ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวียดนาม
ฉายาNhững Chiến Binh Sao Vàng
(นักรบดาวทอง, นักรบงเหวียน)[1][2][3]
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลเวียดนาม (VFF)
สมาพันธ์ย่อยAFF (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์AFC (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนคิม ซัง-ซิค
กัปตันเกว๊ หง็อก หาย
ติดทีมชาติสูงสุดเล กง วิญ (83)
ทำประตูสูงสุดเล กง วิญ (51)
สนามเหย้าสนามกีฬาหมีดิ่ญ
รหัสฟีฟ่าVIE
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 116 ลดลง 1 (20 มิถุนายน 2024)[4]
อันดับสูงสุด84 (กันยายน ค.ศ. 1998[5])
อันดับต่ำสุด172 (ธันวาคม ค.ศ. 2006)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ในฐานะเวียดนามเหนือ

ธงชาติจีน จีน 5–3 เวียดนามเหนือ ธงชาติเวียดนามเหนือ
(ประเทศจีน; 4 ตุลาคม ค.ศ. 1956)[6]
ในฐานะเวียดนามใต้
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 3–2 เวียดนามใต้ ธงชาติเวียดนามใต้
(หม่องก็อก ฮ่องกง; 20 เมษายน ค.ศ. 1947)[7]
ในฐานะเวียดนาม

ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 2–2 ฟิลิปปินส์ ธงชาติฟิลิปปินส์
(มะนิลา, ประเทศฟิลิปปินส์; 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991)
ชนะสูงสุด
เวียดนาม 11–0 กวม ธงชาติกวม
(นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม; 23 มกราคม ค.ศ. 2000)
แพ้สูงสุด
ธงชาติซิมบับเว ซิมบับเว 6–0 เวียดนาม
(กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997)
ธงชาติโอมาน โอมาน 6–0 เวียดนาม
(อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้; 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003)
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 6–0 เวียดนาม
(ซูวอน ประเทศเกาหลีใต้; 17 ตุลาคม ค.ศ. 2023)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม5 (ครั้งแรกใน 1956)
ผลงานดีที่สุดในฐานะ เวียดนามใต้ เวียดนามใต้:

ในฐานะ เวียดนาม เวียดนาม:

  • รอบก่อนรองชนะเลิศ (2007, 2019)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
เข้าร่วม14 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2008, 2018)

ฟุตบอลทีมชาติเวียดนาม (เวียดนาม: Đội tuyển bóng đá quốc gia Việt Nam) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศเวียดนาม ภายใต้สหพันธ์ฟุตบอลเวียดนาม มีฉายาที่นิยมเรียกกันว่า "นักรบดาวทอง"

เวียดนามมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลมายาวนาน เริ่มต้นจากฝรั่งเศสประเทศเจ้าอาณานิคมที่เริ่มนำกีฬาฟุตบอลเข้ามาเผยแพร่ในศตวรรษที่ 19 แต่ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบจากสงครามเวียดนามในช่วงศตวรรษที่ 20 ทำให้พัฒนาการของทีมฟุตบอลเวียดนามหยุดชะงักไป[8][9] ภายหลังการแบ่งประเทศเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ใน ค.ศ. 1954 มีการสร้างทีมชาติขึ้นสองทีม ได้แก่ ทีมชาติเวียดนามเหนือ ซึ่งไม่ค่อยมีผลงานในทางฟุตบอลเท่าใดนัก เพราะแข่งขันเฉพาะกับทีมจากชาติคอมมิวนิสต์อื่น (ค.ศ. 1956 - 1966) และทีมชาติเวียดนามใต้ ซึ่งได้ร่วมแข่งขันในระดับทวีป ทั้งนี้ ทีมฟุตบอลทั้งสองอยู่ภายใต้การบริหารโดยสมาคมที่แยกจากกัน และใน ค.ศ. 1976 ทีมชาติเวียดนามอย่างในปัจจุบันได้ถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังจากที่สองประเทศได้รวมกัน อยู่ภายใต้การบริหารของสหพันธ์เดียวกันมานับแต่นั้น[10]

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เวียดนามได้ยกระดับตนเองกลับไปเป็นทีมชั้นนำในภูมิภาคอีกครั้ง และกีฬาฟุตบอลก็มีส่วนสำคัญในสังคมเวียดนาม โดยถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมอำนาจอ่อนที่ช่วยลบภาพลักษณ์ในแง่ลบของประเทศจากเหตุการณ์สงครามเวียดนาม สิ่งเหล่านี้ทำให้เวียดนามมีความเป็นชาตินิยมสูง และกลุ่มผู้สนับสนุนทีมชาติเวียดนามได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มกองเชียร์ที่มีความคลั่งไคล้ฟุตบอลมากที่สุด ประกอบด้วยประชาชนทุกเพศทุกวัยซึ่งให้การสนับสนุนทั้งทีมเยาวชนและทีมชาติชุดใหญ่[11]

เวียดนามเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน โดยชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนสองสมัยในปี ค.ศ. 2008 และ 2018 และในการแข่งขันระดับทวีป พวกเขาคว้าอันดับสี่ในรายการเอเชียนคัพสองครั้งในนามเวียดนามใต้ใน ค.ศ. 1956 และ 1960 ซึ่งในสมัยนั้นมีการแข่งขันกันเพียง 4 ทีม และภายหลังการรวมทีม เวียดนามผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายได้อีกสองครั้งใน ค.ศ. 2007 และ 2019 เวียดนามมีทีมคู่ปรับคือชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยทีมชาติไทยถือเป็นคู่ปรับที่สำคัญที่สุด

ประวัติ

[แก้]

ยุคแรก (1896)

[แก้]
ทีมชาติเวียดนามในยุคแรกถ่ายภาพร่วมกับกลุ่มข้าราชการชาวฝรั่งเศส ประมาณ ค.ศ. 1922–23

กีฬาฟุตบอลในประเทศเวียดนามมีจุดเริ่มต้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1896 ในสมัยของดินแดนโคชินไชนา ดินแดนทางใต้ของเวียดนามซึ่งตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในยุคนั้น กีฬาฟุตบอลจะเล่นกันเฉพาะในกลุ่มข้าราชการ พ่อค้า และทหารชาวฝรั่งเศสเท่านั้น ในเวลาต่อมา ชาวฝรั่งเศสเริ่มสนับสนุนให้ชาวเวียดนามในท้องถิ่นออกกำลังกายและรู้จักกับกีฬาฟุตบอลเป็นครั้งแรก รวมทั้งสนับสนุนกีฬาชนิดอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจในสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวาย ส่งผลให้กีฬาฟุตบอลได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทางตอนเหนือและตอนกลางของเวียดนาม[12][13]

ในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1908 หนังสือพิมพ์หลุกติ๋ญเตินวัน ได้นำเสนอข่าวการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาวเวียดนามท้องถิ่นสองทีมเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมาได้มีการตีพิมพ์คู่มือแนะนำการเล่นฟุตบอลขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1925 โดยแพทย์ชาวเวียดนามชื่อ ฝั่ม วัน เตี๊ยก เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนตื่นตัวและสนใจกีฬาฟุตบอลมากขึ้น[14] สามปีต่อมา รัฐบาลได้ก่อตั้งสมาคมกีฬาในนาม Annamite Sports Bureau และได้ส่งทีมฟุตบอลไปแข่งขันที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมา สโมสรฟุตบอลท้องถิ่นหลายสโมสรได้ก่อตั้งขึ้นในเวียดนามทั้งทางตอนเหนือและทางใต้ แต่ได้หยุดชะงักไปจากภาวะสงคราม กระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สโมสรฟุตบอลในภูมิภาคได้เริ่มมีการจัดระเบียบมากขึ้น[15] การแข่งชันนานาชาติครั้งแรกของเวียดนามจัดขึ้นที่ไซ่ง่อน (นครโฮจิมินห์) เวียดนามแพ้เกาหลีใต้ด้วยผลประตู 2–4

South Vietnam
ทีมชาติเวียดนามใต้คว้าเหรียญทองในการแข่งขัน Southeast Asian Peninsular Games (กีฬาซีเกมส์ในปัจจุบัน) ใน ค.ศ. 1959 ที่กรุงเทพมหานคร
North Vietnam
ทีมชาติเวียดนามเหนือใน ค.ศ. 1956

เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ (1954–1976)

[แก้]

ทีมฟุตบอลของเวียดนามได้ถูกแบ่งเป็นสองทีมภายหลังประเทศเวียดนามถูกแยกเป็นสองประเทศคือเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ทีมชาติเวียดนามใต้ได้ร่วมแข่งขันรายการใหญ่อย่างเอเชียนคัพซึ่งจัดแข่งขันในสองครั้งแรกใน ค.ศ. 1956 และ 1960 จบการแข่งขันด้วยอันดับ 4 ทั้งสองครั้ง และคว้าเหรียญทองแรกในซีเกมส์ ค.ศ. 1959 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย รวมทั้งมีส่วนร่วมในฟุตบอลโลก 1974 รอบคัดเลือก โดยเอาชนะไทย 1–0 ก่อนจะแพ้สองนัดในรอบแบ่งกลุ่มต่อญี่ปุ่น (0–4) และฮ่องกง (0–1) และลงแข่งขันนัดสุดท้ายในนามเวียดนามใต้ใน ค.ศ. 1975 แพ้มาเลเซีย 0–3 ในขณะที่ทีมชาติเวียดนามเหนือมีผลงานน้อยกว่ามาก พวกเขาไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรระดับภูมิภาคหรือระดับทวีปใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ มีเพียงการแข่งขันกับทีมอื่นในชาติคอมมิวนิสต์ด้วยกันในระหว่าง ค.ศ. 1956–66 ลงเล่นนัดแรกแพ้จีน 3–5 มีผู้ฝึกสอนคนแรกคือ เจือง เติ๊น บื๋ว และร่วมแข่งขันในการแข่งขันกีฬาของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาใหม่ ที่อินโดนีเซีย (ค.ศ. 1962) และกัมพูชา (ค.ศ. 1966) ทั้งสองทีมได้ยุติบทบาทลงสิ้นเชิงเมื่อเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมกันกลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม ก่อนที่ทีมชาติจะรวมตัวกันและได้รับการรับรองสถานะจากฟีฟ่าใน ค.ศ. 1976 และอยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรเดียวกัน

ตกต่ำ

[แก้]

ในช่วงทศวรรษ 1980 ถือเป็นยุคตกต่ำของวงการกีฬาเวียดนาม การพัฒนากีฬาฟุตบอลในประเทศในช่วงเวลานั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากประเทศอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสงคราม สงครามเวียดนามส่งผลกระทบโดยตรงต่อทั้งเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ นอกจากนี้ ผลกระทบจากสงครามกัมพูชา–เวียดนาม และ สงครามจีน–เวียดนาม รวมถึงการคว่ำบาตรจากนานาชาติทำให้วงการฟุตบอลของเวียดนามถึงจุดตกต่ำถึงขีดสุด และกลายเป็นทีมที่อ่อนแอที่สุดทีมหนึ่งในโลก ด้วยเหตุนี้ ทีมชาติเวียดนามจึงยังไม่เป็นที่รู้จักในบรรดาชาติอื่น ๆ แม้จะมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ฟื้นตัวหลังสงคราม (1991–2006)

[แก้]

รัฐบาลเวียดนามพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยก่อตั้งฟุตบอลลีกของเวียดนามขึ้นใน ค.ศ. 1980 (วี.ลีก ดิวิชัน 1 ในปัจจุบัน) และหลังจาก ค.ศ. 1989 ที่นโยบายโด๋ยเม้ยมีผลในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วได้มีการก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลขึ้นใหม่อีกครั้ง วงการกีฬาของเวียดนามได้เริ่มฟื้นตัวและมีชื่อเสียงระดับนานาชาติอีกครั้ง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1989 ได้มีการประชุมที่กรุงฮานอยและมีการประกาศจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเวียดนามขึ้นอย่างเป็นทางการ และกำกับดูแลทีมชาติเวียดนามมาถึงทุกวันนี้ จิ่ญ หง็อก จื๋อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกีฬาได้รับเลือกให้เป็นประธานคนแรกของสหพันธ์[16] ใน ค.ศ. 1991 ทีมฟุตบอลเวียดนามได้ลงแข่งขันนัดแรกหลังการรวมประเทศโดยเสมอกับฟิลิปปินส์[17] และมีส่วนร่วมในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ค.ศ. 1994 และ 1998 แต่ไม่ประสบความสำเร็จโดยชนะได้เพียงนัดเดียวเท่านั้น

ใน ค.ศ. 1996 ทีมชาติเวียดนามได้ลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน เป็นครั้งแรกโดยคว้าอันดับสาม ก่อนจะเป็นเจ้าภาพใน ค.ศ. 1998 แพ้สิงคโปร์ในรอบชิงชนะเลิศ 0–1 และตั้งแต่ ค.ศ. 2000–07 เวียดนามยังคงมุ่งมั่นเพื่อคว้าถ้วยรางวัลระดับภูมิภาคนี้ให้ได้ แต่ก็ทำได้ดีที่สุดเพียงรอบรองชนะเลิศ และยังตกรอบแบ่งกลุ่มในบางปี และยังมีการปลุกกระแสความสนใจในกีฬาฟุตบอลอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเชิญสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ผู้ชนะการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกมาแข่งเกมกระชับมิตรที่ฮานอยใน ค.ศ. 1996 ซึ่งเวียดนามแพ้ไป 1–2 เวียดนามยังเป็นเจ้าภาพรายการ ดันฮิลล์ คัพ ใน ค.ศ. 1999 รายการพิเศษเพื่อเป็นเกมกระชับมิตรให้แก่ทีมชาติชุดใหญ่และทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ทีมชาติบางทีมได้ส่งผู้เล่นชุดใหญ่ร่วมแข่งขัน และเวียดนามสามารถสร้างความประหลาดใจด้วยการชนะรัสเซีย 1–0 และเสมออิหร่าน 2–2 ซึ่งทั้งสองชาติถือเป็นทีมชั้นนำเนื่องจากมีส่วนร่วมในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และ ฟุตบอลโลก 1998 ก่อนที่เวียดนามจะแพ้จีนในรอบรองชนะเลิศ 1–4

