ประเทศเวียดนามใต้
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
สาธารณรัฐเวียดนาม Việt-nam Cộng-hòa | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2498–พ.ศ. 2518 | |||||||||
คำขวัญ: Tổ quốc - Danh dự - Trách nhiệm (ปิตุภูมิ - เกียรติศักดิ์ - หน้าที่) | |||||||||
เขตปกครองของเวียดนามใต้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามการประชุมที่เจนีวาปี พ.ศ. 2497 | |||||||||
สถานะ | สาธารณรัฐ | ||||||||
เมืองหลวง | ไซ่ง่อน | ||||||||
ภาษาทั่วไป | เวียดนาม | ||||||||
ศาสนา | พุทธ,คริสต์ | ||||||||
การปกครอง |
| ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• พ.ศ. 2498–2506 | โง ดิ่ญ เสี่ยม (คนแรก) | ||||||||
• พ.ศ. 2518 | เซือง วัน มิญ (คนสุดท้าย) | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• พ.ศ. 2506–2507 | เหงียน หง็อก เทอ (คนแรก) | ||||||||
• พ.ศ. 2518 | หวู วัน เหมิว (คนสุดท้าย) | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามเย็น | ||||||||
• เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2498 | ||||||||
• ทหารเวียดนามเหนือเข้ายึดเมืองไซ่ง่อน | 30 เมษายน พ.ศ. 2518 | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
พ.ศ. 2516 | 173,809 ตารางกิโลเมตร (67,108 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
19370000 | |||||||||
สกุลเงิน | ด่งเวียดนามใต้ | ||||||||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์เวียดนาม |
ประเทศเวียดนามใต้ หรือเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนาม: Việt Nam Cộng Hòa; ฝรั่งเศส: République du Viêt Nam) เป็นรัฐที่ปกครองบริเวณตอนใต้ของเวียดนามระหว่างปีพ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2518 ซึ่งต่างชาติโดยเฉพาะรัฐประชาธิปไตย และชาติต่อต้านคอมมิวนิสต์นิยมเรียกในชื่อว่า เวียดนามใต้ คำเรียก เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปี พ.ศ. 2497 ในการประชุมที่เจนีวา ซึ่งแบ่งประเทศเวียดนามออกเป็นสองส่วนโดยเส้นขนานที่ 17 ในระหว่างสงครามเวียดนาม เวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา
ในอดีต เวียดนามใต้เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในชื่อ โคชินไชนา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ซึ่งนำโดยโฮจิมินห์ สถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ในปีพ.ศ. 2492 นักการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นที่เมืองไซ่ง่อนซึ่งนำโดยอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในปี 2498 บ๋าว ดั่ย ถูกปลดโดยนายกรัฐมนตรีโง ดิ่ญ เสี่ยม และแต่งตั้งตนขึ้นเป็นประธานาธิบดี หลังจากเสี่ยมเสียชีวิตจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2506 ได้มีรัฐบาลทหารอายุสั้นหลายสมัยได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2510 พล.ท. เหงียน วัน เถี่ยวได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2502 โดยกองกำลังเวียดกงซึ่งได้รับสนับสนุนโดยเวียดนามเหนือ การรบถึงจุดตัดสินในปีพ.ศ. 2511 แม้จะมีสนธิสัญญาสันติภาพในปีพ.ศ. 2516 แต่การรบยังคงต่อเนื่องจนกระทั่ง กองทัพเวียดนามเหนือยึดกรุงไซ่ง่อนได้ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อตั้งเวียดนามใต้
