โรงพยาบาลมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลมหาสารคาม
Mahasarakham Hospital
Seal of the Ministry of Public Health of Thailand.svg
ประเภทโรงพยาบาลประจำจังหวัด
ที่ตั้ง168 ถนนผดุงวิถี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2490
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้อำนวยการนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์
จำนวนเตียง580 เตียง[1]
แพทย์112 คน[2]
เว็บไซต์https://www.mkh.go.th/th/

โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประเภทโรงพยาบาลประจำจังหวัด ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตั้งอยู่ที่เลขที่ 168 ถนนผดุงวิถี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลมหาสารคาม เริ่มการก่อสร้างในปี 2490 บนเนื้อที่ 12 ไร่เศษ ตั้งอยู่เลขที่ 168 ถนนผดุงวิถี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยได้รับโอนที่ดินจากสถานีสุขศาลา เทศบาลเมืองมหาสารคามเป้นสถานที่ในการก่อสร้าง เพื่อสกัดกั้นผู้ป่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดมิให้ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในการขอรับบริการที่มีคุณภาพจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร และเพื่อรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจังหวัดอื่นๆ ที่มีอยู่โดยรอบ

โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในวันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน 2548 จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล[3] และทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท โดยมียุทธศาสตร์เริ่มต้นคือ รับจากชนบท เรียนที่ชนบท และกลับสู่ชนบท และได้ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับเพื่อการศึกษา ขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ 2-3 เรียนร่วมกับชั้นปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนในชั้นคลินิกปีที่ 4-6 เรียนที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) สาขาวิชาแพทยศาสตร์

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม

อ้างอิง[แก้]

  1. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, สถานที่และเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม 22 สิงหาคม 2564.
  2. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาสารคาม 22 สิงหาคม 2564.
  3. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, ประวัติสถานพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม เก็บถาวร 2021-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 22 สิงหาคม 2564.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]