หมอลำ

หมอลำ (อีสาน: หมอลำ; ลาว: ໝໍລຳ) เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำพื้น ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง
คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ "หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ "ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลงมีต้นแบบมาจากเพลงลูกทุ่ง
ประเภทของหมอลำ[แก้]
หมอลำ นั้นจะมีประเภทของการแสดงซึ่งเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
หมอลำกลอน[แก้]
หมอลำกลอน เป็นหมอลำที่มีความเก่าแก่มาก และเป็นที่นิยมในอดีต ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวโดยจะมีการลำเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ชิงชู้ ชิงทรัพย์ เกี้ยวสาว บาปบุญคุณโทษ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาประเพณีของทางภาคอีสาน วรรณคดี ตำนานต่าง ๆ เป็นต้น และจะมีการพูดผญาแทรกเข้ามาระหว่างการลำด้วยทำให้เกิดความตลกขบขัน ซึ่งเป็นสีสันของการแสดง หมอลำกลอนจะประกอบไปด้วย หมอลำฝ่ายชาย หมอลำฝ่ายหญิง และหมอแคน ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการลำ คือ แคน ซึ่งใช้ในการกำกับจังหวะและดูลายในการลำ ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ มักจะจ้างไปในงานกฐิน และงานผ้าป่า เป็นต้น
โดยหมอลำกลอนที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน มีดังต่อไปนี้
- ทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2529
- เคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2534
- ฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2536 ไฟล์:ฉวีวรรณ ดำเนิน.jpgฉวีวรรณ ดำเนิน
- บุญเพ็ง ไฝผิวชัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2540
- บุญช่วง เด่นดวง ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2555 ไฟล์:หมอลำบุญช่วง เด่นดวง ศิลปินมรดกอีสาน.jpgบุญช่วง เด่นดวง
- ทองแปน พันบุปผา ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2561
หมอลำกลอนประยุกต์[แก้]
หมอลำเพลิน[แก้]
หมอลำหมู่[แก้]
ประเภทของทำนองการลำ[แก้]
การแสดงหมอลำ ยังมีการลำทำนองต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะการลำ ทำนอง และสังวาส ที่แตกต่างกันไปตามถิ่นต่าง ๆ ในภาคอีสาน มีดังนี้
ทำนองแบ่งตามจังหวะการลำ[แก้]
ลำทางสั้น[แก้]
ลำทางยาว[แก้]
ทำนองแบ่งตามท้องที่[แก้]
ทำนองขอนแก่น[แก้]
ทำนองกาฬสินธุ์-สารคาม[แก้]
ทำนองอุบล[แก้]
ทำนองเบ็ดเตล็ด[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- Alexander, Geoff. Introduction from The Academic Film Archive of North America. Accessed 13 May 2005.
- Broughton, Simon (ed). World Music Volume 2. Rough Guides (2000).
- Chawiwan Damnoen. Mo Lam Singing of Northeast Thailand (CD). World Music Library (1991).
- Compton, Carol. 1979. Courting poetry in Laos: a textual and linguistic analysis. Northern Illinois Center for Southeast Asian Studies.
- Miller, Terry E. (1998). Garland Encyclopedia of World Music Volume 4: Southeast Asia. Garland Science. ISBN 0-8240-6040-7.
- Miller, Terry E. Performing Isan-Style Lam in Laos: an Expression of Pan-Laoism or Thai Hegemony Accessed 13 May 2005.
- Miller, Terry E. (1985). Traditional Music of the Lao: Kaen Playing and Mawlam Singing in North-east Thailand. Greenwood Press. ISBN 0-313-24765-X.
- Mosel, James N. (1959). Sound and Rhythm in Thai and English Verse, Pasa lae Nangsue.
- Prayut Wannaudom The Collision between Local Performing Arts and Global Communication, in case Mawlum. Accessed 13 May 2005.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเพลง ดนตรี หรือ เครื่องดนตรีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดนตรี |