ข้ามไปเนื้อหา

ดมีตรี เมดเวเดฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดมิทรี เมดเวเดฟ)
ดมีตรี เมดเวเดฟ
Дмитрий Медведев
เมดเวเดฟในปี ค.ศ. 2016
รองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม ค.ศ. 2020
(4 ปี 272 วัน)
ประธานวลาดีมีร์ ปูติน
ประธานาธิบดีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
(4 ปี 0 วัน)
นายกรัฐมนตรีวลาดีมีร์ ปูติน
ก่อนหน้าวลาดีมีร์ ปูติน
ถัดไปวลาดีมีร์ ปูติน
นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 – 16 มกราคม ค.ศ. 2020
(7 ปี 192 วัน)
ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน
ก่อนหน้าวลาดีมีร์ ปูติน
ถัดไปมีฮาอิล มีชุสติน
เสนาธิการเครมลิน
ดำรงตำแหน่ง
30 ตุลาคม ค.ศ. 2003 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
(2 ปี 15 วัน)
ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน
ก่อนหน้าอะเล็กซานเดอร์ โวโลชิน
ถัดไปเซียร์เกย์ โซบยานิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ดมีตรี อานาตอลเยวิช เมดเวเดฟ

(1965-09-14) 14 กันยายน ค.ศ. 1965 (59 ปี)
เลนินกราด, สหภาพโซเวียต
ศาสนาออร์โธดอกซ์รัสเซีย
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต (ก่อน 1991)
ไม่สังกัดพรรค (1991–2011)
รัสเซียหนึ่งเดียว (2011–ปัจจุบัน)[1]
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์da-medvedev.ru

ดมีตรี อะนาตอลเยวิช เมดเวเดฟ (รัสเซีย: Дми́трий Анато́льевич Медве́дев; อังกฤษ: Dmitry Anatolyevich Medvedev) เป็นรองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย ระหว่างปี 2008 ถึง 2012 และอดีตนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างปี 2012 ถึง 2020

เมดเวเดฟเกิดในครอบครัวนักวิชาการของโซเวียตในนครเลาด[2] จบการศึกษาด้วยกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเลนินกราดในปี 1987 และสำเร็จปริญญานิพนธ์ในปี 1990 และเข้าทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เขาจบมา ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เขาสอนในวิชากฎหมายพลเรือนและโรมันจนถึงปี 1999 เขาเริ่มงานการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้จักการการเลือกตั้ง และได้เป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นทำให้เขาได้รู้จักและกลายเป็นเพื่อนกับวลาดีมีร์ ปูติน

ในเดือนพฤศจิกายน 1999 เมดเวเดฟได้เข้าทำงานในฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีรัสเซีย และในปี 2000 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเสนาธิการเครมลิน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2000 เขาได้เป็นฝ่ายหาเสียงของปูติน และในวาระการดำรงตำแหน่งที่สองของประธานาธิบดีปูตินในเดือนพฤศจิกายน 2005 เขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง รับผิดชอบฝ่ายสังคมและสวัสดิการ[3] และยังเป็นประธานกรรมการบริษัทก็ซพรอม[4] รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอีกด้วย และดำรงตำแหน่งจนถึงปี 2008

เมื่อประธานาธิบดีปูตินดำรงตำแหน่งครบสองวาระในปี 2008 ด้วยข้อจำกัดทางรัฐธรรมนูญทำให้ปูตินตัดสินใจส่งเมดเวเดฟเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[5] ด้วยการสนับสนุนจากฐานเสียงของปูตินทำให้เมดเวเดฟชนะเลือกตั้งด้วยเสียงกว่า 70.28% ของจำนวนผู้ลงคะแนน เมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาก็แต่งตั้งปูตินเป็นนายกรัฐมนตรี ตัวเมดเวเดฟถูกมองว่าเป็นเสมือนหุ่นเชิดของปูติน เมื่อเมดเวเดฟดำรงตำแหน่งครบวาระในปี 2012 ปูตินก็กลับมาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เมื่อปูตินเป็นประธานาธิบดีครั้งที่สองแล้ว ก็ตั้งเมดเวเดฟเป็นนายกรัฐมนตรี จึงถูกสื่อเรียกการเข้ารับตำแหน่งของทั้งสองในครั้งนั้นว่าเป็น "การสลับตำแหน่ง"

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Russian Prime Minister Finally Joins Ruling Party". Radio Free Europe/Radio Liberty. May 22, 2012. สืบค้นเมื่อ September 11, 2020.
  2. Who is Dmitry Medvedev? เก็บถาวร 2008-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Russia Today. 2008-03-04. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)
  3. Medvedev sweeps to victory เก็บถาวร 2008-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Russia Today. 2008-03-04. เรียกขัอมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)
  4. Medvedev Dmitry Anatolievich เก็บถาวร 2008-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gazprom. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)
  5. Putin sees Medvedev as successor BBC News. 2007-12-10. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Dmitry Medvedev
ก่อนหน้า ดมีตรี เมดเวเดฟ ถัดไป
วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย
(ค.ศ. 2008 – 2012)
วลาดีมีร์ ปูติน
วลาดีมีร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
(ค.ศ. 2012 – 2020)
มีฮาอิล มีชุสติน