ราชการ
ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ราชการ (สำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) หรือ รัฐการ (สำหรับประเทศที่ไม่ได้มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) เป็นระบบการทำงานอย่างหนึ่งของรัฐ หมายถึง การงานของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล รวมไปถึงของทหารและตำรวจซึ่งอาจเรียกแยกเฉพาะว่า "ราชการฝ่ายทหาร" หรือ "รัฐการฝ่ายทหาร" แล้วแต่กรณี
ราชการไทย[แก้]
ข้าราชการการเมือง ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกันกับข้าราชการ
ตราพระราชทาน[แก้]
ราชการในประเทศไทยมีสัญลักษณ์ในเอกสารเป็นรูป "ครุฑ" (ครุฑพ่าห์) เป็นสัญลักษณ์หมายถึงพระราชบัลลังก์ และตราประจำแผ่นดินของไทย ใช้ประทับบนหัวจดหมายราชการ การบริหารราชการขึ้นอยู่แต่ละส่วนราชการ ภายใต้พระราชบัญญัติบริหารส่วนราชการแต่ละส่วน เช่น พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน มีระเบียบบริหารราชการ อัตราเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทนเป็นบัญชีต่างๆกันไป อีกทั้งมีการกำหนดเกณฑ์การเลื่อนลำดับชั้น งานหนังสือและสารบรรณ การเกษียณอายุ การเชิดชูเกียรติ เช่น การติดยศ การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่เฉพาะต่างกันไป งบประมาณ ที่ใช้ในระบบราชการ ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งนำจากการเก็บภาษีจากประชาชน