ดิน
ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน
ประเภทของดิน[แก้]

สามารถแบ่งประเภทของดินได้ในหลายปัจจัย ดังนี้[2]
- แบ่งตามสภาพพื้นที่ ได้แก่ ดินที่ลุ่ม (หรือเรียก ดินนา), ดินที่ดอน (หรือ ดินไร่)
- แบ่งตามความลึกของดิน ได้แก่ ดินตื้นมาก, ดินตื้น, ดินลึกปานกลาง และดินลึก-ลึกมาก หรือแบ่งตามชั้นดิน หรือชั้นกำเนิดดิน ซึ่งมี 5 ชั้น คือ ชั้นดินอินทรีย์ (O), ชั้นดินบน (A), ชั้นชะล้าง (E), ชั้นดินล่าง (B) และ ชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน (C)[3]
- แบ่งตามวัสดุที่เป็นองค์ประกอบในดิน ได้แก่ ดินอนินทรีย์, ดินอินทรีย์
- แบ่งตามพัฒนาการ
- แบ่งตามเนื้อดิน ได้แก่ ดินร่วน, ดินเหนียว, ดินทราย
- แบ่งตามสมบัติ ได้แก่ ดินดี, ดินเลว
เนื้อดิน[แก้]

เนื้อดิน (soil texture) คือ องค์ประกอบเชิงกายภาพของดิน เป็นคุณสมบัติที่บอกถึงความหยาบหรือละเอียดของอนุภาคตะกอนหลาย ๆ ขนาดที่ประกอบขึ้นเป็น"อนุภาคของดิน" ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่ท่ากัน แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ขนาดใหญ่เรียกว่าอนุภาคขนาดทราย (sand) (2.0-0.05 มิลลิเมตร) ขนาดกลางเรียกว่าอนุภาคทรายแป้ง (silt) (0.05-0.002 มิลลิเมตร) และขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว (clay) (< 0.002 มิลลิเมตร)[4][1]
การรวมตัวกันของอนุภาคทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว ในสัดส่วนที่แตกต่างกันทำให้เกิดเป็นเนื้อดินชนิดต่าง ๆ ขึ้น ในการจำแนกชนิดของเนื้อดินนั้นจะถือสัดส่วนร้อยละที่ประกอบของอนุภาคต่างขนาดเหล่านี้ที่มีอยู่ในดินนั้น ๆ เป็นหลัก โดยทั่วไปในประเทศไทยเนื้อดินอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ ดินทราย (sandy soil) ดินร่วน (loamy soil) และดินเหนียว (clay soil)[4]
ดินทราย[แก้]
เป็นดินที่มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 85 เนื้อดินมีการเกาะตัวกันหลวม ๆ มองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยว ๆ ได้ ถ้าสัมผัสดินที่อยู่ในสภาพแห้งจะรู้สึกสากมือ เมื่อลองกำดินที่แห้งนี้ไว้ในอุ้งมือแล้วคลายมือออกดินก็จะแตกออกจากกันได้ แต่ถ้ากำดินที่อยู่ในสภาพชื้นจะสามารถทำให้เป็นก้อนหลวม ๆ ได้ แต่พอสัมผัสจะแตกออกจากกันทันที[4]
ดินร่วน[แก้]
เป็นดินที่เนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือในสภาพดินแห้งจะจับกันเป็นก้อนแข็งพอประมาณ ในสภาพดินชื้นจะยืดหยุ่นได้บ้าง เมื่อสัมผัสหรือคลึงดินจะรู้สึกนุ่มมือแต่อาจจะรู้สึกสากมืออยู่บ้างเล็กน้อย เมื่อกำดินให้แน่นในฝ่ามือแล้วคลายมือออก ดินจะจับกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน เป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก[4]
ดินเหนียว[แก้]
เป็นดินที่มีเนื้อละเอียด ในสภาพดินแห้งจะแตกออกเป็นก้อนแข็งมาก เมื่อเปียกน้ำแล้วจะมีความยืดหยุ่น สามารถปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี แต่สามารถอุ้มน้ำ ดูดยึด และแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ดี เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน ติดมือง่าย[4]
แผนภาพสามเหลี่ยมเนื้อดิน[แก้]
การกำหนดชนิดของเนื้อดินมักใช้ระบบสามส่วนประกอบ (แผนภาพสามเหลี่ยม) ในการแบ่งชนิดของเนื้อดิน[5] เรียก แผนภาพสามเหลี่ยมเนื้อดิน หรือ ตารางสามเหลี่ยมเนื้อดิน (soil texture triangle) (ดังตัวอย่างของแผนภาพสามเหลี่ยมที่ด้านขวาของหน้า) ด้านหนึ่งของแผนภาพสามเหลี่ยมแทนสัดส่วนของทราย ด้านที่สองแทนสัดส่วนของดินเหนียว และด้านที่สามแทนเสัดส่วนของทรายแป้ง แมื่อทราบนสัดส่วนเป็นร้อยละของทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว ในตัวอย่างดิน จะสามารถใช้แผนภาพสามเหลี่ยมในการระบุชนิดของเนื้อดินของดินตัวอย่างได้ เช่น ถ้าดินเป็นทรายร้อยละ 70 และดินเหนียวร้อยละ 10 ดินจะจัดเป็นดินทรายร่วน (loamy sand) สามารถใช้วิธีเดียวกันนี้ได้โดยเริ่มจากด้านใดก็ได้ของแผนภาพสามเหลี่ยมชนิดของเนื้อดิน และหากใช้วิธีการสัมผัสเพื่อกำหนดระบุชนิดของดิน (texture by feel method) แผนภาพสามเหลี่ยมยังสามารถให้ค่าประมาณคร่าวเกี่ยวกับสัดส่วนเป็นร้อยละของทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวในดินได้
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินสัมพันธ์กับเนื้อสัมผัส ขนาดและการกระจายของอนุภาคจะส่งผลต่อความจุของดินในการกักเก็บน้ำและสารอาหาร ดินที่มีเนื้อละเอียดโดยทั่วไปจะมีความสามารถในการกักเก็บน้ำได้สูงกว่า ในขณะที่ดินทรายจะมีช่องว่างขนาดใหญ่ที่น้ำไหลผ่านและสามารถชะล้างสารอาหารออกไปได้มากกว่า[6]
ในทางปฐพีวิทยา (ซึ่งอ้างอิงการแบ่งตามกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA)) แบ่งดินออกตามสัดส่วนการกระจายตัวของอนุภาคของดินเป็น 12 ชนิด[7][1][8] คือ
- ทราย (sands)
- ทรายปนดินร่วน (loamy sand)
- ดินร่วนปนทราย (sandy loam)
- ดินร่วน (loam)
- ดินร่วนปนทรายแป้ง (silt loam)
- ทรายแป้ง (silt)
- ดินร่วนเหนียวปนทราย (sandy clay loam)
- ดินร่วนเหนียว (clay loam)
- ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (silty clay loam)
- ดินเหนียวปนทราย (sandy clay)
- ดินเหนียวปนทรายแป้ง (silty clay)
- ดินเหนียว (clay)
อนุภาคของดิน[แก้]
อนุภาคของดินแบ่งออกเป็น 3 ชนิดโดยกว้างแล้ว ในการแบ่งอนุภาคขนาดทรายยังสามารถแบ่งย่อยเป็นอีก 4 ชนิดคือ ทรายละเอียดมาก, ทรายละเอียด, ทรายละเอียดปานกลาง ทรายหยาบ และทรายหยาบมาก[9] ซึ่งแต่ละประเทศมีการจำแนกขนาดอนุภาคของตนเองที่ไม่เท่ากัน
ประเภทของอนุภาคของดิน | เส้นผ่านศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) (อ้างอิงการแบ่งตาม USDA )
|
เส้นผ่านศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) (อ้างอิงการแบ่งตาม IUSS และ WRB classification)
|
---|---|---|
ดินเหนียว (clay) | น้อยกว่า 0.002 | น้อยกว่า 0.002 |
ทรายแป้ง (silt) | 0.002 – 0.05 | 0.002 – 0.063 |
ทรายละเอียดมาก (very fine sand) | 0.05 – 0.10 | 0.063 – 0.125 |
ทรายละเอียด (fine sand) | 0.10 – 0.25 | 0.125 – 0.20 |
ทรายละเอียดปานกลาง (medium sand) | 0.25 – 0.50 | 0.20 – 0.63 |
ทรายหยาบ (coarse sand) | 0.50 – 1.00 | 0.63 – 1.25 |
