ถ่านหิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ่านหิน

ถ่านหิน คือ หินชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจนจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถันเจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี

ประเภท[แก้]

การเกิดถ่านหินมีความหลากหลายทั้งจากปัจจัยของแหล่งกำเนิด ระยะเวลาและสภาวะต่างๆ ทำให้ถ่านหินจากแหล่งต่างกันมีองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างกันและถูกแบ่งประเภทไว้เป็นศักดิ์ (RANK) ตามความสมบูรณ์ทางธรณีวิทยาที่กลายเป็นถ่านหิน (Coalification Process) สามารถแยกประเภทตามลำดับชั้นได้เป็น 4 ประเภท คือ[1]

  1. ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินที่มีสีน้ำตาลผิวด้าน มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย มีคาร์บอนร้อยละ 60-75 มีออกซิเจนค่อนข้างสูง มีความชื้นสูงถึงร้อยละ 30-70 เมื่อติดไฟมีควันและเถ้าถ่านมาก มีความชื้นมาก เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า บ่มใบยาสูบ
  2. ซับบิทูมินัส (Subbituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าลิกไนต์ มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ผิวมีทั้งด้านและเป็นมัน มีทั้งเนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง มีความชื้นประมาณร้อยละ 25-30 มีคาร์บอนสูงกว่าลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าและงานอุตสาหกรรม
  3. บิทูมินัส (Bituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าซับบิทูมินัส เนื้อแน่น แข็ง มีสีน้ำตาลถึงสีดำสนิท ประกอบด้วยชั้นถ่านหินสีดำมันวาว ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการถลุงโลหะ และเป็นวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงอื่นๆ
  4. แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าบิทูมินัส มีลักษณะดำเป็นเงา มันวาวมาก มีรอยแตกเว้าแบบก้นหอย มีปริมาณคาร์บอนประมาณร้อยละ 90-98 ความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 2-5 มีค่าความร้อนสูงแต่ติดไฟยาก เมื่อติดไฟให้เปลวไฟสีน้ำเงิน ไม่มีควัน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของถ่านหินแต่ละประเภท[2]

ประเภทถ่านหิน ค่าความร้อน ค่าความชื้น ปริมาณขี้เถ้า ปริมาณกำมะถัน
ลิกไนต์ ต่ำ - ปานกลาง สูง สูง ต่ำ - สูง
ซับบิทูมินัส ปานกลาง - สูง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง
บิทูมินัส สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ
แอนทราไซต์ สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ

[พีตเป็นต้นกำเนิดถ่านหิน จึงยังไม่นับว่าเป็นถ่านหิน]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของโลก โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 41 มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น เนื่องจากมีราคาถูก และสามารถจัดหาได้ง่าย การใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าทั่วไปจะใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ถ่านหินมาต้มน้ำให้เกิดไอน้ำโดยใช้หม้อไอน้ำ (Steam Boiler) หรือเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Steam Generator)และส่งไอน้ำไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)เพื่อผลิตไฟฟ้า

นอกจากใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าแล้ว ถ่านหินยังเป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ อาหาร เป็นต้น สารเคมีต่างๆ ในถ่านหินยังสามารถแยกออกมาเพื่อผลิตพลาสติก น้ำมันทาร์ ไฟเบอร์สังเคราะห์ ปุ๋ย และยาได้

แหล่งถ่านหินนั้นมีกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแหล่งที่สามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ (Recoverable Reserves) มีประมาณ 70 ประเทศ ซึ่งจากการประมาณปริมาณสำรองถ่านหินของโลก โดย Energy Information Administration ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในปี พ.ศ. 2546 ทั่วโลกมีปริมาณสำรองถ่านหิน 1,000,912 ล้านตัน โดยพื้นที่ที่มีปริมาณสำรองถ่านหินอยู่มาก ได้แก่ ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศโปแลนด์ เยอรมัน และทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศรัสเซีย

เนื่องจากถ่านหินมีราคาถูก สามารถจัดหาได้ง่ายและกองเก็บไว้ในโรงไฟฟ้าได้ทำให้การผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับไฟฟ้าขั้นต่ำ (Base Load Demand) ส่วนความผันผวนของราคาถ่านหิน เนื่องจากถ่านหินเป็นสินค้า (Commodity)ชนิดหนึ่งซึ่งมีการซื้อขายกันในตลาดโลกเช่นเดียวกับน้ำมัน ราคาถ่านหินจึงอาจมีแนวโน้มสูงขึ้นหรือต่ำลงในลักษณะเดียวกับน้ำมันได้ ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ และการเก็งกำไรในตลาด อย่างไรก็ตามถ่านหินยังคงมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น

แนวโน้มการผลิต[แก้]

ในปี 2549 จีนเป็นผู้ผลิตถ่านหินมากที่สุด ร้อยละ 38 ตามด้วย สหรัฐอเมริกาและอินเดีย ตามการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี ของอังกฤษ ในปี 2555 สหรัฐอเมริกาได้ลดกำลังการผลิตถ่านหินลงร้อยละ 7 และมีการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน แล้วใช้แก๊สธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าแทน โดยความต้องการถ่านหินในประเทศที่ลดลง แต่ส่งออกถ่านหินในปริมาณเพิ่มขึ้น โดยประเทศแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ได้ผลิตถ่านหินเพื่อส่งออกไปยังจีน และประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย ในปี 2556 ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เพราะถ่านหินมีกำมะถันอยู่เป็นจำนวนมาก

ปริมาณถ่านหินสำรองของโลก[แก้]

จากการสำรวจพบว่า โลกของเรามีปริมาณถ่านหินสำรองประมาณ 948 พันล้านตัน ในปี 2550 มีการใช้ถ่านหิน 7.075 พันล้านตัน เทียบได้กับ ปริมาณน้ำมันดิบ 57 ล้านบาร์เรล ต่อวัน หรือเทียบกับ ก๊าซธรรมชาติ 51 ล้านบาร์เรล ต่อวัน (ข้อมูล ปี 2550)

จากการรายงานของ British Petroleum ในปี 2550 ในปี 2551 พบว่ามีปริมาณถ่านหินสำรองที่สามารถใช้ได้ประมาณ 147 ปี ตัวเลขนี้เป็นเพียงการขุดเจาะสำรวจของบริษัทด้านพลังงาน ซึงอาจมีพื้นที่มีถ่านหินแต่ไม่ได้รับการสำรวจอยู่ ในปัจจุบันบริษัทด้านพลังงานได้เร่งสำรวจปริมาณถ่านหินสำรองทั่วโลก แต่บางประเทศขาดการปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรของต้นเอง ทำให้ข้อมูลมีความคลาดเลือนได้

ปริมาณถ่านหินที่มีอยู่กระจายอยู่ใน 100 ประเทศทั่วโลก ทั่วทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ปริมาณสำรองที่พบมากที่สุด ประเทศสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, จีน, ออสเตรเลียและอินเดีย ดังแสดงในตาราง

