ข้ามไปเนื้อหา

ที่ราบสูงโคราช

พิกัด: 15°40′N 103°10′E / 15.667°N 103.167°E / 15.667; 103.167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่ราบสูงโคราช
ทิวทัศน์ของที่ราบสูงโคราช
ทิวทัศน์ของที่ราบสูงโคราช
แผนที่ของที่ราบสูงโคราช
แผนที่ของที่ราบสูงโคราช
ประเทศไทย
ความสูง200 เมตร (700 ฟุต)

ที่ราบสูงโคราช หรือ แอ่งโคราช เป็นที่ราบสูงในภาคอีสานของประเทศไทย ได้ชื่อมาจากชื่อสั้นของจังหวัดนครราชสีมา

ภูมิศาสตร์

[แก้]

บริเวณนี้มีความสูงเฉลี่ย 200 เมตร และกินพื้นที่ 155,000 ตารางกิโลเมตร ที่ราบสูงคล้ายรูปจานรองแบ่งออกด้วยทิวเขาภูพานไปเป็น 2 ลุ่มน้ำ: ลุ่มน้ำสกลนครทางเหนือ และลุ่มน้ำโคราชทางใต้ ที่ราบสูงนี้เอียงจากมุมตะวันตกเฉียงเหนือที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 213 เมตร (700 ฟุต) ไปยังฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสูงแค่ประมาณ 62 เมตร (200 ฟุต) ยกเว้นบริเวณเนินเขาในมุมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นดินเป็นลูกคลื่นบาง ๆ เป็นหลัก ส่วนใหญ่มีความสูงหลากหลายตั้งแต่ 90–180 เมตร (300–600 ฟุต) เอียงจากทิวเขาเพชรบูรณ์ทางตะวันตกตอนล่างไปยังแม่น้ำโขง[1]:1 ที่ราบสูงนี้มีแม่น้ำมูลกับแม่น้ำชีไหลผ่านไปสมทบกับแม่น้ำโขง ซึ่งทำให้เกิดชายแดนภาคอีสานขึ้น โดยทิศตะวันตกมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นกั้นกับภาคกลางของไทย เทือกเขาสันกำแพงในทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิวเขาพนมดงรักในทิศใต้ ทั้งหมดนี้ทำให้การเข้าถึงที่ราบสูงอดีตมีความยากลำบาก

ธรณีวิทยา

[แก้]

ที่ราบสูงถูกยกตัวจากที่ราบของเศษอนุทวีปซิมเมเรีย และศิลาภูมิประเทศ เช่นศิลาภูมิประเทศรัฐฉาน–ไทย ซึ่งน่าจะอยู่ในสมัยไพลสโตซีนหรือสมัยโฮโลซีนตอนต้น[2] ประมาณปีที่ 1 ของปฏิทินโฮโลซีน พื้นผิวของที่ราบสูงส่วนใหญ่ในตอนนั้นเป็นศิลาแลง แต่การจัดอันดับดินตามประเภทของออกซิซอล (oxisol) มีประโยชน์มากต่อเกษตรกรรม หรือดินยโสธรที่ก่อตัวภายใต้สภาวะเขตร้อนชื้นในยุคเทอร์เชียรีตอนต้น Xanthic ferralsols ในบริเวณโคราชและอุบลมีสีเหลืองอ่อนถึงน้ำตาล ก่อให้เกิดดินที่ราบลุ่มคล้ายกับดินน้ำตาลในยุโรป.[3]

โบราณคดี

[แก้]

สถานที่หลายแห่งในประเทศไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์ถูกพบในที่ราบสูง เช่น พระธาตุสำริดบางส่วนจากวัฒนธรรมดงเซิน แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงของแหล่งมรดกโลกที่ค้นพบใน พ.ศ. 2509 เป็นหลักฐานว่ายุคสัมฤทธิ์เริ่มขึ้นในช่วงประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ไม่มีหลักฐานในด้านอาวุธ จึงทำให้มันมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุคสัมฤทธิ์ในทวีปยุโรปกับส่วนอื่นของโลก[4] บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมขนาดใหญ่ จนกระทั่งถูกทิ้งไปประมาณ ค.ศ. 200 CE ไม่มีใครตั้งรกรากจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โนนนกทาในอำเภอภูเวียงเป็นหลักฐานการตั้งถิ่นฐานในยุคโลหะช่วงประมาณ 1420 ถึง 50 ปีก่อนคริสตกาล

บริเวณนี้เคยตกเป็นของอาณาจักรทวารวดี และต่อมาจักรวรรดิเขมร โดยไม่ได้มีเพียงสถานที่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังมีบ้านพักรับรองกับห้องสมุด และรวมไปถึงบาราย (แหล่งเก็บน้ำ)[5] ชาลส์ ฮิกแฮม นักโบราณคดีกล่าวว่า "...เรายังคงไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณและการการปรากฏตัวหรืออีกอย่างหนึ่งคือรัฐในที่ราบสูงโคราช" ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 11 เมืองเสมากับเมืองฟ้าแดดเป็นที่รู้จักจากสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เช่น ใบเสมาที่เมืองฟ้าแดด[6]: 312–316 

ประวัติศาสตร์

[แก้]

มีข้อมูลน้อยมากในศตวรรษที่มีชื่อว่ายุคมืดของกัมพูชา แต่ดูเหมือนว่าที่ราบสูงส่วนใหญ่จะถูกทำลายไปแล้ว ใน ค.ศ. 1718 ชาวลาวคนแรกในหุบเขาแม่น้ำชีถูกพบในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน โดยเป็นข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่รับใช้สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรแห่งอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Keyes, Charles F (March 1967). "Isan: Regionalism in Northeastern Thailand". Cornell Thailand Project; Interim Reports Series, No. 10 (PDF). Ithaca: Department of Asian Studies, Cornell University. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
  2. Bunopas, Sangad; Vella, Paul (17–24 November 1992). "Geotectonics and Geologic Evolution of Thailand" (PDF). Bangkok: National Conference on Geologic Resources of Thailand: 224. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 August 2011. ...latest Pleistocene early to the Recent regional uplifting must have occurred. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Lofjle, E; Kubiniok, Jochen (1996). "Landform Development and Bioturbation on the Khorat Plateau, Northeast Thailand". Natural History Bulletin of the Siam Society. 44: 199–216. สืบค้นเมื่อ 2 April 2016.
  4. K. Kris Hirst. "Ban Chiang, Thailand Bronze Age Village and Cemetery". About.com. สืบค้นเมื่อ 28 Dec 2010.
  5. Werner, Ulrich. "Thailand's Ancient Civilizations, Isaan Heartland". Your Guide to Thai Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 2 April 2016.
  6. Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443
  7. Brow, James (1976), "Population, land and structural change in Sri Lanka and Thailand", Contributions to Asian studies, Kogan Page (9): 47, ISBN 90-04-04529-5

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

15°40′N 103°10′E / 15.667°N 103.167°E / 15.667; 103.167