จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาญัฮกุร (ญัฮกุร: พาซา ญัฮกุร) เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยมอญ ถือว่าใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณในสมัยทวารวดี มีผู้พูดคือชาวญัฮกุรในจังหวัดนครราชสีมา เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ บางส่วนเริ่มเปลี่ยนมาพูดภาษาไทย
ภาษาญัฮกุรเดิมเป็นเพียงภาษาพูดไม่มีตัวเขียน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2548 ได้มีการสร้างระบบตัวเขียนขึ้นใหม่โดยใช้อักษรไทย และเพิ่มสัทอักษรสากล ʔ และรวบรวมคำศัพท์เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อไม่ให้สูญหาย มีพยัญชนะ 26 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 15 เสียง มีสระ 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน มีระบบการเติมหน่วยคำเติมแต่ปัจจุบันเหลือใช้ไม่มากนัก เรียงประโยคแบบประธาน–กริยา–กรรม
- หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
- หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 16 หน่วยเสียง ได้แก่ /bl/, /pr/, /pʰr/, /pʰl/, /tr/, /tʰr/, /tʰl/, /cr/, /cl/, /cʰr/, /kr/, /kl/, /kw/, /kʰr/, /kʰl/ และ /kʰw/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น นอกเหนือจากนี้จะกลายเป็น 2 พยางค์โดยมี /a/ คั่นกลาง
- พยางค์นาสิกจะตามด้วยพยัญชนะในฐานเดียวกัน เช่น /m̩p/, /n̩t/ ฯลฯ (ดูหมายเหตุท้ายตารางด้านล่าง)
- ผู้พูดรุ่นใหม่อาจออกเสียง /cʰ/ เป็น [s]
- หน่วยเสียง /f/ และ /s/ พบในคำยืมจากภาษาไทย โดยผู้พูดรุ่นเก่าจะออกเสียง /f/ เป็น [kʰw] เช่น /faj.faːʔ/ > [kʰwaj.kʰwaːʔ] 'ไฟฟ้า, ไฟฉาย'
- หน่วยเสียง /ç/ เกิดในตำแหน่งท้ายพยางค์เท่านั้น
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่ จังหวัดชัยภูมิ[3]
ระดับลิ้น
|
ตำแหน่งลิ้น
|
หน้า
|
กลาง
|
หลัง
|
สูง
|
i, iː |
ɯ, ɯː |
u, uː
|
กึ่งสูง
|
e, eː |
ɤ, ɤː |
o, oː
|
กึ่งต่ำ
|
æ, æː |
ʌ |
ɔ, ɔː
|
ต่ำ
|
|
a, aː |
|
หน่วยเสียงสระประสมภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มี 3 หน่วยเสียง[3] ได้แก่ /ia/, /ɯa/ และ /ua/
ภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มีลักษณะน้ำเสียงที่ทำให้ความหมายของคำต่างกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะน้ำเสียงที่ 1 ซึ่งเป็นลักษณะน้ำเสียงปกติโดยมักออกเป็นเสียงสูง และลักษณะน้ำเสียงที่ 2 ซึ่งมักออกเป็นเสียงต่ำ[4] ในการถอดเสียงเป็นสัทอักษรใช้เครื่องหมาย ⟨◌̀⟩ หรือ ⟨◌̤⟩
ตัวเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้
พยัญชนะ
อักษรไทย/ สัญลักษณ์ |
เสียง |
ตัวอย่างคำ |
ความหมาย
|
ก |
/k/ |
กาʔ |
ปลา
|
วัก่ |
แขวน
|
ค |
/kʰ/ |
คุย่ |
กุ้ง
|
ง |
/ŋ/ |
เงียก่ |
ฟัน
|
ชวง |
ขวาน
|
จ |