ปริมาณสำรองถ่านหิน ณ ปี 2552 (พันล้านตัน )[3]
ประเทศ แอนทราไซต์ และ ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส ลิกไนต์ ทั้งหมด ร้อยละในโลก
 สหรัฐ 108,501 98,618 30,176 237,295 22.6
 รัสเซีย 49,088 97,472 10,450 157,010 14.4
 จีน 62,200 33,700 18,600 114,500 12.6
 ออสเตรเลีย 37,100 2,100 37,200 76,400 8.9
 อินเดีย 56,100 0 4,500 60,600 7.0
 เยอรมนี 99 0 40,600 40,699 4.7
 ยูเครน 15,351 16,577 1,945 33,873 3.9
 คาซัคสถาน 21,500 0 12,100 33,600 3.9
 แอฟริกาใต้ 30,156 0 0 30,156 3.5
 เซอร์เบีย 9 361 13,400 13,770 1.6
 โคลอมเบีย 6,366 380 0 6,746 0.8
 แคนาดา 3,474 872 2,236 6,528 0.8
 โปแลนด์ 4,338 0 1,371 5,709 0.7
 อินโดนีเซีย 1,520 2,904 1,105 5,529 0.6
 บราซิล 0 4,559 0 4,559 0.5
 กรีซ 0 0 3,020 3,020 0.4
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 484 0 2,369 2,853 0.3
 มองโกเลีย 1,170 0 1,350 2,520 0.3
 บัลแกเรีย 2 190 2,174 2,366 0.3
 ปากีสถาน 0 166 1,904 2,070 0.3
 ตุรกี 529 0 1,814 2,343 0.3
 อุซเบกิสถาน 47 0 1,853 1,900 0.2
 ฮังการี 13 439 1,208 1,660 0.2
 ไทย 0 0 1,239 1,239 0.1
 เม็กซิโก 860 300 51 1,211 0.1
 อิหร่าน 1,203 0 0 1,203 0.1
 เช็กเกีย 192 0 908 1,100 0.1
 คีร์กีซสถาน 0 0 812 812 0.1
 แอลเบเนีย 0 0 794 794 0.1
 เกาหลีเหนือ 300 300 0 600 0.1
 นิวซีแลนด์ 33 205 333-7,000 571–15,000[4] 0.1
 สเปน 200 300 30 530 0.1
 ลาว 4 0 499 503 0.1
 ซิมบับเว 502 0 0 502 0.1
 อาร์เจนตินา 0 0 500 500 0.1
รวมทั้งโลก 404,762 260,789 195,387 860,938 100

การผลิตถ่านหินของโลก[แก้]

ปริมาณถ่านหินสำรองที่ได้รับการสำรวจเพื่อการใช้งานดังแสดงในตาราง แสงประเทศที่มีการผลิตถ่านหินมากกว่า 100 ล้านตัน ในช่วง ปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2554

การผลิตถ่านหินของประเทศต่างๆ ในแต่ละปี (ล้านตัน) [5]
ประเทศ 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 ร้อยละ ปริมาณสำรอง (ปี)
 จีน 1834.9 2122.6 2349.5 2528.6 2691.6 2802.0 2973.0 3235.0 3520.0 49.5% 35
 สหรัฐ 972.3 1008.9 1026.5 1054.8 1040.2 1063.0 975.2 983.7 992.8 14.1% 239
 อินเดีย 375.4 407.7 428.4 449.2 478.4 515.9 556.0 573.8 588.5 5.6% 103
 สหภาพยุโรป 637.2 627.6 607.4 595.1 592.3 563.6 538.4 535.7 576.1 4.2% 97
 ออสเตรเลีย 350.4 364.3 375.4 382.2 392.7 399.2 413.2 424.0 415.5 5.8% 184
 รัสเซีย 276.7 281.7 298.3 309.9 313.5 328.6 301.3 321.6 333.5 4.0% 471
 อินโดนีเซีย 114.3 132.4 152.7 193.8 216.9 240.2 256.2 275.2 324.9 5.1% 17
 แอฟริกาใต้ 237.9 243.4 244.4 244.8 247.7 252.6 250.6 254.3 255.1 3.6% 118
 เยอรมนี 204.9 207.8 202.8 197.1 201.9 192.4 183.7 182.3 188.6 1.1% 216
 โปแลนด์ 163.8 162.4 159.5 156.1 145.9 144.0 135.2 133.2 139.2 1.4% 41
 คาซัคสถาน 84.9 86.9 86.6 96.2 97.8 111.1 100.9 110.9 115.9 1.5% 290
ปริมาณทั้งหมด 5,301.3 5,716.0 6,035.3 6,342.0 6,573.3 6,795.0 6,880.8 7,254.6 7,695.4 100% 112

