ภูลมโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูลมโล
ต้นนางพญาเสือโคร่ง
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,664 เมตร (5,459 ฟุต)
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้งจังหวัดเลย
เทือกเขาเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันตก

ภูลมโล เป็นเขาในทิวเขาเพชรบูรณ์ตะวันตกที่ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มี 2 ยอด สูง 1,365 เมตร และ 1,664 เมตร[1] โดยผาดรรชนีเป็นยอดสูงสุดของภูลมโล

คำว่า "ภูลมโล" ชาวบ้านกกสะทอน (ทางฝั่งเลย) ระบุว่า คำว่า "ภู" หมายถึงเขา คำว่า "โล" หมายถึง มากหรือเยอะ ภูลมโลจึงหมายถึงเป็นภูที่มีลมแรงพัดผ่านอยู่ตลอด (ทั้งปี) ส่วนชาวม้งบ้านร่องกล้า (ทางฝั่งพิษณุโลก) ระบุว่า ภูลมโล มาจากชื่อที่สมัยก่อนชาวบ้านเรียกเขาลูกนี้ว่า "ภูลงรู" หรือที่ภาษาม้งเรียกว่า "ตร๊งลงรู" อันหมายถึง ภูเขาที่มีน้ำไหลลงรู ก่อนที่ภายหลังจะเรียกเพี้ยนเป็น "ภูลมโล"[2]

ภูลมโลอยู่ในความดูแลของเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าบนพื้นที่รอยต่อของสามจังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และ เลย เป็นสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมักมาชมดอกนางพญาเสือโคร่งที่เยอะที่สุดในประเทศไทย ในพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ โดยมีต้นนางพญาเสือโคร่งนับหมื่นต้น โดยปกติจะบานในช่วงเดือน มกราคมของทุกปี[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๔ (อักษร ย-ฮ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง, ๒๕๖๑. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
  2. "ซากุระเมืองไทย "ภูลมโล" บานสะพรั่งสวยงามแล้ว เที่ยวได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป". ผู้จัดการออนไลน์.
  3. "ภูลมโล - อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า". ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ.