ประเทศลักเซมเบิร์ก
ราชรัฐลักเซมเบิร์ก Groussherzogtum Lëtzebuerg (ลักเซมเบิร์ก) Grand-Duché de Luxembourg (ฝรั่งเศส) Großherzogtum Luxemburg (เยอรมัน) | |
---|---|
คำขวัญ: Mir wëlle bleiwe wat mir sinn "เราต้องการจะยังคงเป็นในสิ่งที่เป็นอยู่" | |
- สถานที่ตั้งของประเทศลักเซมเบิร์ก (สีเขียวเข้ม) - ในทวีปยุโรป (สีเขียวและสีเทาเข้ม) - ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (สีเขียว) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ลักเซมเบิร์ก1 49°48′52″N 6°7′54″E / 49.81444°N 6.13167°E |
ภาษาราชการ | ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส และภาษาลักเซมเบิร์ก (โดยนิตินัยตั้งแต่ พ.ศ. 2527) |
ไม่เป็นทางการ | ภาษาดัตช์ |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
• แกรนด์ดยุกผู้ปกครอง | แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก |
• แกรนด์ดยุกรัชทายาท | เจ้าชายกีโยม แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก |
• นายกรัฐมนตรี | Luc Frieden |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎร |
เอกราช | |
9 มิถุนายน พ.ศ. 2358 | |
19 เมษายน พ.ศ. 2382 | |
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2410 | |
• สิ้นสุดรัฐร่วมประมุข | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 |
• เข้าร่วมสหภาพยุโรป | 25 มีนาคม พ.ศ. 2500 |
พื้นที่ | |
• รวม | 2,586 ตารางกิโลเมตร (998 ตารางไมล์) (169) |
0.60% | |
1 E9 | |
ประชากร | |
• มีนาคม 2564 ประมาณ | 633,622[1] (168th) |
• สำมะโนประชากร 2554 | 512,353 |
242 ต่อตารางกิโลเมตร (626.8 ต่อตารางไมล์) (58th) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2563 (ประมาณ) |
• รวม | $66.848 พันล้าน[2] (99th) |
• ต่อหัว | $112,045[2] (2nd) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2562 (ประมาณ) |
• รวม | $69.453 พันล้าน[2] (69th) |
• ต่อหัว | $113,196[2] (1st) |
จีนี (2561) | 33.2[3] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2562) | 0.916[4] สูงมาก · 23rd |
สกุลเงิน | ยูโร (€) 2 (EUR) |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รูปแบบวันที่ | dd/mm/yyyy |
ไฟบ้าน | 230 V–50 Hz |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | 352 |
รหัส ISO 3166 | LU |
โดเมนบนสุด | .lu |
ลักเซมเบิร์ก (อังกฤษ: Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg; ฝรั่งเศส: Luxembourg; เยอรมัน: Luxemburg ) หรือชื่อทางการคือ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (อังกฤษ: Grand Duchy of Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Groussherzogtum Lëtzebuerg; ฝรั่งเศส: Grand-Duché de Luxembourg; เยอรมัน: Großherzogtum Luxemburg ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศเยอรมนี ทางทิศใต้ติดฝรั่งเศส และทางทิศตะวันตกติดเบลเยียม มีเมืองหลวงคือนครลักเซมเบิร์ก[5] ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่เมืองที่เป็นที่ตั้งของสถาบันสำคัญทั้งเจ็ดแห่งสหภาพยุโรป (ร่วมกับบรัสเซลส์ แฟรงก์เฟิร์ต และ สทราซบูร์) และยังเป็นที่ตั้งของสถาบันสำคัญหลายแห่งของทวีปรวมถึงศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป[6][7] วัฒนธรรมลักเซมเบิร์ก อาทิ ภาษา และวิถีชีวิตของผู้คน ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลจากเพื่อนบ้านอย่างเยอรมนี และ ฝรั่งเศส และแม้จะมีภาษาลักเซมเบิร์กเป็นภาษาประจำชาติ ทว่าภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศสก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายในบริบททางกฎหมายและการปกครอง และทั้งสามภาษามีสถานะเป็นภาษาราชการโดยนิตินัย
ด้วยพื้นที่เพียง 2,586 ตารางกิโลเมตร (998 ตารางไมล์) ส่งผลให้ลักเซมเบิร์กเป็นรัฐอธิปไตยที่เล็กที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป[8] และใน ค.ศ. 2024 ลักเซมเบิร์กมีประชากรเพียง 672,050 คน[9] ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในยุโรป แต่เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของประชากรสูงที่สุด[10] และชาวต่างชาติมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด[11] ในฐานะตัวแทนประเทศประชาธิปไตยที่มีระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ลักเซมเบิร์กอยู่ภายใต้การปกครองของแกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์กซึ่งถือเป็นผู้สืบเชื้อสายจากขุนนางผู้ยิ่งใหญ่แห่งแกรนด์ดัชชีพระองค์สุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่