ทรายหยาบมาก (very coarse sand) | 1.00 – 2.00 | 1.25 – 2.00 |
ดินทางด้านวิศวกรรม[แก้]
ดิน เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานในงานวิศวกรรมโยธา ใช้เป็นวัสดุถมในงานก่อสร้างต่าง ๆ เช่นงานถมเพื่อยกระดับบริเวณอาคาร ถนน เขื่อน และใช้เป็นวัสดุผสมสำหรับทำอิฐหรือ ในบางกรณีอาจเพิ่มวัสดุอื่น เช่นปูนขาว เพื่อช่วยในการปรับปรุงคุณภาพดินให้มีคุณสมบัติในการรับกำลังได้มากขึ้นเพื่อผลทางด้านวิศวกรรม บางวัฒนธรรมนำดินมาปั้นเป็นตัวบ้านที่อยู่อาศัยโดยตรง
ประโยชน์ของดิน[แก้]
- ดิน เป็นวัสดุทำเครื่องปั้นดินเผา ดินที่นำมาใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นดินเหนียวที่มีเนื้อละเอียด
- สามารถทำเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้
- ดินมีไว้สำหรับปลูกพืช
- เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ
วิชาที่เกี่ยวกับดิน[แก้]
- ปฐพีศาสตร์ (soil science)
- ปฐพีวิทยา (pedology)
- ปฐพีกลศาสตร์ (soil mechanics)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ดิน |
- ดิน เก็บถาวร 2007-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ดินของประเทศไทย
- เจาะสำรวจดิน
- ดิน : ทรัพยากรสำคัญของเรา เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ปัญหาเรื่องดิน ทางด้านการเกษตรและวิธีการแก้ไข เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์: Earth Manual เก็บถาวร 2012-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กระบวนการกำเนิดดิน และองค์ประกอบของดิน เก็บถาวร 2008-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "4. ธรณีประวัติ - :: โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ::". sites.google.com.
- ↑ "::ประเภทของดิน::". osl101.ldd.go.th.
- ↑ "สมบัติของดิน". 119.46.166.126.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "::สมบัติทางกายภาพ : เนื้อดิน::". osl101.ldd.go.th.
- ↑ Soil Survey Division Staff (1993). Soil survey manual. United States Department of Agriculture. pp. 63–65. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 30 August 2014.
- ↑ Lindbo, Hayes, Adewunmi (2012). Know Soil Know Life: Physical Properties of Soil and Soil Formation. Soil Science Society of America. p. 17. ISBN 9780891189541.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Soil Science Division Staff. 2017. Soil survey sand. C. Ditzler, K. Scheffe, and H.C. Monger (eds.). USDA Handbook 18. Government Printing Office, Washington, D.C.
- ↑ "หิน (Rocks)". web.archive.org. 2005-12-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-14. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Page 70 - แนวทางการศึกษาดินตัวแทนหลักสำหรับพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย". e-library.ldd.go.th.
![]() |
บทความเกี่ยวกับธรรมชาติ และศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |