ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น
ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน | |||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ (ศุลกากร) | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน | ||||||||||
พื้นที่บริการ | จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดมหาสารคาม | ||||||||||
ที่ตั้ง | ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น | ||||||||||
เปิดใช้งาน | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 | ||||||||||
ฐานการบิน | ไทยแอร์เอเชีย | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 670 ฟุต / 204 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 16°27′59.86″N 102°47′01.18″E / 16.4666278°N 102.7836611°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | https://minisite.airports.go.th/khonkaen/ | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2566) | |||||||||||
| |||||||||||
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th |
ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น หรือ สนามบินขอนแก่น (IATA: KKC, ICAO: VTUK) ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ขอนแก่น – เลย) 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ 1,113 ไร่ เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[2] โดยอาคารผู้โดยสารปัจจุบันรองรับได้ 2,500 คนต่อชั่วโมง หรือ 5 ล้านคนต่อปี[3]
ปัจจุบันสายการบินไทยแอร์เอเชียได้เลือกท่าอากาศยานขอนแก่นเป็นฮับการบินของภาคอีสาน[4] และทางท่าอากาศยานขอนแก่นได้เร่งขยายท่าอากาศยาน ทั้งอาคารผู้โดยสาร รันเวย์ และส่วนต่าง ๆ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ[5]
ประวัติ
[แก้]ท่าอากาศยานขอนแก่น เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็กๆ แห่งหนึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น มีขนาดทางวิ่งเป็นดินลูกรัง ขนาดกว้าง 30 เมตร และยาว 1,300 เมตร ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารเครื่องช่วยการเดินอากาศ การให้สัญญาณเครื่องบินขึ้น – ลง โดยใช้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลท่าอากาศยาน และธงเขียวแดงให้สัญญาณ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยนักบินก็จะนำเครื่องบินลง
รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีความเจริญทัดเทียมกับภาคอื่น ๆ ของประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของภาค และให้เป็นศูนย์กลางพัฒนาที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของภาค สามารถเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ ได้สะดวกโดยทางรถยนต์ และรถไฟในบางจังหวัด แต่ยังขาดการเดินทางโดยทางเครื่องบินซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ต้องการความรวดเร็ว ความคล่องตัว การเดินทางโดยเครื่องบินจึงมีความจำเป็นและเห็นสมควรให้เปิดการบินพาณิชย์ขึ้น โดยการให้มีการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่นที่เดิมแต่ไม่เหมาะสมที่จะขยายปรับปรุง อีกทั้งอยู่ในเขตชุมชนจะทำให้ขยายตัวเมืองไม่ได้ ประกอบกับส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดก็มีมากขึ้น ไม่มีที่ปลูกที่ทำการจึงได้ให้จังหวัดขอนแก่นจัดหาที่ดินแห่งใหม่เพื่อทำการก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่ทดแทนท่าอากาศยานเดิม โดยมีข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม (โดยกองทัพอากาศ) ในที่สุดก็เลือกได้ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณะ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร และเป็นที่เหมาะสมที่จะสร้างท่าอากาศยานได้