ประวัติศาสตร์ของลักเซมเบิร์กเริ่มต้นใน ค.ศ. 963[12] เมื่อเคานท์ซิเอกฟิลด์แห่งลักเซมเบิร์กได้สร้างปราสาทบริเวณเมืองหลวงปัจจุบัน[13] ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 11 เทศมณฑลลักเซมเบิร์กมีสถานะเป็นรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และรัชทายาทของซิเอกฟิลด์ได้ขยายอาณาเขตผ่านการทำสงคราม และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชบริพารในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 ต่อมา ใน ค.ศ. 1308 จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 7 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีและในเวลาต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กได้ให้กำเนิดจักรพรรดิจำนวน 4 พระองค์ในช่วงยุคกลางตอนปลาย และดินแดนแห่งนี้ได้กลายสภาพเป็นเครือราชรัฐบูร์กอญ ก่อนจะกลายเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดจังหวัดของเนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา เมืองและป้อมปราการแห่งลักเซมเบิร์กซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสและดินแดนฮาพส์บวร์ค จนกลายเป็นป้อมปราการที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป หลังจากที่ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และออสเตรียของมาเรีย เทเรซา ลักเซมเบิร์กได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่งและจักรวรรดิที่หนึ่งภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1[14]
รัฐลักเซมเบิร์กในปัจจุบันได้ถือกำเนิดขึ้นจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาใน ค.ศ. 1815 ก่อนที่เขตการปกครองแกรนด์ดัชชีซึ่งมีป้อมปราการอันแข็งแกร่งจะได้กลายสภาพเป็นรัฐอิสระภายใต้การครอบครองของพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยมีกองทหารปรัสเซียคอยคุ้มกันเมืองจากอีกรัฐหนึ่ง ก่อนจะเผชิญการรุกรานจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1839 หลังจากความวุ่นวายของการปฏิวัติเบลเยียม ส่งผลให้ดินแดนส่วนที่พูดภาษาฝรั่งเศสของลักเซมเบิร์กได้ถูกยกให้เบลเยียม และดินแดนอีกส่วนหนึ่งที่พูดภาษาลักเซมเบิร์ก (ยกเว้นอาเรเลอร์ลันด์ พื้นที่รอบอาร์ลอน) กลายมาเป็น ราชรัฐลักเซมเบิร์ก จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับเอกราชกลับคืนมาใน ค.ศ. 1867 ภายหลังวิกฤตการณ์ลักเซมเบิร์ก[15]
ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และแม้จะมีประชากรไม่มากแต่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความมั่งคั่งสูงที่สุดของยุโรป[16] โดยมีระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและสวัสดิการคุณภาพ[17][18][19] และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูง[20] อีกทั้งยังขึ้นชื่อในด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ลักเซมเบิร์กเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรป, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, สหประชาชาติ, เนโท และ เบเนลักซ์[21][22] ลักเซมเบิร์กดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 2013–14 เป็นครั้งแรก และใน ค.ศ. 2022 พลเมืองลักเซมเบิร์กได้รับอนุมัติการตรวจลงตราที่ใช้เดินทางเข้าออกประเทศหรือเขตแดนได้มากถึง 189 ประเทศทั่วโลก โดยหนังสือเดินทางของลักซัมเบิร์กได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในหนังสือเดินทางที่ทรงอิทธิพลของโลก[23] และเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้เสรีภาพแก่กลุ่มบุคคลแอลจีบีทีมากที่สุดในโลก เมืองลักเซมเบิร์กซึ่งมีป้อมปราการเก่าแก่ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกใน ค.ศ. 1994 อันเนื่องมาจากสถาปัตยกรรมอันสวยงาม
ประวัติศาสตร์
[แก้]ราชรัฐลักเซมเบิร์กเป็นนครรัฐ มีประวัติความเป็นมาย้อนหลังมากกว่า 1,000 ปี เมื่อ ค.ศ. 963 เคานท์ซิเอกฟิลด์แห่งลักเซมเบิร์ก เคานท์แห่งอาร์เดนเนส และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ลักเซมเบิร์กสร้างปราสาทในบริเวณเมืองหลวงของลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนล้อมรอบหลายชั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปในนาม “ยิบรอลตราทางเหนือ” (The Gibraltar of the North) ในช่วงปลายยุคกลางจนถึงศตวรรษที่ 15 ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กมีความรุ่งเรืองมาก กษัตริย์หลายพระองค์ในยุโรปสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์นี้ อาทิ จักรพรรดิปกครองเยอรมนี 4 พระองค์ กษัตริย์ปกครองโบฮีเมีย 4 พระองค์ และกษัตริย์ปกครองฮังการี 1 พระองค์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของลักเซมเบิร์ก ในยุคนั้น ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 7 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์,พระเจ้าจอห์นแห่งโบฮีเมียและดยุกแวนเซลอสที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก จากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจเบอร์กันดีใน ค.ศ. 1467 เมื่อดัสเชสเอลิซาเบธที่ 2 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กพระองค์สุดท้าย ทรงได้สละสิทธิอันชอบธรรมของพระนางในราชบัลลังก์ พระโอรสของฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีคือ ชาร์ลส์เดอะโบลด์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีทรงยอมรับพระอิศริยยศนี้โดยรวมเข้ากับพระยศ "ดยุกแห่งเบอร์กันดี" หลังจากนั้นลักเซมเบิร์กประสบความพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง และตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติต่าง ๆ เช่น สเปน ฝรั่งเศส ออสเตรีย และรัสเซีย จนกระทั่งสิ้นสุดคริสศตวรรษที่ 19 ใน ค.ศ. 1815 ลักเซมเบิร์กได้รับอิสรภาพอีกครั้ง โดยการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) ได้ยกฐานะของลักเซมเบิร์กจาก Duchy เป็น Grand Duchy และมอบให้เป็นพระราชสมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ให้สิทธิในการปกครองแก่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์และใน ค.ศ. 1868 สนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London 1867) ได้รับรองบูรณภาพ แบ่งดินแดน และสิทธิในการปกครองตนเองของลักเซมเบิร์ก[24]
ใน ค.ศ. 1890 ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงวิลเฮลมินา ทรงเป็นรัชทายาทเพียงพระองค์เดียวได้ขึ้นครองราชสมบัติเนเธอร์แลนด์ โดยไม่ผูกมัดตามข้อตกลงของราชสกุล อย่างไรก็ตามราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กได้ผ่านไปถึงเชื้อสายบุรุษของราชวงศ์นัสเซาสายอื่น คือ ดยุกอดอลฟ์ผู้ถูกขับออกจากตำแหน่งดยุกแห่งนัสเซาและเป็นประมุขของสายราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก และแกรนด์ดยุกของลักเซมเบิร์กในสมัยนั้นโดยไม่มีพระราชโอรสสืบทอด ทำให้ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ตระกูลนัสเซาซึ่งก็คือ แกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์กได้ขึ้นครองราชย์แทนใน ค.ศ. 1907 แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวของแกรนด์ดยุกอดอลฟีได้รับสิทธิการชอบธรรมแก่พระธิดาองค์โตคือเจ้าหญิงมารี อเดเลด ซึ่งเป็นสิทธิในการสืบราชสมบัติด้วยความบริสุทธิ์แห่งการไร้บุรุษในราชวงศ์ และระบุไว้ในกฎดั้งเดิมราชสกุลนัสเซา พระนางจึงทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสพระองค์แรกผู้ปกครองแกรนด์ดัชชีแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อพระบิดาเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1912 และทรงสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1919 พระขนิษฐาจึงครองราชย์สืบต่อคือแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต และลักเซมเบิร์กเริ่มต้นมีราชวงศ์ของตนเองในรัชสมัยของแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก (Grand Duchess Charlotte) ลักเซมเบิร์กได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การพัฒนาดังกล่าวได้หยุดชะงักลงเมื่อเยอรมนีได้เข้ายึดครองลักเซมเบิร์กในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทั้ง ๆ ที่ลักเซมเบิร์กได้ประกาศความเป็นกลาง ต่อมาใน ค.ศ. 1964 กษัตริย์ของลักเซมเบิร์กคือ แกรนด์ดยุกฌองแห่งลักเซมเบิร์ก (Grand Duke Jean) ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชชนนี คือ แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต ซึ่งสละราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสหลังจากที่ทรงครองราชย์มานานถึง 45 ปี กษัตริย์องค์ปัจจุบันของลักเซมเบิร์กคือ แกรนด์ดยุกอ็องรีที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก (Grand Duke Henri) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์ นัสเซา-เวลเบิร์ก สืบต่อจากแกรนด์ดยุกฌอง พระราชชนก ซึ่งสละราชสมบัติหลังจากที่ครองราชย์นานถึง 36 ปี ให้แก่พระราชโอรส ภายหลังได้รับการปลดปล่อยโดยกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักเซมเบิร์กได้ยกเลิกนโยบายความเป็นกลางและเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรด้านการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร เช่น สหภาพยุโรป องค์กรสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท),[25] สหภาพยุโรปตะวันตก (Western European Union-WEU) และ OSCE (Organization for Security and Cooperation in Europe)[26]
การเมืองการปกครอง
[แก้]เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 พรรค CSV (Christian Socialist Party) และพรรค LSAP (Luxembourg Socialist Workers’ Party) ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งทั่วไปในลักเซมเบิร์ก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2004 ได้บรรลุการเจรจาจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี โดยมีนายชอง-โกลด จุงก์เกอร์หัวหน้าพรรค CSV ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม และนายฌอง แอสเซลบอร์น หัวหน้าพรรค LSAP ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการเข้าเมือง ทั้งนี้ นายชอง-โกลด จุงก์เกอร์ได้นำคณะรัฐมนตรีรวม 15 ราย เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับหน้าที่ต่อแกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์กในวันเดียวกัน
นโยบายของรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาให้ทันสมัย (modernization) นวัตกรรม (innovation) การปรับโอน (transformation) และบูรณาการ (integration) ในทุก ๆ ด้าน
นโยบายด้านการเงินการคลังจะเน้นความยืดหยุ่น จะดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ส่วนการดำเนินนโยบายด้านงบประมาณจะต้องสอดคล้องกับ Stability Pact และนโยบายการพัฒนาของสหภาพยุโรป รวมทั้งจะปรับเปลี่ยนปีงบประมาณให้ตรงกับช่วงปีงบประมาณของสหภาพยุโรป
นโยบายด้านเศรษฐกิจจะเน้นการส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ความทันสมัย และรูปแบบที่เปิดรับต่อปัจจัยและเงื่อนไขใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยให้มีการค้นคว้าและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมด้าน e-dynamic การลงทุนด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการคมนาคม อาทิ ถนนและเส้นทางรถไฟ
โดยที่ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศขนาดเล็ก จึงให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นต่อความร่วมมือกับประเทศในยุโรปตะวันตก ทั้งในกรอบทวิภาคีอียู และ เนโทเพื่อเป็นหลักประกันต่อเอกราช
ด้านความมั่นคง ลักเซมเบิร์กมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถด้านความมั่นคงเพื่อตอบสนองต่อภารกิจของชาติและภารกิจในกรอบของอียู และ เนโท โดยจะเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงร้อยละ 1.2 ของจีดีพีและเร่งปรับปรุงสถานที่ตั้งทางการทหาร ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจการรักษาสันติภาพในกรอบระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ ๆ ของอียู และ เนโท
ลักเซมเบิร์กยังมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ และเป็นประเทศหนึ่งที่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของ UN ในการให้เงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และใน ค.ศ. 2001 ลักเซมเบิร์กให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศร้อยละ 0.8 ของจีดีพีซึ่งเกินเป้าหมายของ UN และ OECD นอกจากนั้น ลักเซมเบิร์กมีแผนการที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือให้ถึงร้อยละ 1 ใน ค.ศ. 2005 เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศที่มีความยากจนและประสบภัยสงคราม[27]
การต่างประเทศ
[แก้]ลักเซมเบิร์กเป็นผู้สนับสนุนการบูรณาการทางการเมืองและเศรษฐกิจของยุโรปมาอย่างยาวนาน ใน ค.ศ. 1921 ลักเซมเบิร์กและเบลเยียมได้ก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจเบลเยียม-ลักเซมเบิร์ก (BLEU) เพื่อสร้างระบอบการปกครองของสกุลเงินที่แลกเปลี่ยนได้และธรรมเนียมปฏิบัติร่วมกัน ลักเซมเบิร์กเป็นสมาชิกของสหภาพเศรษฐกิจเบเนลักซ์และเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ปัจจุบันคือสหภาพยุโรป) นอกจากนี้ยังเข้าร่วมในกลุ่มเชงเกน (ตั้งชื่อตามหมู่บ้านเชงเก้นแห่งลักเซมเบิร์กที่มีการลงนามในข้อตกลง) และยังเป็นที่ตั้งของ ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป
กองทัพ
[แก้]กองทัพลักเซมเบิร์กส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในคาเซิร์น เจ้าหน้าที่ทั่วไปประจำอยู่ในเมืองหลวง กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนโดยมีแกรนด์ดยุคเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด François Bausch รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน มีอำนาจในการสั่งการและดูแลการปฏิบัติการของกองทัพบก หัวหน้าใหญ่ของกองทัพคือหัวหน้ากลาโหมซึ่งควบทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีคนที่สองและดำรงตำแหน่งนายพล ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลจึงไม่มีกองทัพเรือ ในส่วนของกองทัพอากาศ เครื่องบิน NATO AWACS จำนวนสิบเจ็ดลำได้รับการจดทะเบียนเป็นเครื่องบินประจำกองทัพลักเซมเบิร์กตามข้อตกลงร่วมกับเบลเยียม ทั้งสองประเทศได้จัดหาเงินทุนสำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้าทางทหาร A400M จำนวนหนึ่งลำ[28]
ลักเซมเบิร์กได้เข้าร่วมใน Eurocorps ซึ่งสนับสนุนกองกำลังในภารกิจ UNPROFOR และ IFOR ในอดีตของประเทศยูโกสลาเวีย และได้เข้าร่วมกับกลุ่มเล็กๆ ในภารกิจ NATO SFOR ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา กองทหารลักเซมเบิร์กได้ส่งกำลังไปยังอัฟกานิสถานเพื่อสนับสนุน ISAF กองทัพยังได้เข้าร่วมในภารกิจบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม เช่น การจัดตั้งค่ายผู้ลี้ภัยสำหรับชาวเคิร์ด และการจัดหาเสบียงฉุกเฉินให้กับแอลเบเนีย[29][30][31]
เขตการปกครอง
[แก้]ประเทศลักเซมเบิร์กในอดีต (จนถึง ค.ศ. 2015) แบ่งเป็น 3 เขต ได้แก่เขตดิกเคริช เขตเกร็ยเวอมาเคอร์ และเขตลักเซมเบิร์ก ซึ่งสามเขตดังกล่าวจะแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น 12 อำเภอและ 102 เทศบาล[32] อย่างไรก็ตาม การปกครองระดับเขตได้ถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 2015[33][34] ทำให้ในปัจจุบันหน่วยการบริหารระดับสูงสุดของประเทศลักเซมเบิร์กได้แก่อำเภอ ซึ่งมีจำนวน 12 อำเภอ ได้แก่
|
ภูมิศาสตร์
[แก้]ลักเซมเบิร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในยุโรป และมีขนาดเป็นอันดับ 167 ของโลก พื้นที่ทั่วประเทศ 2,586 ตารางกิโลเมตร ทางตะวันตกของประเทศ มีพรมแดนติดกับจังหวัดลักเซมเบิร์กของเบลเยียม ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ (4,443 ตารางกิโลเมตร) เกือบสองเท่าของประเทศลักเซมเบิร์ก
ทางตอนเหนือของประเทศ เป็นเนินเขาและภูเขาเตี้ย ๆ จุดสูงสุดอยู่ที่ Kneiff ใกล้กับเมือง Wilwerdange[35] มีความสูง 560 เมตร พื้นที่อื่น ๆ มักจะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ เช่นกัน
เศรษฐกิจ
[แก้]- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 62.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2017)
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว 104,103 ดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2017)
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2.3% (ค.ศ. 2017)
- อัตราเงินเฟ้อ 1.7% (ค.ศ. 2017)
- อัตราการว่างงาน 3.6% (ค.ศ. 2003)
- มูลค่าการส่งออก ประมาณ 9.052 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2003)
- มูลค่าการนำเข้า 12.060 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2003)
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่โลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ เคมีภัณฑ์
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์โลหะ อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ เคมีภัณฑ์
- ประเทศคู่ค้าสำคัญ เยอรมนี เบลเยียม ฝรั่งเศส จีน เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย
ภาคการบริการเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของลักเซมเบิร์ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการเงินการธนาคาร โดยลักเซมเบิร์กมีกฎหมายด้านการเงินที่ดึงดูดนักลงทุน ทำให้ลักเซมเบิร์กกลายเป็นศูนย์กลางด้านกองทุนลงทุนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น โดยจะเห็นได้จากการที่ใน ค.ศ. 2000 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลักเซมเบิร์กมาจากภาคบริการถึงร้อยละ 69 (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 30 และภาคการเกษตร ร้อยละ 1) และมีแรงงานถึงร้อยละ 90 ของแรงงานทั้งหมดทำงานในภาคบริการ (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 8 และภาคการเกษตร ร้อยละ 2)
เศรษฐกิจการค้า
[แก้]สภาวะเศรษฐกิจ ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจมั่นคง อัตราการเติบโตปานกลาง เงินเฟ้อต่ำ และมีนวัตกรรมในระดับสูง[36] มีอัตราการว่างงานต่ำ ภาคอุตสาหกรรมซึ่งในอดีตเหล็กกล้าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด แต่ปัจจุบันได้มีอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ยาง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ การเจริญเติบโตทางภาคการเงิน ซึ่งอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP คิดเป็นร้อยละ 22 ส่วนใหญ่นำไปชดเชยให้กับอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ธนาคารส่วนใหญ่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ภาคเกษตรกรรมมีลักษณะเป็นไร่ขนาดเล็ก แรงงานต่างชาติหรือแรงงานข้ามชาติมีส่วนสำคัญมากในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมด ถึงแม้ว่าลักเซมเบิร์กจะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาเหมือนเช่นประเทศอื่น ๆ แต่ก็ยังสามารถรักษาให้อัตราการเจริญเติบโตยังเข้มแข็งต่อไปได้
สหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก เบลเยียมและลักเซมเบิร์กได้จัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก (Belgium-Luxembourg Economic Union - BLEU) ระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 ซึ่งทำให้การเก็บสถิติการค้าและการลงทุนมักจะเป็นไปบนพื้นฐานของตัวเลขของทั้งสองประเทศรวมกัน นอกจากนี้ มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของทั้งสองประเทศไว้ที่อัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one parity) สหภาพเศรษฐกิจเบลโก- ลักเซมเบิร์กมีลักษณะสำคัญ ดังนี้[37][38]
- จัดระบบการค้าเสรีระหว่างกัน
- มีการประสานนโยบายในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และสังคม รวมทั้ง ปรับกฎหมายภายในประเทศทั้งสองให้สอดคล้องกัน
- ธนาคารแห่งประเทศเบลเยี่ยมจะทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของ ทั้งสองประเทศ
- ใช้กฎหมายด้านการปริวรรตเงินตราต่างประเทศแบบเดียวกัน
- มีการจำกัดปริมาณเงินฟรังค์ลักเซมเบิร์ก โดยกำหนดปริมาณเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เงินฟรังค์ของทั้งสองประเทศมีค่าเท่ากัน
- เบลเยียมจะมีบทบาทนำด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากลักเซมเบิร์กมี GDP ประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP เบลเยียม และลักเซมเบิร์กได้เน้นภาคบริการโดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการธนาคาร โดยมีนโยบายด้านการเงินที่เสรี และอัตราภาษีเงินได้ที่ต่ำ
ประชากร
[แก้]ชาติพันธุ์
