ข้ามไปเนื้อหา

เพลงชาติรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกซูดาร์ตเวนนีย กิมีน ราสซีสกอย
เฟเดราซี
เพลงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย
Государственный гимн Российской Федерации
Gosudarstvennyy gimn Rossiyskoy Federatsii
โน๊ตเพลงชาติรัสเซีย

เพลงชาติของรัสเซีย
เนื้อร้องเซอร์เกย์ มิคาลคอฟ, ค.ศ. 2000
ทำนองอะเลคซันดร์ อะเลคซันดรอฟ, ค.ศ. 1939
รับไปใช้25 ธันวาคม ค.ศ. 2000 (เพลง) [1]
30 ธันวาคม ค.ศ. 2000 (เนื้อร้อง) [2]
ก่อนหน้า"เพลงของผู้รักชาติ"
ตัวอย่างเสียง
เพลงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย (บรรเลง)
การแสดงเพลงสรรเสริญสหพันธรัฐรัสเซียโดยวงออเครสตราประธานาธิบดีและวงประสานเสียงเครมลินในการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีดมิทรี เมดเวเดฟ ที่เครมลิน วันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2008
โน๊ตเพลง

เพลงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย[a] เป็นชื่อของเพลงชาติอย่างเป็นทางการของรัสเซีย องค์ประกอบทางดนตรีและเนื้อร้องของเพลงได้รับดัดแปลงมาจากเพลงชาติสหภาพโซเวียต ประพันธ์โดย อเล็กซันเดอร์ อเล็กซันดรอฟ และผู้แต่งบทร้อง เซียร์เกย์ มิฮัลคอฟ และกาบรีล เอล-เรกิสตัน[3] เพลงชาติโซเวียตใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 โดยแทน "แองเตอร์นาซิอองนาล" ด้วยเพลงที่เน้นรัสเซียเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพลงชาติดังกล่าวถูกแก้ไขใน ค.ศ. 1956 เพื่อลบเนื้อร้องที่อ้างถึงอดีตผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน เพลงดังกล่าวถูกแก้ไขอีกครั้งใน ค.ศ. 1977 เพื่อนำเนื้อร้องใหม่ที่เขียนโดยมิฮัลคอฟ

รัสเซียมองหาเพลงชาติใหม่ใน ค.ศ. 1990 เพื่อเริ่มต้นใหม่หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เพลง "ปาทริโอติเชสกายา เปสนยา" ที่ไม่มีเนื้อร้อง ประพันธ์โดย มิฮาอิล กลินคา ซึ่งรับมาอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1990 โดยสภาโซเวียตสูงสุดแห่งรัสเซีย[4] และได้รับยืนยันใน ค.ศ. 1993[5] โดยประธานาธิบดีรัสเซีย บอริส เยลต์ซิน รัฐบาลสนับสนุนการประกวดเพื่อสร้างเนื้อร้องสำหรับเพลงชาติที่ไม่ได้รับความนิยมเพราะเพลงดังกล่าวไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจแก่นักกีฬารัสเซียในการแข่งขันระหว่างประเทศได้ แต่ไม่มีการเห็นชอบกับเนื้อร้องที่ส่งเข้าประกวดเลย ทำให้ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน รื้อฟื้นเพลงชาติโซเวียตอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลจัดการสนับสนุนการประกวดเนื้อร้องอีกครั้ง กระทั่งไปลงตัวที่การประพันธ์ของมิฮัลคอฟ ตามข้อมูลของรัฐบาล เนื้อร้องถูกเลือกเพื่อทำให้ระลึกถึงและสรรเสริญประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมรัสเซีย เพลงชาติใหม่ได้ใช้ในปลาย ค.ศ. 2000 และเป็นเพลงชาติที่สองที่ใช้ในรัสเซียนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

แนวคิดของสาธารณะต่อเพลงชาตินั้นผสมผสานกันไปในหมู่ชาวรัสเซีย เพลงชาติทำให้บางคนระลึกถึงวันที่ดีที่สุดของรัสเซียและการเสียสละในอดีต ขณะที่ทำให้บางคนระลึกถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของสตาลิน รัฐบาลรัสเซียยืนยันว่าเพลงชาติเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีในหมู่ประชาชน และเพลงนี้เคารพอดีต การสำรวจความเห็นใน ค.ศ. 2009 แสดงให้เห็นว่า ผู้ตอบ 56% รู้สึกภูมิใจเมื่อได้ยินเพลงชาติ และ 81% ชอบเพลงนี้ หากแม้จะมีแนวคิดบวกนี้ หลายคนจำเนื้อร้องไม่ได้[6]

เนื้อร้อง

[แก้]

เนื้อร้องภาษารัสเซีย

[แก้]
อักษรซีริลลิก อักษรละติน เนื้อร้องภาษาไทย คำแปลภาษาไทย
Россия – священная наша держава,

Россия – любимая наша страна. Могучая воля, великая слава – Твоё достоянье на все времена!

Припев:

Славься, Отечество наше свободное, Братских народов союз вековой, Предками данная мудрость народная! Славься, страна! Мы гордимся тобой!

От южных морей до полярного края Раскинулись наши леса и поля. Одна ты на свете! Одна ты такая – Хранимая Богом родная земля!

