โอเชียเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอเชียเนีย
พื้นที่8,525,989 ตารางกิโลเมตร (3,291,903 ตารางไมล์) (อันดับที่ 7)
ประชากร40,117,432 (พ.ศ. 2560, อันดับที่ 6)[1]
ความหนาแน่น4.19 ต่อตารางกิโลเมตร (10.9 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (ราคาตลาด)1.630 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018, อันดับที่ 6)
จีดีพีต่อหัว41,037 ดอลลาร์สหรัฐ (2017, อันดับที่ 2)[2]
ศาสนา
เดมะนิมชาวโอเชียเนีย (Oceanian)
ประเทศ
ดินแดน
ภาษา
เขตเวลาUTC+9 (ปาปัว, ปาเลา) ถึง UTC–6 (เกาะอีสเตอร์)
(ตะวันตกถึงตะวันออก)
เมืองใหญ่
รหัส UN M49009 – โอเชียเนีย
001โลก

โอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania) เป็นชื่อภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่รวมออสตราเลเชีย, เมลานีเชีย, ไมโครนีเชีย และพอลินีเชีย[4][5] คาดว่าโอเชียเนียมีพื้นที่ 8,525,989 ตารางกิโลเมตร (3,291,903 ตารางไมล์) กินพื้นที่ซีกโลกตะวันออกถึงตะวันตก และประชากรประมาณ 44.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2021 เมืองเทียบกับทวีป ภูมิภาคโอเชียเนียมีพื้นที่ดินเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากทวีปแอนตาร์กติกา ศูนย์กลางประชากรหลักในภูมิภาคนี้อยู่ในซิดนีย์, เมลเบิร์น, บริสเบน, เพิร์ท, ออกแลนด์, แอดิเลด และโฮโนลูลู

ผู้ตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกในออสเตรเลีย, นิวกินี และหมู่เกาะขนาดใหญ่ทางตะวันออก เริ่มเดินทางมาถึงเมื่อมากกว่า 60,000 ปีที่แล้ว[6] ชาวยุโรปเริ่มสำรวจโอเชียเนียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึงหมู่เกาะตานิมบาร์ หมู่เกาะแคโรไลน์บางส่วน และปาปัวนิวกินีตะวันตกในช่วง ค.ศ. 1512 ถึง 1526 เจมส์ คุก ผู้ที่ภายหลังเดินทางมาถึงหมู่เกาะฮาวาย ออกสำรวจครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเขาเดินทางไปที่ตาฮีตี ตามมาด้วยออสเตรเลียตะวันออกเป็นครั้งแรก[7]

ประเทศ[แก้]

  1. ธงของประเทศคิริบาส คิริบาส (ตาราวา)
  2. ธงของประเทศซามัว ซามัว (อาปีอา)
  3. ธงของประเทศตองงา ตองงา (นูกูอาโลฟา)
  4. ธงของประเทศตูวาลู ตูวาลู (ฟูนาฟูตี)
  5. ธงของประเทศนาอูรู นาอูรู (นาอูรู)
  6. ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ (เวลลิงตัน)
  7. ธงของประเทศปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี (พอร์ตมอร์สบี)
  8. ธงของประเทศปาเลา ปาเลา (เงรุลมุด)
  9. ธงของประเทศฟีจี ฟีจี (ซูวา)
  10. ธงของประเทศไมโครนีเชีย ไมโครนีเชีย (ปาลีกีร์)
  11. ธงของประเทศวานูวาตู วานูวาตู (พอร์ตวิลา)
  12. ธงของหมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะโซโลมอน (โฮนีอารา)
  13. ธงของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์ (มาจูโร)
  14. ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา)

ดินแดน[แก้]

  1. ธงของกวม กวม ( สหรัฐ) | ฮากัตญา
  2. ธงของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ( สหรัฐ) | ไซปัน
  3. ธงของอเมริกันซามัว อเมริกันซามัว ( สหรัฐ) | ปาโกปาโก
  4. ธงของหมู่เกาะคุก หมู่เกาะคุก (ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์) | อาวารัว
  5. ธงของเฟรนช์พอลินีเชีย เฟรนช์พอลินีเชีย (ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส) | ปาเปเอเต
  6. ธงของนีวเว นีวเว (ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์) | อาโลฟี
  7. ธงของหมู่เกาะพิตแคร์น หมู่เกาะพิตแคร์น (ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร) | แอดัมส์ทาวน์
  8. ธงของโตเกเลา โตเกเลา (ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์) | อาตาฟู แต่ละอะทอลล์มีศูนย์กลางการบริหาร
  9. ธงของวอลิสและฟูตูนา วอลิสและฟูตูนา (ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส) | มาตา-อูตู
  10. ธงของนิวแคลิโดเนีย นิวแคลิโดเนีย (ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส) | นูเมอา
  11. ธงของเกาะนอร์ฟอล์ก เกาะนอร์ฟอล์ก (ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย) | คิงส์ตัน
  12. ธงของหมู่เกาะโคโคส หมู่เกาะโคโคส (ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย) | เวสต์ไอแลนด์
  13. ธงของเกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาส (ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย) | เดอะเซตเทิลเมนต์