[แก้]ประชากรผู้อพยพเพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 20 เนื่องจากการมาถึงของผู้อพยพจากเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และโปรตุเกส[39] ใน ค.ศ. 2013 มีประชากรประมาณ 88,000 คนที่มีสัญชาติโปรตุเกส ในปี 2013 มีผู้อยู่อาศัยถาวร 537,039 คน[40] โดย 44.5% เป็นชาวต่างชาติหรือผู้อพยพ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดคือชาวโปรตุเกส ซึ่งคิดเป็น 16.4% ของประชากรทั้งหมด ตามด้วยชาวฝรั่งเศส (6.6%) ชาวอิตาลี (3.4%) เบลเยียม (3.3%) และชาวเยอรมัน (2.3%) อีก 6.4% มาจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ ในขณะที่ 6.1% ที่เหลือเป็นของนอกสหภาพยุโรปอื่น ๆ[41]
นับตั้งแต่เริ่มสงครามในยูโกสลาเวีย ลักเซมเบิร์กได้รับผู้อพยพจำนวนมากจากบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และเซอร์เบีย ทุกปี ผู้อพยพใหม่กว่า 10,000 คนมาถึงลักเซมเบิร์ก ส่วนใหญ่มาจากรัฐในสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับยุโรปตะวันออก ในปี 2000 มีผู้อพยพในลักเซมเบิร์ก 162,000 คน คิดเป็น 37% ของประชากรทั้งหมด มีผู้อพยพผิดกฎหมายประมาณ 5,000 คนในลักเซมเบิร์กในปี 2002
ภาษา
[แก้]ภาษาราชการของลักเซมเบิร์กประกอบด้วย 3 ภาษาหลัก ได้แก่; ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาลักเซมเบิร์ก[42] ซึ่งเป็นภาษาฟรังโกเนียนใช้สำหรับสำหรับประชากรในท้องถิ่นซึ่งเข้าใจร่วมกันได้กับภาษาเยอรมันในบางบริบท และรวมถึงคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสมากกว่า 5,000 คำ พลเมืองหรือผู้อยู่อาศัยทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งในสามภาษาดังกล่าวในการติดต่อราชการและสถานที่ทั่วๆไป และจะได้รับการบริการเป็นภาษานั้น ๆ ลักเซมเบิร์กยังมีภาษาท้องถิ่นหลายภาษา จากการสำรวจใน ค.ศ. 2009 เปิดเผยว่าภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่พูด (99%) ตามมาด้วย ลักเซมเบิร์ก (82%) เยอรมัน (81%) และภาษาอังกฤษ (72%) ก็นิยมพูดโดยประชากรส่วนใหญ่เช่นกัน[43]
ภาษาราชการแต่ละภาษาถูกใช้เป็นภาษาหลักในบางบริบทของชีวิตประจำวันโดยไม่เฉพาะเจาะจง ภาษาลักเซมเบิร์กเป็นภาษาประจำชาติของราชรัฐแกรนด์ดัชชีและถือเป็นภาษาแม่หรือ "ภาษาของหลัก" สำหรับประชากรในท้องถิ่น เป็นภาษาที่ชาวลักเซมเบิร์กมักใช้พูดกันทั่วไปในชีวิตประจำวันในครอบครัว และเพื่อนฝูง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลิตนวนิยายในภาษาลักเซมเบิร์กเพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ก็ไม่ค่อยได้ใช้เป็นภาษาเขียน และแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก (ประมาณ 60% ของประชากร) มักไม่ได้ใช้ภาษาลักเซมเบิร์กแต่จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันแทน[44][45]
ในขณะที่เอกสารราชการและการติดต่อระดับพิธีการ มักจะใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก และยังเป็นภาษาที่ใช้พูดกันมากที่สุดในเมืองหลวง และยังปรากฏตามสื่อบันเทิงในชีวิตประจำวันมากมาย นอกจากนี้ ภาษาฝรั่งเศสยังถูกใช้ในบริบทของการเมือง และกฎหมาย อาทิ การอภิปรายในรัฐสภา, การตัดสินคดีความ, การออกเอกสารสำคัญของรัฐบาล เช่น หนังสือเดินทาง และสัญญาการเช่าซื้อ เป็นต้น และภาษาเยอรมันยังถูกใช้ในสื่อมากเช่นเดียวกับภาษาฝรั่งเศส
นอกจากนี้ ภาษาโปรตุเกสยังมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในหลายทศวรรษที่ผ่านมา อันเนื่องจากการมีผู้อพยพชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นจำนวนมาก
ศาสนา
[แก้]ศาสนาที่มีอิทธิพลได้แก่ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ศาสนายิว กรีกออร์ทอดอกซ์ แองกลิกันนิยม รัสเซียออร์ทอดอกซ์ ลูเธอแรน ลัทธิคาลวิน ลัทธิ Mennonitism และอิสลาม ตั้งแต่ปี 1980 การประเมินโดย CIA Factbook สำหรับปี 2000 ระบุว่า 87% ของชาวลักเซมเบิร์กเป็นชาวคาทอลิกรวมทั้งตระกูลแกรนด์ดยุค ส่วนที่เหลือ 13% ประกอบไปด้วยโปรเตสแตนต์ คริสเตียนออร์โธดอกซ์ ชาวยิว มุสลิม และผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือไม่มีศาสนา จากผลการศึกษาของศูนย์วิจัย Pew ในปี 2010 พบว่า 70.4% เป็นคริสเตียน มุสลิม 2.3% ไม่นับถือศาสนา 26.8% และศาสนาอื่น 0.5%[46][47]
การศึกษา
[แก้]โรงเรียนส่วนใหญ่ดำเนินการโดยรัฐและไม่มีค่าใช้จ่ายการเข้าโรงเรียนต้องมีอายุตั้งแต่ 4 ถึง 16 ปี ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ การศึกษาในลักเซมเบิร์กเป็นแบบหลายภาษาและประกอบด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับมัธยมศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยกเว้นในสถาบันการศึกษาระดับสูงของลักเซมเบิร์กการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเป็นภาษาฝรั่งเศส[48][49]
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (enseignement fondamental) ประกอบด้วยโรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษา จะเรียกว่า Lycées มหาวิทยาลัยลักเซมเบิร์กเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในลักเซมเบิร์ก[50] ใน ค.ศ. 2014 คณะวิชาธุรกิจลักเซมเบิร์กซึ่งเป็นโรงเรียนธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษาได้รับการจัดตั้งขึ้นผ่านความคิดริเริ่มของเอกชน และได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษาและการวิจัยแห่งลักเซมเบิร์กใน ค.ศ. 2017[51]
สุขภาพ