/c/ |
จีญ |
ช้าง
|
คลีจ |
หมู
|
ช |
/cʰ/ |
ชุร |
หมา
|
ซ |
/s/ |
ซม |
ส้ม
|
/ç/ |
ลัซ่ |
ผลิใบ
|
ญ |
/ɲ/ |
แญ็น |
ใกล้
|
ปูญ |
นอน
|
ด |
/d/ |
ดิญ |
กระบอกไม้ไผ่
|
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) |
มัด่ |
นัยน์ตา
|
ต |
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) |
ตะดาจ |
หวาน
|
ท |
/tʰ/ |
ทีʔ |
เต่า
|
น |
/n/ |
เนจ่ |
ผ้า
|
กวน |
ลูก
|
บ |
/b/ |
บูน |
มีด
|
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) |
ทึบ่ |
โง่
|
ป |
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) |
โปง |
ข้าวสุก
|
พ |
/pʰ/ |
พอง่ |
ไข่
|
ฟ |
/f/ |
ฟัยฟาʔ |
ไฟฟ้า, ไฟฉาย
|
ม |
/m/ |
เมียว่ |
แมว
|
คะยาม่ |
จิ้งหรีด
|
ย |
/j/ |
ยุล ยุล |
ชะนี
|
ชาย่ |
แย้
|
ร |
/r/ |
รูย่ |
แมลงวัน
|
กะมุร |
หลังคา
|
ล |
/l/ |
ลูง่ |
พระสงฆ์
|
ตะบัล |
แก้ม
|
ว |
/w/ |
วีร |
กระด้ง
|
กาว |
ดอกไม้
|
อ |
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) |
อีญ |
อึ่งอ่าง
|
ฮ |
/h/ |
ฮุง |
ต่อ (แมลง)
|
ริฮ่ |
รากไม้
|
ฮง |
/ŋ̊/ |
ฮงุร |
กระบะไฟ
|
ฮน |
/n̥/ |
ฮนูย |
ลิง
|
ฮม |
/m̥/ |
ฮมุม |
หมี
|
ฮร |
/r̥/ |
แฮร็จ่ |
เกี่ยว (ข้าว)
|
ฮล |
/l̥/ |
ฮลี |
ข้าวโพด
|
ฮว |
/ʍ/ |
ฮวาซ่ |
ก้าว
|
ไม่มีรูป |
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย และตามหลังสระเสียงสั้น) |
เตะ |
นั้น
|
ควะ่ |
อาย
|
ʔ |
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย และตามหลังสระเสียงยาว) |
ฮึโลʔ |
หอย
|
ปาʔนาน |
ทำไม
|
- ฮง, ฮน, ฮม, ฮร, ฮล และ ฮว เป็นทวิอักษร
- พยางค์นาสิกเขียนแทนด้วยรูป ฮึ เช่น /m̩peːɲ/ ฮึเปญ 'เสือ',
/n̩taːm/ ฮึตาม 'ปู', /ɲ̍ciam/ ฮึเจียม 'นก', /ŋ̍kaːç/ ฮึกาซ 'ฟ้า'
|
สระ
อักษรไทย |
เสียง |
ตัวอย่างคำ |
ความหมาย
|
–ะ |
/a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย และอยู่ในคำหลายพยางค์ หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) |
ชะครุง่ |
หัวเราะ
|
ปะโตกปะตุล |
หกคะเมนตีลังกา
|
พะ่ |
พ่อ
|
–ั |
/a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย ที่ไม่ใช่ /ʔ/, /w/) |
ญัฮ |
คน, กลุ่มชน
|
ฮนับ |
ดี
|
–า |
/aː/ |
ฮนาʔ |
กระแต
|
–ิ |
/i/ |
ริฮ่ |
รากไม้
|
–ี |
/iː/ |
ฮนีด |
หวี
|
–ึ |
/ɯ/ |
บลึก |
แตงโม
|
–ื |
/ɯː/ |
ชุร่พืน่ |
แมงป่องช้าง
|
–ุ |
/u/ |
พรุจ่ |
ผักหวาน
|
–ู |
/uː/ |
ชูน |
ห้า
|
เ–ะ |
/e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) |
เตะ |
นั้น
|
เ–็ |
/e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) |
เพ็ฮ่ |
เธอ, คุณ
|
เ– |
/eː/ |
ฮึเปญ |
เสือ
|
แ–ะ |
/æ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) |
แคละ |
เละ
|
แ–็ |
/æ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) |
