ภาษากูย
ภาษากูย | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | ภาคอีสานตอนใต้ในไทย ทางเหนือของกัมพูชา ทางใต้ของลาว และเวียดนาม |
จำนวนผู้พูด | 300,000 ในไทย 64,000 ในลาว 15,000 ในกัมพูชา ทั้งหมด 379,000 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ลาว, เขมร, ไทย (ขึ้นอยู่กับประเทศที่อาศัย) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไม่มี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง: kdt — Kuy (Kuay) nyl — Nyeu (Yoe) |
ภาษากูย (อังกฤษ: Kuy) หรือ ภาษากวย (อังกฤษ: Kuay) เป็นตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535)[1] ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมราฐ กำปงธม สตึงแตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้
ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ
- กูยเญอ พบที่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
- กูยไม พบที่ อำเภออุทุมพรพิสัย และ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
- กูยมะไฮ พบที่ อำเภอเมืองจันทร์ ส่วนใหญ่อาศัยในเขต ตำบลเมืองจันทร์ และ บ้านโนนธาตุ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
- กูยปรือใหญ่ พบที่ อำเภอขุขันธ์ เป็นกลุ่มชนชาติพันธ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในแถบพื้นที่เหนือพนมดงรักมานานแล้ว โดยเฉพาะตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ภาษากูย หรือ ภาษากวย มีอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ มีภาษาที่ใช้สนทนามี 2 สำเนียงคือ
- กวยมหลัว พบที อ.สำโรงทาบ อ.จอมพระ อ.ศรีขรภูมิ ต.เเตล ต.ตรึม เช่น เบียะ เเปลว่า สอง เดียะ เเปลว่า น้ำ เทียะ เเปลว่า เป็ด จีง แปลว่า ช้าง จีเนีย แปลว่า ไปไหน เจียโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
- กวยมลอ พบที่ อ.สังขะ อ.ท่าตูม อ.สนม อ.บัวเชด อ.ศรีณรงค์ อ.ศีขรภูมิ เช่น บา หรือ เบือ เเปลว่า สอง ดะ หรือ เดือ เเปลว่า น้ำ ทา หรือ เทือ เเปลว่า เป็ด เจียง แปลว่า ช้าง จีนา แปลว่า ไปไหน จาโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
ภาษากวยบังคับช้าง[แก้]
ภาษากวย เป็นภาษาบังคับช้างที่ใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ภาษากวย ภาษาช้าง นั่นเอง เช่น ( นั่ง = ตะโก ลุก = ยูร์ เดิน = เปาะ ยืน = สยึง ถอยหลัง = ทอยกเรอย ยกขา = เล๊อยืง หมอบลง = มูมแสง ยกงวง = เล๊อโจบย ดึง = ร๊อง ลาก = ดึ วิ่ง = อึมปรอย แต๊ะ = กถ๊าร์ เต้น = รำ กินกล้วย = จาเปรียด กินอ้อย = จา-กต๊วม ไปอาบน้ำ = จีปอยด๊า หยุด = เจชาว์ ไหว้ = จะม๊า ร้องไห้ = เงียม )
นี้เป็นภาษาบังคับช้างในเบื้องต้นเท่านั้น และเป็นการสื่อสารที่ช้างสามารถปฏิบัติตามได้[2]
- หมายเหตุ การพูดต้องพูดย้ำ ๆ หลายครั้ง
ภาษาไทย | ภาษากูยทั่วไป | ภาษาผีปะกำ |
---|---|---|
ผัว-สามี | กะยะ | อันโทน |
เมีย-ภรรยา | กะแดล | อันจึง |
ลูก | กอน | เจลย |
ไฟ | อู้ | กำโพด |
น้ำ | เดียะ | อวน |
คน | โกย/กูย/กวย/กุย | มานุด (มนษย์) |
ช้างต่อ | อาจึงทะเนียะ | ทนะ |
อาบน้ำ | ปอยเดียะ | ปอยตวน |
กินข้าว | จาโดย | กริโกรด |
- ภาษาผีปะกำ เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้สื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อและใช้ระหว่างหมอช้าง ในพิธีกรรมและระหว่างการเดินทางไปคล้องช้าง จากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ตรงกับภาษาบาลี-สันสกฤต ร้อยละ 20, ตรงกับภาษาเขมรโบราณ (ในสำเนียงต่าง ๆ กัน) ร้อยละ 40-50[3]
เทียบสำเนียง กูย โกย กวย[แก้]
กูย | โกย | กวย | แปล |
---|---|---|---|
ี | เ | เ ีย | |
รีน | เรน | เรียน | เรียน |
รีน | เรน | เรียน | เหรียญ |
ซีม | เซม | เซียม | สยาม,ไท |
ทีว | เทว | เทียว | เที่ยว |
ซีง | เซง | เซียง | เสียง |
จา | จา | จา, เจีย | กิน |
จีง | เจง | เจียง | ช้าง |
คีน | เคน | เคียน | เขียน |
เรียว | เรียว | เรียว | ลาว |
กูย | กวย | ไทย | ลาว |
---|---|---|---|
วอ | วาว | พูด | เว้า |