ประเทศผู้บริโภคถ่านหินหลัก[แก้]

ตารางแสดงประเทศทีใช้ถ่านหิน มากว่า 20 ล้านตันต่อปี

ตารางแสดงการใช้ถ่านหินในแต่ละประเทศต่อปี (ล้านตัน)[6]
ประเทศ 2551 2552 2553 2554 ร้อยละ
 จีน 2,966 3,188 3,695 4,053 50.7%
 สหรัฐ 1,121 997 1,048 1,003 12.5%
 อินเดีย 641 705 722 788 9.9%
 รัสเซีย 250 204 256 262 3.3%
 เยอรมนี 268 248 256 256 3.3%
 แอฟริกาใต้ 215 204 206 210 2.6%
 ญี่ปุ่น 204 181 206 202 2.5%
 โปแลนด์ 149 151 149 162 2.0%
ทั้งโลก 7,327 7,318 7,994 N/A 100%

ประเทศส่งออกถ่านหินหลัก[แก้]

ประเทศที่มีการส่งออกถ่านหิน มากกว่าปีละ 10 ล้านตันจะแสดงในตาราง

ตารางแสดงการส่งออกถ่านหินแต่ละประเทศ ต่อปี (ล้านตัน)[7][8][9]
ประเทศ 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 ร้อยละ
 ออสเตรเลีย 238.1 247.6 255.0 255.0 268.5 278.0 288.5 328.1 27.1%
 อินโดนีเซีย 107.8 131.4 142.0 192.2 221.9 228.2 261.4 316.2 26.1%
 รัสเซีย 41.0 55.7 98.6 103.4 112.2 115.4 130.9 122.1 10.1%
 สหรัฐ 43.0 48.0 51.7 51.2 60.6 83.5 60.4 83.2 6.9%
 แอฟริกาใต้ 78.7 74.9 78.8 75.8 72.6 68.2 73.8 76.7 6.3%
 โคลอมเบีย 50.4 56.4 59.2 68.3 74.5 74.7 75.7 76.4 6.3%
 แคนาดา 27.7 28.8 31.2 31.2 33.4 36.5 31.9 36.9 3.0%
 คาซัคสถาน 30.3 27.4 28.3 30.5 32.8 47.6 33.0 36.3 3.0%
 เวียดนาม 6.9 11.7 19.8 23.5 35.1 21.3 28.2 24.7 2.0%
 จีน 103.4 95.5 93.1 85.6 75.4 68.8 25.2 22.7 1.9%
 มองโกเลีย 0.5 1.7 2.3 2.5 3.4 4.4 7.7 18.3 1.5%
 โปแลนด์ 28.0 27.5 26.5 25.4 20.1 16.1 14.6 18.1 1.5%
ทังหมด 713.9 764.0 936.0 1,000.6 1,073.4 1,087.3 1,090.8 1,212.8 100%

ประเทศนำเข้าถ่านหินหลัก[แก้]

ตารางแสดงประเทศที่มีการนำเข้าถ่านหิน ปีละไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัน [10]

ตารางแสดงการนำเข้าถ่านแต่ละประเทศ ต่อปี (ล้านตัน)[11]
ประเทศ 2549 2550 2551 2552 2553 ร้อยละ
 ญี่ปุ่น 199.7 209.0 206.0 182.1 206.7 17.5%
 จีน 42.0 56.2 44.5 151.9 195.1 16.6%
 เกาหลีใต้ 84.1 94.1 107.1 109.9 125.8 10.7%
 อินเดีย 52.7 29.6 70.9 76.7 101.6 8.6%
 ไต้หวัน 69.1 72.5 70.9 64.6 71.1 6.0%
 เยอรมนี 50.6 56.2 55.7 45.9 55.1 4.7%
 ตุรกี 22.9 25.8 21.7 22.7 30.0 2.5%
 บริเตนใหญ่ 56.8 48.9 49.2 42.2 29.3 2.5%
 อิตาลี 27.9 28.0 27.9 20.9 23.7 1.9%
 เนเธอร์แลนด์ 25.7 29.3 23.5 22.1 22.8 1.9%
 รัสเซีย 28.8 26.3 34.6 26.8 21.8 1.9%
 ฝรั่งเศส 24.1 22.1 24.9 18.3 20.8 1.8%
 สหรัฐ 40.3 38.8 37.8 23.1 20.6 1.8%
ทั้งหมด 991.8 1,056.5 1,063.2 1,039.8 1,178.1 100%