[แก้]ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อาณานิคมอินโดจีนถูกปกครองโดยรัฐบาลวีชีฝรั่งเศส และถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 กองทัพญี่ปุ่นได้ล้มล้างการปกครองระบอบวีชีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จึงประกาศให้เวียดนามเป็นอิสระ แต่เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ส่งผลให้จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงสละราชสมบัติ และโฮจิมินห์ได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม หรือ (DRV) ขึ้นในฮานอย และเหวียตมิญได้เข้าควบคุมดินแดนเวียดนามเกือบทั้งหมด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1946 ฝรั่งเศสประกาศให้อาณานิคมโคชินไชนาเป็นสาธารณรัฐ โดยได้แยกออกจากอาณานิคมทางตอนเหนือและตอนกลาง กองกำลังจีนก๊กมินตั๋งได้เข้ายึดครองดินแดนเวียดนามทางตอนเหนือของเส้นขนานที่ 16 ในขณะที่กองกำลังอังกฤษเข้ายึดครองทางตอนใต้ในเดือนกันยายน กองกำลังอังกฤษได้สนับสนุนกองกำลังฝรั่งเศสที่กำลังต่อสู้กับเหวียตมิญ เพื่อเข้าควบคุมดินแดนและเมืองทางตอนใต้ สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งจึงเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1946 โดยที่ฝรั่งเศสสามารถเข้าควบคุมฮานอยและเมืองอื่น ๆ ได้อีกมากมาย
รัฐเวียดนามได้ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มชาวเวียดนามที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์และรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1949 โดยอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขแห่งรัฐ (quốc trưởng) สงครามแย่งชิงอาณานิคมในเวียดนามกลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น ในปี ค.ศ. 1950 ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่, สหภาพโซเวียต และประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ได้ให้การสนับสนุนสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและประเทศต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนรัฐบาลบ๋าว ดั่ย
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1954 ฝรั่งเศสและเหวียตมิญได้เจรจากันในการประชุมเจนีวา ทำให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็นการชั่วคราวที่เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ โดยรัฐเวียดนามจะปกครองอาณาเขตทางตอนใต้ของเส้นขนานที่ 17 ซึ่งอยู่ระหว่างการพยายามรวมชาติจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1956 ในระหว่างการประชุม มีการคาดการณ์ว่าฝรั่งเศสยังคงควบคุมดินแดนทางตอนใต้ต่อไป อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเวียดนามใต้ โง ดิ่ญ เสี่ยม แห่งเวียดนามใต้ ผู้ซึ่งต้องการให้สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนแก่ฝรั่งเศส ได้ปฏิเสธข้อตกลงดังกล่าว เมื่อเวียดนามถูกแบ่งเป็นสองส่วน ผู้คนจากเวียดนามเหนือประมาณ 800,000 ถึง 1 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้คนที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ได้ลี้ภัยลงมาทางตอนใต้ในปฏิบัติการก้าวสู่อิสรภาพ เนื่องจากความเกรงกลัวว่าจะมีการกวาดล้างทางศาสนาในภาคเหนือ สมาชิกเหวียตมิญประมาณ 90,000 คน ถูกส่งตัวไปยังเวียดนามเหนือ ในขณะที่ประมาณ 5,000 ถึง 10,000 คนยังคงอยู่ในภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วได้รับคำสั่งให้มุ่งเป้าหมายไปที่การสร้างความปั่นป่วนต่อกิจกรรมทางการเมืองของเวียดนามใต้เป็นสำคัญ[1] คณะกรรมการสันติภาพไซ่ง่อน-โชลอน ซึ่งถือเป็นแนวร่วมเหวียดกงกลุ่มแรก ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1954 เพื่อเป็นผู้นำของแนวร่วมอื่น[1]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การล่มสลาย
