สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
สภาสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมฮังการี Magyarországi Szocialista Szövetséges Tanácsköztársaság (ฮังการี) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มีนาคม–สิงหาคม 1919 | |||||||||
![]() แผนที่แสดงอาณาเขตของ ราชอาณาจักรฮังการี ในเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 1919
อาณาเขตที่ควบคุมโดยโรมาเนียในเดือนเมษายน 1919
อาณาเขตที่ควบคุมโดยโซเวียตฮังการี
อาณาเขตของสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก ที่จัดตั้งขึ้นหลังจากโซเวียตฮังการีครอบครอง
อาณาเขตที่ควบคุมโดยยูโกสลาเวียและกองทัพฝรั่งเศส
พรมแดนของฮังการีในปี 1918
พรมแดนของฮังการีในปี 1920
| |||||||||
เมืองหลวง | บูดาเปสต์ 47°29′00″N 19°02′00″E / 47.4833°N 19.0333°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 47°29′00″N 19°02′00″E / 47.4833°N 19.0333°E | ||||||||
ภาษาทั่วไป | รัสเซีย ฮังการี | ||||||||
เดมะนิม | ชาวโซเวียต | ||||||||
การปกครอง | สาธารณรัฐสังคมนิยม | ||||||||
ผู้นำโดยพฤตินัย | |||||||||
• 1919 | เบลอ กุน[nb 1] | ||||||||
ประธานสภาบริหารกลาง | |||||||||
• 1919 | ซานโดร์ กอร์บอยี | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | National Assembly of Soviets | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยระหว่างสงคราม | ||||||||
• ก่อตั้ง | 21 มีนาคม 1919 | ||||||||
• รัฐธรรมนูญ | 23 มิถุนายน 1919 | ||||||||
• สิ้นสุด | 1 สิงหาคม 1919 | ||||||||
สกุลเงิน | รูเบิลโซเวียต | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
สภาสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมฮังการี (ฮังการี: Magyarországi Szocialista Szövetséges Tanácsköztársaság) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี (ฮังการี: Magyar Szovjet-köztársaság) หรือ สภาแห่งสาธารณรัฐฮังการี (ฮังการี: Magyarországi Tanácsköztársaság) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอายุสั้น[2] ดำรงอยู่ระหว่าง 21 มีนาคม 1919 จนถึง 1 สิงหาคม 1919 (133 วัน) เป็นรัฐสืบต่อจากสาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่ง[3] โดยมี ซานโดร์ กอร์บอยี เป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่ เบลอ กุน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ มีอำนาจและอิทธิพลมากกว่า การที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงของเหล่าไตรภาคี ผู้คงไว้ซึ่งการปิดล้อมทางเศรษฐกิจในฮังการี ความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านดินแดน และความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมอย่างถึงแก่น ทำให้สาธารณรัฐโซเวียต ล้มเหลวในเป้าหมายที่วางไว้ และถูกล้มล้างลงไม่กี่เดือนหลังจากมันถูกก่อตั้งขึ้น สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี ถือเป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมแห่งที่สองที่จัดตั้งขึ้นในยุโรปหลังจากการปฏิวัติเดือนตุลาคมในโซเวียตรัสเซีย สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีล่มสลายหลังจากกองทัพโรมาเนียสามารถยึดกรุงบูดาเปสต์ได้ในเดือนสิงหาคม 1919
และการถูกปรับปรุงพรมแดนใหม่[4] กองทัพฮังการีได้รับการวางระเบียบใหม่ และพยายามยึดคืนดินแดนที่เสียไปจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากทุกชนชั้นทางสังคมในฮังการี ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มที่เอื้อประโยชน์จากระบอบนี้เท่านั้น[5] กองกำลังของสาธารณรัฐโซเวียตได้รุกเข้าเชโกสโลวาเกียในพื้นที่สโลวาเกีย[6] แต่หลังจากความพ่ายแพ้ทางฝั่งตะวันออกต่อกองทัพโรมาเนียในปลายเดือนเมษายน ทำให้กองทัพต้องล่าถอยออกจากแม่น้ำทิสซอ[7] ต่อมาเมื่อกลางเดือนมิถุนายน ได้มีการประกาศจัดตั้ง “สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก” โดยดำรงอยู่เพียงสองสัปดาห์ จนกระทั่งฮังการีถอนกำลังออกจากสโลวาเกียตามคำร้องขอจากไตรภาคี[6] เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม สาธารณรัฐโซเวียตเริ่มเปิดการโจมตีโรมาเนีย[8] แต่หลังจากนั้นโรมาเนียสามารถต้านทานการโจมตีของฮังการีได้[9] และสามารถบุกฮังการีจนถึงบูดาเปสต์ หลังจากสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีล่มสลายเพียงไม่กี่วัน[10]