แช็ฮ |
ม้า
|
แ– |
/æː/ |
ชแร |
นาเปียก
|
โ–ะ |
/o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) |
ทะโมะ่ |
ฟัง
|
โ–็ |
/o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) |
โพ็ว |
เห่า
|
โ– |
/oː/ |
โปรก |
กระรอก
|
เ–าะ |
/ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) |
เมาะ |
สวย
|
–็อ |
/ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) |
จล็อฮ |
เปิดทางน้ำ
|
–อ |
/ɔː/ |
กะชอʔ |
บอก
|
เ–อะ |
/ɤ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) |
กะเทอะ่ |
ข้นคลั่ก
|
เ–อ |
/ɤː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) |
เนอ |
ใน
|
เ–ิ |
/ɤː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) |
เคิง |
ข้อง
|
เ–็อฺ |
/ʌ/ |
เต็อฺง |
ถือ
|
เ–า |
/aw/ |
เชา |
มดแดง
|
เ–ีย |
/ia/ |
เปรียง |
ควาย
|
เ–ือ |
/ɯa/ |
เลือย่ |
เลื่อย
|
–ัว |
/ua/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) |
นัว |
เข้มข้น (มีเนื้อมาก)
|
–ว– |
/ua/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) |
ควจ |
ผิวปาก
|
- ในกรณีที่รูปสระสั้นมีวิสรรชนีย์ประกอบ เช่น แคละ เมื่อมีพยัญชนะท้าย
(นอกเหนือจาก /ʔ/) ให้เปลี่ยนวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้ เช่น แช็ฮ
- ในกรณีที่พยัญชนะต้นควบปรากฏร่วมกับรูปสระหน้า เ, แ, โ
ในคำบางคำจะเลื่อนพยัญชนะตัวแรกไปไว้หน้ารูปสระนั้น เพื่อไม่ให้ เข้าใจผิดว่าพยัญชนะตัวที่สองเป็นพยัญชนะท้าย เช่น ชแร
- ไม่ใช้รูปสระ –ำ หรือ ไ– แต่ใช้รูป –ัม และ –ัย แทน
|
ลักษณะน้ำเสียง
อักษรไทย |
ลักษณะ น้ำเสียง |
ตัวอย่างคำ |
ความหมาย
|
ไม่มีรูป |
ปกติ |
ชุร |
หมา
|
ฮนีʔ |
หนู
|
กะเตาแด็ร |
ร้อนจัด
|
–่ |
ต่ำ |
ชุร่ |
แมลง
|
เคล็อฺง่ |
มาก
|
กะเทอะ่ |
ข้นคลั่ก
|
- เครื่องหมายแสดงลักษณะน้ำเสียงต่ำ
จะปรากฏเหนือรูปพยัญชนะหรือรูปสระท้ายพยางค์
- พยัญชนะ ʔ เติมเครื่องหมายแสดงลักษณะน้ำเสียง
ไว้ข้างบนไม่ได้ ให้ใส่บนตัวอักษรก่อนหน้านั้นแทน
|
- ↑ Nyah Kur at Ethnologue (18th ed., 2015)
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 24.
- ↑ 3.0 3.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 28.
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 31.
- อภิญญา บัวสรวง และสุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2541). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ญัฮกุ้ร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
|
---|
ภาษาราชการ | |
---|
กลุ่มภาษาไท | เชียงแสน | |
---|
ตะวันตกเฉียงเหนือ | |
---|
ลาว–ผู้ไท | |
---|
สุโขทัย | |
---|
กลุ่มอื่น ๆ | |
---|
|
---|
ชนกลุ่มน้อย ตามตระกูลภาษา | |
---|
ไม่ใช่ภาษาพื้นเมือง | |
---|
ภาษามือ | |
---|