แหล่งถ่านหินในประเทศไทย[แก้]

ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มีปริมาณสำรองทั้งสิ้น ประมาณ 2,197 ล้านตัน แหล่งสำคัญอยู่ในภาคเหนือประมาณ 1,803 ล้านตัน หรือร้อยละ 82 ของปริมาณสำรองทั่วประเทศ ส่วนอีก 394 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 18 อยู่ภาคใต้ ถ่านหินส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำอยู่ในขั้นลิกไนต์และซับบิทูมินัส มีค่าความร้อนระหว่าง 2,800 - 5,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม หรือ ถ่านลิกไนต์ 2 - 3.7 ตัน ให้ค่าความร้อนเท่ากับน้ำมันเตา 1 ตัน ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ที่แม่เมาะ จ.ลำปาง และ จ.กระบี่ จัดว่าเป็นลิกไนต์ที่คุณภาพแย่ที่สุด พบว่าส่วนใหญ่ มีเถ้าปนอยู่มากแต่มีกำมะถันเพียงเล็กน้อย คาร์บอนคงที่อยู่ระหว่างร้อยละ 41 - 74 ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 7 - 30 และเถ้าอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 45 โดยน้ำหนัก ในช่วงที่ราคาน้ำมันยังไม่แพงประเทศไทยไม่นิยมใช้ลิกไนต์มากนักแต่ภายหลังที่เกิดวิกฤติน้ำมัน จึงได้มีการนำลิกไนต์มาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นทั้งในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แหล่งถ่านหินที่มีการสำรวจพบบางแหล่งได้ทำเหมืองผลิตถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว แต่บางแหล่งยังรอการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป

ในฐานะเป็นเชื้อเพลิงตัวหนึ่งถ่านหินก็มีข้อดีข้อด้อยในตัวเองเช่นเดียวกับเชื้อเพลิงน้ำมัน ก๊าซ และเชื้อเพลิงหมุนเวียน การพิจารณานำมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อสถานการณ์แตกต่างกันไป โดยข้อดีและข้อด้อยของเชื้อเพลิงชนิดต่างๆสามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้

เชื้อเพลิง ข้อดี ข้อเสีย
ถ่านหิน มีอยู่มาก ไม่ขาดแคลน ขนส่ง และเก็บง่าย ราคาถูก ปลอดภัย ไม่เสี่ยง มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมากที่สุด ปัญหาการยอมรับของสังคมทำให้ต้องมีการจัดการลดก๊าซ CO₂ มาก
น้ำมัน เหมาะสมกับภาคขนส่ง ใช้สะดวก ขนส่งและเก็บง่ายแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัว มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก ปริมาณสำรองเหลือน้อย
ก๊าซ มีประสิทธิภาพสูง ไม่เหลือกากหรือเศษที่ต้องกำจัด เหมาะสมกับภาคครัวเรือน มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก แปลงเป็นเชื้อเพลิงอื่น หรือผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ราคาผันผวนมาก ไม่มั่นคง มีแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัว มีความเสี่ยงขณะขนส่ง และเก็บ
นิวเคลียร์ เชื้อเพลิงราคาถูก ให้พลังงานมาก ปราศจากคาร์บอน การจัดการกับกากนิวเคลียร์ยังเป็นประเด็นปัญหา ปัญหาการยอมรับ ความเสี่ยงเรื่องความคุ้มค่าของสังคม เงินลงทุนสูงมาก
เชื้อเพลิงหมุนเวียน เกิดมลภาวะน้อย ใช้ได้ยั่งยืน ความเสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติ หรือการก่อการร้าย ปริมาณจำกัด ขึ้นอยู่กับพื้นที่และฤดูกาล มีไม่พอกับความต้องการ แต่พลังงานน้อย ใช้พื้นที่กองเก็บมาก ราคาผันผวน พลังงานแสงอาทิตย์ใช้พื้นที่มาก ให้พลังงานต่อน้ำหนักน้อย