[แก้]ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา
[แก้]เวียดนามใต้ได้รับความช่วยเหลืองบประมาณทางการทหารจากสหรัฐอเมริกาปีละ 200 ล้านดอลล่าร์ โดยเฉพาะในปี 1964 ได้รับมา 24,000 ล้านดอลล่าร์
การเมืองการปกครอง
[แก้]- ปี ค.ศ. 1960 พันเอกเหงียน จัน ธี แห่งหน่วยพลร่ม จะยึดอำนาจจากโง ดิ่ญ เสี่ยม แต่ถูกกองทัพซีไอเอของสหรัฐอเมริกาหักหลัง แจ้งให้กองทัพของโง ดิ่ญ เสี่ยม เตรียมกำลังดักรอไว้ ผลคือทหารที่จะรัฐประหารเสียชีวิตทั้งหมด
2.ความพยามจะก่อรัฐประหาร เป็นความพยายามในการที่จะก่อรัฐประหารโดยกลุ่มทหารอากาศยศนายพันกลุ่มนึง โดยการเอาเครื่องบินไปทิ้งระเบิดที่ทำเนียบประธานาธิบดี แต่ตอนนั้น เสี่ยม ไม่อยู่ก็เลยรอดตัวไปและมาดามนูห์ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
3. ปี ค.ศ. 1963 หนักข้อที่สุด เพราะเป็นการบิดเบือนพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง เช่นห้ามพระสวดมนต์ เพราะเป็นการสาบแช่งรัฐบาล และก็เกิดเรื่องเมื่อวันวิสาขบูชาชนกับวันสำคัญของศาสนาคริสต์ คือวันสะบาโต รัฐสั่งห้ามชักธงพระพุทธศาสนา ในขณะที่ศาสนาคริสต์ทำได้เต็มที่ ชาวเวียดนามใต้ทนไม่ได้ก็เลยออกเดินขบวนประท้วง ทหารต้องสลายม็อบด้วยปืนและระเบิด แต่พอมีคนตายก็ไปโทษว่าเป็นฝีมือของมือที่สามหรือไอ้โม่ง ซึ่งก็คือ เวียดกง นั่นเอง ในขณะที่ประชาชนลุกฮือนั้น แทนที่โง ดิ่ญ เสี่ยม จะผ่อนปรนนโยบายกดขี่และสุดโต่ง แต่กลับยิ่งเมินเฉย แต่ผลงานการสั่งปราบชาวพุทธมักจะมาจาก โง ดินห์ นูห์ น้องชายที่ทุจริต และมีอำนาจมาก โง ดินห์ ถึก พี่ชายผู้เป็นพระราชาคณะสูงสุดของศาสนาคริสต์ในเวียดนามใต้ รวมทั้ง โง ดินห์ คาหน์ พวกนี้ได้สั่งให้ทหารคริสต์ล้อมลวดหนามวัด ส่งทหารไปยิงทุบตีชาวพุทธ พระ ชี ที่สวดมนต์กันอยู่ในวัด บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ระเบิดเจดีย์ที่ซาลอย อ้างว่าเจดีย์เป็นที่ซ่อนอาวุธของเวียดกง และโทษเวียดกงว่าอยู่เบื้องหลังความวุ่นวายต่างๆ ทั้งที่ตอนนั้นเวียดกงไม่ได้ทำอะไรเลย นั่งดูอยู่ในชนบท หันไปทำลายสะพาน รางรถไฟ ซุ่มโจมตีทหารตามชนบท และเหตุการณ์เข้าขั้นวิกฤตเมื่อพระนามว่า กวาง ดึ๊ก ได้ทำการประท้วงด้วยการราดน้ำมันจุดไฟเผาตัวเองกลางกรุงไซง่อน โดยเขียนจดหมายก่อนตายขอให้ โง ดิ่ญ เสี่ยม หยุดการรังแกชาวพุทธ เป็นภาพถ่ายที่ทำให้โลกตะลึง จนสหรัฐอเมริกาไม่อยากช่วยเสี่ยมอีกต่อไปแล้ว และยิ่งเกิดกระแสโกรธแค้นของชาวเวียดนาม เมื่อมาดามนูห์ ซึ่งเป็นภรรยาของ โง ดินห์ นูห์ น้องชายของ โง ดิ่ญ เสี่ยม ได้ประกาศว่า "หากพระองค์ใดทำบาร์บีคิวให้เห็นอีก ชั้นก็จะปรบมือให้ พร้อมทั้งบริจาคไฟแช็คและน้ำมันให้" นอกจากนี้ยังเกิดการรบกันระหว่างทหารพุทธกับคริสต์ที่เมืองมีโธ ส่วนเหล่านายทหารสำคัญๆและทหารพุทธเริ่มเห็นว่าจะต้องไล่ โง ดิ่ญ เสี่ยม สักที เพราะประชาชนไม่เอาแล้ว และการกระทำกดขี่พระพุทธศาสนาที่เกิดไป โดยมีหัวหน้ารัฐประหารสำคัญคือหัวหน้าเสนาธิการกองทัพเทียน วัน ดง และนายพลสำคัญๆอย่าง เยื้อง วัน มินห์, ทราน เทียน เคียม, เล วัน คิม และ เหวียน ฮู โก แผนการเริ่มขึ้น 11:00 น. ของวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 โดย ทราน วัน ดง ได้เรียกนายทหารสำคัญมาประชุมกันที่กรมเสนาธิการ และได้จับกุมทหารที่เข้าข้าง โง ดิ่ญ เสี่ยม ไว้ทั้งหมด ในเวลา 13:00 น. ได้ส่งรถถัง 36 คันเข้าโจมตีทำเนียบรัฐบาลซึ่งทหารคริสต์ยึดไว้ แต่ต่อมาก็ต้องยอมจำนน และพบว่า โง ดิ่ญ เสี่ยม กับ โง ดินห์ นูห์ ได้หนีไปทางลับ แต่สุดท้าย โง ดิ่ญ เสี่ยม ก็หนีไม่รอด ทั้งคู่ถูกพบหนีไปซ่อนในโบสถ์ย่านคนจีนในไซง่อน เรียกว่าเจ๊อะเลิ่น ในขณะที่กำลังถูกทหารพาไปท้ายรถเกราะเอ็ม 113 ทั้งคู่ก็ถูกยิงทิ้งตายคาที่ตรงนั้นเอง ภายหลังยังได้ถ่ายภาพศพเสี่ยมไปให้สหรัฐอเมริกาดูด้วย ว่ากันว่ารัฐประหารครั้งนี้สำเร็จเพราะสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเพราะเห็นว่าเสี่ยมใช้งานไม่ได้แล้ว จึงต้องการเขี่ยทิ้ง โดยนายพล เซือง วัน มิญ ได้ติดต่อกับซีไอเอก่อนว่าอย่าแทรกแซงการรัฐประหารครั้งนี้ เพราะกลัวจะล้มเหลวแบบปี ค.