำในผักและเนื้อซึมออกมา นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ลูกอ๊อดและเขียด ตัวอย่างเช่น อ๋อฮวก (ใช้ลูกอ๊อดของกบหรือเขียด), อ๋อหน่อไม้

ประเพณี[แก้]

  • ยึดตามแบบขนบฮีตสิบสอง ครองสิบสี่
  • ประเพณีผูกเสี่ยว จังหวัดขอนแก่น
  • ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
  • ประเพณีปราสาทขี้ผึ้ง จังหวัดสกลนคร
  • ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ประเพณีผีตาโขน จังหวัดเลย
  • ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
  • ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ประเพณีเลี้ยงผีฟ้า จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์และชาวอีสานตอนใต้
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
  • ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. "สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ". statbbi.nso.go.th. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  3. Klaus Glashoff. "Spoken Sanskrit". Spokensanskrit.de. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  4. http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378 ราชบัณฑิตยสถาน
  5. Schliesinger, Joachim (2001). "Chapter 2: Khorat Thai". Tai Groups of Thailand, Vol 2: Profile of the Existing Groups (eBook by BooksMango ed.). Bangkok: White Lotus Co, Ltd. pp. 7–12. ISBN 9781633232358. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.
  12. ฐานข้อมูลกรมการปกครอง
  13. lovethailand.org

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 16°N 103°E / 16°N 103°E / 16; 103