Припев

Широкий простор для мечты и для жизни Грядущие нам открывают года. Нам силу даёт наша верность Отчизне. Так было, так есть и так будет всегда!

Припев[7][8][9]

Rossiya – svyashchennaya nasha derzhava,

Rossiya – lyubimaya nasha strana. Moguchaya volya, velikaya slava – Tvoyo dostoyanye na vse vremena!

Pripev:

Slavysya, Otechestvo nashe svobodnoye, Bratskih narodov soyuz vekovoy, Predkami dannaya mudrosty narodnaya! Slavysya, strana! My gordimsya toboy!

Ot yuzhnyh morey do polyarnovo kraya Raskinulisy nashi lesa i polya. Odna ty na svete! Odna ty takaya – Hranimaya Bogom rodnaya zemlya!

Pripev

Shirokiy prostor dlya mechty i dlya zhizni. Gryadushchiye nam otkryvayut goda. Nam silu dayot nasha vernosty Otchizne. Tak bylo, tak yesty i tak budet vsegda!

Pripev

รัสซี — ยา สวิชเชนนา ยานา ชา เดอชาวา

รัสซี — ยา ลูบิมายานา ชา สตรานา.

โมกู — ชายา โวลยา, วิลิกายา สลาวา

ตวาโย ดอสตายานเย นา วเซ เวร์เมนา!

ร้องประสานเสียง

สลาฟสยา, โอเทเชสวา นาเช สโวโบดนาเย,

บราตสกิค นาโรโดฟ โซยูซ วเยกาโวย,

เปรดกามี ดานนายา มู ดรอสต์ นาโรดนายา!

สลาฟสยา, สตรานา! มึย การดิมซยา โตโบย!


ออต ยูชนิก มอเรย์ ดา ปอลยาร์นาโก กรายา

รัสกี — นูลิส นาชี ลิซา อี ปาลยา.

อัดนา ตึย นา สเวตเต! อัดนา ตึย ตากายา —

กรานิมายา โบกอม รอดนายา เซมลยา!

ร้องประสานเสียง

ชีโร — กีย์ ปรัสโต'ร ดลยา มิชตึย อี ดลยา ชืซนี.

กรีดูชิเย นาม อัตกรึยวายูต กาดา.

นาม ซีลู ดาโยต นาชา วเยรนาสต์ อัตชิส'นเย.

ตัก บึยลา, ตัก เยสต์ อี ตัก บูดเยต วซิกดา!

ร้องประสานเสียง

รัสเซีย แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ของเรา

รัสเซีย แผ่นดินอันเป็นที่รักของเรา

ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ เกียรติยศอันยิ่งใหญ่

คือมรดกของเธอตลอดกาล

ร้องประสานเสียง

จงรุ่งโรจน์ ปิตุภูมิเสรีของเรา

พ่อแม่พี่น้อง สหภาพสืบเนื่องหลายยุคสมัย

ภูมิปัญญาตกทอดจากบรรพบุรุษของเรา

จงรุ่งโรจน์ แผ่นดินของเรา เราภูมิใจในตัวเธอ


จากทะเลถึงอาร์กติกเซอร์เคิล

ป่าไม้และท้องทุ่งของเราแผ่ตรงหน้าเธอ

เธอคือหนึ่งเดียวในโลก ไม่มีใครเทียบเธอได้

พระผู้เป็นเจ้าคือผู้ทรงคุ้มครองแผ่นดินเกิดของเรา

ร้องประสานเสียง

ที่ว่างสำหรับความฝันและดำรงชีวิต

ได้เปิดกว้างแก่เราด้วยยุคสมัยที่กำลังก้าวเข้ามา

ความเชื่อในแผ่นดินได้มอบความเข้มแข็งแก่เรา

เหมือนดังที่เป็นมา เป็นอยู่ และจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

ร้องประสานเสียง

สื่อ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รัสเซีย: Госуда́рственный гимн Росси́йской Федера́ции, อักษรโรมัน: Gosudárstvennyy gimn Rossíyskoy Federátsii, สัทอักษรสากล: [ɡəsʊˈdarstvʲɪn(ː)ɨj ɡʲimn rɐˈsʲijskəj fʲɪdʲɪˈratsɨɪ]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ anthemlaw
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lyricslaw
  3. "Russia - National Anthem of the Russian Federation". NationalAnthems.me. สืบค้นเมื่อ 2011-11-23.
  4. Decree of the Supreme Soviet of the Russian SFSR of 23 November 1990 "On the National Antem of the Russian SFSR
  5. Ukase of the President of the Russian Federation from 11 December 1993 "On the National Anthem of the Russian Federation[ลิงก์เสีย]
  6. "RUSSIAN STATE SYMBOLS: KNOWLEDGE & FEELINGS". Russian Public Opinion Research Center. 2009-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-25.[ลิงก์เสีย]
  7. National anthem of Russia#cite note-lyricslaw-2
  8. https://web.archive.org/web/20110604021354/http://document.kremlin.ru/doc.asp?ID=5280&PSC=1&PT=3&Page=2 Указ Президента Российской Федерации от 30.12.2000 N 2110. Kremlin.ru.
  9. "State Symbols of the Russian Federation". Consulate-General of the Russian Federation in Montreal, Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 7, 2012. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 31, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
แหล่งรวบรวมข้อมูลและไฟล์เสียง