ภูมิประเทศ[แก้]

โอเชียเนียส่วนใหญ่เป็นเกาะและพืดหินปะการัง กระทั่งแผ่นดินเกิดการยกตัว นอกจากนี้ ยังมีที่เป็นภูเขาไฟ เทือกเขาขรุขระทุรกันดาร ที่ราบแคบ ๆ ป่าทึบ และทุกประเทศลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิอากาศร้อนชื้น ยกเว้นนิวซีแลนด์ที่เป็นแบบภาคพื้นสมุทร ฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ชุกมากแถบฝั่งตะวันตกของเกาะใต้ และออสเตรเลียที่แบ่งออกได้เป็น 7 เขตภูมิอากาศ คือ ร้อนชื้น ร้อนสลับแห้ง ทุ่งหญ้าเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เมดิเตอร์เรเนียน อบอุ่นชื้นแบบภาคพื้นสมุทร และแบบทะเลทราย

ในทวีปโอเชียเนียนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างจะเกี่ยวเนื่องกันของประเทศแต่ละประเทศ จักรวรรดิและอาณาจักรต่าง ๆ ที่สำคัญในโอเชียเนีย เช่น อาณาจักรของชาวเมารี จักรวรรดิตูอิตองงา หมู่เกาะโซโลมอน จักรวรรดิตูอิปูโลตูและจักรวรรดิตูอิมานูอา เป็นต้น

เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมจากโลกตะวันตกมีทั้งประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา

บางประเทศก่อกำเนิดจากผลพวงของสงคราม ทั้งสงครามระหว่างคนพื้นเมืองด้วยกันเองอย่างตองงา หรือการรวมประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของหมู่เกาะโซโลมอน เฉพาะอย่างยิ่งการก่อเกิดของประเทศสำคัญคือออสเตรเลีย ก็เป็นผลมาจากหลังสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกายุติลง และอังกฤษมองหาแผ่นดินใหม่สำหรับการตั้งถิ่นฐานของผู้กระทำผิดแทนที่อาณานิคมในเขตแอตแลนติกเหนือ

คำ "โอเชียเนีย" ได้มาจากชื่อของ "เปลือกโลกมหาสมุทร" (oceanic plate) ทั้งนี้ เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6-10 แผ่น และมีแผ่นเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นหลาย ๆ แผ่นต่อกันเหมือนแผ่นกระเบื้อง แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้แบ่งเป็นเปลือกโลกทวีป (continental plate) และเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic plate)

อ้างอิง[แก้]

  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. "United Nations Statistics Division – National Accounts". unstats.un.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-09. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
  3. "Oceania: Population, Characteristics, Economy And Religions". CRGSoft. 17 January 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
  4. Flicker, Leon; Kerse, Ngaire (2017). "Population ageing in Oceania". Oxford Textbook of Geriatric Medicine. pp. 55–62. doi:10.1093/med/9780198701590.003.0008. ISBN 978-0-19-870159-0. The region of Oceania describes a collection of islands scattered throughout the Pacific Ocean between Asia and the Americas. The region is vast and largely covered by ocean. There are four subregions of this region including Australasia (Australia and New Zealand), Melanesia (Papua and New Guinea, Fiji, Solomon Islands, Vanuatu, and New Caledonia), Micronesia (Federated States of Micronesia and Guam), and Polynesia (includes French Polynesia, Samoa, Tonga, Tokalau, and Niue).
  5. "The Four Sub-regions Of Oceania". WorldAtlas. 26 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2022. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
  6. "Aboriginal Australians". National Geographic. 8 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2021. สืบค้นเมื่อ 30 July 2022.
  7. "Secret Instructions to Captain Cook, 30 June 1768" (PDF). National Archives of Australia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2011. สืบค้นเมื่อ 3 September 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]