ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรบัลแกเรีย

พิกัด: 42°42′N 23°19′E / 42.700°N 23.317°E / 42.700; 23.317
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรซาร์บัลแกเรีย

Царство България (บัลแกเรีย)
Tsarstvo Balgariya
1908–1946
คำขวัญСъединението прави силата
Saedinenieto pravi silata
("สามัคคีสร้างพลัง")
เพลงชาติШуми Марица
ชูมี มาริตซา
("Maritsa Rushes") (1886-1944)

เพลงสรรเสริญพระบารมีХимн на Негово Величество Царя
Himn na Negovo Velichestvo Tsarya
("เพลงสรรเสริญพระเจ้าซาร์")
ราชอาณาจักรบัลแกเรียในปี ค.ศ. 1914 ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ราชอาณาจักรบัลแกเรียในปี ค.ศ. 1914 ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โซเฟีย
ภาษาราชการบัลแกเรีย
ศาสนา
นิกายออร์ทอดอกซ์ (ศาสนาประจำชาติ)
การปกครอง
ซาร์ (พระมหากษัตริย์) 
• 1908–1918
เฟอร์ดินานด์ที่ 1
• 1918–1943
บอริสที่ 3
• 1943–1946
ซีโมนที่ 2
ประธานสภารัฐมนตรี 
• 1908–1911 (คนแรก)
Aleksandar Malinov
• 1944–1946 (คนสุดท้าย)
Kimon Georgiev
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ประวัติศาสตร์ 
5 ตุลาคม 1908
1912–1913
10 สิงหาคม 1913
1915–1918
27 พฤศจิกายน 1919
9 มิถุนายน 1923
19 พฤษภาคม 1934
1935
7 กันยายน 1940
9 กันยายน 1944
15 กัยายน 1946
พื้นที่
1915122,134 ตารางกิโลเมตร (47,156 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1915[1]
4,580,000
สกุลเงินเลฟ
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชรัฐบัลแกเรีย
สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย

อาณาจักรซาร์บัลแกเรีย (บัลแกเรีย: Царство България, อักษรโรมัน: Tsarstvo Balgariya), หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาณาจักรซาร์บัลแกเรียที่สาม (บัลแกเรีย: Трето Българско Царство, อักษรโรมัน: Treto Balgarsko Tsarstvo), ในบางครั้งถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษจะกลายเป็น ราชอาณาจักรบัลแกเรีย (บัลแกเรีย: Крáлство България, อักษรโรมัน: Kralstvo Balgariya) เป็นราชอาณาจักรที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ราชอาณาจักรประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม (ตามปฏิทินจูเลียน 22 กันยายน) ค.ศ. 1908 เมื่อรัฐบัลแกเรียยกสถานะจากราชรัฐไปเป็นอาณาจักรซาร์[2]

โดยซาร์เฟอร์ดินานด์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์บัลแกเรีย ได้รับสวมมงกุฎเป็นซาร์ตามคำประกาศอิสรภาพ ซาร์เฟอร์ดินานด์มีแผนการที่จะผนวกดินแดนภายในคาบสมุทรบอลข่านที่มีชาวบัลแกเรียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ (ดินแดนที่ถูกบัลแกเรียยึดครอง และถูกส่งมอบโดยจักรวรรดิออตโตมันตามสนธิสัญญาเบอร์ลิน)

ราชอาณาจักรแทบจะทำสงครามกับประเทศรอบข้างอยู่ตลอดเวลาการดำรงอยู่ จนถึงขนาดที่ได้รับสมญานามว่า "ปรัสเซียแห่งบอลข่าน" เป็นเวลาหลายปีที่บัลแกเรียระดมกองทัพที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน จากประชากรประมาณ 5 ล้านคน และในช่วงทศวรรษที่ 1910 บัลแกเรียได้เข้าร่วมสงครามครั้งสำครัญอยู่สามครั้ง – ทั้งสงครามครั้งแรกและครั้งที่สองของสงครามบอลข่าน และสงครามโลกที่หนึ่ง ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง บัลแกเรียจึงถูกห้ามไม่ให้มีทหารและปลดอาวุธทั้งหมดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้แผนการในการรวมชาติบัลแกเรียล้มเหลว

ไม่กี่ทศวรรษถัดมา บัลแกเรียได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองโดยอยู่ฝ่ายอักษะ เพื่อต้องการรวมชาติบัลแกเรียอีกครั้ง และเช่นเคย บัลแกเรียได้พ่ายแพ้ในสงคราม และได้เปลี่ยนฝั่งไปอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1944 ต่อมาในปี ค.ศ. 1946 ระบอบราชาธิปไตยถูกล้มเลิก ส่งผลทำให้กษัตริย์ซาร์พระองค์สุดท้ายทรงลี้ภัย และราชอาณาจักรถูกเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Central Powers Page 4 – Kingdom of Bulgaria". สืบค้นเมื่อ 14 Jan 2022.
  2. "Bulgaria at the end of the 19th-century". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

เชิงอรรถ

[แก้]

42°42′N 23°19′E / 42.700°N 23.317°E / 42.700; 23.317