ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง70 หมู่ 6 ถนนปัว-น้ำยาว ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
หน่วยงาน
รูปแบบทุนรัฐบาล
ประเภทโรงพยาบาลชุมชน
เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง117 [1]
ประวัติ
ชื่อเดิมโรงพยาบาลปัว
เปิดให้บริการ27 มีนาคม พ.ศ. 2522; 45 ปีก่อน (2522-03-27)
ลิงก์
เว็บไซต์www.puahospital.go.th

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว เป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ขนาด 110 เตียง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514

ประวัติ

[แก้]

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 โดยจัดตั้งเป็น สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง ประจำอำเภอปัว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ได้รับการขยายเป็นโรงพยาบาล ขนาด 60 เตียงในปี พ.ศ. 2526 และขนาด 90 เตียงในปี พ.ศ. 2538 และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร เพื่อขยายการให้บริการเรื่อยมา

  • พ.ศ. 2518 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง มีชื่อว่า โรงพยาบาลปัว
  • พ.ศ. 2520 จึงได้มีการจัดตั้งเป็น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ขนาด 30 เตียง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2520 และเปิดทำการเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2522
  • พ.ศ. 2526 หลังจากนั้นได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขขยายโรงพยาบาลเป็นขนาด 60 เตียง โดยก่อสร้างตึกผู้ป่วยในเพิ่ม 1 หลังพร้อมครุภัณฑ์
  • พ.ศ. 2531 ก่อสร้างอาคารตึกคลอด และตึกผ่าตัด 1 หลังและในปีงบประมาณ 2535 ได้งบประมาณต่อเติมอาคารผู้ป่วยนอก เพื่อขยายเป็นที่ให้บริการอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
  • พ.ศ. 2538 ได้รับการยกฐานะ ให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ได้รับจัดสรรงบประมาณ 8,950,000 บาทสร้างอาคารผู้ป่วยในขนาด 60 เตียงเปิดให้บริการ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  • พ.ศ. 2539 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารอุบัติเหตุ 1 หลัง เป็นเงิน 19,872,000 บาท และได้เปิดให้บริการในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
  • พ.ศ. 2545 ได้รับงบประมาณ 24,500,000 บาท ในการสร้างอาคารผู้ป่วยนอกขนาด 120 เตียง เปิดให้บริการ ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  • พ.ศ. 2551 ได้รับงบประมาณ ก่อสร้าง อาคารพญาภูคา เป็นอาคารผ่าตัด ชันสูตร เอกซเรย์และหอผู้ป่วย 4 ชั้น เป็นเงิน 46,666,000 บาท[2]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]