การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธี
กองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน
ASEAN Armies Rifle Meet
สถานะดำเนินการ
ประเภทการแข่งขันยิงปืนทางทหาร
ความถี่ประจำปี
ที่ตั้งหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเดิมพ.ศ. 2534 (อายุ 33 ปี)
ผู้จัดงานกองทัพบกมาเลเซีย
ล่าสุดAARM 2023 (ไทย)
16–25 พฤศจิกายน 2566
เหตุการณ์ก่อนหน้าAARM 2022 (เวียดนาม)
3–12 พฤศจิกายน 2565
เหตุการณ์ถัดไปAARM 2024 (ฟิลิปปินส์)
ผู้เข้าร่วม
กิจกรรม
จัดโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน (อังกฤษ: Asean Armies Rifle Meet หรือ AARM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการทดสอบการยิงอาวุธปืนประเภทต่าง ๆ คือ ปืนเล็กยาว ปืนเล็กสั้น ปืนพก และปืนกล เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และส่งเสริมให้มีการพบปะปฏิสัมพันธ์กันของบุคลากรทางการทหาร[1]

ประวัติ[แก้]

การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน เริ่มต้นมาจากผู้บัญชาการทหารบกของประเทศมาเลเซีย ที่ได้หารือกับเหล่าผู้บัญชาการทหารบกของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้มีกิจกรรมทางการทหารที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีและความคุ้นเคยในระดับผู้นำเหล่าทัพ[2] โดยการทดสอบแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534[1] มีสมาชิกเข้าร่วม 6 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์[3] ต่อมา พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ได้เข้าร่วมในภายหลัง และในครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2543) กองทัพบกไทยได้ริเริ่มการประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน (Asean Chief of Armies Multi Lateral Meeting) ขึ้นควบคู่ไปด้วย

ประเทศเจ้าภาพและผู้ชนะเลิศ[แก้]

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันมากที่สุดนับตั้งแต่การเริ่มต้นการทดสอบแข่งขันในปี พ.ศ. 2534 โดยกองทัพบกอินโดนีเซียชนะเลิศ 13 สมัย รองลงมาคือกองทัพบกไทย 8 สมัย กองทัพบกมาเลเซีย 4 สมัย กองทัพบกสาธารณรัฐสิงคโปร์ 3 สมัย กองทัพบกฟิลิปปินส์และเวียดนาม 1 สมัย[4] ส่วนกองทัพบกของกัมพูชา บรูไน และลาวยังไม่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ[2]จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2566

ปี พ.ศ. 2562 ได้มีการนำรูปแบบใหม่ในการแข่งขันมาใช้งาน โดยการแบ่งกลุ่มประเทศออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ทีมจระเข้ ทีมหมี ทีมชีตาห์ และทีมมังกร ซึ่งผู้ชนะเลิศในปีนั้นคือทีมจระเข้[5]

ค.ศ. (พ.ศ.) เจ้าภาพ ชนะเลิศ
1 1991 (2534) มาเลเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย
2 1992 (2535) อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
3 1993 (2536) บรูไน บรูไน มาเลเซีย มาเลเซีย
4 1994 (2537) ไทย ไทย ไทย ไทย
5 1995 (2538) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สิงคโปร์
6 1996 (2539) สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์
7 1997 (2540) มาเลเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย
8 1998 (2541) อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ไทย ไทย
9 1999 (2542) บรูไน บรูไน ไทย ไทย
10 2000 (2543) ไทย ไทย ไทย ไทย
11 2001 (2544) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ไทย ไทย
12 2002 (2545) สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์
13 2003 (2546) มาเลเซีย มาเลเซีย ไทย ไทย
14 2004 (2547) อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
15 2005 (2548) บรูไน บรูไน ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
16 2006 (2549) เวียดนาม เวียดนาม อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
17 2007 (2550) ไทย ไทย ไทย ไทย
18 2008 (2551) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
19 2009 (2552) สิงคโปร์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
20 2010 (2553) มาเลเซีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
21 2011 (2554) อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
22 2012 (2555) บรูไน บรูไน อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
23 2013 (2556) ประเทศพม่า พม่า อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
24 2014 (2557) เวียดนาม เวียดนาม[6] อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
25 2015 (2558) ไทย ไทย ไทย ไทย[7]
26 2016 (2559) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย[8]
27 2017 (2560) สิงคโปร์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย[9]
28 2018 (2561) มาเลเซีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย[10]
29 2019 (2562) อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ทีมจระเข้[11]
30 2022 (2565) เวียดนาม เวียดนาม  เวียดนาม[12]
31 2023 (2566) ไทย ไทย มาเลเซีย มาเลเซีย[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Singapore Ministry of Defence (18 October 1996). "SAF Tops Sixth ASEAN Armies Rifle Meet". สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
  2. 2.0 2.1 Royal Thai Army (24 March 2015). "Background of ASEAN Armies Rifle Meet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2016. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
  3. Ang, Geraldine (13 November 2017). "Fact Sheet: ASEAN Armies Rifle Meet" (PDF). Singapore Ministry of Defence. สืบค้นเมื่อ 26 November 2017.
  4. Fonbuena, Carmela (11 December 2016). "Indonesia proves it has best shooters among ASEAN armies". Rappler. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
  5. Ministry of Defense Brunei Darussalam. "Closing Ceremony of the 29th ASEAN Armies Rifle Meet 2019". สืบค้นเมื่อ 18 November 2020. This year's AARM showcased a new format where 10 ASEAN countries were grouped together into four teams namely Team Alligator, Team Bear, Team Cheetah and Team Dragon. The Alligator team emerged as the overall champion with 6 trophies, 33 gold medals, 26 silver medals and 21 bronze medals, followed by the Bear team at second place with 6 trophies, 32 gold medals, 33 silver medals and 6 bronze medals. The Cheetah team came at third place with 2 trophies, 11 gold medals, 11 silver medals and 41 bronze medals and while fourth place went to Dragon team with 1 medals, 10 gold medals, 16 silver medals and 18 bronze medals.
  6. "AARM-24 of friendship and solidarity wraps up". mod.gov.vn.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ASEAN Armies Rifle Meet concludes". Voice of Vietnam. 26 November 2016. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fon
  9. Aw, Cheng Wei (22 November 2017). "Asean armies shoot for trophies - and closer defence ties - at annual rifle competition". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 26 November 2017.
  10. Hakim, Syaiful (23 November 2018). "Indonesian army wins 28 gold medals at AARM 2018". Antara News. สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mdbd
  12. "PT. Pindad (Persero) - Senjata & Munisi Pindad Dukung Kontingen Petembak TNI AD Raih Juara kedua Lomba Tembak Tingkat ASEAN". pindad.com. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
  13. sajadi (2023-11-27). "Indonesia Wins the 31st ASEAN Armies Rifle Meet in Bangkok". MINA News Agency (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).