[แก้]จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก การใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในนามของรัฐบาลลักเซมเบิร์กอยู่ที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินประมาณ 8,182 ดอลลาร์สำหรับพลเมืองแต่ละคน ประเทศลักเซมเบิร์กใช้จ่ายเงินเกือบ 7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศด้านสุขภาพ โดยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการใช้จ่ายด้านบริการด้านสุขภาพและโครงการที่เกี่ยวข้องสูงที่สุดใน ค.ศ. 2012 ในบรรดาประเทศร่ำรวยอื่น ๆ ในยุโรปที่มีรายได้เฉลี่ยสูง
วัฒนธรรม
[แก้]ลักเซมเบิร์กได้รับวัฒนธรรมของเพื่อนบ้าน แต่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นจำนวนมาก[52] เนื่องจากเป็นประเทศในชนบทที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และศิลปะแห่งชาติ (NMHA) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองลักเซมเบิร์ก และพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ Grand Duke Jean (Mudam) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทหารแห่งชาติ (MNHM) ใน Diekirch เป็นที่รู้จักโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเป็นตัวแทนของ Battle of the Bulge เมืองลักเซมเบิร์กเองอยู่ในรายชื่อมรดกโลกขององค์การยูเนสโก[53] เนื่องจากความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของป้อมปราการ[54]
ประเทศได้ผลิตศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติบางคน รวมทั้งจิตรกรเช่น Théo Kerg, Joseph Kutter และ Michel Majerus และช่างภาพ เอ็ดเวิร์ด สไตเชน (Edward Steichen) ถือเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ผลงานโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับระดับโลก ผลงานของเขามักเป็นภาพถ่ายที่ปรากฏบ่อยครั้งในนิตยสาร Camera Work ของ Alfred Stieglitz ในระหว่างการตีพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1903 ถึง 1917 โดยเขาได้รับการยกย่องว่าเป็น "ช่างภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีชีวิตอยู่ " และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศและพิพิธภัณฑ์การถ่ายภาพนานาชาติ[55][56][57]
ลักเซมเบิร์กเป็นเมืองแรกที่ได้รับการตั้งชื่อว่า European Capital of Culture หรือเป็น เมืองศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมยุโรป ถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือใน ค.ศ. 1995 และกครั้งใน ค.ศ. 2007[58][59]
กีฬา
[แก้]กีฬาในลักเซมเบิร์กไม่เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป โดยไม่มีกีฬาประจำชาติ แต่รวมกีฬาหลายประเภททั้งแบบทีมและส่วนบุคคลในหลากหลายโอกาส แม้จะขาดการพัฒนาด้านกีฬาอย่างต่อเนื่อง แต่ประชากรกว่า 100,000 คนเป็นสมาชิกที่ได้รับใบอนุญาตของสหพันธ์กีฬาแห่งชาติ และประเทศมีสนามกีฬา Stade de Luxembourg ตั้งอยู่ในย่าน Gasperich ทางตอนใต้ของเมืองลักเซมเบิร์ก เป็นสนามกีฬาแห่งชาติและสถานที่เล่นกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยจุได้ 9,386 คนสำหรับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลและรักบี้ และ 15,000 สำหรับคอนเสิร์ต สถานที่เล่นกีฬาในร่มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคือ d'Coque, Kirchberg ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ซึ่งมีความจุ 8,300 สนามนี้ใช้สำหรับบาสเกตบอล แฮนด์บอล ยิมนาสติก และวอลเลย์บอล รวมถึงรอบชิงชนะเลิศวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์ยุโรป 2007
อาหาร
[แก้]อาหารลักเซมเบิร์กได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอาหารฝรั่งเศสและเยอรมนีที่อยู่ใกล้เคียง และได้รับการเสริมแต่งโดยผู้อพยพชาวอิตาลีและโปรตุเกสจำนวนมาก อาหารพื้นเมืองลักเซมเบิร์กส่วนใหญ่ซึ่งบริโภคเป็นอาหารประจำวันแบบดั้งเดิม มีรากฐานมาจากอาหารพื้นบ้านของประเทศเช่นเดียวกับในประเทศเพื่อนบ้านในเยอรมนี ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ประชากรโดยเฉลี่ยมากที่สุดต่อคนในยุโรป อย่างไรก็ตาม ปริมาณแอลกอฮอล์โดยส่วนมากบริโภคโดยลูกค้าจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมากมีส่วนทำให้ยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงตามสถิติ ดังนั้น การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี้จึงไม่ได้เป็นตัวชี้วัดปริมาณการบริโภคที่แท้จริงของประชากรลักเซมเบิร์ก
อาหารที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไปได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป เช่น เบคอน แฮม รมควัน ทานคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเยอรมนีและฝรั่งเศส[60][61][62]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Statistiques // Luxembourg". statistiques.public.lu. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
- ↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income - EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Europe :: Luxembourg — The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 12 December 2020.
- ↑ "Decision of the Representatives of the Governments of the Member States on the location of the seats of the institutions (12 December 1992) - CVCE Website". web.archive.org. 2019-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Luxembourg | national capital, Luxembourg | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "TGM - Eurostat". ec.europa.eu.
- ↑ https://statistiques.public.lu/fr/actualites/population/population/2020/04/20200401/index.html_Language=fra&MainTheme=2&FldrName=1[ลิงก์เสีย]
- ↑ "The World Factbook". web.archive.org. 2016-05-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ Centre, UNESCO World Heritage. "City of Luxembourg: its Old Quarters and Fortifications". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "History of the city of Luxembourg". www.luxembourg-city.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Kreins, Jean-Marie (2010). Histoire du Luxembourg (5 ed.). Paris, France: Presses Universitaires de France.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ A propos... Histoire du Grand-Duché de Luxembourg. Luxembourg: Service information et presse du gouvernement luxembourgeois, Département édition. 2008. pp. 5–6. ISBN 978-2-87999-093-4.
- ↑ https://www.usnews.com/news/best-countries/luxembourg
- ↑ "Luxembourg - Employment, Social Affairs & Inclusion - European Commission". ec.europa.eu.
- ↑ "Social welfare measures". guichet.public.lu (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "Luxembourg: Introduction". globaledge.msu.edu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "GDP growth (annual %) - Luxembourg | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Luxembourg timeline" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "European Union | Definition, Purpose, History, & Members". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Luxembourg Passport Dashboard | Passport Index 2021". Passport Index - Global Mobility Intelligence (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Kreins, Jean-Marie (2003). Histoire du Luxembourg (ภาษาฝรั่งเศส) (3rd ed.). Paris: Presses Universitaires de France. pp. 80–81. ISBN 978-2-13-053852-3.
- ↑ "Luxembourg and NATO". NATO. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
- ↑ "Luxembourg - History". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "en". gouvernement.lu (ภาษาอังกฤษ). 2017-06-13.
- ↑ SA, Interact. "Accueil". www.armee.lu (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "Luxembourg". www.aeroflight.co.uk.
- ↑ "A400M Future Large Aircraft - FLA". www.globalsecurity.org.
- ↑ "Luxembourg Army History". web.archive.org. 2010-07-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-02. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Carte des communes – Luxembourg.lu – Cartes du Luxembourg". Luxembourg.public.lu. 21 September 2011. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
- ↑ "Commissariats de district: clap de fin". 10 Mar 2014. สืบค้นเมื่อ 23 Apr 2020.
- ↑ "Fin des commissariats de district". 8 Jul 2015. สืบค้นเมื่อ 12 Feb 2017.
- ↑ "Mountains in Luxembourg" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 June 2007. สืบค้นเมื่อ 24 February 2010., recueil de statistiques par commune. statistiques.public.lu (2003) p. 20
- ↑ "The Global Innovation Index 2012" (PDF). INSEAD. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012.
- ↑ "Luxembourg Economy: Population, GDP, Inflation, Business, Trade, FDI, Corruption". www.heritage.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "Luxembourg Economic Snapshot - OECD". www.oecd.org.
- ↑ "Luxembourg Presidency - Being a Luxembourger". www.eu2005.lu.
- ↑ "Affichage de tableau". statistiques.public.lu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-20. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "The Luxembourgish language: a guide to Luxembourg's native tongue". Expat Guide to Luxembourg | Expatica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Parlement européen - Lëtzebuergesch léieren (FR)". www.europarl.europa.eu.
- ↑ "Luxembourgish language". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Which languages are used in Luxembourg?". myLIFE (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-11-09.
- ↑ "Luxembourg, Religion And Social Profile | National Profiles | International Data | TheARDA". www.thearda.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "Luxembourg Religions - Demographics". www.indexmundi.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ INFPC. "The Luxembourg school system - lifelong-learning.lu". www.lifelong-learning.lu (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Anonymous (2017-10-09). "Luxembourg". Eurydice - European Commission (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Luxembourg, Université du. "Page d'accueil". Université du Luxembourg.
- ↑ "University of Luxembourg". Times Higher Education (THE) (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-10.
- ↑ "What to Do in Luxembourg - Visit Luxembourg". www.visitluxembourg.com.
- ↑ "City of Luxembourg - World Heritage Site - Pictures, Info and Travel Reports". www.worldheritagesite.org.
- ↑ https://whc.unesco.org/en/list/699/
- ↑ "Edward Steichen". International Photography Hall of Fame (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-20. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "Edward Steichen Artworks & Famous Photography". The Art Story.
- ↑ "Visit Missouri | Enjoy The Show". Visit Missouri (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "European Capitals of Culture | Culture and Creativity". ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Luxembourg European Capital". www.luxembourg-city.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Luxembourg cuisine: top traditional dishes to try". You Could Travel (ภาษาอังกฤษ). 2017-08-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Most Popular Luxembourg Food". www.tasteatlas.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "Luxembourg food and drink guide". World Travel Guide (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายละเอียดลักเซมเบิร์ก เก็บถาวร 2020-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บกระทรวงต่างประเทศ
- เว็บท่าอย่างเป็นทางการ ของแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์ก
- Luxembourg. เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก สำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ
- ประเทศลักเซมเบิร์ก ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Luxembourg
- คู่มือการท่องเที่ยว ลักเซมเบิร์ก จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)