ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership
ประเทศผู้ลงนามให้สัตยาบัน (สีเขียวเข้ม)
ประเทศผู้ลงนามอื่น (เขียวอ่อน)
ประเทศผู้สมัครอย่างทางการ (ส้ม)
ประเทศผู้สนใจสมัคร (น้ำตาล)
ประเภทความตกลงการค้าเสรี
วันลงนาม8 มีนาคม 2561
ที่ลงนามซานเตียโก ประเทศชิลี
วันตรา23 มกราคม 2561
วันมีผล30 ธันวาคม 2561
เงื่อนไข60 วันหลังประเทศผู้ลงนามให้สัตยาบันเกิน 50% หรือเกินหกประเทศ
ผู้ลงนาม
ภาคี
ผู้เก็บรักษารัฐบาลนิวซีแลนด์[1]
ภาษาภาษาอังกฤษ, ภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศส[1]

ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (อังกฤษ: Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership, ย่อ: CPTPP) หรือเรียก TPP11 หรือ TPP-11[2][3][4] เป็นความตกลงการค้าระหว่างประเทศออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม พัฒนามาจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ซึ่งไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากสหรัฐถอนตัว ณ เวลาลงนาม เศรษฐกิจรวมของ 11 ประเทศคิดเป็นร้อยละ 13.4 ของจีดีพีโลก (ประมาณ 13.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ CPTPP เป็นเขตการค้าเสรีใหญ่สุดอันดับสามของโลกโดยวัดจากจีดีพี รองจากความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือและตลาดร่วมยุโรป[5] สหราชอาณาจักรลงนามในข้อตกลงการค้าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 และจะเข้าร่วมข้อตกลงเมื่อทุกฝ่ายให้สัตยาบันแล้ว[6]

หลังประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐประกาศถอนตัวออกจาก TPP ประเทศผู้ลงนามเดิมได้ตกลงในเดือนพฤษภาคม 2560 เพื่อรื้อฟื้นความตกลงใหม่[7][8] โดยบรรลุความตกลงในเดือนมกราคม 2561 มีพิธีลงนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 มีนาคม 2561 ในประเทศชิลี[9][10] CPTPP รับเอาข้อกำหนดของ TPP มาใช้ แต่ระงับบทบัญญัติ 22 ข้อที่สหรัฐเห็นชอบแต่ประเทศอื่นคัดค้าน ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับเมื่อหกประเทศให้สัตยาบัน คือ วันที่ 30 ธันวาคม 2561[11]

บทว่าด้วยรัฐวิสาหกิจยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยกำหนดให้ประเทศผู้ลงนามแบ่งปันสารสนเทศเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจระหว่างกัน มีการใส่มาตรฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่ละเอียดที่สุดในบรรดาความตกลงการค้าทุกฉบับ ตลอดจนคุ้มครองต่อการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญากับบริษัทที่ดำเนินการในต่างประเทศ[12] ด้านญี่ปุ่นขยายระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็น 70 ปีหลังผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต[13] ซึ่งเป็นข้อกำหนดของความตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจอียู–ญี่ปุ่น[14]

ความเห็นต่อการเข้าร่วมเป็นภาคีของไทย[แก้]

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พยายามผลักดันข้อตกลงดังกล่าว โดยว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 0.12 ของจีดีพี หรือคิดเป็นมูลค่า 13,300 ล้านบาท และหากไม่เข้าร่วมจะเสียโอกาสและกระทบต่อจีดีพีที่หดตัวร้อยละ 0.25 คิดเป็นมูลค่า 26,600 ล้านบาท[15]

อย่างไรก็ดี ฝ่ายกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอวอช) คัดค้านโดยระบุว่า ราคาเมล็ดพันธุ์จะแพงขึ้นเพราะเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทที่ผูกขาด และการศึกษาของมูลนิธิชีววิถีชี้ว่า เมื่อต้องซื้อทุกรอบเพาะปลูกจะทำให้ราคาแพงขึ้น 6–12 เท่า นอกจากนี้องค์การนอกภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับยายังระบุว่า ข้อตกลงฯ อาจส่งผลต่อการเข้าถึงยา การพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ ตลอดจนการผูกโยงการขึ้นทะเบียนตำรับยากับระบบสิทธิบัตร (Patent linkage) ข้อผูกมัดในบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและทรัพย์สินทางปัญญา [15]

ในเอกสารของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าความตกลงมีเงื่อนไข 30 ข้อ ซึ่งไทยปฏิบัติไม่ได้ 15 ข้อซึ่งอาจทำให้ไทยเสียเปรียบทางการค้า เช่น การยกเลิกภาษีนำเข้ากว่าร้อยละ 99 ของสินค้าทั้งหมด ฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคุ้มครองการลงทุน การห้ามให้สิทธิพิเศษจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐแก่ผู้ประกอบการไทยเหนือกว่าสมาชิก การให้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991) เป็นต้น[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership" (PDF). Government of New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
  2. "大筋合意に至ったTPP11 包括的及び先進的な環太平洋パートナーシップ協定" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Mizuho Research Institute. 13 November 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
  3. Benson, Simon (25 January 2018). "$13.7 trillion TPP pact to deliver boost in GDP". The Australian. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
  4. Blanco, Daniel (23 January 2018). "Se alcanza acuerdo en texto final del TPP11". El Financiero (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
  5. Torrey, Zachary (2018-02-03). "TPP 2.0: The Deal Without the US". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  6. "UK signs treaty to join vast Indo-Pacific trade group as new data shows major economic benefits". GOV.UK. 2023-07-16. สืบค้นเมื่อ 2023-07-16.
  7. Jegarajah, Sri; Dale, Craig; Shaffer, Leslie (2017-05-21). "TPP nations agree to pursue trade deal without US". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2017-05-21.
  8. Staff writers (2017-05-21). "Saving the Trans-Pacific Partnership: What are the TPP's prospects after the US withdrawal?". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2017-05-21.
  9. AP Staff (8 March 2018). "11 nations to sign Pacific trade pact as US plans tariffs". New York Daily News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  10. Swick, Brenda C.; Augruso, Dylan E. (19 January 2018). "Canada Reaches Comprehensive and Progressive Trans-Pacific Partnership Agreement". The National Law Review. Dickinson Wright PLLC. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  11. "Pacific trade pact to start at end-2018 after six members ratify". Reuters. 31 October 2018.
  12. Goodman, Matthew P. (2018-03-08). "From TPP to CPTPP". Center for Strategic and International Studies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  13. "Japan to extend copyright period on works including novels and paintings to 70 years on Dec. 30". The Japan Times. Jiji Press. 2018-12-10. สืบค้นเมื่อ 2018-12-10.
  14. "Proposal for a COUNCIL DECISION on the signing, on behalf of the European Union, of the Economic Partnership Agreement between the European Union and Japan, Article 14.13". European Commission. The term of protection for rights of an author of a literary or artistic work within the meaning of Article 2 of the Berne Convention shall run for the life of the author and for 70 years after the author's death
  15. 15.0 15.1 15.2 CPTPP : ความตกลงทางการค้าใหม่ คนไทยจะได้หรือเสียประโยชน์จากเมล็ดพันธุ์-การเข้าถึงยา