จื๋อโกว๊กหงือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรละตินเวียดนาม
ชนิดอักษร
ภาษาพูดเวียดนาม และภาษาพื้นเมือง
ผู้ประดิษฐ์Francisco de Pina เยสุอิตชาวโปรตุเกส,[1][2][3] Alexandre de Rhodes
ระบบแม่

จื๋อโกว๊กหงือ หรือ ตัวหนังสือของภาษาประจำชาติ (เวียดนาม: chữ Quốc ngữ) ใช้ในการเขียนภาษาเวียดนามอย่างเป็นทางการ จื๋อโกว๊กหงือเป็นอักษรละตินที่เพิ่มเติมเครื่องหมายต่าง ๆ เข้ามาเพื่อให้มีอักษรเพียงพอที่จะใช้เขียนภาษา อักษรดังกล่าวได้รับการคิดค้นขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา โดยมีรากฐานมาจากระบบที่มิชชันนารีชาวโปรตุเกสคิดไว้ก่อนหน้านั้น ในระหว่างที่เวียดนามยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น จื๋อโกว๊กหงือได้เป็นอักษรราชการของอาณานิคม ซึ่งได้ทำให้อักษรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ

จื๋อโกว๊กหงือในปัจจุบันมีรูปแบบการเขียนที่อ้างอิงการออกเสียงของภาษาถิ่นเวียดนามกลาง ซึ่งสระและพยัญชนะท้ายจะคล้ายคลึงกับภาษาถิ่นเหนือ ส่วนพยัญชนะต้นจะคล้ายกับภาษาถิ่นใต้

ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายังเวียดนามนั้น ภาษาเวียดนามมีระบบการเขียนสองแบบ ทั้งสองแบบก็มีที่มาจากอักษรจีนเช่นเดียวกัน คือ

  • จื๋อญอ (chữ Nho, 字儒) หรือฮ้านตึ (Hán tự, 漢字) คืออักษรจีนที่ใช้เขียนโบราณ
  • จื๋อโนม (chữ Nôm, 字喃) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยนำอักษรจีนมาดัดแปลงเล็กน้อย

พยัญชนะ[แก้]

อักษรเวียดนามแบบตัวเขียน
พยัญชนะ
อักษร เสียง หมายเหตุ
สำเนียงเหนือ สำเนียงใต้
b /ɓ/ คล้าย บ ในภาษาไทย
c /k/ เป็นตัวสะกดแม่กกด้วย
ch
/ʲk/ -ยก์ /t/ แม่กด ตัวสะกด
d /z/ z ในภาษาอังกฤษ /j/ ในภาษาเวียดนามยุคกลางออกเสียงคล้าย th ก้อง ในภาษาอังกฤษ [ð]
đ /ɗ/ คล้าย ด ในภาษาไทย
g /ɣ/ คล้าย g ในภาษาอังกฤษ ใช้กับสระ u, ư, o, ơ, ô, a, â, ă (gu, g)
gh /ɣ/ คล้าย g ในภาษาอังกฤษ ใช้กับสระ i, e, ê
gi /z/ z ในภาษาอังกฤษ /j/ ในภาษาเวียดนามยุคกลางออกเสียงคล้าย ก้ำกึ่ง ย กับ j ในภาษาอังกฤษ [ɟ]
h /h/
k /k/
kh /x/ กึ่ง ค กึ่ง ฮ h (ㄏ) ในภาษาจีน /kʰ/ ออกเสียงแตกต่างกันเล็กน้อย
l /l/
m /m/ เป็นตัวสะกดแม่กมด้วย
n /n/ เป็นตัวสะกดแม่กนด้วย
ng /ŋ/ ใช้กับสระ u, ư, o, ơ, ô, a, â, ă เป็นตัวสะกดแม่กงด้วย
ngh /ŋ/ ใช้กับสระ i, e, ê
nh /ɲ/ ออกเสียง ญ (ย ขึ้นจมูก) แบบภาษาเหนือ ภาษาอีสาน
/ʲŋ/ -ยง์ /n/ แม่กน ตัวสะกด
p /p/ เป็นตัวสะกดแม่กบด้วย
ph /f/ ในเวียดนามยุคกลางออกเสียง พ [pʰ]
qu /kw/ กว /w/
r /z/ z ในภาษาอังกฤษ /ʐ/ r (ㄖ) ในภาษาจีน เวียดนามเหนือจะออกเสียง /ɹ/ ในคำยืม
s /s/ /ʂ/ sh (ㄕ) ในภาษาจีน
t /t/ เป็นตัวสะกดแม่กดด้วย
th /tʰ/
tr /tɕ/ /ʈʂ/ zh (ㄓ) ในภาษาจีน
v /v/ v ในภาษาอังกฤษ /j/ เวียดนามยุคกลางจะออกเสียง [β]
x /s/

สระ[แก้]

  หน้า กลาง หลัง
สูง i, y [i] /อี/ ư [ɯ] /อือ/ u [u] /อู/
กลางสูง ê [e] /เอ/ ơ [ɤ] /เออ/ ô [o] /โอ/
กลางต่ำ e [ɛ] /แอ/ â [ə̆] /เออะ/ o [ɔ] /ออ/
ต่ำ ă [ɐ̆] /อะ/, a [ä] /อา/

วรรณยุกต์[แก้]

  • — (ngang งาง) คล้ายเสียงสามัญในภาษาไทย (ไม่เติมเครื่องหมาย)
  • ◌́ คล้ายเสียงตรี
  • ◌̀ คล้ายเสียงเอก
  • ◌̃ (ngã หงา) คล้ายเสียงจัตวาโดยแบ่งเสียงเป็น 2 ช่วง
  • ◌̉ คล้ายเสียงจัตวาต่ำ
  • ◌̣ (nặng หนั่ง) คล้ายเสียงเอก เสียงสั้น

บรรณานุกรม[แก้]

  • Gregerson, Kenneth J. (1969). A study of Middle Vietnamese phonology. Bulletin de la Société des Etudes Indochinoises, 44, 135–193. (Published version of the author's MA thesis, University of Washington). (Reprinted 1981, Dallas: Summer Institute of Linguistics).
  • Haudricourt, André-Georges (1949). "Origine des particularités de l'alphabet vietnamien (English translation as: The origin of the peculiarities of the Vietnamese alphabet)" (PDF). Dân Việt-Nam. 3: 61–68.
  • Healy, Dana.(2003). Teach Yourself Vietnamese, Hodder Education, London.
  • Kornicki, Peter (2017), "Sino-Vietnamese literature", ใน Li, Wai-yee; Denecke, Wiebke; Tian, Xiaofen (บ.ก.), The Oxford Handbook of Classical Chinese Literature (1000 BCE-900 CE), Oxford: Oxford University Press, pp. 568–578, ISBN 978-0-199-35659-1
  • Li, Yu (2020). The Chinese Writing System in Asia: An Interdisciplinary Perspective. Routledge. ISBN 978-1-00-069906-7.
  • Nguyen, Đang Liêm. (1970). Vietnamese pronunciation. PALI language texts: Southeast Asia. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 0-87022-462-X
  • Nguyễn, Đình-Hoà. (1955). Quốc-ngữ: The modern writing system in Vietnam. Washington, D. C.: Author.
  • Nguyễn, Đình-Hoà (1992). "Vietnamese phonology and graphemic borrowings from Chinese: The Book of 3,000 Characters revisited". Mon-Khmer Studies. 20: 163–182.
  • Nguyễn, Đình-Hoà. (1996). Vietnamese. In P. T. Daniels, & W. Bright (Eds.), The world's writing systems, (pp. 691–699). New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-507993-0.
  • Nguyễn, Đình-Hoà. (1997). Vietnamese: Tiếng Việt không son phấn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company. ISBN 1-55619-733-0.
  • Pham, Andrea Hoa. (2003). Vietnamese tone: A new analysis. Outstanding dissertations in linguistics. New York: Routledge. (Published version of author's 2001 PhD dissertation, University of Florida: Hoa, Pham. Vietnamese tone: Tone is not pitch). ISBN 0-415-96762-7.
  • Sassoon, Rosemary (1995). The Acquisition of a Second Writing System (illustrated, reprint ed.). Intellect Books. ISBN 1871516439. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  • Thompson, Laurence E. (1991). A Vietnamese reference grammar. Seattle: University of Washington Press. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-1117-8. (Original work published 1965).
  • Wellisch, Hans H. (1978). The conversion of scripts, its nature, history and utilization. Information sciences series (illustrated ed.). Wiley. ISBN 0471016209. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  • Language Monthly, Issues 40–57. Praetorius. 1987. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Nguyen, A. M. (2006). Let's learn the Vietnamese alphabet. Las Vegas: Viet Baby. ISBN 0-9776482-0-6
  • Shih, Virginia Jing-yi. Quoc Ngu Revolution: A Weapon of Nationalism in Vietnam. 1991.

อ้างอิง[แก้]

  1. Jacques, Roland (2002). Portuguese Pioneers of Vietnamese Linguistics Prior to 1650 – Pionniers Portugais de la Linguistique Vietnamienne Jusqu'en 1650 (ภาษาอังกฤษ และ ฝรั่งเศส). Bangkok, Thailand: Orchid Press. ISBN 974-8304-77-9.
  2. Jacques, Roland (2004). "Bồ Đào Nha và công trình sáng chế chữ quốc ngữ: Phải chăng cần viết lại lịch sử?" Translated by Nguyễn Đăng Trúc. In Các nhà truyền giáo Bồ Đào Nha và thời kỳ đầu của Giáo hội Công giáo Việt Nam (Quyển 1)Les missionnaires portugais et les débuts de l'Eglise catholique au Viêt-nam (Tome 1) (in Vietnamese & French). Reichstett, France: Định Hướng Tùng Thư. ISBN 2-912554-26-8.
  3. Trần, Quốc Anh; Phạm, Thị Kiều Ly (October 2019). Từ Nước Mặn đến Roma: Những đóng góp của các giáo sĩ Dòng Tên trong quá trình La tinh hoá tiếng Việt ở thế kỷ 17. Conference 400 năm hình thành và phát triển chữ Quốc ngữ trong lịch sử loan báo Tin Mừng tại Việt Nam. Ho Chi Minh City: Ủy ban Văn hóa, Catholic Bishops' Conference of Vietnam.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]