ในปี พ.ศ. 2505 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ได้เป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบในการก่อสร้างท่าอากาศยานขอนแก่นขึ้นใหม่ โดยเริ่มปลูกสร้างคือ อาคารที่ทำการและที่พักผู้โดยสารชั่วคราว(ลักษณะเป็นเรือนไม้) โรงเก็บเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า โรงจอดรถยนต์ ทางวิ่งเครื่องบินมีขนาดกว้าง 30 เมตร และยาว 1,000 เมตร ลานจอดขนาดกว้าง 60 เมตร และยาว 90 เมตร พื้นที่ลาดยางแอสฟัลต์
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบิน ดักลาส ดีซี-3 บรรจุผู้โดยสาร 28 ที่นั่ง ทำการบินเส้นทางกรุงเทพฯ – ขอนแก่น – อุดรธานี – นครพนม – อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินกิจการขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ ซึ่งเป็นเส้นทางทำการบินมายังจังหวัดขอนแก่นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ท่าอากาศยานขอนแก่นได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานอนุญาตตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2506 และต่อมาประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2534[6]
ปัจจุบันท่าอากาศยานขอนแก่น มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการ ทั้งขาเข้าและขาออก รวมกว่า 4,000 คนต่อวัน หรือ 1.8 ล้านคนต่อปี ซึ่งเกินขีดความสามารถของตัวอาคารหลังเดิมซึ่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่นได้เปิดใช้อาคารผู้โดยสารส่วนที่ต่อเติมขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก[7]
อาคารสถานที่
[แก้]
อาคารผู้โดยสาร
[แก้]อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานหลังปัจจุบัน เป็นอาคารสูง 4 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 44,500 ตารางเมตร รับรองผู้โดยสารได้สูงสุด 2,500 คน/ชั่วโมง หรือประมาณ 5,000,000 คน/ปี[3] มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [8]
- ชั้น G - ศูนย์อาหาร บริการรรถเช่า รถแท็กซี่
- ชั้น 1 - ผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศ ร้านของฝาก ร้านกาแฟ รวมถึงบริการรถเช่า และตู้ ATM
- ชั้น 2 - ผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ ร้านของฝาก ร้านกาแฟ ขอนแก่นซิตี้บัส
- ชั้น 3 - ศูนย์อาหาร (ยังไม่เปิดเป็นทางการ) สำนักงานสายการบินและสำนักงานของกรมท่าอากาศยาน
ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)
[แก้]- ท่าอากาศยานขอนแก่นมีทางวิ่ง 1 เส้น ขนาดความกว้าง 45 เมตร และความยาว 3,050 เมตร
- ท่าอากาศยานขอนแก่นมีทางขับ 3 เส้นได้แก่ A,B และ C[9]
- ลานจอดอากาศยานหมายเลข 1 (หน้าอาคารผู้โดยสาร) ขนาดกว้าง 144 เมตร และยาว 600 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาด Airbus A320/Boeing 737 จำนวน 12 ลำ[10]
- ลานจอดอากาศยานหมายเลข 2 (หน้าอาคารหลังเก่า) ขนาดกว้าง 80 เมตร และยาว 180 เมตร สามารถจอดเครื่องบิน โบอิง 737-400 จำนวน 2 ลำ
แผนการพัฒนาท่าอากาศยาน
[แก้]เนื่องจากมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความแออัด กระทรวงคมนาคมจึงได้อนุมัติงบประมาณในการปรับปรุงท่าอากาศยานขอนแก่น วงเงิน 2,200 ล้านบาท ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยแยกเป็น การก่อสร้างอาคารจอดรถหลังใหม่ 7 ชั้น และปรับปรุงอาคารจอดรถหลังเดิมให้สามารถรองรับรถยนต์ได้มากกว่า 1,000 คัน และอาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดิมแต่จะปรับปรุง และขยายขนาดตัวอาคารเก่าออกไป เป็น 45,500 ตารางเมตร โดยมีบันไดเลื่อนในปัจจุบันเป็นจุดกึ่งกลางของอาคารผู้โดยสารใหม่ เป็นอาคาร 3 ชั้น แบ่งเป็น
- ชั้น G ศูนย์อาหารและบริการรถแท็กซี่มิเตอร์
- ชั้นที่ 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า ร้านค้า จุดบริการตำรวจท่องเที่ยวขอนแก่นและตำรวจบ้านเป็ด