การใช้ถ่านหินในประเทศไทย[แก้]

ถ่านหินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นลิกไนต์ (Lignite) ที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ คือมีค่าความร้อนต่ำ ความชื้นสูง เถ้าสูง และบางแหล่งมีปริมาณซัลเฟอร์สูง โดยมีแหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีถ่านหินที่มีคุณภาพสูงขึ้นคือ ซับบิทูมินัส (Sub bituminous) และแอนทราไซต์ (Anthracite)อยู่เพียงเล็กน้อย ที่จังหวัดเลย สำหรับปริมาณถ่านหินสำรองของประเทศไทย แบ่งเป็นลิกไนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า มีปริมาณ 1,140 ล้านตัน และซับบิทูมินัส ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม ประมาณ 200 ล้านตัน

ปัจจุบันประชาชนชาวไทยยังไม่ยอมรับเชื้อเพลิงถ่านหินมากนัก เนื่องจากประสบการณ์ในอดีตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเทคโนโลยีในสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยและการลงทุนติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมมลภาวะในขณะนั้นอาจยังไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบกับแหล่งถ่านหินในประเทศเป็นถ่านหินที่คุณภาพไม่ดีนัก และในปัจจุบันได้มีความนิยมในพลังงานทดแทนซึ่งประชาชนมองว่าเป็นพลังงานที่สะอาดกว่าถ่านหินอีกด้วย ถึงแม้ภายหลังจะได้รับการบริหารจัดการเป็นอย่างดี ทั้งด้านเทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น สามารถควบคุมและลดมลภาวะได้ดีมากกว่าในอดีต และการได้รับความยอมรับในบางพื้นที่ แต่ก็ยังเป็นที่กังวลของหลายฝ่าย จึงทำให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่านหินยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. สำราญ พฤกษ์สุนทร, คัมภีร์เคมี ฉบับสมบูรณ์ ม.4-5-6, สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา, พิมพ์ที่ โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, หน้า 313-314, ISBN 978-974-9719-57-2
  2. การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แบบรายงาน56-1 เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555
  3. World Energy Council – Survey of Energy Resources 2010 เก็บถาวร 2013-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (PDF) . Retrieved on 24 August 2012.
  4. Sherwood, Alan and Phillips, Jock. Coal and coal mining – Coal resources, Te Ara – the Encyclopedia of New Zealand, updated 2009-03-02
  5. "BP Statistical review of world energy 2012". British Petroleum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 18 August 2011.
  6. EIA International Energy Annual – Total Coal Consumption (Thousand Short Tons). Eia.gov. Retrieved on 2013-05-11.
  7. EIA International Energy Annual – Total Coal Exports (Thousand Short Tons). Tonto.eia.doe.gov. Retrieved on 24 August 2012.
  8. Table 114. World Metallurgical Coal Flows By Importing Regions and Exporting Countries 1,2/ (million short tons). eia.doe.gov
  9. World Coal Flows by Importing and Exporting Regions. Eia.doe.gov. Retrieved on 24 August 2012.
  10. EIA International Energy Annual: Coal Overview 2010. Eia.gov. Retrieved on 24 August 2012.
  11. International Energy Annual – Total Coal Imports (Thousand Short Tons) เก็บถาวร 2016-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Tonto.eia.doe.gov. Retrieved on 24 August 2012.