ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | |
---|---|
สำนักงานใหญ่ | จาการ์ตา |
เมืองใหญ่สุด | มะนิลา |
ภาษาราชการ | อังกฤษ |
ภาษาราชการในประเทศสมาชิก | |
ประเภท | ประชาคมเศรษฐกิจ |
รัฐสมาชิก | |
สถาปนา | 31 ธันวาคม 2015 |
พื้นที่ | |
• รวม | 4,479,210 ตารางกิโลเมตร (1,729,430 ตารางไมล์) |
3.62 | |
ประชากร | |
• ปี 2020 ประมาณ | 661,088,000 |
144 ต่อตารางกิโลเมตร (373.0 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ปี 2020 (ประมาณ) |
• รวม | $9.727 ล้านล้าน |
• ต่อหัว | $14,025 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ปี 2020 (ประมาณ) |
• รวม | $3.317 ล้านล้าน |
• ต่อหัว | $5,017 |
เอชดีไอ (2019) | 0.723 สูง |
สกุลเงิน | 10 สกุล |
เขตเวลา | UTC+6.30 ถึง +9 (เวลามาตรฐานอาเซียน) |
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Economic Community: AEC) คือ การร่วมกันทางเศรษฐกิจของประเทศในเขตอาเซียน เพื่อผลประโยชน์ในอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ การส่งออก และการนำเข้าของสินค้า จะเริ่มใช้ใน พ.ศ. 2558
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการควบคู่ไปกับ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ซึ่งเป็นสามส่วนหลักของประชาคมอาเซียน
แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็เป็นการนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วมาเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการอันเป็นการภายในของแต่ละรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฏบัตรสหประชาชาติอยู่แล้ว เป็นต้น และอาเซียนก็ได้อาศัยหลักในสนธิสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักการที่อาเซียนยึดถือ และเป็นข้อแม้ในการต่อรองกับรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกให้ลงนามเป็นภาคีก่อนจะได้รับให้เข้าร่วมประชุมกับอาเซียนนั่นเอง ข้อพิจารณาสำคัญคือสนธิสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้องหรือทำขึ้นกับอาเซียนโดยตรง และอาเซียนก็มิได้มีความสามารถในการทำสนธิสัญญาโดยตนเอง เพียงแต่รัฐที่อยู่ในบริเวณเอเชียอาคเนย์ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคและอาศัยอาเซียนเป็นเครื่องมือในการดำเนินความร่วมมือและพันธกรณีหรือหน้าที่ตามสนธิสัญญานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนโดยปริยาย นอกจากนี้ อาเซียนยังได้เป็นเวทีที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การทำให้ภูมิภาคปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์ หรือล่าสุดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนความตกลงเรื่องเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมสวัสดิการสังคม การศึกษา การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งล้วนอาศัยอาเซียนเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ในทางรูปแบบแล้วจะไม่ถือว่าอาเซียนได้ตั้งอยู่บนฐานกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในทางเนื้อหากฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงเหล่านี้ก็จะได้มีอิทธิพลต่อการดำเนินของอาเซียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ASEAN Economic Community (อังกฤษ)
- องค์ความรู้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เก็บถาวร 2012-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Asian Knowledge Institute เก็บถาวร 2018-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 2558 เปิดประตูสุ่ประชาคมอาเซียน เก็บถาวร 2012-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน