ข้ามไปเนื้อหา

ไซปรัสเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ

Kuzey Kıbrıs Türk Cumhuriyeti  (ตุรกี)
ธงชาตินอร์เทิร์นไซปรัส
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของนอร์เทิร์นไซปรัส
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ
อิสติกลาล มาร์เชอ  (ตุรกี)
"มาร์ชเอกราช"
ที่ตั้งของนอร์เทิร์นไซปรัส
สถานะ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
นิโคเซีย[1]
35°11′N 33°22′E / 35.183°N 33.367°E / 35.183; 33.367
ภาษาราชการตุรกี
ภาษาพูดตุรกีไซปรัส
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
Ersin Tatar
Faiz Sucuoğlu
Önder Sennaroğlu
สภานิติบัญญัติสมัชชาสาธารณรัฐ
ก่อตั้ง
20 กรกฎาคม ค.ศ. 1974
1 ตุลาคม ค.ศ. 1974
13 ตุลาคม ค.ศ. 1975
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983[2]
พื้นที่
• รวม
3,355 ตารางกิโลเมตร (1,295 ตารางไมล์) (ไม่จัดอันดับ)
2.7
ประชากร
• 2017 ประมาณ
326,000[3]
• สำมะโนประชากร 2011
286,257
93 ต่อตารางกิโลเมตร (240.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 117)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
4.234 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
14,942 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
สกุลเงินลีราตุรกี (₺) (TRY)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+90 392

สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (อังกฤษ: Turkish Republic of Northern Cyprus; ตุรกี: Kuzey Kıbrıs Türk Cumhuriyeti, KKTC) หรือ ไซปรัสเหนือ (อังกฤษ: Northern Cyprus; ตุรกี: Kuzey Kıbrıs) เป็นรัฐ โดยพฤตินัย[5][6] ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะไซปรัส โดยรัฐสมาชิกเดียวในสหประชาชาติที่ให้การยอมรับคือประเทศตุรกี ส่วนรัฐสมาชิกอื่นถือว่านอร์เทิร์นไซปรัสเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไซปรัสหรือไม่ระบุคำตอบนี้

การรัฐประหารใน ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะผนวกเกาะเข้ากับประเทศกรีซ ก่อให้เกิดการรุกรานไซปรัสของตุรกี นั่นทำให้เกิดการขับไล่ประชากรชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกจากทางเหนือ การอพยพของชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กจากทางใต้ และการแบ่งเกาะไซปรัส ทำให้ฝ่ายเหนือประกาศเอกราชฝ่ายเดียวใน ค.ศ. 1983 เนื่องจากไม่มีประเทศใดให้การยอมรับ ทำให้นอร์เทิร์นไซปรัสต้องพึ่งพาตุรกีมากในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร[7][8][9]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

นอร์เทิร์นไซปรัสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต: เลฟโกชา, กาซีมากูซา, คีรีเนีย, กือร์เซลยูร์ท, อิสแคแล และแลฟแค เขตแลฟอคแยกออกจากเขตกาซีมากูซาใน ค.ศ. 2016[10]

การเมืองการปกครอง

[แก้]
Ersin Tatar ประธานาธิบดีนอร์เทิร์นไซปรัส

การเมืองในนอร์เทิร์นไซปรัสมีโครงสร้างเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนแบบกึ่งประธานาธิบดี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

เนื่องจากความโดดเดี่ยวและการพึ่งพาการสนับสนุนจากตุรกีอย่างมาก ทำให้การเมืองนอร์เทิร์นไซปรัสได้รับอิทธิพลจากตุรกีสูงมาก นั่นทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนกล่าวถึงรัฐนี้เป็นรัฐหุ่นเชิดที่มีประสิทธิภาพของตุรกี[11][12][13] อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มได้กล่าวถึงธรรมชาติของการเลือกตั้งและการแต่งตั้งที่เป็นอิสระในนอร์เทิร์นไซปรัส และข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไซปรัสเชื้อสายเติร์กกับรัฐบาลตุรกี ทำให้สรุปว่า "รัฐหุ่นเชิด" ไม่ใช่คำอธิบายที่ถูกต้องสำหรับนอร์เทิร์นไซปรัส[14][15]

สถานะและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]
Mustafa Akıncı กับจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2015

ไม่มีประเทศใดให้การยอมรับนอร์เทิร์นไซปรัสเป็นรัฐเอกราชอย่างเป็นทางการนอกจากประเทศตุรกี[11][16][17][18] ทางสหประชาชาติยอมรับเป็นดินแดนของสาธารณรัฐไซปรัสที่อยู่ภายใต้การครอบครองของตุรกี[19][20][21] ประเทศปากีสถานและบังกลาเทศเคยประกาศยอมรับนอร์เทิร์นไซปรัสหลังประกาศเอกราชไม่นาน[22] แต่ทั้งสองประเทศถอนการยอมรับจากการกดดันของสหรัฐ หลังสหประชาชาติถือว่าเป็นการประกาศที่ผิดกฎหมาย[23] เพราะทางสหประชาชาติได้ประกาศไว้ในมติต่าง ๆ หลายข้อที่ถือการประกาศเอกราชของนอร์เทิร์นไซปรัสว่าเป็นโมฆะทางกฎหมาย[19][24]

ทหาร

[แก้]

สิทธิมนุษยชน

[แก้]

ประชากร

[แก้]

กลุ่มชาติพันธุ์ในนอร์เทิร์นไซปรัส (สำมะโน ค.ศ. 2006)[25]

  เติร์ก (99.2%)
  กรีก (0.2%)
  มารอน (0.1%)
  อื่น ๆ (0.3%)
เด็กชาวนอร์เทิร์นไซปรัสในนอร์ทนิโคเซียฝั่งที่ล้อมก้วยกำแพง

นอร์เทิร์นไซปรัสจัดสำมะโนแรกใน ค.ศ. 1996 ซึ่งบันทึกว่ามีประชากร 200,587 คน[26] จากสำมะโนที่สองใน ค.ศ. 2006 ระบุว่าประชากรในนอร์เทิร์นไซปรัสมี 265,100 คน[27] ส่วนใหญ่เป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก (รวมผู้อพยพจากไซปรัสใต้) และผู้ตั้งถิ่นฐานจากตุรกี จากพลเมืองชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก 178,000 คน ร้อยละ 82 เป็นชาวไซปรัสดั้งเดิม (145,000 คน) ส่วน 45,000 คนมีพ่อ/แม่ที่ไม่ใช่ชาวไซปรัส เกือบร้อยละ 40 (17,000 คน) เกิดในไซปรัส ในขณะที่จำนวนผู้ไม่ใช่พลเมือง เช่นนักศึกษา แรงงานต่างด้าว และพลเมืองชั่วคราว มีจำนวน 78,000 คน[27][28]

ต่อมาใน ค.ศ. 2011 มีกการจัดตั้งสำมะโนทางการครั้งที่สามของนอร์เทิร์นไซปรัส ภายใต้การสังเกตการณ์ของสหประชาชาติ ถูกจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2011 ระบุว่ามีประชากร 294,906 คน[29] ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งในพรรคการเมือง สหภาพแรงงาน และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบางส่วน โดยมีการกล่าวหารัฐบาลว่าจงใจนับจำนวนประชากรต่ำเกินไป หลังระบุประชากรก่อนทำสำมะโนที่ 700,000 คน เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินจากตุรกี[30][31][32] โดยมีข้อมูลหนึ่งอ้างว่าประชากรทางเหนือมีจำนวนถึง 500,000 คน[33] แบ่งออกเป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กร้อยละ 50 และผู้ตั้งถิ่นฐานชาวตุรกีหรือลูกที่เกิดจากผู้ตั้งถิ่นฐานร้อยละ 50[34]

รัฐบาลนอร์เทิร์นไซปรัสประมาณการว่าประชากรนอร์เทิร์นไซปรัสใน ค.ศ. 1983 มี 155,521 คน[35] ในขณะที่จำนวนประมาณการของรัฐบาลประเทศไซปรัสใน ค.ศ. 2001 ระบุไว้ที่ 200,000 คน ในจำนวนนี้ 80–89,000 คนเป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก และ 109,000–117,000 คนเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานชาวตุรกี[36] สำมะโนทั้งเกาะใน ค.ศ. 1960 ระบุจำนวนชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กที่ 102,000 คน และชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกที่ 450,000 คน[37] ข้อมูลเมื่อ 2005 ผู้ตั้งถิ่นฐานที่มีสิทธิเลือกตั้งในนอร์เทิร์นไซปรัสมีไม่เกินร้อยละ 25 ระดับการรวมกลุ่มระหว่างชาวเติร์กแผ่นดินใหญ่เข้ากับชุมชนชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กนั้นแตกต่างกันไป โดยบางส่วนระบุเป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กที่ผ่านการบูรณาการทางวัฒนธรรมแล้ว ในขณะที่บางส่วนยอมรับเอกลักษณ์ตุรกี[38]

มีชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก 644 คนอาศัยอยู่ที่Rizokarpaso (Dipkarpaz) และชาวมารอน 364 คนที่Kormakitis[39] กองกำลังบุกรุกของกองทัพตุรกีทำให้ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก 162,000 คน[40] บังคับให้ทิ้งบ้านของตนจากทางเหนือ[41][42][43]

 
 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เทิร์นไซปรัส
อันดับ ชื่อ เขต ประชากร
นอร์ทนิโคเซีย
นอร์ทนิโคเซีย
ฟามากุสตา
ฟามากุสตา
1 นอร์ทนิโคเซีย เลฟโกชา 61,378 คีรีเนีย
คีรีเนีย
มอร์โฟ
มอร์โฟ
2 ฟามากุสตา กาซีมากูซา 40,920
3 คีรีเนีย คีรีเนีย 33,207
4 มอร์โฟ กือร์เซลยูร์ท 18,946
5 เกินเยลี เลฟโกชา 17,277
6 Kythrea เลฟโกชา 11,895
7 เลฟกา แลฟแค 11,091
8 ดิโกโม คีรีเนีย 9,120
9 ตรีโกโม อิสแคแล 7,906
10 ลาพิโทส คีรีเนีย 7,839

ศาสนา

[แก้]
ศาสนาในนอร์เทิร์นไซปรัส[44]
อิสลาม
  
99%
อื่น ๆ /ไม่ทราบ
  
1%
มัสยิดอาหรับอาห์เหม็ดที่นอร์ทนิโคเซีย

ชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กส่วนใหญ่ (99%) นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[44] เนื่องจากนอร์เทิร์นไซปรัสเป็นรัฐฆราวาส[45] จึงทำให้มีการขายเครื่องดื่มมึนเมาและหญิงชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กไม่สวมผ้าคลุมหัว อย่างไรก็ตาม บุคคลสาธารณะยังคงสวมผ้าคลุมหัวในบางโอกาสไว้เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมตุรกี หรืออาจเป็นเพียงการแต่งกายแบบอนุรักษ์นิยม[44] ชายชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กมักทำการขริบหนังหุ้มปลายตามหลักความเชื่อทางศาสนา[46]

การศึกษา

[แก้]

การศึกษาในนอร์เทิร์นไซปรัสเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี

วัฒนธรรม

[แก้]

รากฐานทางสังคมของตุรกีมีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งในส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Constitution of the Turkish Republic of Northern Cyprus". www.cypnet.co.uk.
  2. "Historical Background". Turkish Republic of Northern Cyprus Ministry of Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2016.
  3. "KKTC". Turkish Ministry of Economy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2015.
  4. 4.0 4.1 "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 October 2020. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. Griffiths, Ryan D. (2021). Secession and the Sovereignty Game: Strategy and Tactics for Aspiring Nations. Cornell University Press. p. 127. ISBN 978-1-5017-5474-6. JSTOR 10.7591/j.ctv153k63s.
  6. Yearbook of the European Convention on Human Rights / Annuaire de la convention européenne des droits de l'homme. Council of Europe/Conseil de l'Europe. 1996. p. 153. ... that despite the fact that it has not been recognised de iure by any other State than Turkey, the TRNC exist de facto as an independent State exercising all branches of State power on its territory.
  7. Central Intelligence Agency (8 October 2013). "Northern Cyprus". The CIA World Factbook 2014. Skyhorse Publishing. p. 691. ISBN 978-1-62873-451-5. The Turkish Cypriots are heavily dependent on transfers from the Turkish Government. Ankara directly finances about one-third of the Turkish Cypriot "administration's" budget.
  8. Gideon Boas (1 มกราคม 2012). Public International Law: Contemporary Principles and Perspectives. Edward Elgar Publishing. p. 177. ISBN 978-0-85793-956-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. For example, the Turkish Republic of Northern Cyprus, located in the northern portion of the island of Cyprus, came about through ... from only one state — Turkey, upon which it is entirely dependent for economic, political and military support.
  9. Yael Navaro-Yashin (12 มีนาคม 2012). The Make-Believe Space: Affective Geography in a Postwar Polity. Duke University Press. p. 8. ISBN 978-0-8223-5204-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. Economic embargoes have been imposed on the TRNC, making northern Cyprus almost completely dependent on Turkey.
  10. "Lefke 6. ilçe oldu!". Kıbrıs Postası. 27 ธันวาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2016.
  11. 11.0 11.1 Kurtulus, Ersun N. (27 พฤศจิกายน 2005). State Sovereignty: Concept, Phenomenon and Ramifications. Palgrave Macmillan. pp. 136–. ISBN 978-1-4039-7708-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. It may be argued that the Turkish Republic of Northern Cyprus, which was declared in 1983 and which was only recognized as a state by Turkey and for a short period by Pakistan, is at the moment of writing the only existent puppet state in the world.
  12. Focarelli, Carlo (24 พฤษภาคม 2012). International Law as Social Construct: The Struggle for Global Justice. Oxford University Press. pp. 161–. ISBN 978-0-19-958483-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. In the 1995 and 1996 Loizidou Judgments the ECtHR treated the Turkish Republic of Northern Cyprus (TRNC) as a sort of puppet government whose acts fall within the jurisdiction of (and are attributable to) Turkey as an (unlawful) occupier.
  13. Panara, Carlo; Wilson, Gary (9 มกราคม 2013). The Arab Spring: New Patterns for Democracy and International Law. Martinus Nijhoff Publishers. pp. 59–. ISBN 978-90-04-24341-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. The situation with the South African homelands was similar and so was collective non-acceptance of the Turkish puppet-government in northern Cyprus which has resulted in the Turkish Republic of Northern Cyprus not being recognized as a state.
  14. Bartmann, Barry (2004). Bahcheli, Tozun; Bartmann, Barry; Srebrnik, Henry (บ.ก.). De Facto States: The Quest for Sovereignty. Routledge. p. 24. ISBN 978-1-135-77121-8.
  15. Dodd, Clement Henry (1993). The political, social and economic development of Northern Cyprus. Eothen Press. p. 377. ISBN 9780906719183. In short, the electorate of Northern Cyprus votes freely for its political leaders and gives them substantial support. Nor is Northern Cyprus a Turkish puppet state. Mr Denktaş and the Turkish-Cypriot case have a powerful following in Turkey...
  16. "Cyprus country profile". BBC News. 23 ธันวาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014.
  17. International Chamber of Commerce (1 พฤศจิกายน 2003). Europe Review 2003/04: The Economic and Business Report. Kogan Page Publishers. p. 79. ISBN 978-0-7494-4067-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. The Turkish Cypriot-dominated north is the Turkish Republic of Northern Cyprus' which elects its own government and is recognised only by Turkey.
  18. The CIA World Factbook 2010. Skyhorse Publishing Inc. 2009. p. 182. ISBN 978-1-60239-727-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. the formation of a "Turkish Republic of Northern Cyprus" ("TRNC"), which is recognized only by Turkey
  19. 19.0 19.1 "Permanent Mission of the Republic of Cyprus to the United Nations —". Un.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014.
  20. Scott Leckie (28 พฤษภาคม 2007). Housing and Property Restitution Rights of Refugees and Displaced Persons: Laws, Cases, and Materials. Cambridge University Press. p. 448. ISBN 978-1-139-46409-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. The complaints raised in this application arise out of the Turkish military operations in northern Cyprus in July and August ... This development was condemned by the international community. ... of the establishment of the "TRNC" legally invalid and calling upon all States not to recognise any Cypriot State other than the ...