อ็อด | อ็อด | อด | อด |
โย,เยอ | เด้อ | ||
เซม,ซีม,ซึม | เซียม | สยาม | |
จา | จา,เจีย | กิน | กิ๋น |
พาซอม | พาซอม | ผสม | ผสม |
ชมัด | ชมัด | จริง | จริง |
จางัน | จางัน | นัว(รสชาติ) | นัว(รสชาติ) |
เฉา | เฉา | พอ | เซา |
ไต | ไต | มือ | มือ |
กะยะ | กะยะ | สามี | ผัว |
กะแดล | กะแดล | ภรรยา,เมีย | เมีย |
อ็อน | อ็อน | ให้ | ให่ |
เขน,ขีน | เขียน | เขียน | เขียน |
เขนย | เขนย | หมอน | หมอน |
จอ | จอ | สุนัข,หมา | หมา |
ฮรับ | ฮรับ | รับ | ฮับ |
อาเจง,จีง | อาเจียง | ช้าง | ซ้าง |
กาจัง | กาจัง | หัวเราะ | หัว |
กะเตา | กะเตา | ร้อน | ฮ้อน |
สะเพียน | สะเพียน | สพาน | |
ชิ | จิก | ผ้า | ผ่า |
ตรอง | ตรง | ตรง | |
บิ | บิ | นอน | นอน |
ฉาว | ฉาว | พอ,หยุด | เซา |
ผัว | ผัว | พอ | พอ |
ตวง | ตวง | กราดวง | |
วอ | วาว | พูด | เว้า |
ราแมน | ราแมน | อ่อน | อ่อน |
ดุง | ดุง | บ้าน,เรื้อน | เฮื้อน |
ทระ | ซระ | สระ | สระ |
เทราะ | เซราะ | หมู่บ้าน | หมู้บ้าน |
กราว | กราว | นอก | นอก |
กอน | กอน | ลูก | ลูก |
จะงัด | จะงัด | ฟัง | ฟัง |
จานับ,ซัม | จนับ | สวย | งาม |
ลัวะ | ลัวะ | งาม | งาม |
ละเอาะ | ละเอาะ | อ่อน | อ่อน |
ปัง | ปัง | บัง | บัง |
บิ | บิ | นอน | นอน |
ซางัด | ซางัด | เงียบ | เงียบ |
เตง | เตง | ตาก | ตาก |
ชามัด | ชามัด | จริง | อิหลี |
เจา | เจา,โจ | มา | มา |
จะระ | เช้า | เซ้า | |
คัล | คัล | ขัน | ขัน |
โค | โค | วัว | งั่ว |
คานัม | ขนมจีน | ||
อี | อี | เจ็บ | เจ็บ |
จือ | จือ | จำ | จำ |
ชือ | ชือ | เชื่อ | เซื่อ |
ชารอม | ถล่ม | ถลม | |
จี | จี | ไป | ไป |
การสนทนา[แก้]
จา โดย รา ดัง? เเปล กินข้าวหรือยัง?
ออน ไฮ บึน รา เท? เเปล ให้ฉันได้หรือปล่าว?
เซ ไฮ โก ไอ รา เท? เเปล มองฉันอยู่ใช่หรือปล่าว?
จี ฮโยง รา เท? เเปล ไปก่อนหรือปล่าว
เซ จี นา เเน เเปล มองไปทางนี้
รา มืย โดย รา เท? เเปล หิวข้าวหรือปล่าว?
ฮัน โจ เเน เเปล หั่นมานี้
เฺฮ ออน โน นึย เเปล ฝากให้เขาหน่อย
การนับเลข[แก้]
เลขไทย | เลขอารบิก | คำอ่านไทย | คำอ่านกูย |
---|---|---|---|
๐ | 0 | ศูนย์ | ซูน |
๑ | 1 | หนึ่ง | มวย,หมูย |
๒ | 2 | สอง | บา,เบีย |
๓ | 3 | สาม | ไปย |
๔ | 4 | สี่ | ปอน |
๕ | 5 | ห้า | เซิง,ซอง |
๖ | 6 | หก | ตะผัด |
๗ | 7 | เจ็ด | ตะโผล |
๘ | 8 | แปด | ตะขัว |
๙ | 9 | เก้า | ตะแขะ |
๑๐ | 10 | สิบ | จ๊อด |
๑๑ | 11 | สิบเอ้ด | มวยตองมวย |
๒๐ | 20 | ยี่สิบ | เฉียว,ฉาว |
๓๐ | 30 | สามสิบ | ซามซิบ |
๔๐ | 40 | สี่สิบ | ซี้ซิบ |
๕๐ | 50 | ห้าสิบ | ฮ้าซิบ |
๖๐ | 60 | หกสิบ | หกซิบ |
๗๐ | 70 | เจ็ดสิบ | เจ๊ดซิบ |
๘๐ | 80 | แปดสิบ | แปดซิบ |
๙๐ | 90 | เก้าสิบ | เก๊าซิบ |
๑๐๐ | 100 | หนึ่งสิบ | มวยร้อย,หมูยหรวย |
๒๐๐ | 200 | สองร้อย | เบียหร้อย,เบียหรวย |
๑๐๐๐ | 1000 | หนึ่งพัน | มวยผัน |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Gordon, Raymond G., Jr. (ed.) , 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.
- ↑ Karen McComb; Graeme Shannon; Katito N. Sayialel; Cynthia Moss (8 April 2014). "Elephants can determine ethnicity, gender, and age from acoustic cues in human voices". 111 (14). PNAS, National Academy of Sciences: 5433–5438. doi:10.1073/pnas.1321543111. สืบค้นเมื่อ 4 December 2019. Cite journal requires
|journal=
(help) - ↑ บัญญัติ สาลี (2560). "กูย : ว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และตำนาน" (PDF). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2562. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help)
- สมทรง บุรุษพัฒน์. สารานุกรมชนชาติกูย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538
- พระสมุทร ถาวรธมฺโม/ทาทอง ผศ.ดร.ประวัติศาสตร์กวย. กทม. ที่ระลึกงานฌาปนกิจศพคุณยายขบวน ชาญเชี่ยว วัดแสงสว่างราฆฎร์บำรุง อ.บัวเชด จ.สุรินทร์. 2551.
- https://schoolonly.wordpress.com/วัฒนธรรมและภาษา/ด้านภาษา/