ปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Patrioticheskaya Pesnya)
ปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย
คำแปล: บทเพลงของผู้รักชาติ
Патриотическая Песня
ทำนองมีคาอิล กลินคา
รับไปใช้23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
เลิกใช้25 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ตัวอย่างเสียง
ปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย (บรรเลง)

ปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย (รัสเซีย: Патриотическая Песня, อักษรโรมัน: Patrioticheskaya Pesnya, สัทอักษรสากล: [pətrʲɪɐˈtʲitɕɪskəjə ˈpʲesʲnʲə]; คำแปลในภาษาอังกฤษ: "A Patriotic Song" หรืออาจแปลเป็นชื่อภาษาไทยได้ว่า "เพลงของผู้รักประเทศ") เป็นเพลงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (Russian SFSR) และสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2543 คำแปลของชื่อเพลงนี้ ยังสามารถหมายถึงเพลงชาติเกาหลีเหนือและเพลงชาติเกาหลีใต้ได้ด้วยเช่นกัน

ประวัติ[แก้]

บทเพลงปาตรีโอตีเชสกายา​เปสเนีย มีจุดเริ่มต้นจากทำนองเพลงซึ่งประพันธ์โดยมีคาอิล กลินคา (Mikhail Glinka) ซึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "ท่วงทำนองของเพลงชาติ" ("Motif de chant national") ทำนองเพลงดังกล่าวนี้ไม่มีเนื้อร้องประกอบ ต่อมาประธานาธิบดีบอริส เยลซิน แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ได้เลือกทำนองเพลงนี้ใช้เป็นเพลงชาติ เมื่อ พ.ศ. 2533 และเป็นเพลงชาติของสหพันธรัฐรัสเซีย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 โดยไม่มีเนื้อร้อง และได้รับความนิยมแพร่หลายในศาสนจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซีย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการประกวดเนื้อร้องที่เหมาะสมกับทำนองเพลงปาตรีโอตีเชสกายาเปสเนีย ซึ่งบทกวีชื่อ "Славься, Россия!" ("Slav'sya, Rossiya!"; "จงเจริญ, รัสเซีย!") ของวิกตอร์ ราดูกิน (Viktor Radugin) ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เนื่องจากไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเพียงพอ หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน เข้ารับตำแหน่งสืบต่อจากเยลซิน บทเพลงและบทกวีดังกล่าวจึงถูกแทนที่ด้วยเพลงชาติรัสเซียฉบับปัจจุบัน ซึ่งใช้ทำนองเพลงและปรับปรุงเนื้อร้องจากเพลงชาติสหภาพโซเวียตเดิม โดยปูตินได้ลงนามประกาศกฎหมายเรื่องเพลงชาติดังกล่าวในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543

เนื้อร้อง[แก้]

เนื้อร้องของวิกตอร์ ราดูกิน (ไม่เป็นทางการ)[แก้]

ภาษารัสเซีย อักษรซีริลลิก ปริวรรตเป็นอักษรละติน คำแปล

Славься, славься, родина-Россия!
Сквозь века и грозы ты прошла
И сияет солнце над тобою
И судьба твоя светла.

Над старинным московским Кремлём
Вьется знамя с двуглавым орлом
И звучат священные слова:
Славься, Русь -- Отчизна моя!

Slav'sya, Slav'sya, rodina Rossiya!
Skvoz' veka i grozy ty proshla!
I siyayet solntse nad toboi
I sud'ba tvoya svetla!

Nad starinnym moskovskim Kremlem
V'etsya znamya s dvuglavim orlom
I zvuchat svjashchenniye slova:
Slav'sya, Rus' - Otchizna moya!

จงเจริญ, จงเจริญ, รัสเซียถิ่นเกิดของเรา
เธอได้ฟันฝ่าทั้งกาลเวลานับศตวรรษ ทั้งฝนฟ้าพายุ
และดวงตะวันสาดแสงเหนือเธอ
และโชคชะตาแห่งเธอนั้นก็ส่องสกาว

เหนือพระราชวังเครมลินโบราณ
โบกทิวธงฉานอินทรีสองเศียร
และก้องสำเนียงเสียงสะท้อนคำศักดิ์สิทธิ์ว่า
จงเจริญเถิด รัสเซีย ปิตุภูมิของเรา!

เนื้อร้องของวลาดีมีร์ คาลินกิน (ไม่เป็นทางการ)[แก้]

ภาษารัสเซีย อักษรซีริลลิก ปริวรรตเป็นอักษรละติน คำแปล

Над Отчизной величаво –
Башни древнего Кремля.
Славься, прадедов держава,
Вся Российская земля!

Ты – духовностью богата
И соборностью крепка –
По крупице, трудно, свято
Собиралась на века.

Единением народов
Нерушима и сильна,
Одолеет все невзгоды
Наша мудрая страна.

Над Отчизной величаво –
Башни древнего Кремля.
Славься, прадедов держава,
Вся Российская земля!

Nad Otchiznoy velichavo –
Bashni drevnego Kremlya.
Slav'sya, pradedov derzhava,
Vsya Rossiyskaya zemlya!

Ty – dukhovnost'yu bogata
I sobornost'yu krepka –
Po krupitse, trudno, svyato,
Sobiralas' na veka.

Yedineniyem narodov
Nerushima i sil'na,
Odoleyet vse nevzgody
Nasha mudraya strana.

Nad Otchiznoy velichavo –
Bashni drevnego Kremlya.
Slav'sya, pradedov derzhava
Vsya Rossiyskaya zemlya!

Above the Motherland majestically –
The towers of the ancient Kremlin.
Hail, State of our forefathers,
All the Russian land!

You — rich in spirituality
And strong in fellowship –
Gradually, through hardship and holiness,
Have come together forever.

Through unity of its peoples,
Unbreakable and strong,
Our wise country
Will overcome all adversities.

Above the Motherland majestically –
The towers of the ancient Kremlin.
Hail, State of our forefathers,
All the Russian land!

มีเดีย[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]