ชาวเวียดนามเริ่มมีความหวังในการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยพวกเขาทำผลงานดีขึ้นในการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2002 โดยชนะ 3 นัด เสมอ 1 นัด ก่อนที่พวกเขาจะแพ้ซาอุดีอาระเบียในเมืองอัดดัมมาม และไม่ประสบความสำเร็จในเอเชียนคัพ 2004 รอบคัดเลือกแพ้เกาหลีใต้และโอมาน แต่สามารถเอาชนะเกาหลีใต้ซึ่งคว้าอันดับ 4 ฟุตบอลโลกได้ 1–0 ที่มัสกัต ถือเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ทีมฟุตบอลเวียดนามรวมตัวกัน[18]

โกลเดน เจเนอเรชัน และประสบความสำเร็จ (2007–2010)

[แก้]
ทีมชาติเวียดนามชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008

เวียดนามเป็นเจ้าภาพร่วมในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 และพวกเขาลงแข่งขันในฐานะทีมที่มีอันดับต่ำที่สุดเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย แต่ในรอบแบ่งกลุ่มพวกเขาสร้างความประหลาดใจโดยการเอาชนะทีมดังจากตะวันออกกลางอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2–0 ตามด้วยการเสมอกาตาร์ 1–1 และแพ้ญี่ปุ่นในนัดสุดท้าย 1–4 เวียดนามถือเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเจ้าภาพเพียงชาติเดียวในปีนั้นที่ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย และเป็นการผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการรวมประเทศ ท่ามกลางการออกมาเฉลิมฉลองของแฟนบอลเวียดนามตามท้องถนนในเมืองใหญ่ทั่วประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อนที่พวกเขาจะแพ้อิรัก 0–2 ซึ่งอิรักเป็นแชมป์ในปีนั้น นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จของวงการฟุตบอลเวียดนามนับตั้งแต่รวมประเทศ

เวียดนามชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008 เป็นครั้งแรก พวกเขาอยู่ร่วมกลุ่มบีกับทีมไทย, มาเลเซีย และลาว แม้จะแพ้ไทยในนัดเปิดสนาม 0–2 พวกเขาเอาชนะมาเลเซีย (3–2) และลาว (4–0) ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศพบกับสิงคโปร์ โดยเสมอกันในนัดแรก 0–0 ที่เวียดนาม ก่อนจะบุกไปชนะได้ 1–0 และเวียดนามเอาชนะไทยในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 3–2 โดยบุกไปชนะได้ถึงราชมังคลากีฬาสถาน 2–1 และเสมอ 1–1 ที่เวียดนาม[19] นี่ถือเป็นความสำเร็จถ้วยแรกของเวียดนามหลังรวมประเทศ และพวกเขาต้องรออีก 10 ปีในการกลับมาชนะรายการนี้อีกครั้ง

เวียดนามเกือบจะประสบความสำเร็จในเอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก โดยสามารถทำผลงานได้ดีในการพบกับซีเรีย, เลบานอน และจีน แต่ก็จบเพียงอันดับสาม และชนะได้หนึ่งนัดที่พบกับเลบานอนด้วยผลประตู 3–1[20] และบุกไปแพ้จีนที่หางโจว 1–6 แต่ยังบุกไปเสมอซีเรียและเลบานอนได้

ตกต่ำอีกครั้ง และสร้างทีมใหม่ (2010–2017)

[แก้]

หลังจากคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนได้ ผลงานของเวียดนามก็ตกลงไป พวกเขามีส่วนร่วมในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกปี 2010 และ 2014 รวมถึงเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก แต่ก็ตกรอบแบ่งกลุ่ม รวมถึงแพ้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 0–6 ในฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก และแพ้กาตาร์ในรอบคัดเลือกปี 2014 และมีผลงานที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบหลายปีจากการตกรอบคัดเลือกเอเชียนคัพ 2015 โดยจบอันดับสุดท้ายของกลุ่มตามหลังฮ่องกง, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ อุซเบกิสถาน

ในการแข่งขันระดับภูมิภาค เวียดนามก็ไม่สามารถกลับไปประสบความสำเร็จได้ พวกเขาแพ้มาเลเซียในรอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2010 และยังตกรอบแรกในการแข่งขันปี 2012 ด้วยผลงานเสมอ 1 นัด (พบกับพม่า) และแพ้ 2 นัด (พบไทยและฟิลิปปินส์)

เวียดนามเข้าสู่ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงโดยการแต่งตั้ง โทชิยะ มิอุระ อดีตนักฟุตบอลชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ฝึกสอนระหว่าง ค.ศ. 2014 ถึง 2016 โดยมีการเปลี่ยนรูปแบบการฝึกซ้อมใหม่ การพัฒนาผู้เล่นเยาวชนขึ้นมาสู่ทีมชุดใหญ่ จนสามารถทำผลงานยอดเยี่ยมในฟุตบอลเอเชียนเกมส์ 2014 ด้วยการเอาชนะทีมดังอย่างอิหร่าน 4–1[21] และมิอุระยังคงยึดแนวทางการสร้างทีมด้วยผู้เล่นอายุน้อย และลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014 ในฐานะเจ้าภาพร่วม แต่แพ้มาเลเซียในรอบรองชนะเลิศแม้จะบุกไปชนะที่มาเลเซียมาก่อน 2–1 แต่พวกเขากลับมาแพ้ในบ้านในนัดที่สอง 2–4[22] ตำรวจเวียดนามทำการสืบสวนและตรวจสอบการแข่งขันครั้งนี้ แต่ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ถึงการทุจริตและการติดสินบนตามที่มีการกล่าวอ้างจาก Sportradar บริษัทรับพนันอย่างถูกกฎหมายในสวิตเซอร์แลนด์[23][24]

มิอุระนำเวียดนามลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 แต่จบเพียงอันดับสาม ด้วยผลงานชนะสองนัด (ชนะจีนไทเป 2–1 และ 4–1) , เสมอ 1 นัด (พบอิรัก) และแพ้สามนัด (รวมถึงแพ้ไทยทั้งนัดเหย้าและเยือน) มิอุระถูกยกเลิกสัญญาภายหลังล้มเหลวในการพาทีมผ่านเข้าสู่โอลิมปิกฤดูร้อน 2016[25] เหงียน หืว ทั้ง เข้ามาคุมทีมต่อ และพาทีมเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 แพ้อินโดนีเซียในการต่อเวลาพิเศษในนัดที่สอง รวมผลประตูสองนัด 3–4[26] และจบอันดับสามในเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก ตามด้วยการตกรอบแรกในซีเกมส์ 2017 อย่างเหนือความคาดหมาย แม้จะชนะได้ 3 จาก 5 นัด เหงียน หืว ทั้ง ลาออก และทีมชุดนั้นได้รับเสียงวิจารณ์จากแฟนบอลอย่างมาก มาย ดึ๊ก จุง เข้ามารักษาการต่อและพาทีมชนะกัมพูชาในเอเชียนคัพรอบคัดเลือกด้วยผลประตูรวมสองนัด 7–1[27]