  21. Quigley (6 กันยายน 2010). The Statehood of Palestine. Cambridge University Press. p. 164. ISBN 978-1-139-49124-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. The international community found this declaration invalid, on the ground that Turkey had occupied territory belonging to Cyprus and that the putative state was therefore an infringement on Cypriot sovereignty.
  22. Commentary เก็บถาวร 24 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Michael Rubin (7 July 2014):"Is Now the Time for a Cyprus Deal?"
  23. Inter City Press เก็บถาวร 24 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Matthew Russell Lee: "At UN, Turkish Cypriot Community Has Rare Diplomatic Status, Non State Envy"
  24. "Permanent Mission of the Republic of Cyprus to the United Nations —". Un.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 สิงหาคม 2003. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014.
  25. "Tablo – 8 : Yaş Grubu, Milliyet ve Cinsiyete Göre Sürekli İkamet Eden (de-jure) KKTC Vatandaşı Nüfus. TOPLAM". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2019.
  26. "Kıbrıslı Türkler Kaç Kişi – Kıbrıs Postası Gazetesi – Haber Merkezi". Kibrispostasi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014.
  27. 27.0 27.1 "Census.XLS" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 January 2013. สืบค้นเมื่อ 14 February 2014.
  28. Simon Bahceli (15 กุมภาพันธ์ 2007). "Indigenous Turkish Cypriots just over half north's population". Cyprus Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2007. สืบค้นเมื่อ 16 February 2007.
  29. "Basin Bildirisi" (PDF). Devplan.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014.
  30. "Census in north marred by delays and doubts". CyprusMail. 6 ธันวาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2013. Top selling daily Kibris described the headcount as "controversial", while out-spoken left-wing daily Afrika dubbed it a "fiasco"
  31. "TC'den para isterken 700 bin diyorlardı". Kibris. 13 ธันวาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2011.
  32. "Nifus sayımı gerçekçi değil". Kibris. 11 ธันวาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2011.
  33. Cole, Jeffrey (2011). Ethnic Groups of Europe: An Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 95. ISBN 978-1-59884-302-6.
  34. Cole, Jeffrey (2011). Ethnic Groups of Europe: An Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 97. ISBN 978-1-59884-302-6.
  35. "??". Devplan.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014.
  36. "Quoted after the Euromosaic report, a study commissioned by the European Commission" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 มิถุนายน 2007. (120 KB)
  37. "Cyprus – Society". Country-data.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010.
  38. Hatay, Mete (2005) Beyond Numbers: An Inquiry into the Political Integration of the Turkish 'Settlers' in Northern Cyprus เก็บถาวร 6 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, PRIO Report, 4. Oslo/Nicosia: PRIO Cyprus Centre.
  39. "Please, add title". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011.
  40. "Botschaft der Republik Zypern in Berlin – Zypernfrage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016.
  41. Denver journal of international law and policy. 1993. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. The invasion of Cyprus by Turkish troops in 1974 resulted in the widespread eviction and population transfer of 162,000 Greek Cypriots from their homes in the northern part of Cyprus. In Cyprus v. Turkey, the European Commission on ..
  42. William Mallinson (15 กุมภาพันธ์ 2011). Britain and Cyprus: Key Themes and Documents since World War II. I.B.Tauris. p. 8. ISBN 978-1-84885-456-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. Around 180,000 Greek Cypriots had been expelled from their homes and fled to the unoccupied part of the island, with another 20,000 being "encouraged" to flee later.
  43. Wolfgang Hörner; Hans Döbert; Botho von Kopp; Wolfgang Mitter (19 ธันวาคม 2006). The Education Systems of Europe. Springer. p. 202. ISBN 978-1-4020-4868-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015. Turkish settlers and military personnel, estimated at 85,000 and 40,000 respectively, who have moved into the Turkish-occupied areas since the Turkish invasion of Cyprus in 1974. At that time one third of the Greek population (about 200,000 persons) was expelled from their homes in the northern part of the island and forced to resettle in the southern areas.
  44. 44.0 44.1 44.2 Kevin Boyle; Juliet Sheen (2013). Freedom of Religion and Belief: A World Report. Routledge. p. 290. ISBN 978-1-134-72229-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2016.
  45. Darke 2009, 10.
  46. Nevzat & Hatay 2009, 911.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Langdale, Allan (2012). In a Contested Realm: an Illustrated Guide to the Archaeology and Historical Architecture of Northern Cyprus. Grimsay Press. ISBN 978-1845301286.
  • North Cyprus – a Pocket-Guide. Rustem Bookshop, Nicosia. 2006. ISBN 9944-968-03-X.
  • Bryant, Rebecca; Hatay, Mete (2020). Sovereignty Suspended: Political Life in a So-Called State (ภาษาอังกฤษ). University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-5221-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ทางการ
ลิงก์อื่น ๆ