การที่รัฐบาลโซเวียตฮังการีมุ่งมั่นดำเนินการมาตรการและนโยบายสังคมนิยม ตามกลุ่มบอลเชวิครัสเซีย ทำให้สูญเสียการสนับสนุนจากประชาชนไปอย่างรวดเร็ว[11] ความพยายามเปลี่ยนฮังการีให้เป็นสังคมนิยมไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลขาดประสบการณ์ทั้งทางด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ[12] หลังจากการถอนกำลังออกจากสโลวาเกีย รัฐบาลได้บังคับใช้มาตรการเพื่อเรียกร้องการสนับสนุนของประชาชน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[13] ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีสูญเสียการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ไประหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงกรกฎาคม ซึ่งนำไปสู่ความล้มเหลวทางการทหารกับการเผชิญกับประเทศเพื่อนบ้าน ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ และความล้มเหลวในการปฏิรูปนโยบายต่าง ๆ [13][14] นำไปสู่การล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตในวันที่ 1 สิงหาคม[15]
ภาพรวม[แก้]
สภาแห่งสาธารณรัฐฮังการีประกาศจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1919 โดยครอบคลุมดินแดนประมาณ 23% ของอาณาเขตฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (325 411 km2) เป็นรัฐที่สืบทอดต่อจากสาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่ง และดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม จนถึง 1 สิงหาคมของปีเดียวกัน ถึงแม้ว่าผู้นำของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีโดยนิตินัยจะเป็น "ซานโดร์ กอร์บอยี" แต่ในทางพฤตินัยแล้ว อำนาจที่แท้จริงกลับอยู่ในมือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ "เบลอ กุน" ผู้ซึ่งติดต่อสื่อสารโดยตรงกับวลาดีมีร์ เลนินผ่านทางวิทยุโทรเลข โดยเลนินเป็นผู้สั่งการและให้คำแนะนำกับเบลอ กุนผ่านการสื่อสารทางวิทยุกับเครมลินอย่างต่อเนื่อง[16]
ถือเป็นรัฐคอมมิวนิสต์แห่งที่สองของโลกที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการปฏิวัติเดือนตุลาคมของโซเวียตรัสเซียในจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งนำไปสู่การขึ้นสู่อำนาจของพวกบอลเชวิค สภาแห่งสาธารณรัฐฮังการีมีความขัดแย้งทางทหารกับราชอาณาจักรโรมาเนีย, ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน และเชโกสโลวาเกียที่พึ่งก่อตั้งขึ้น โดยสิ้นสุดลงด้วยการที่ฮังการียอมจำนนต่อกองกำลังของโรมาเนียในวันที่ 1 สิงหาคม
ตามแหล่งข้อมูลจากภาษาอังกฤษ มักมีการใช้คำว่า "Hungarian Soviet Republic" ซึ่งเป็นการแปลที่ผิดพลาด การแปลโดยการยึดถือตามตัวอักษรที่ถูกต้องคือ "Republic of Councils in Hungary" การแปลแบบนี้ได้รับการยอมรับ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงต่อการแสดงถึงความหมายโดยนัยที่เกี่ยวข้องทางชาติพันธุ์ของชาวฮังการีอย่างรุนแรง และเพื่อเป็นการแสดงถึงทฤษฎีการอยู่ร่วมกันของชนกรรมาชีพของระบอบคอมมิวนิสต์แบบใหม่
ประวัติ[แก้]
สงครามโลกครั้งที่ 1 และสาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่ง[แก้]

เมื่อรัฐบาลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้ร้องขอสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 3 พฤศจิกายน[17] ส่งผลให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คล่มสลายในปี ค.ศ. 1918 เหตุการณ์ทางการทหารและการเมืองจึงแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง ในวันที่ 5 พฤศจิกายน กองทัพเซอร์เบียโดยการช่วยเหลือจากกองทัพฝรั่งเศสได้ข้ามพรมแดนทางตอนใต้ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน กองทัพเชโกสโลวาเกียได้ข้ามพรมแดนทางตอนเหนือ และในวันที่ 13 พฤศจิกายน กองทัพโรมาเนียได้ข้ามพรมแดนทางตะวันออกของราชอาณาจักรฮังการี[18] และได้เกิดการปฏิวัติดอกเบญจมาศ (ฮังการี: Őszirózsás forradalom) ทำให้สาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่ง ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน โดยมีนักเสรีนิยมนามว่า มิฮาย กาโรยี เป็นประธานาธิบดี กาโรยีพยายามจะสร้างอำนาจของรัฐบาลและควบคุมประเทศ ทำให้กองทัพฮังการีในตอนนั้นมีกำลังพลมากกว่า 1,400,000 นาย[19][20] เมื่อกาโรยีได้เป็นนายกรัฐมนตรีของฮังการี จึงยอมรับข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา วูดโรว์ วิลสัน โดยสั่งให้กองทัพฮังการีปลดอาวุธเพียงฝ่ายเดียว ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม เบลอ ลินแดร์ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1918[21][22] ประเทศฮังการีในช่วงเวลานั้นจึงมีความเปราะบางเป็นพิเศษ ทำให้การยึดครองฮังการีสำหรับกองทัพราชอาณาจักรโรมาเนีย กองทัพฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย และกองทัพเชโกสโลวาเกียเป็นไปอย่างง่ายดาย ฮังการีจึงสูญเสียดินแดนประมาณ 75% ของดินแดนของราชอาณาจักรฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยไม่มีการป้องกันประเทศและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของต่างชาติ[23]
การก่อกำเนิดของพรรคคอมมิวนิสต์[แก้]
พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีได้รับการจัดตั้งขึ้นที่โรงแรมแห่งหนึ่งในมอสโกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน โดยกลุ่มนักสังคมนิยมฝ่ายซ้ายนำโดย เบลอ กุน ต่อมาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พรรคคอมมิวนิสต์ที่พึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ก็ได้เดินทางจากมอสโกมายังบูดาเปสต์[24] ในวันที่ 24 พฤศจิกายน มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จากฮังการี (Hungarian: Kommunisták Magyarországi Pártja, KMP) เนื่องจากผู้สนับสนุนส่วนใหญ่มาจากชนชั้นแรงงานอุตสาหกรรมในเมืองฮังการี ซึ่งในขณะนั้นประกอบด้วยผู้คนที่มาจากชาติพันธุ์ไม่ใช่ชาวฮังการี โดยมีชาวฮังการีเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ในพรรค[25] พรรคได้คัดเลือกสมาชิกและเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ทำให้มีสมาชิกจากพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งฮังการีหัวรุนแรงเข้าร่วมพรรคเป็นจำนวนมาก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 สมาชิกภายในพรรคมีจำนวนทั้งหมด 30,000-40,000 คน โดยมีอดีตทหาร ปัญญาชนวัยเยาว์ และชนกลุ่มน้อยเป็นสมาชิกของพรรคด้วย[26]
กุนได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า Vörös Újság (หนังสือพิมพ์แดง) จุดประสงค์เพื่อมุ่งโจมตีรัฐบาลเสรีนิยมของกาโรยี ทำให้พรรคเริ่มได้รับความนิยมสำหรับหมู่ชนชั้นกรรมาชีพในบูดาเปสต์ และกุนยังให้คำมั่นสัญญาว่าฮังการีจะสามารถปกป้องอาณาเขตของตนเองได้โดยไม่มีการเกณฑ์ทหารด้วยความช่วยเหลือจากกองทัพแดง และกองกำลังต่อต้านพวกที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ รวมถึงโรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ฝรั่งเศสและยูโกสลาเวีย หลายเดือนต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยผู้สนับสนุนได้เริ่มจัดฉากประท้วงต่อต้านพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งฮังการี กลุ่มคอมมิวนิสต์มองพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งฮังการีเป็นคู่แข่งทางการเมืองที่สำคัญ เพราะมีผู้สนับสนุนทางการเมืองเป็นหมู่ชนชั้นกรรมาชีพเหมือนกัน ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ การประท้วงเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ประท้วงไปโจมตีกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ของพรรคสังคมประชาธิปไตยที่มีชื่อว่า Népszava ในความโกลาหลนี้ มีตำรวจ 7 นายถูกฆ่าตาย รัฐบาลได้จับกุมผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์[26] ไม่อนุญาตให้เผยแพร่หนังสือพิมพ์ Vörös Újság และสั่งปิดอาคารที่ทำการพรรค การจับกุมมีความรุนแรงเป็นพิเศษ เจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำการข่มเหงรังแกพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย ทำให้ประชาชนรู้สึกเห็นอกเห็นใจพรรค โดยเฉพาะหมู่ชนชั้นกรรมาชีพในบูดาเปสต์ จึงทำให้ในวันที่ 1 มีนาคม หนังสือพิมพ์ Vörös Újság กลับมาเผยแพร่ได้อีกครั้ง ที่ทำการพรรคสามารถเปิดทำการได้ ผู้นำพรรคได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเมืองได้อีก
การจัดตั้งสาธารณรัฐ[แก้]
ในวันที่ 20 มีนาคม มิฮาย กาโรยีได้ประกาศถึงการลาออกของนายรัฐมนตรี เดแน็ช เบริงคีย์ เพราะกาโรยีและเบริงคีย์ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก เนื่องจากหัวหน้าคณะทูตชาวฝรั่งเศสในกรุงบูดาเปสต์ได้มอบจดหมายให้แก่กาโรยี ซึ่งเป็นการระบุพรมแดนครั้งสุดท้ายของฮังการีหลังสงคราม กาโรยีรู้ดีว่าหากยอมรับจดหมายนี้ จะเป็นอันตรายต่อบูรณภาพแห่งดินแดนฮังการี แต่เขาก็ไม่สามารถตอบปฎิเสธได้ ในวันที่ 21 มีนาคม กาโรยีชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรีว่า มีเพียงพรรคสังคมประชาธิปไตยเท่านั้นที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ เนื่องจากเป็นพรรคที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนสูงสุดตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบูดาเปสต์ แต่พรรคสังคมประชาธิปไตยได้มีการเจรจาอย่างลับ ๆ กับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งยังถูกคุมขัง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม ทั้งสองฝ่ายจึงตัดสินใจรวมพรรคภายใต้ชื่อ “พรรคสังคมนิยมฮังการี”[27] โดยที่กาโรยีไม่เคยทราบถึงเรื่องนี้เลย ต่อมาเบลอ กุน และสมาชิกคนอื่น ๆ ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ Margit Ring ในคืนวันที่ 20 มีนาคม[28] หลังจากนั้นกาโรยีได้ประกาศลาออกในวันต่อมา แล้วถูกจับกุมโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่พึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ และในเดือนกรกฎาคม กาโรยีจึงลี้ภัยไปกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[29]
การที่พรรคสังคมประชาธิปไตยเป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์ (KMP) ไม่เพียงแค่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกรรมาชีพเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้พวกเขามีความใกล้ชิดกับพรรคอมมิวนิสต์รัสเซีย (บอลเชวิค) อีกด้วย เนื่องจากกุนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวลาดีมีร์ เลนิน แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงกับสภาแรงงานโซเวียต พรรคสังคมนิยมฮังการีได้จัดตั้งสภาปกครองปฏิวัติพร้อมประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี และปลดประธานาธิบดีกาโรยีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม กุนได้ทำการติอต่อกับโซเวียตรัสเซียผ่านวิทยุ โดยได้แจ้งกับเลนินว่าระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพได้รับการจัดตั้งที่ฮังการีแล้ว และขอทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกับโซเวียตรัสเซีย[26] แต่โซเวียตรัสเซียปฏิเสธ เพราะยังติดพันกับสงครามกลางเมืองรัสเซีย ในวันที่ 23 มีนาคม เลนินได้มีคำสั่งถึงเบลอ กุนไม่ให้พวกสังคมประชาธิปไตยมีอำนาจในรัฐบาล เพื่อที่ฮังการีจะแปรสภาพเป็นรัฐสังคมนิยมที่ปกครองด้วย "เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ" โดยสมบูรณ์[30] ดังนั้นกลุ่มคอมมิวนิสต์จึงเริ่มกวาดล้างพวกสังคมประชาธิปไตยที่อยู่ในรัฐบาลในวันถัดมา[31][32]
การล่มสลายของสาธารณรัฐและจุดจบพรรคคอมมิวนิสต์[แก้]

ปลายเดือนพฤษภาคม กุนพยายามทำตามคำมั่นสัญญาของชาวฮังการีต่อการทวงคืนดินแดนของฮังการี โดยได้คัดเลือกอาสาสมัครจากชนชั้นกรรมาชีพในกรุงบูดาเปสต์ให้ไปเป็นกองทัพแดงฮังการี[33] ในเดือนมิถุนายน กองทัพแดงฮังการีได้รุกรานทางตะวันออกของเชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือพื้นที่สโลวาเกีย) ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของราชอาณาจักรฮังการีทางตอนบน กองทัพแดงฮังการีนำโดยนายพลเอาเรล ซโตร์มแฟลด์ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยสามารถขับไล่กองทัพของสาธารณรัฐเช็ก และมีการวางแผนที่จะรุกรานโรมาเนียทางตะวันออก แม้รัฐบาลจะให้คำมั่นสัญญาว่าจะทวงคืนดินแดน แต่กลับประกาศจัดตั้ง สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก ณ เมืองเปรเชา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1919[34]
หลังจากการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสโลวักขึ้น ทำให้นักชาตินิยมชาวฮังการีตระหนักว่าเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ไม่ใช่การทวงคืนดินแดนที่เสียไปกลับมา แต่เป็นการเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ไปยังที่ต่าง ๆ เท่านั้น[35] ชาวฮังการีที่รักชาติจึงมองกองทัพแดงเป็นผู้ทรยศชาติบ้านเมือง และทำให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้รับความนิยมจากชาวฮังการีลดลง (เนื่องจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้สนับสนุนให้จัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก แต่ชาวฮังการีต้องการให้สโลวาเกียกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของฮังการี) ถึงแม้จะมีชัยชนะต่อกองทัพเชโกสโลวาเกียอยู่หลายครั้ง แต่กองทัพแดงฮังการีเริ่มมีความแตกแยก เนื่องจากความตึงเครียดระหว่างชาตินิยมกับคอมมิวนิสต์ การสนับสนุนของนายทหารผู้รักชาติที่มีต่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่นายพลเอาเรล ซโตร์มแฟลด์ได้ประกาศลาออกเพื่อประท้วงรัฐบาล[36]
เมื่อฝรั่งเศสได้ให้สัญญากับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ว่าจะให้กองทัพโรมาเนียถอนกำลังออกจากลุ่มแม่น้ำทิสซอ คุนจึงถอนทหารที่เหลือซึ่งยังคงจงรักภักดี จากความล้มเหลวงทางการเมืองในฮังการีตอนบน หลังจากกองทัพแดงฮังการีถอยกลับจากทางเหนือ กองทัพโรมาเนียไม่ได้ถอนกำลังกลับ คุนจึงให้กองทัพแดงฮังการีที่เหลือจำนวนน้อยไปโจมตีโรมาเนีย ทำให้เกิดสงครามฮังการี–โรมาเนีย โดยไม่ประสบผลสำเร็จ รัฐบาลคอมมิวนิสต์รู้ว่ากองกำลังอันน้อยนิดของตนไม่สามารถสู้กับโรมาเนียได้ และเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม กองทัพโรมาเนียได้ฝ่าแนวรบของกองทัพฮังการีที่อ่อนแอได้สำเร็จ

เบลอ กุน และสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ ได้ลี้ภัยไปที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม[26] มีเพียงเจิร์จ ลูกาชกับสมาชิกพรรคอีกไม่กี่คนเท่านั้น ที่ยังจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดินอยู่[37] แต่ก่อนที่กุนจะลี้ภัยไปเวียนนา กุนได้นำสมบัติมากมาย ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ หรือทองคำจำนวนมากจากธนาคารแห่งชาติไปดัวย[38] เหล่าชนชั้นกรรมาชีพในกรุงบูดาเปสต์ได้เลือกให้ จูลอ ไพเดิล เป็นหัวหน้ารัฐบาลคอมมิวนิสต์คนใหม่ โดยเป็นเวลาเพียงไม่กี่วันก่อนกองทัพโรมาเนียจะบุกเข้ามาถึงบูดาเปสต์ ในวันที่ 6 สิงหาคม[39][40][41]
ในช่วงสูญญากาศของอำนาจที่ก่อตัวขึ้น เนื่องจากการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตและการรุกรานของกองทัพโรมาเนีย กองกำลังกึ่งประจำการ (ตามหลักการแล้วอยู่ภายใต้คำสั่งการของโฮร์ตี แต่ส่วนใหญ่เป็นอิสระในทางปฏิบัติ) ได้เริ่มใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มคอมมิวนิสต์, ฝ่ายซ้าย, และชาวยิว หรือที่รู้จักกันในนาม "ความน่าสะพรึงกลัวขาว"[42] ผู้สนับสนุนสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีหลายคนถูกประหารชีวิตโดยไม่มีการพิจารณาคดี ได้แก่ ปีแตร์ อาโกชโตน, แฟแร็นตส์ แบจากี, แดชโช โบกาญี, ออนตอล โดฟชาก, โยแชฟ เฮาบริช, กอลมาร์ แฮนริก, แกแลน โยแชฟ, เจิร์จ ยีซโตร์, ซานโดร์ ซอบอโดช และกาโรยี วานตุช แต่ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มคอมมิวนิสต์จะถูกปล่อยตัวไปยังสหภาพโซเวียต และได้รับการนิรโทษกรรม เนื่องจากมีการทำข้อตกลงระหว่างฮังการีกับโซเวียตรัสเซียในปี 1921 โดยมีจำนวนนักโทษที่ถูกส่งตัวไปทั้งหมด 415 คน[43]
ส่วนกุนกับสมาชิกพรรคส่วนหนึ่งได้ถูกประหารชีวิตจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งนำโดยโจเซฟ สตาลิน ในปลายทศวรรษที่ 1930 ซึ่งพวกเขาได้หลบหนีไปในช่วงทศวรรษที่ 1920[26] มีเพียง มาทยาช ราโกชี เท่านั้น ที่รอดจากการกวาดล้างครั้งนี้ และเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ราโคชีได้เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์คนแรกของสาธารณรัฐประชาชนฮังการี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึงปี 1956
การเมืองการปกครอง[แก้]
โครงสร้างรัฐบาล[แก้]

ผู้นำอย่างเป็นทางการของรัฐบาล คือ ซานโดร์ กอร์บอยี แต่อำนาจรัฐที่แท้จริงเป็นของเบลอ กุน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากเขาเป็นคนเดียวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเลนิน เป็นคนเดียวในรัฐบาลที่ได้พบและพูดคุยกับผู้นำบอลเชวิคระหว่างการปฏิวัติรัสเซีย และติดต่อกับเครมลินผ่านทางวิทยุสื่อสาร โดยคณะรัฐมนตรีของโซเวียตฮังการีมีดังนี้
- ซานโดร์ กอร์บอยี ประมุขแห่งรัฐและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
- แยเนอ ลอนด์แลร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ซานโดร์ ชิซมอดีออ ต่อมาคือ กาโรยี วานตุช, แยเนอ ฮอมบูรแกร, และเจิร์จ ยีซโตร์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตร
- โยแชฟ โปกาญ ต่อมาคือ แรโช ฟิดแลร์, โยแชฟ เฮาบริช, และเบลอ ซานโต – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- โซลตาน โรนาอี ต่อมาคือ อิชต์วาน ลาดออี – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- แยเนอ ลอนด์แลร์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า
- โมร์ แอร์ดยี ต่อมาคือ แบรนาต โคนโดร์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอาหาร
- ซิกโมนด์ กุนฟี ต่อมาคือ เจิร์จ ลูกาช, ทิโบร์ ซอมูแอย์, และซานโดร์ ซอบอโดช – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- เบลอ กุน – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
- แดชโช โบกาญี – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- กอลมาร์ แฮนริก – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเยอรมัน
- แยเนอ วอร์กอ ต่อมาคือ จูลอ แลนแจล – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- วิลโมส เบิฮ์ม ต่อมาคือ ออนตอล โดฟชาก – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสังคมนิยม
หลังจากการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ มีเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรัฐบาลใหม่ โดยมีกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ดังนี้
- แยเนอ วอร์กอ, มาทยาช ราโกชี, จูลอ แฮแวชี, แกแลน โยแชฟ, แฟแร็นตส์ แบจากี – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการและการผลิต
- แยเนอ ลอนด์แลร์, เบลอ วาโก – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน รถไฟ และการเดินทาง
- เบลอ กุน, ปีแตร์ อาโกชโตน, และโยแชฟ โปกาญ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นโยบาย[แก้]

รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของเบลอ กุน ได้นำระบบคอมมิวนิสต์มาใช้ในการบริหารประเทศ โดยได้มีคำสั่งให้ยกเลิกตำแหน่งและเอกสิทธิ์ทั้งหมดของชนชั้นสูง การแยกศาสนจักรกับรัฐ ประชาชนมีเสรีภาพในการชุมนุมและเสรีภาพในการพูด การมีการดำเนินการศึกษาโดยเสรี และสิทธิทางภาษาและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย[26]
รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังส่งเสริมรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การธนาคาร การแพทย์ สถาบันวัฒนธรรม และที่ดินทั้งหมดกว่า 40 เฮกตาร์ เป็นของส่วนรวม รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง เพราะคิดว่ารัฐบาลจะทวงคืนดินแดนที่เสียไปเมื่อครั้งการเจรจาหลังสงคราม[26] สำหรับในพื้นที่ชนบทของฮังการี รัฐบาลคอมมิวนิสต์แทบจะไม่ได้รับความนิยมเลย[44] เพราะการสนับสนุนจากสาธารณชนส่วนใหญ่แล้ว มาจากหมู่ชนชั้นกรรมาชีพตามเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบูดาเปสต์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีชนชั้นกรรมกรเป็นสัดส่วนที่สูงสุด

มาทยาช ราโกชี ได้ก่อตั้งกลุ่มยุวชนแดง (Red Guard) ขึ้น และโยแชฟ แชรนี ได่ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธจำนวน 200 นาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เลนินบอย" ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดตั้งกองกำลังนี้ก็เพื่อต่อต้านกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยการสังหารผู้คนเป็นจำนวนมาก ด้วยระเบิดมือ ปืนไรเฟิล มีการทำลายพิธีกรรมทางศาสนา[45] มีการประหารชีวิตเหยื่อโดยไม่มีการพิจารณาคดี และทำให้เกิดความขัดแย้งกับประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งบางส่วนกลับกลายเป็นความรุนแรง สถานการณ์ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ฮังการีเริ่มแย่ลงมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการรัฐประหารล้มเหลวโดยพรรคสังคมประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ของซานโดร์ กอร์บอยีได้ใช้การตอบโต้ขนานใหญ่ คณะตุลาการปฏิวัติสั่งประหารชีวิตบุคคลที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการพยายามทำรัฐประหาร เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักในนาม "ความน่าสะพรึงกลัวแดง (Red Terror) และทำให้การสนับสนุนรัฐบาลจากประชาชนลดลงเป็นอย่างมาก แม้แต่ในหมู่ชนชั้นแรงงานในเขตชานเมืองอุตสาหกรรมระดับสูงและปริมณฑลของบูดาเปสต์
ดูเพิ่ม[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ ตำแหน่งอย่างเป็นทางการของเบลอ กุน คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Angyal, Pál (1927). "A magyar büntetőjog kézikönyve IV. rész". A magyar büntetőjog kézikönyve. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 4 March 2016.
- ↑ Swanson 2017, p. 80.
- ↑ Völgyes 1970, p. 58.
- ↑ Király & Pastor 1988, p. 34.
- ↑ Bodo 2010, p. 703.
- ↑ 6.0 6.1 Király & Pastor 1988, p. 6.
- ↑ Szilassy 1971, p. 37.
- ↑ Király & Pastor 1988, p. 226.
- ↑ Janos 1981, p. 201.
- ↑ Balogh 1975, p. 298; Király & Pastor 1988, p. 226.
- ↑ Király & Pastor 1988, p. 4.
- ↑ Völgyes 1971, p. 61.
- ↑ 13.0 13.1 Király & Pastor 1988, p. 166.
- ↑ Völgyes 1971, p. 88.
- ↑ Balogh 1976, p. 15.
- ↑ Berger, Arthur Asa (2017). The Great Globe Itself: A Preface to World Affairs. Routledge. p. 85–86. ISBN 9781351481861.
- ↑ "Armistice with Austria-Hungary" (PDF). Library of Congress. United States Congress.
- ↑ Agárdy, Csaba (6 June 2016). "Trianon volt az utolsó csepp – A Magyar Királyság sorsa már jóval a békeszerződés aláírása előtt eldőlt". VEOL (ภาษาฮังการี). Mediaworks Hungary.
- ↑ Kitchen, Martin (2014). Europe Between the Wars. Routledge. p. 190. ISBN 9781317867531.
- ↑ Romsics, Ignác (2002). Dismantling of Historic Hungary: The Peace Treaty of Trianon, 1920. CHSP Hungarian Studies Series – East European Monographs. 3. Social Science Monographs. p. 62. ISBN 9780880335058.
- ↑ Dixon, John C. (1986). Defeat and Disarmament, Allied Diplomacy and Politics of Military Affairs in Austria, 1918–1922. Associated University Presses. p. 34.
- ↑ Sharp, Alan (2008). The Versailles Settlement: Peacemaking after the First World War, 1919–1923. Palgrave Macmillan. p. 156. ISBN 9781137069689.
- ↑ Agárdy, Csaba (6 June 2016). "Trianon volt az utolsó csepp – A Magyar Királyság sorsa már jóval a békeszerződés aláírása előtt eldőlt". VEOL (ภาษาฮังการี). Mediaworks Hungary.
- ↑ Mary Jo Nye (2011). Michael Polanyi and His Generation: Origins of the Social Construction of Science. University of Chicago Press. p. 13. ISBN 978-0-226-61065-8.
- ↑ E. Raffay, Trianon Titkai (Secrets of Trianon), Szikra Press, Budapest 1990 (ISBN 9632174771), page 13.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 26.6 The Library of Congress Country Studies – Hungarian Soviet Republic
- ↑ Borsanyi, Gyorgy, The life of a Communist revolutionary, Bela Kun, translated by Mario Fenyo; Social Science Monographs, Boulder, Colorado; Columbia University Press, New York, 1993, p. 178.
- ↑ Howard Morley Sachar (2007). Dreamland: Europeans and Jews in the Aftermath of the Great War. Knopf Doubleday Publishing Group. p. 409. ISBN 9780307425676.
- ↑ Spencer C. Tucker (2014). World War I: The Definitive Encyclopedia and Document Collection [5 volumes]: The Definitive Encyclopedia and Document Collection. ABC-CLIO. p. 867. ISBN 9781851099658.
- ↑ John Rees (1998). The Algebra of Revolution: The Dialectic and the Classical Marxist Tradition. Psychology Press. p. 255. ISBN 9780415198776.
- ↑ David A. Andelman (2009). A Shattered Peace: Versailles 1919 and the Price We Pay Today. John Wiley & Sons. p. 193. ISBN 9780470564721.
- ↑ Timothy C. Dowling (2014). Russia at War: From the Mongol Conquest to Afghanistan, Chechnya, and Beyond. ABC-CLIO. p. 447. ISBN 9781598849486.
- ↑ Eötvös Loránd University (1979). Annales Universitatis Scientiarum Budapestinensis de Rolando Eötvös Nominatae, Sectio philosophica et sociologica, Volumes 13–15. Universita. p. 141.
- ↑ Jack A. Goldstone (2015). The Encyclopedia of Political Revolutions. Routledge. p. 227. ISBN 9781135937584.
- ↑ Peter Pastor (1988). Revolutions and Interventions in Hungary and Its Neighbor States, 1918–1919, Volume 20. Social Science Monographs. p. 441. ISBN 9780880331371.
- ↑ Peter F. Sugar; Péter Hanák; Tibor Frank (1994). A History of Hungary. Indiana University Press. p. 308. ISBN 9780253208675.
- ↑ Borsanyi, Gyorgy, The life of a Communist revolutionary, Bela Kun, translated by Mario Fenyo; Social Science Monographs, Boulder, Colorado; Columbia University Press, New York, 1993, p205.
- ↑ "Find Red Leaders' Loot.; Bela Kun and Szamuely Hid Valuables They Had Stolen". The New York Times. 13 August 1919.
- ↑ "Magyar Tudomány 2000. január". Epa.niif.hu.
- ↑ Ignác Romsics: Magyarország története a XX. században, 2004, p. 134.
- ↑ "Hungary: Hungarian Soviet Republic". Library of Congress Country Studies. September 1989. Republished at geographic.com.