ยุคของพัก ฮัง-ซอ (2017–2023)

[แก้]
ทีมชาติเวียดนามในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019

เวียดนามเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ พัก ฮัง-ซอ ชาวเกาหลีใต้เข้ามาเป็นผู้ฝึกสอน ในช่วงแรก พักไม่เป็นที่ยอมรับในบรรดากลุ่มผู้สนับสนุนของเวียดนาม และถูกตั้งข้อสงสัยในความสามารถ[28] พักลงคุมทีมนัดแรกในเอเชียนคัพรอบคัดเลือกพาทีมเสมออัฟกานิสถาน 0–0 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2017 ส่งผลให้เวียดนามผ่านเข้าสู่เอเชียนคัพรอบสุดท้ายเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 2007 แต่พักก็ไม่ยังไม่เป็นที่ยอมรับเนื่องจากผลงานยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไร แต่เขาก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเมื่อพาทีมเวียดนามรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี คว้ารองแชมป์ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2018[29] และทำผลงานโดดเด่นใน เอเชียนเกมส์ 2018 ปิดท้ายด้วยการพาทีมชุดใหญ่เสมอจอร์แดนในนัดสุดท้ายรอบคัดเลือกเอเชียนคัพ 1–1[30] พักเข้ามายกระดับทีมชาติเวียดนามด้วยรูปแบบการเล่นที่เปลี่ยนไปจากฟุตบอลเกมรุกกลายเป็นฟุตบอลเกมรับแล้วสวนกลับที่เน้นผลการแข่งขันเป็นหลัก เสียประตูยาก อีกทั้งยังมีระบบความฟิตที่ดีขึ้น ทำให้เวียดนามมีผลงานที่ดีขึ้นอย่างมาก

ด้วยผู้เล่นอายุน้อยที่ทำผลงานโดดเด่น เวียดนามคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 ได้เป็นสมัยที่สอง ด้วยผลงานชนะ 3 นัด และ เสมอ 1 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ตามด้วยการชนะฟิลิปปินส์ในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 4–2 และเอาชนะมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 3–2[31] เวียดนามยังคงยึดผู้เล่นอายุต่ำกว่า 23 ปีเป็นแกนหลักในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 แม้จะต้องแข่งขันกับผู้เล่นทีมชุดใหญ่จากชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ในเอเชีย โดยพวกเขาลงแข่งในฐานะทีมที่มีอายุเฉลี่ยของผู้เล่นน้อยที่สุดในรายการ เวียดนามอยู่ในกลุ่มดีร่วมกับอิรัก อิหร่าน และเยเมน และผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้ในฐานะทีมอันดับสี่ที่มีผลงานดีที่สุดแม้พวกเขาจะแพ้สองนัดต่อ อิรัก (2–3) และ อิหร่าน (0–2) พวกเขาเอาชนะจอร์แดนในการดวลจุดโทษได้ในรอบต่อมา ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศเป็นครั้งที่สอง แม้พวกเขาจะแพ้ญี่ปุ่นในรอบก่อนรองชนะเลิศ 0–1 แต่ก็ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากถึงความสำเร็จในครั้งนี้

ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 เวียดนามอยู่ในกลุ่มจีร่วมกับไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยชนะได้ถึง 5 จาก 8 นัด และไม่แพ้คู่แข่งจากอาเซียนอีกสามทีมแม้แต่นัดเดียว แม้การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาจะทำให้พวกเขาต้องเล่นเกมในบ้านบางนัดที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนามผ่านเข้าสู่รอบที่ 3 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และยังได้สิทธิ์แข่งขันเอเชียนคัพ 2023 ที่ประเทศจีน ในฐานะหนึ่งในห้าทีมอันดับสองของกลุ่มที่มีผลงานดีที่สุด ถือเป็นทีมที่สองในอาเซียนต่อจากไทยที่เคยได้สิทธิ์ดังกล่าว[32] อย่างไรก็ตาม ในรอบที่ 3 เวียดนามไม่สามารถเอาชนะทีมมหาอำนาจในเอเชียที่อยู่ร่วมกลุ่มอย่าง ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบียได้ รวมทั้งทีมที่มีอันดับโลกดีกว่าพวกเขาอย่างจีน และ โอมาน โดยแพ้รวดใน 6 นัดแรก แม้จะเล่นได้ยอดเยี่ยมโดยแพ้ญี่ปุ่น, ซาอุดีอาระเบีย และออสเตรเลียไปเพียง 0–1 ทั้งสามนัด[33][34][35] รวมทั้งบุกไปแพ้จีนอย่างสนุก 2–3[36]

เวียดนามลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 อยู่ในกลุ่มบีร่วมกับอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, กัมพูชา และ ลาว ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศและแพ้ทีมไทยด้วยผลประตูรวมสองนัด 0–2[37] แม้เวียดนามจะตกรอบการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2022 หลังจากบุกไปแพ้ออสเตรเลียที่เมลเบิร์น 0–4[38] แต่ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ซึ่งตรงกับวันตรุษญวน เวียดนามสร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแรกของภูมิภาคอาเซียนที่ชนะในรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย โดยเอาชนะจีน 3–1[39] และยังถือเป็นทีมแรกจากอาเซียนในรอบ 65 ปีที่เอาชนะจีนในการแข่งขันทางการได้ นับตั้งแต่อินโดนีเซียชนะจีนในฟุตบอลโลก 1958 รอบคัดเลือก 2–0 และเวียดนามยังสามารถบุกไปยันเสมอญี่ปุ่นถึงไซตามะด้วยผลประตู 1–1 ในการแข่งขันนัดสุดท้าย ต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 พัก ฮัง-ซอ ได้ประกาศว่าเขาจะยุติบทบาทผู้ฝึกสอนหลังจบการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022[40] โดยในการแข่งขันรอบสุดท้าย เวียดนามผ่านเข้ารอบในฐานะอันดับหนึ่งของกลุ่ม จากผลงานชนะลาว, มาเลเซีย, เมียนมาร์ และเสมอสิงคโปร์ ตามด้วยการเอาชนะอินโดนีเซียในรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะเข้าไปแพ้ทีมชาติไทยในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 2–3[41]

2023–ปัจจุบัน

[แก้]

ฟิลิปป์ ทรุสซิเยร์ ผู้ฝึกสอนชาวฝรั่งเศสได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 ด้วยสัญญาจนถึง ค.ศ. 2026 โดยทรุสซิเยร์มีผลงานการพาทีมชาติแอฟริกาใต้และญี่ปุ่นลงแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 และ 2002 ถือเป็นผู้จัดการทีมชาติเวียดนามคนแรกที่เคยคุมทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย[42] นอกจากนี้ ทรุสซิเยร์ยังรับหน้าที่ผู้สอนทีมชาติเวียดนามรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ควบคู่ไปด้วย

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก เวียดนามลงแข่งในรอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 โดยอยู่ร่วมกลุ่มกับอิรัก, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ทรุสซิเยร์ประกาศก่อนการแข่งว่า เขาจะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเวียดนามที่อาศัยอยู่ในต่างแดนเข้ามาติดทีมชุดใหญ่มากขึ้น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีม[43] ฟิลิป เหงียน ถือเป็ผู้เล่นคนแรกจากต่างแดนที่ได้ลงเล่นในยุคของทรุสซิเยร์ โดยเขาเกิดที่เชโกสโลวาเกีย[44] ทรุสซิเยร์ประเดิมการคุมทีมด้วยการนำเวียดนามลงแข่งกระชับมิตรสองนัดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 และสามารถเอาชนะฮ่องกงและซีเรียได้[45] ในช่วงการแข่งขันกระชับมิตรจำนวนหกนัดระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 17 ตุลาคม ค.ศ. 2023 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก เวียดนามมีผลงานชนะสามนัดและแพ้สามนัด รวมถึงการแพ้เกาหลีใต้ถึง 0–6 ซึ่งเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ้ที่ขาดลอยที่สุดในประวัติศาสตร์ทีมชาติเวียดนาม รวมทั้งแพ้จีนและอุซเบกิสถาน[46] ต่อมา ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เวียดนามเริ่มต้นการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกรอบที่ 2 ด้วยการบุกไปชนะฟิลิปปินส์ด้วยผลประตู 2–0[47] แต่พวกเขาเปิดบ้านแพ้อิรักด้วยผลประตู 0–1 ในนัดต่อมาโดยเสียประตูในนาทีสุดท้ายของครึ่งหลัง[48] ในการแข่งขันสองนัดแรกนั้น ทรุสซิเยร์เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอายุน้อยหลายราย เช่น ฟาน ตวน ไท, หวอ มินญ์ จุง และ เหงียน ไทย เซิน[49]

เอเชียนคัพ 2023

[แก้]

เวียดนามได้สิทธิ์ลงแข่งขันเอเชียนคัพ 2023 โดยอยู่ร่วมกลุ่มกับอิรัก ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย[50] ก่อนการแข่งขันจะเริ่ม เวียดนามถูกตั้งคำถามในด้านความพร้อมของทีม โดยพวกเขาปราศจากผู้เล่นตัวหลัก เช่น ดั่ง วัน เลิม, ดว่าน วัน เหิ่ว และ เกว๊ หง็อก หาย ซึ่งบาดเจ็บ ส่งผลให้ทรุสซิเยร์ต้องใช่ผู้เล่นหน้าใหม่หลายรายประเดิมการแข่งขันในครั้งนี้ โดยหลายคนมีอายุน้อยกว่า 25 ปี เวียดนามตกรอบหลังจากแพ้สองนัดแรกต่อญี่ปุ่นด้วยผลประตู 2–4 และแพ้อินโดนีเซีย 0–1 ปิดท้ายด้วยการแพ้อิรัก 2–3 ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาตกรอบการแข่งขันรายการนี้โดยไม่มีคะแนน[51]

สนามแข่ง

[แก้]
สนามเหย้าของทีมชาติเวียดนาม
สนาม ความจุ ที่ตั้ง
สนามกีฬาหมีดิ่ญ 40,192 กรุงฮานอย
สนามกีฬาห่างเด๋ย 22,500 กรุงฮานอย
สนามกีฬาลัชถาด 28,000 เมืองไฮฟอง
สนามกีฬาท้งเญิ้ต 40,000 นครโฮจิมินห์
สนามกีฬาเกิ่นเทอ 60,000 เกิ่นเทอ
Gò Đậu Stadium 18,250 ถูเสิ่วหมต

เวียดนามลงเล่นที่ สนามกีฬาหมีดิ่ญ เป็นหลัก แม้จะมีการใช้สนามอีกหลายแห่งในการแข่งขันบางรายการเช่น สนามกีฬาห่างเด๋ย, สนามกีฬาลัชถาด, สนามกีฬาท้งเญิ้ต

คู่แข่ง

[แก้]

ไทย

[แก้]

ทีมชาติไทยถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของเวียดนามในภูมิภาคอาเซียน[52] การพบกันของทั้งคู่ได้รับการเปรียบเทียบเป็น "เอล กลาซิโก" ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมักได้รับความสนใจจากแฟนฟุตบอลทั้งสองทีมทุกครั้งที่พบกัน ทีมชาติเวียดนามในฐานะเวียดนามใต้พบกับทีมชาติไทยครั้งแรกในเกมกระชับมิตร ค.ศ. 1956 ที่นครโฮจิมินห์ และการพบกันในการแข่งขันทางการครั้งแรกของทั้งคู่คือกีฬาซีเกมส์ 1959 ซึ่งเวียดนามใต้คว้าชัยชนะได้ทั้งสองนัดในรอบแบ่งกลุ่มและรอบชิงชนะเลิศ คว้าเหรียญทองไปครอง แม้เวียดนามจะมีสถิติที่ดีกว่าทีมไทยในทุกรายการ (ชนะ 23 ครั้ง, เสมอ 11 ครั้ง และแพ้ 19 ครั้ง) ทว่านับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ไทยมีผลงานที่เหนือกว่าชัดเจน หากนับตั้งแต่ ค.ศ. 1991 จนถึงการพบล่าสุดในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 เวียดนามชนะไทยได้เพียง 3 ครั้ง, เสมอ 8 ครั้ง และแพ้ไปถึง 15 ครั้ง

ชัยชนะที่เวียดนามมีเหนือทีมชาติไทยที่สำคัญที่สุดคือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008 รอบชิงชนะเลิศ เวียดนามคว้าแชมป์โดยชนะไทยด้วยผลประตูรวมสองนัด 3–2 คว้าแชมป์เป็นสมัยแรก[53]

อินโดนีเซีย

[แก้]

อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งทีมในภูมิภาคอาเซียนที่พบกับเวียดนามหลายครั้ง โดยพบกันรวม 38 ครั้ง เวียดนามมีสถิติที่เป็นรอง โดยชนะ 12 ครั้ง เสมอ 10 ครั้ง และแพ้ 16 และนับตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา เวียดนามไม่สามารถชนะอินโดนีเซียในการแข่งขันทางการได้อีกเลย ทำได้เพียงเสมอและแพ้เท่านั้น และเวียดนามเอาชนะได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้นจากการพบกันใน 14 ครั้งหลังสุด ก่อนที่จะยุติสถิติเลวร้ายได้โดยเอาชนะได้ 3–1 ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2

สิงคโปร์

[แก้]