- ชั้นที่ 2 อาคารผู้โดยสารขาออก ประชาสัมพันธ์ สำนักงานจำหน่ายบัตรโดยสาร เคาน์เตอร์เช็คอิน 24 จุด ร้านค้า รวมทั้งโถงผู้โดยสารขาออกหลังจากตรวจบัตรโดยสารแล้ว นอกจากนี้ยังมีที่ทำการของศุลกากร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สำหรับฝั่งผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ
- ขั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานสายการบิน และสำนักงานของกรมท่าอากาศยาน
ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561[11] โดยก่อสร้างในฝั่งต่อเติมทิศใต้และเปิดใช้ในที่ 2 กันยายน 2564 ส่วนฝั่งอาคารหลังเก่าทำการปรับปรุงและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2566 โดยอาคารผู้โดยสารใหม่นี้จะสามารถรองรับให้บริการผู้โดยสารได้มากกว่า 5.5 ล้านคนต่อปี [12] ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ Airbus A330 , Boeing 777 รวมไปถึงเครื่องบินขนาดกลาง อย่าง Airbus A320 และ Boeing 737 สำหรับการบินต่างประเทศ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ท่าอากาศยานขอนแก่น มีสะพานเทียบเครื่องบินถึง 4 สะพาน กลายเป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยานยังได้ขอรับงบประมาณปี 2564 [13] ในการขยายลานจอดอากาศยานและแท็กซี่เวย์ เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยาน Code C เพิ่มขึ้นจาก 5 ลำ เป็น 12 ลำ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ.2565 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 [14]
รายชื่อสายการบิน
[แก้]รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
การบินไทย | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | เคาน์เตอร์ 9-11 |
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | เคาน์เตอร์ 12-15 |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | เคาน์เตอร์ 21-24 |
กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | เคาน์เตอร์ 21-24 | |
เชียงใหม่ | เคาน์เตอร์ 21-24 | |
ภูเก็ต | เคาน์เตอร์ 21-24 | |
หาดใหญ่ ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต | เคาน์เตอร์ 21-24 | |
ไทยไลอ้อนแอร์ | กรุงเทพ-ดอนเมือง | เคาน์เตอร์ 16-18 |
นกแอร์ | หาดใหญ่ | เหมาลำทหาร/ตำรวจ |
รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
การบินไทย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
วัน-ทู-โก | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
แองเจิลแอร์ไลน์ | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
นกมินิ | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
กานต์แอร์ | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | ภายในประเทศ |
ลาวเซ็นทรัล แอร์ไลน์ | หลวงพระบาง | ระหว่างประเทศ |
นิวเจนแอร์เวย์ | หาดใหญ่ | ภายในประเทศ เช่าเหมาลำ[15] |
ไทยแอร์เอเชีย | อู่ตะเภา | ภายในประเทศ |
นกแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
ไทยสมายล์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง,กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | ภายในประเทศ |
บางกอกแอร์เวย์ส | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | ภายในประเทศ |
สถิติ
[แก้]ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
[แก้]ปี (พ.ศ.) | ผู้โดยสาร | ความเปลี่ยนแปลง | จำนวนเที่ยวบิน | คาร์โก้ (ตัน) |
---|---|---|---|---|
2544 | 386,883 | 2,803 | 1,068.71 | |
2545 | 374,556 | 3.19% | 2,942 | 1,018.75 |
2546 | 387,062 | 3.34% | 2,923 | 1,179.52 |
2547 | 507,641 | 31.15% | 3,103 | 1,319.85 |
2548 | 460,067 | 9.37% | 2,529 | 1,244.10 |
