ข้ามไปเนื้อหา

บอริส เยลต์ซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บอริส เยลต์ซิน
Борис Ельцин
เยลต์ซินในช่วงปี ค.ศ. 1991-1994
ประธานาธิบดีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999
(8 ปี 174 วัน)
รองประธานาธิบดีอะเล็กซันดร์ รุตสคอย
ก่อนหน้ามีฮาอิล กอร์บาชอฟ
(ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต)
ถัดไปวลาดิมีร์ ปูติน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1931
สเวียร์ดลอฟส์ก, สหภาพโซเวียต
เสียชีวิต23 เมษายน ค.ศ. 2007(2007-04-23) (76 ปี)
มอสโก, รัสเซีย
ศาสนาออร์โธดอกซ์รัสเซีย
คู่สมรสไนนา เยลต์ซิน
ลายมือชื่อ

บอริส นีโคลาเยวิช เยลต์ซิน (รัสเซีย: Бори́с Никола́евич Е́льцин, อักษรโรมัน: Boris Nikolayevich Yeltsin, อังกฤษ: Boris Yeltsin, 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 23 เมษายน พ.ศ. 2550) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2534 ถึง 2542

เดิมเป็นผู้สนับสนุนมิคาอิล กอร์บาชอฟ เยลต์ซินเกิดขึ้นภายใต้การปฏิรูปเปเรสตรอยกาเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการเมืองที่ทรงพลังที่สุดของกอร์บาชอฟ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เขาได้รับเลือกเป็นประธานสภาโซเวียตสูงสุดรัสเซีย วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2534 เขาได้รับเลือกด้วยเสียงประชาชนเป็นประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียซึ่งเป็นตำแหน่งที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ขณะนั้นเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญของสหภาพโซเวียต เขาได้รับคะแนนเสียง 57% ชนะผู้เข้าชิงตำแหน่งอีกห้าคน และเป็นผู้นำที่ได้รับเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตยคนที่สองของรัสเซียในประวัติศาสตร์ หลังมิคาอิล กอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่งและสหภาพโซเวียตยุบลงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เยลต์ซินยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐสืบทอดของสหภาพโซเวียต เยลต์ซินได้รับเลือกใหม่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ในการเลือกตั้งรอบสอง เยลต์ซินชนะเกนนาดิ ซูกานอฟจากพรรคคอมมิวนิสต์ที่ฟื้นฟูใหม่โดยมีคะแนนห่างกันอยู่ 13% อย่างไรก็ดี เยลต์ซินสูญเสียความนิยมในระยะแรกไปหลังเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเมืองต่อเนื่องในรัสเซียช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990

เขาสัญญาจะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบสั่งการของรัสเซียเป็นเศรษฐกิจตลาดเสรี และนำการเยียวยาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลัน การเปิดเสรีราคาและโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปปฏิบัติ เนื่องจากวิธีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ความมั่งคั่งของชาติปริมาณมากจึงตกอยู่ในมือของผู้มีอำนาจกลุ่มเล็ก[1] สมัยเยลต์ซินส่วนใหญ่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง เงินเฟ้อ การล่มสลายทางเศรษฐกิจและปัญหาเศรษฐกิจและสังคมขนานใหญ่อย่างกว้างขวางซึ่งกระทบต่อรัสเซียและอดีตรัฐสหภาพโซเวียต ภายในไม่กี่ปีแรกหลังเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้สนับสนุนเยลต์ซินจำนวนมากได้เปลี่ยนมาต่อต้านเขา และรองประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ รุสต์คอย ประณามการปฏิรูปว่าเป็น "พันธุฆาตทางเศรษฐกิจ"[2]

การเผชิญหน้าที่ดำเนินไปกับสภาโซเวียตสูงสุดลงเอยด้วยวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย ตุลาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งเยลต์ซินสั่งยุบรัฐสภาอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งขณะนั้นพยายามถอดเยลต์ซินออกจากตำแหน่ง ฝ่ายทหารท้ายที่สุดเข้าฝ่ายกับเยลต์ซินและปิดล้อมและยิงปืนใหญ่ถล่มทำเนียบขาวรัสเซีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 187 คน จากนั้น เยลต์ซินฉีกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิม ห้ามการต่อต้านทางการเมืองชั่วคราว และยิ่งดำเนินการทดลองทางเศรษฐกิจลึกลงไปอีก แล้วเขาก็ริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประธานาธิบดีมีอำนาจเพิ่มขึ้น และได้รับความเห็นชอบในการลงประชามติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ด้วยเสียงเห็นชอบ 58.5%

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เยลต์ซินประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างน่าประหลาดใจ ทิ้งตำแหน่งประธานาธิบดีไว้ในมือของผู้สืบทอดที่เขาวางตัว คือ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น วลาดีมีร์ ปูติน เยลต์ซินออกจากตำแหน่งโดยได้รับความนิยมน้อยมากในหมู่ประชากรรัสเซีย[3] บ้างประเมินว่า อัตราการเห็นชอบกับเขาเมื่อออกจากตำแหน่งนั้นต่ำเพียง 2%[4]

บอริสต์ เยลต์ซิน ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2550 เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว ในวัย 76 ปี[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Åslund, Anders (September–October 1999). "Russia's Collapse". Foreign Affairs. Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 17 July 2007.
  2. Bohlen, Celestine (February 1992). "Yeltsin Deputy calls reforms Economic Genocide". The New York Times. New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  3. Paul J. Saunders, "U.S. Must Ease Away From Yeltsin", Newsday, 14 May 1999. [1] เก็บถาวร 2009-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "Transcripts of 'Insight' on CNN". CNN. 7 October 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 17 July 2007.
  5. "อาลัย บอริส เยลต์ซิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-20. สืบค้นเมื่อ 2012-01-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า บอริส เยลต์ซิน ถัดไป
ตำแหน่งแทนประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
(พ.ศ. 2534พ.ศ. 2542)
วลาดิมีร์ ปูติน