ในอดีตกระทั่งถึง ค.ศ. 2012 ที่สิงคโปร์เป็นมหาอำนาจในสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน พวกเขาเป็นคู่แข่งสำคัญของเวียดนามเช่นกัน ทั้งคู่พบกัน 39 ครั้ง เวียดนามมีสถิติเหนือกว่าโดยชนะไป 21 ครั้ง เสมอ 13 ครั้ง และแพ้เพียง 5 ครั้ง แต่เวียดนามมีผลงานที่ย่ำแย่ในการพบสิงคโปร์ในช่วง ค.ศ. 1993 ถึง 1998 โดยเฉพาะความพ่ายแพ้ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1998 แม้เวียดนามจะเป็นเจ้าภาพแต่พวกเขาแพ้สิงคโปร์ 0–1 (ในขณะนั้นรอบชิงชนะเลิศแข่งขันกันเพียงหนึ่งนัด) อย่างไรก็ตาม เวียดนามก็กลับมารักษาสถิติในการไม่แพ้สิงคโปร์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1998 จนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงเวลานี้ เวียดนามไม่สามารถชนะสิงคโปร์ด้วยผลต่างประตูมากกว่าหนึ่งลูกได้เลย และมีถึง 6 จาก 12 นัดที่เสมอกัน แม้เวียดนามจะชนะในอีก 6 นัดที่เหลือ

มาเลเซีย

[แก้]

ทีมชาติเวียดนามใต้มีผลงานการพบกันที่เป็นรองทีมชาติมาเลเซีย โดยชนะ 3 นัด, เสมอ 3 นัด และแพ้ 7 นัดในขณะนั้น มาเลเซียถือเป็นมหาอำนาจในวงการฟุตบอลของภูมิภาคอาเซียน แต่นับตั้งแต่มีการรวมประเทศ เวียดนามมีสถิติที่เหนือกว่ามาเลเซียมาก ชนะไป 13 ครั้ง, เสมอ 3 และแพ้เพียง 6 ครั้ง และไม่แพ้มาเลเซียมาตั้งแต่ ค.ศ. 2014

ภาพลักษณ์

[แก้]

ชื่อเรียก และกลุ่มผู้สนับสนุน

[แก้]

แม้ทีมชาติเวียดนามจะไม่มีชื่อเล่นอย่างเป็นทางการ ทว่ากลุ่มแฟนบอลรวมถึงสื่อได้ตั้งชื่อทีมว่า Những Chiến binh Sao vàng ซึ่งหมายถึง "นักรบดาวทอง" ซึ่งมาจากดาวที่ปรากฏบนธงชาติเวียดนาม และธงชาติยังปรากฏบนเสื้อแข่งของทีมมาทุกยุคสมัย[54] และสหพันธ์ฟุตบอลเวียดนามได้ใช้ชื่อดังกล่าวเรียกทีมตนเองมาถึงทุกวันนี้[55] นอกจากนี้ ทีมชาติเวียดนามยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "Tuyển"[56] ซึ่งหมายถึง "การคัดเลือก" โดยมาจากการเรียกโดยสื่อท้องถิ่นและประชากรท้องถิ่น โดยต้องการสื่อถึงนักฟุตบอลในทีมที่ได้รับคัดเลือกมาเพื่อเป็นตัวแทนของชาวเวียดนามทั้งชาติในการไล่ล่าความสำเร็จ และสร้างความภาคภูมิใจแก่คนในประเทศ

กองเชียร์เวียดนามในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 นัดที่พบกับญี่ปุ่น

กลุ่มแฟนบอลหรือผู้สนับสนุนของทีมชาติเวียดนามแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก โดยกลุ่มแรกมีชื่อเรียกทางการในภาษาอังกฤษคือ Vietnam Football Supporters หรือ VFS (เวียดนาม: Hội Cổ động viên Bóng đá Việt Nam) ก่อตั้งใน ค.ศ. 2014 และอีกหลุ่มหนึ่งคือ Vietnam Golden Stars หรือ VGS (เวียดนาม: Hội Cổ động viên Sao vàng Việt Nam) ก่อตั้งใน ค.ศ. 2017 ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีอิทธิพลต่อวิถิชีวิตคนเวียดนามมาก และชาวเวียดนามมีวัฒนธรรมการเชียร์ทีมแบบคลั่งไคล้ จริงจัง ทุกครั้งที่มีการแข่งขันเกมใหญ่หรือรายการสำคัญ จะปรากฏแฟนบอลของเวียดนามออกมารวมตัวกันบริเวณท้องถนนอย่างหนาแน่น และร่วมร้องเพลงชาติเวียดนาม หรือแม้แต่การแข่งขันในรายการเล็ก เช่น การแข่งขันของทีมรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี[57]

ชุดแข่ง

[แก้]

ปัจจุบันเวียดนามสวมชุดแข่งขันที่ผลิตโดยแกรนด์สปอร์ต เริ่มครั้งแรกตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2015 โดยแต่เดิมมีการเซ็นสัญญากันถึง ค.ศ. 2019 แต่ได้มีการขยายต่อถึง ค.ศ. 2023 ชุดแข่งทีมเหย้าของเวียดนามมักเป็นสีแดงล้วน และมีแถบสีเหลืองซึงสื่อถึงสีธงชาติของประเทศ และชุดทีมเยือนมักเป็นสีขาว โดยเคยสวมชุดสีน้ำเงินและสีเหลืองบ้างแต่ไม่บ่อยนัก

ผู้ผลิตชุดแข่ง ช่วงเวลา[58]
อาดิดาส 1995-2005
หลี่หนิง 2006-2008
ไนกี้ 2009-2014
แกรนด์สปอร์ต 2014-2023
โจกาโบล่า 2024–
เยอรมนี อาดิดาส (1995 - 2004)
1995 เหย้า
1995 เยือน
1998-1999 เหย้า
1998-1999 เยือน
2000-2002 เหย้า
2000-2002 เยือน
2003-2004 เหย้า
2003-2004 เยือน
2004 เหย้า
2004 เยือน
ไม่มีผู้สนับสนุน (2005)
2005 เหย้า
2005 เยือน
จีน หลี่หนิง(2006 - 2008)
2006–2008 เหย้า
2006–2008 เยือน
สหรัฐ ไนกี้(2009 - 2014)
2009–2010 เหย้า
2009–2010 เยือน
2010–2012 เหย้า
2010–2012 เยือน
2012–2014 เหย้า
2012–2014 เยือน
ไทย แกรนด์สปอร์ต (2014 - ปัจจุบัน)
2014-2015 เหย้า
2014–2015 เยือน
2016 เหย้า
2016 เยือน
2019 เหย้า
2019 เยือน
2020 เหย้า
2020 เยือน
2021 เหย้า
2021 เยือน

สถิติสำคัญ

[แก้]
เล กง วิญ เจ้าของสถิติผู้ทำประตูมากที่สุด และลงสนามมากที่สุดของทีมชาติเวียดนาม ได้รับการยกย่องเป็นนักฟุตบอลชาวเวียดนามที่เก่งที่สุดตลอดกาล[59][60]
  • นักเตะที่ทำประตูมากที่สุด - เล กง วิญ (51 ประตู)
  • นักเตะที่ลงสนามมากที่สุด - เล กง วิญ (83 นัด)
  • นักเตะที่อายุน้อยที่สุดที่เล่นให้ทีมชาติ - ฟาน ธาน บิญ (16 ปี 331 วัน - พบทีมชาติเนปาลในเอเชียนคัพ 2004 รอบคัดเลือก)

