เตเวแซ็งก์มงด์
![]() | บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เตเวแซ็งก์มงด์ | |
---|---|
![]() | |
เริ่มออกอากาศ | 2 มกราคม ค.ศ. 1984 |
ประเทศ | ฝรั่งเศส เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ |
ภาษา | ภาษาฝรั่งเศส |
พื้นที่แพร่ภาพ | ทั่วโลก |
ชื่อเดิม | TV5 (ค.ศ. 1984 - ค.ศ. 1989, ค.ศ. 1995 - ค.ศ. 2006) TV5 Europe (ค.ศ. 1989 - ค.ศ. 1995) |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ช่องรายการที่แพร่ภาพ | |
โทรทัศน์ดาวเทียม | |
CanalSat | Channel 37 |
Dish Network (สหรัฐอเมริกา) | Channel 731 |
SKY Italia | Channel 540 |
Sky Digital | Channel 799 |
SKY Latin America (บราซิล) | Channel 108 |
Hot Bird 6 | 11137.00 H 27500 3/4 (ดิจิทัล) |
Hot Bird 9 | 11319.50 V (แอนะล็อก) |
Astra 1L | 11567.50 V 22000 5/6 |
Astra 1L | 11597.00 V 22000 5/6 |
Badr 4 | 12073.00 H 27500 3/4 |
Nilesat 101 | 11900.00 V 27500 3/4 |
Hispasat 1C | 12092.00 V 27500 3/4 |
โทรทัศน์เคเบิล | |
Noos | Channel 36 |
Numericable | Channel 9 |
Virgin TV | Channel 825 |
Cable Star Iloilo (ฟิลิปปินส์) | Channel 50 |
True Visions | Channel 788 |
UPC Ireland | Channel 825 |
UPC Romania | Channel 721 (ดิจิทัล) Channel 181 (ดิจิทัล) |
Cablecom | Channel 308 (ดิจิทัล CH-D) |
เตเวแซ็งก์มงด์ (ฝรั่งเศส: TV5 Monde) หรือรู้จักกันในชื่อ เตเวแซ็งก์ (TV5) เป็นสถานีโทรทัศน์ระดับนานาชาติแพร่ภาพด้วยภาษาฝรั่งเศส
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
เตเวแซ็งก์มงด์ออกอากาศครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1984 โดยมี นายแซร์ฌ อาดา เป็นผู้จัดการสถานีจนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 โดยมีกรรมการคนใหม่วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2005 คือ นายฌ็อง-ฌัก อายากง ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสารฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการปรับรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อ "เตเวแซ็งก์มงด์" เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นและจุดสำคัญให้เป็นให้เป็นสถานีโทรทัศน์ระดับโลก นอกจากนี้ยังมีการย้ายไปยังสำนักงานออกอากาศแห่งใหม่และปรับเปลี่ยนตารางการออกอากาศใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา นอกจากนี้ เตเวแซ็งก์มงด์ยังเป็นทั้งชื่อขององค์กร อย่างไรก็ตามในแคนาดายังมีการดำเนินการออกอากาศภายใต้ชื่อ "เตเวแซ็งก์" อยู่ ทั้งนี้เตเวแซ็งก์มงด์ยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายทั่วโลกใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกรองจากที่บีบีซี, เอ็มทีวี และซีเอ็นเอ็น
รูปแบบของรายการ[แก้]
ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเป็นภาษาฝรั่งเศส ส่วนรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงจากฝรั่งเศส ยังมีรายการที่มีชื่อเสียง เช่น RTBF จากเบลเยียม, TSR จากสวิตเซอร์แลนด์ และ Radio-Canada TVA และจากเครือข่ายในประเทศแคนาดา นอกจากข่าวในประเทศและต่างประเทศแล้ว ยังได้แพร่ภาพการแข่งขันฟุตบอลลีกเอิง, ภาพยนตร์, ละคร, เพลง และการ์ตูน ซึ่งหมายเลข 5 ในชื่อของสถานีมาจากเครือข่ายการออกอากาศทั้ง 5 แห่งในการก่อตั้ง
ช่องอย่างเป็นทางการ[แก้]
ในปี ค.ศ. 2015 มีการแพร่ภาพทั้งหมด 11 ช่อง
- TV5MONDE FBS (ฝรั่งเศส, เบลเยียม, สวิตเซอร์แลนด์)
- TV5MONDE Europe (ส่วนที่เหลือของยุโรป)
- TV5MONDE Afrique (แอฟริกา)
- TV5MONDE Maghreb-Orient (ตะวันออกกลาง)
- TV5MONDE Asie (เอเชีย)
- TV5MONDE India (ส่วนที่เหลือของเอเชีย)
- TV5MONDE États-Unis (สหรัฐอเมริกา)
- TV5MONDE Pacifique (ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย)
- TV5MONDE Amérique Latine - Caraïbes (ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน)
- TV5MONDE Brésil (บราซิล)
- TV5 Québec Canada (แคนาดา)
ซึ่งช่องเตเวแซ็งก์เกแบ็กกานาดาเท่านั้นผลิตขึ้นที่เมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ส่วนที่เหลืออีก 10 ช่อง ผลิตขึ้นในกรุงปารีสภายใต้ชื่อ "เตเวแซ็งก์มงด์"
อัตลักษณ์ของสถานี[แก้]
- Tv5 old.jpg
อัตลักษณ์ของเตเวแซ็งก์ ค.ศ. 1984-1988 และยังคงใช้โดยเตเวแซ็งก์เกแบ็ก (แคนาดา) ค.ศ.1988 - ค.ศ.1995
- TV5 logo 1990.png
อัตลักษณ์ของเตเวแซ็งก์ ยุโรป ค.ศ. 1989-1995
พื้นที่ในการออกอากาศ[แก้]
ท่านสามารถรับชมช่องเตเวแซ็งก์มงด์ได้ทาง AsiaSat 3S ซึ่งจะออกอากาศและครอบคลุมทั่วทวีปเอเชีย และในประเทศไทยรับชมช่องเตเวแซ็งก์มงด์ได้ทางทรูวิชั่นส์ ช่องที่ 143
เกร็ดน่ารู้[แก้]
- ก่อนเข้ารายการจะเปิดภาพวีดิทัศน์การท่องเที่ยว กลายเป็นสัญลักษณ์ของสถานีซึ่งจะใช้ในบางโอกาส
- ก่อนเข้ารายการจะมีผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการของทางสถานีแสดงอยู่พร้อมชื่อพิธีกร กลายเป็นสัญลักษณ์ของสถานีซึ่งจะใช้ในบางโอกาส
- อัตลักษณ์เตเวแซ็งก์มงด์ในรายการเลอฌูร์นาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2544 เตเวแซ็งก์จะแสดงชื่อช่องไว้ตรงกลางและส่วนล่างของหน้าจอ ปี พ.ศ. 2545-2550 จะแสดงช่องและชื่อรายการในรูปแบบ "TV5 | Le Journal" ที่จะแสดงชื่อช่องไว้ตรงกลางและส่วนล่างของหน้าจอพื้นหลังสีดำหรือสีนำเงิน
- สัญลักษณ์ช่องเตเวแซ็งก์ (ชื่อเดิม) มีความคล้ายคลึงกันกับช่องเตเวแซ็งก์มองโกเลีย แบบอักษรจะเหมือนกัน แต่จะเพิ่มเส้นโค้งด้านซ้ายของโลโก