ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาโย้ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาโย้ย
ประเทศที่มีการพูดไทย, ลาว
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (6,000 คน อ้างถึง1990–1995)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3yoy

ภาษาโย้ย เป็นภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไท ผู้พูดภาษานี้ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย และในประเทศลาว มีผู้พูดในประเทศไทยประมาณ 50,000 คน (พ.ศ. 2547)[3] ปัจจุบันภาษาโย้ยตกอยู่ในสถานะใกล้สูญหายเนื่องจากการเปลี่ยนภาษาอย่างกระทันหัน ซึ่งอาจทำให้ภาษานี้สูญหายถาวร[4]

ภาษาโย้ยมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอีสานแต่ใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับอักษรธรรมลาวและอักษรไทน้อยซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านช้าง

การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์

[แก้]
การกระจายตัวของกลุ่มผู้พูดภาษาโย้ยในประเทศไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษาโย้ย ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Pittayaporn จัดให้อยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ แต่ไม่ได้ให้ข้อวิเคราะห์ที่สนับสนุน
  3. สุวิไล เปรมศรีรัตน์. แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย Ethnolinguistic maps of Thailand. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2547.
  4. Naiyapak, Phakkahn (2017). Phonology and Grammar Sketch of Yoy (วิทยานิพนธ์ Master of Arts). California State University, Long Beach.
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.