2549 | 386,439 | 16.09% | 2,308 | 1,173.76 |
2550 | 389,800 | 0.87% | 2,374 | 950.66 |
2551 | 387,358 | 0.63% | 2,120 | 1,022.98 |
2552 | 397,645 | 2.66% | 2,176 | 1,254.99 |
2553 | 391,421 | 1.57% | 2,375 | 1,498.12 |
2554 | 456,115 | 16.53% | 2,272 | 1,798.03 |
2555 | 523,340 | 14.74% | 2,786 | 1,824.61 |
2556 | 592,252 | 13.17% | 3,512 | 1,887.31 |
2557 | 957,446 | 61.66% | 6,890 | 1,768.23 |
2558 | 1,280,942 | 33.16% | 10,363 | 1,725.75 |
2559 | 1,509,234 | 17.82% | 12,263 | 2,084.40 |
2560 | 1,703,356 | 12.86% | 13,069 | 1,369.81 |
2561 | 1,864,127 | 9.44% | 13,753 | 694.74 |
2562 | 1,881,446 | 0.93% | 14,055 | 606.26 |
2563 | 1,123,966 | 40.26% | 9,732 | 329.69 |
2564 | 545,911 | 51.43% | 4,612 | 184.47 |
2565 | 1,408,282 | 157.97% | 10,260 | 288.187 |
2566 | 1,619,275 | 14.98% | 11,241 | 279.202 |
การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน
[แก้]ท่าอากาศยานขอนแก่นตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสาย 12 (ขอนแก่น – เลย) 2 กิโลเมตร ซึ่งห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร มีอาคารจอดรถหลังที่ 1 ซึ่งสูง 5 ชั้น สามารถจอดรถยนต์ได้ 450 คัน และอาคารจอดรถหลังที่ 2 สูง 7 ชั้น สามารถจอดรถยนต์ได้ 550 คัน และมีจุดจอดรถจักรยานยนต์ ข้างอาคารผู้โดยสาร [17][18]
ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่าอยู่หน้าทางออกจากบริเวณสายพานรับกระเป๋า และบริการแท็กซี่ของท่าอากาศยานซึ่งอยู่บริเวณทางออกไปยังอาคารจอดรถหลังที่ 1[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "สนามบินอีสานรุ่ง-ขานรับ CLMV พลิกโฉม "ขอนแก่น" ในรอบ 20 ปี". ประชาชาติธุรกิจ. 14 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แอร์เอเชียดันขอนแก่นศูนย์กลางการบินภูมิภาค บินเชื่อมขอนแก่นมากสุดในอีสาน". ขอนแก่นลิงก์. 20 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เผยโฉมสนามบินขอนแก่น ทุ่มงบสร้างกว่า 2 พันล้านบ. ยกระดับสู่สนามบินนานาชาติ". มติชนออนไลน์. 24 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติความเป็นมาบนเว็บไซต์กรมท่าอากาศยาน". สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คลายล็อกโควิด! สนามบินขอนแก่นเปิดใช้อาคารผู้โดยสารหลังใหม่". 2 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ https://web.facebook.com/kkc.airport/posts/pfbid021TnEhKv9h3Z2n1DYhqPNC62iX2iZ9Td1sRrACFSiTuhDnw97TpPe3LC3KLp1rBPpl?_rdc=1&_rdr#
- ↑ "ข้อมูลทั่วไปท่าอากาศยานขอนแก่น". สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ https://aip.caat.or.th/2024-11-28-AIRAC/html/index-en-GB.html?fbclid=IwY2xjawGm0HNleHRuA2FlbQIxMAABHdxX1Iwcu0c7HjzZSCe0IZ7J_tBk8sME3WyCobMnofcxiEQtM5IobDn-jw_aem_sre8rzl7oZmI3hZ9GZ7jUg
- ↑ "สร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ สนามบินขอนแก่น คาดให้บริการปี 64". ไทยรัฐ. 23 ก.ย. 2561. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ https://web.facebook.com/kkc.airport/posts/pfbid02bbS2o5zpFNUPvKSRGfbHWCWkyv5b7ExeNAn3KU3WHeoyWupHECJmfEFCS1PSTRDdl
- ↑ https://bbstore.bb.go.th/cms/1632977788_7600.pdf
- ↑ https://www.facebook.com/kkc.airport/posts/pfbid02eXv4syjX2X8vSFQjcnJ6GhDAXrTJQCkvMX4P5naapkPmbmbtsG4gLw8fcvrVMXNCl
- ↑ "4สายการบินเพิ่มเที่ยวในประเทศไปขอนแก่น". โพสต์ทูเดย์. 30 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
- ↑ https://x.com/KhonKaenAirport/status/1639512063772073989
- ↑ อาคารจอดรถยนต์ ท่าอากาศยานขอนแก่น
- ↑ เคาน์เตอร์บริการรถเช่า ท่าอากาศยานขอนแก่น