อันดับโลก

[แก้]

FIFA-ranking

อันดับโลกของทีมชาติเวียดนาม (ตั้งแต่ทศวรรษ 1990)
1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021
Same position 135 Fall 151 Rise 122 Rise 99 Fall 104 Rise 98 Fall 102 Rise 99 Fall 105 Fall 108 Rise 98 Fall 103 Fall 120 Fall 172 Rise 142 Fall 155 Rise 123 Fall 137 Rise 99 Fall 131 Fall 144 Rise 137 Fall 147 Rise 134 Rise 112 Rise 100 Rise 97 Rise 94 Fall 98

รายชื่อผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

รายชื่อผู้เล่น 23 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 16 มกราคม พ.ศ. 2566

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 หลังจากการพบกับ ไทย

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK Trần Nguyên Mạnh (1991-12-20) 20 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 33 0 เวียดนาม นามดิ่ญ
21 1GK Nguyễn Văn Toản (1999-11-26) 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 3 0 เวียดนาม ไฮฟอง
23 1GK ดั่ง วัน เลิม (1993-08-13) 13 สิงหาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 36 0 เวียดนาม บิ่ญดิ่ญ

2 2DF โด๋ ซวี หมั่ญ (1996-09-29) 29 กันยายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 49 1 เวียดนาม ฮานอย
3 2DF เกว๊ หง็อก หาย (1993-05-15) 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 72 5 เวียดนาม ซงลามเหงะอาน
4 2DF บุย เตียน ดุง (รองกัปตันทีม) (1995-10-02) 2 ตุลาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 46 1 เวียดนาม วิเอตเตล
5 2DF ดว่าน วัน เหิ่ว (1999-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 35 1 เวียดนาม ตำรวจฮานอย
6 2DF Nguyễn Thanh Bình (2000-11-02) 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (24 ปี) 11 1 เวียดนาม วิเอตเตล
7 2DF Nguyễn Phong Hồng Duy (1996-06-13) 13 มิถุนายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 32 0 เวียดนาม ฮหว่างอัญซาลาย
12 2DF Bùi Hoàng Việt Anh (1999-01-01) 1 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 10 0 เวียดนาม ฮานอย
13 2DF Hồ Tấn Tài (1997-11-06) 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 21 4 เวียดนาม บิ่ญดิ่ญ
16 2DF Nguyễn Thành Chung (1997-09-08) 8 กันยายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 21 0 เวียดนาม ฮานอย
17 2DF วู วาน ตัน (1996-04-14) 14 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 41 5 เวียดนาม ตำรวจฮานอย

8 3MF โด ฮุง ดุง (กัปตันทีม) (1993-09-08) 8 กันยายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 33 1 เวียดนาม ฮานอย
11 3MF เหงียน ต๊วน อัญ (1995-05-16) 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 33 1 เวียดนาม ฮหว่างอัญซาลาย
14 3MF เหงียน ฮวง ดึ๊ก (1998-01-11) 11 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 27 2 เวียดนาม วิเอตเตล
15 3MF Châu Ngọc Quang (1996-02-01) 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (28 ปี) 5 1 เวียดนาม ฮหว่างอัญซาลาย
19 3MF เหงียน กวาง หาย (1997-04-12) 12 เมษายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 52 10 ฝรั่งเศส โป
20 3MF ฟาน วาน ดึ๊ก (1996-04-11) 11 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 43 5 เวียดนาม ตำรวจฮานอย

9 4FW เหงียน วัน ตวน (1996-04-12) 12 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 50 6 เกาหลีใต้ โซล อี-แลนด์
10 4FW เหงียน วัน เกวี๊ยต (1991-07-01) 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 57 16 เวียดนาม ฮานอย
18 4FW ฟาม ตวน ไห่ (1998-05-19) 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 16 2 เวียดนาม ฮานอย
22 4FW เหงียน เตี๊ยน ลินห์ (1997-10-20) 20 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 39 18 เวียดนาม บีคาเม็กซ์ บินห์เยือง

คณะผู้ฝึกสอน

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีม คิม ซัง-ซิค
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค Takeshi Koshida
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม Mai Xuân Hợp
Ngô Tuấn Vinh
Nguyễn Thăng Long
Trương Đình Luật
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เวียดนาม Trần Minh Quang
แพทย์ประจำทีม เวียดนาม Tuấn Nguyên Giáp
เกาหลีใต้ Choi Ju-young
เวียดนาม Trần Anh Tuấn
โค้ชฟิตเนส เกาหลีใต้ Park Sung-gyun
ล่าม เกาหลีใต้ Lee Jung-hak
เวียดนาม Lê Huy Khoa

ผลงาน

[แก้]
  • 1930-1990 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1994-2026 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1956-1992 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1996-2004 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2007 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2019 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2023 - รอบแบ่งกลุ่ม
  • 1996 - อันดับ 3
  • 1998 - รองชนะเลิศ
  • 2000 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2002 - อันดับ 3
  • 2004 - รอบแรก
  • 2007 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2008 - ชนะเลิศ
  • 2010 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2012 - รอบแรก
  • 2014 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2016 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2018 - ชนะเลิศ
  • 2020 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2022 - รองชนะเลิศ

รางวัลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Linh Pham (2019-01-20). "Vietnam football team: when Golden Star warriors get emboldened". hanoitimes.vn.
  2. VFF (2021-05-25). "Chủ tịch nước Nguyễn Xuân Phúc chúc các chiến binh sao vàng giành vé vào vòng loại thứ ba World Cup 2022" (ภาษาเวียดนาม). vff.org.vn.
  3. VFF Facebook Official (2021-07-01). "Liên đoàn Bóng đá Việt Nam - VFF" (ภาษาเวียดนาม). VFF. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  4. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  5. "Vietnam National Football Team: FIFA Ranking". FIFA Ranking.net. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  6. "North Vietnam matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: North Vietnam. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  7. "Vietnam matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Vietnam. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  8. Agathe Larcher-Goscha (2009). "Du Football au Vietnam (1905–1949) : colonialisme, culture sportive et sociabilités en jeux" [Football in Vietnam (1905–1949): colonialism, sports culture and sociabilities in games]. Outre-Mers. Revue d'histoire (ภาษาฝรั่งเศส): 61–89 – โดยทาง Persée.
  9. "Asian Cup: Know Your History – Part One (1956–1988)". Goal.com. 7 January 2011. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
  10. Scott Sommerville (16 November 2017). "The Reunification Game that brought North and South Vietnam together". These Football Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2018. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
  11. "Vietnamese nationalism & the U23 Asian championship tournament". tuannyriver (ภาษาอังกฤษ). 2018-01-27.
  12. Epstein, Irving (2008). The Greenwood Encyclopedia of Children's Issues Worldwide (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-33620-1.
  13. Larcher-Goscha, Agathe (2009). "Du Football au Vietnam (1905-1949) : colonialisme, culture sportive et sociabilités en jeux". Outre-Mers. Revue d'histoire. 96 (364): 61–89. doi:10.3406/outre.2009.4414. ISSN 1631-0438.
  14. "Pham Van Tiec: the doctor who wrote Vietnam's first football guidebook - Tuoi Tre News". web.archive.org. 2018-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. "A Brief Primer on Vietnam's Football History - Saigoneer". web.archive.org. 2018-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. "VFF - Chủ tịch LĐBĐVN qua các nhiệm kỳ". web.archive.org. 2018-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  17. "World Football Elo Ratings". www.eloratings.net (ภาษาอังกฤษ).
  18. www.footballdatabase.eu https://www.footballdatabase.eu/en/match/summary/1036445-coree_du_sud-vietnam. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  19. "Bàn thắng phút chót giúp VN lần đầu vô địch Đông Nam Á - VnExpress Thể Thao". web.archive.org. 2018-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  20. "VL Asian Cup 2011, Việt Nam-Lebanon 3-1: Tuyệt vời Việt Nam!". thethaovanhoa.vn (ภาษาเวียดนาม). 2009-01-14.
  21. "Olympic Việt Nam 4-1 Iran: Địa chấn trên đất Hàn". ZingNews.vn (ภาษาเวียดนาม). 2014-09-15.
  22. RAJAN, ERIC SAMUEL and K. "Malaysia crumble to Vietnam in AFF Suzuki Cup semis". The Star (ภาษาอังกฤษ).
  23. "No sign of match-rigging detected in Vietnam-Malaysia semi: AFF". Tuoi Tre News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-12-15.
  24. "Vietnam to investigate team bank accounts after shocking AFF Cup loss". Thanh Nien Daily. 2014-12-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.
  25. "Toshiya Miura sacked as Vietnam's men's football coach". en.nhandan.vn (ภาษาอังกฤษ).
  26. "Gia hạn hợp đồng với HLV Nishino, Thái Lan đặt mục tiêu dự World Cup 2026". Báo Thanh Niên (ภาษาเวียดนาม). 2020-01-23.
  27. "Vietnam on brink of Asian Cup qualification". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2017-10-10.
  28. https://dantri.com.vn/the-thao/su-nghi-ngo-ve-nang-luc-cua-hlv-park-hang-seo-20171115223902996.htm
  29. VIR, Vietnam Investment Review- (2018-01-27). "Vietnam 1-2 Uzbekistan: Vietnam comes second at Asian U23 Championship". Vietnam Investment Review - VIR (ภาษาอังกฤษ).
  30. VIR, Vietnam Investment Review- (2018-03-28). "Asian Cup 2019 qualifiers: Vietnam hold Jordan to a 1-1 draw". Vietnam Investment Review - VIR (ภาษาอังกฤษ).
  31. VnExpress. "Unforgettable: Vietnam's AFF Cup 2018 journey - VnExpress International". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ).
  32. "Malaysia 1-2 Vietnam: World Cup dream over for Harimau Malaya | Goal.com". www.goal.com.
  33. "FIFA World Cup Qatar 2022™". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  34. "FIFA World Cup Qatar 2022™". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  35. "FIFA World Cup Qatar 2022™". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  36. "the-afc.com". www.the-afc.com.
  37. Limited, Bangkok Post Public Company. "Thailand to face Indonesia in Suzuki Cup final". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-12-27.
  38. "Socceroos cruise to World Cup qualifier win over Vietnam". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-02-10.
  39. "China's World Cup hopes crushed by loss to Vietnam-Xinhua". www.xinhuanet.com.
  40. VnExpress. "Park reveals next plan after leaving Vietnam national team - VnExpress International". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ).
  41. cue (2023-01-16). "Football: Thailand retain AFF Championship after 3-2 aggregate win over Vietnam | The Straits Times". www.straitstimes.com (ภาษาอังกฤษ).
  42. "Le Français Philippe Troussier nommé sélectionneur du Vietnam". L'Équipe (ภาษาฝรั่งเศส).
  43. VnExpress. "Coach Troussier wants more overseas Vietnamese on national team - VnExpress International". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ).
  44. VnExpress. "Vietnamese-Czech footballer called up to U23 team - VnExpress International". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ).
  45. "Sau Hồng Kông (Trung Quốc), ĐT Việt Nam sẽ đá giao hữu với Syria". Báo điện tử Tiền Phong (ภาษาเวียดนาม). 2023-05-29.
  46. VnExpress. "Vietnam FIFA ranking ascends despite dropping points - VnExpress International". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ).
  47. VietnamPlus (2023-11-16). "2026 World Cup's Asian qualifiers: Vietnam beat Philippines 2-0 | Culture - Sports | Vietnam+ (VietnamPlus)". VietnamPlus (ภาษาอังกฤษ).
  48. VnExpress. "Iraq sink Vietnam with last minute goal in World Cup qualifier". VnExpress International – Latest news, business, travel and analysis from Vietnam (ภาษาอังกฤษ).
  49. thanhnien.vn (2023-11-22). "Đội tuyển Việt Nam và vị đắng của tuổi trẻ". thanhnien.vn (ภาษาเวียดนาม).
  50. Qatar, The draw has been made for the 2023 AFC Asian Cup in. "Draw made for AFC Asian Cup Qatar 2023". beIN SPORTS (ภาษาอังกฤษ).
  51. VnExpress. "Việt Nam lại thua Iraq ở phút cuối". vnexpress.net (ภาษาเวียดนาม).
  52. "OMG! This is Asia's Top 5 Football Rivalries | Seasia.co". Good News from Southeast Asia (ภาษาอังกฤษ).
  53. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  54. "Vietnam football team: when Golden Star warriors get emboldened". hanoitimes.vn (ภาษาอังกฤษ).
  55. "VFF - Chủ tịch nước Nguyễn Xuân Phúc chúc các chiến binh sao vàng giành vé vào vòng loại thứ ba World Cup 2022". VFF (ภาษาเวียดนาม). 2021-05-25.
  56. "'Tiến Linh và Trọng Hùng xứng đáng lên tuyển'". ZingNews.vn (ภาษาเวียดนาม). 2019-10-04.
  57. 王程呈. "Vietnamese people celebrate U23 national soccer team's victory - Xinhua | English.news.cn". www.xinhuanet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.
  58. "Comming soon". web.archive.org. 2018-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  59. "Vietnamese striker Le Cong Vinh named "ASEAN legend"". en.nhandan.vn (ภาษาอังกฤษ).
  60. Alsop, Peter. "AFF Suzuki Cup Icons: Le Cong Vinh (Vietnam)". www.affsuzukicup.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ฟุตบอลทีมชาติเวียดนาม ถัดไป
2007 สิงคโปร์ สิงคโปร์ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(2008 (สมัยที่ 1))
2010 มาเลเซีย มาเลเซีย
2016 ไทย ไทย อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(2018 (สมัยที่ 2))
2020 ไทย ไทย