- ↑ ""White Terror" in Hungary 1919–1921". Armed Conflict Events Database. 16 December 2000. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 1 June 2013. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
- ↑ "2000 – Bűn És Bűnhődés". Archived 30 พฤษภาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ John Lukacs (1990). Budapest 1900: A Historical Portrait of a City and Its Culture. Grove Press. p. 2012. ISBN 9780802132505.
- ↑ Kodolányi, János (1979) [1941]. Süllyedő világ (ภาษาฮังการี). Budapest: Magvető. ISBN 978-963-270-935-2. OCLC 7627920.
บรรณานุกรม[แก้]
- Balogh, Eva S. (1975). "Romanian and Allied Involvement in the Hungarian Coup d'Etat of 1919". East European Quarterly. 9 (3): 297–314.
- Balogh, Eva S. (March 1976). "The Hungarian Social Democratic Centre and the Fall of Béla Kun". Canadian Slavonic Papers. Taylor & Francis. 18 (1): 15–35. doi:10.1080/00085006.1976.11091436. JSTOR 40867035.
- Bodo, Bela (October 2010). "Hungarian Aristocracy and the White Terror". Journal of Contemporary History. SAGE Publications. 45 (4): 703–724. doi:10.1177/0022009410375255. JSTOR 25764578. S2CID 154963526.
- Juhász, Gyula (1979). Hungarian Foreign Policy, 1919–1945. Akadémiai Kiadó. ISBN 978-96-30-51882-6.
- Janos, Andrew C.; Slottman, William B. (1971). Revolution in Perspective: Essays on the Hungarian Soviet Republic of 1919. University of California Press. ISBN 978-05-20-01920-1.
- Janos, Andrew C. (1981). The Politics of Backwardness in Hungary, 1825–1945. Princeton University Press. ISBN 978-06-91-10123-1.
- Király, Béla K.; Pastor, Peter (1988). War and Society in East Central Europe. Columbia University Press. ISBN 978-08-80-33137-1.
- Mocsy, Istvan I. (1983). "The Uprooted: Hungarian Refugees and Their Impact on Hungary's Domestic Politics, 1918–1921". East European Monographs. doi:10.2307/2499355. ISBN 978-08-80-33039-8. JSTOR 2499355.
- Pastor, Peter (1976). "Hungary Between Wilson and Lenin". East European Monograph. doi:10.2307/2495009. ISBN 978-09-14-710134. JSTOR 2495009.
- Szilassy, Sándor (1969). "Hungary at the Brink of the Cliff 1918–1919". East European. 1 (3): 95–109.
- Szilassy, Sándor (1971). Revolutionary Hungary 1918–1921. Aston Park, Florida: Danubian Press. ISBN 978-08-79-34005-6.
- Swanson, John C. (2017). Tangible Belonging: Negotiating Germanness in Twentieth-Century Hungary. University of Pittsburgh Press. ISBN 978-0-8229-8199-2.
- Völgyes, Iván (1970). "The Hungarian Dictatorship of 1919: Russian Example versus Hungarian Reality". East European Quarterly. 1 (4).
- Völgyes, Iván (1971). Hungary in Revolution, 1918–1919: Nine Essays. University of Nebraska Press. ISBN 978-08-03-20788-2.
- ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Citation/CS1 บรรทัดที่ 3512: invalid value (nil) at index 1 in table for 'concat'
หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]
- György Borsányi, The life of a Communist revolutionary, Bela Kun translated by Mario Fenyo, Boulder, Colorado: Social Science Monographs, 1993.
- Andrew C. Janos and William Slottman (editors), Revolution in Perspective: Essays on the Hungarian Soviet Republic of 1919. Berkeley, CA: University of California Press, 1971.
- Bennet Kovrig, Communism in Hungary: From Kun to Kádár. Stanford University: Hoover Institution Press, 1979.
- Bela Menczer, "Bela Kun and the Hungarian Revolution of 1919," History Today, vol. 19, no. 5 (May 1969), pp. 299–309.
- Peter Pastor, Hungary between Wilson and Lenin: The Hungarian Revolution of 1918–1919 and the Big Three. Boulder, CO: East European Quarterly, 1976.
- Thomas L. Sakmyster, A Communist Odyssey: The Life of József Pogány. Budapest: Central European University Press, 2012.
- Rudolf Tokes, Béla Kun and the Hungarian Soviet Republic: The Origins and Role of the Communist Party of Hungary in the Revolutions of 1918–1919. New York: F.A. Praeger, 1967.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Gioielli, Emily R. (2015). 'White Misrule': Terror and Political Violence During Hungary's Long World War I, 1919–1924 (PDF) (PhD). Central European University. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021 – โดยทาง Electronic Theses & Dissertations.
- Hajdu, Tibor (1979). "The Hungarian Soviet Republic". Studia Histórica. Budapest: Akadémiai Kiadó (131). สืบค้นเมื่อ 3 September 2021 – โดยทาง Internet Archive.
- ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Citation/CS1 บรรทัดที่ 3512: invalid value (nil) at index 1 in table for 'concat'