ศ. 1960 ที่ซีไอเอสนับสนุนเสี่ยม แต่คราวนี้ซีไอเอสนับสนุนพวกรัฐประหารจึงทำให้สำเร็จหลังจาก โง ดิ่ญ เสี่ยม ถูกโค่น ประชาชนต่างออกมาแสดงความยินดีทหารที่ออกมาก่อรัฐประหารครั้งนี้กับทั่วบ้านทั่วเมือง ออกมายินดีกับทหารที่นั่งรถถังอยู่ตามจุดต่างๆ เหล่านายทหารที่ก่อรัฐประหารกลายเป็นวีรบุรุษไปในชั่วข้ามคืน ได้มีการแต่งตั้งให้ เซือง วัน มิญ เป็นเป็นผู้นำ ส่วนมาดามนูห์กับ โง ดิน ถึก อยู่ต่างประเทศพอดีทำให้รอดตัวไปได้
4 มกราคม ค.ศ. 1964 การเมืองของเวียดนามใต้ยังไม่นิ่ง รัฐบาลทหารได้ประกาศว่าจะสู้กับเวียดกงให้เต็มที่ แต่ความพ่ายแพ้ก็ปรากฏอยู่เนืองๆ นายพล เซือง วัน มิญ มีคู่แข่งคนหนึ่งคือนายพล เหงียน คานห์ อยากเป็นผู้นำบ้าง ทำให้เกิดรัฐประหารแบบไม่นองเลือด
5.กันยายน ค.ศ. 1964 นายพล เติ่น เตียน เฟียม นายพล แรม วัน พัต นายพล เดือง วัน ดุก พยายามก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรี เหงียน คานห์ โดย เดือง วัน ดุ๊ก ไม่พอใจกับการปกครองของนายพล เหงียน คานห์ เพราะนายพลเหงียน คานห์เอาใจกลุ่มศาสนาพุทธมากจนเกินไป ทำให้นายพล แรม วัน พัต กับ เดือง วัน ดุ๊ก ซึ่งเป็นคาทอลิกไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่ฝ่ายรัฐบาลนำโดยพลอากาศโท เหงียน เกา กี ไดนำเครื่องบินทิ้งระเบิดไปบินวนอยู่รอบคณะรัฐประหารแล้วขู่ว่าจะยิง และสหรัฐอเมริกาประกาศว่าสนับสนุนรัฐบาลของนายพล เหงียน คานห์ ทำให้คณะรัฐประหารต้องถอยไปในที่สุด
6.การล่มสลายของรัฐสภา หลังจากที่มีการตั้งสภาสูงโดยเลือกคนจากหลากหลายอาชีพเข้ามาเป็นสมาชิกเช่น ทหาร นักศึกษา หมอ ครู เป็นต้น เพื่อฟื้นฟูการปกครองในเวียดนามใต้ ทางสภาก็ได้เลือกให้ พาน คัก สื่อ เป็นประธานาธิบดี และเลือก ตรัน วัน ฮวง เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ทั้งคู่ก็ต้องเผชิญหน้ากับการประท้วงของพระภิกษุอย่างต่อเนื่องแต่ทั้งคู่ก็อดกลั้นกับการประท้วงของพระภิกษุ นายพล เหงียน คานห์ จึงนำทหารรุ่น ยังเติร์ก เข้ามาทำลายสภาสูง โดยจับสมาชิกสภาสายพลเรือนและสายทหาร แต่ก็ยังให้ ตรัน วัน ฮวง เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป สหรัฐอเมริกาได้ประณามการกระทำครั้งนี้ของนายพล เหงียน คานห์ เป็นอย่างมาก
7. เดือนมกราคม 1965 หลังจากที่นายพลเหงียนคานห์ได้ทำลายนสภาสูงไปแล้วก็ยังคงให้ ฟานคักสื่อ เป็นประธานาธิบดีต่อไป และให้ ตรัน วัน ฮวง เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ แต่แล้วในเดือนมกราคมปี 1965 นายพลเหงียนคานห์ ได้นำทหราน ยังเติร์ก โค่นอำนาจรัฐบาลของตรันวันฮวง แล้วได้ตั้งให้ เหงียน ซน อัน เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
8.กุมภาพันธ์ 1965 เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากรัฐประหารคราวก่อน เนื่องจากเวียดนามใต้ช่วงนี้แม้จะได้ผู้นำและหัวหน้ารัฐบาลเป็นพลเรือนแล้ว แต่อำนาจที่แท้จริงก็ยังอยู่ที่นายพลเหงียนคานห์ เนื่องจากนายพลเหงียนคานห์เป็นที่นิยมในหมู่นายพลทั้งหลาย เลยสามารถกุมอำนาจทั้งหมดไว้ได้เรียกง่ายๆว่ามีโอกาสได้เลือกนายกมาแล้วถึงสามคน คือ ตรัน วัน ฮวงกับเหงียน ซวน อัน และ ฟาน ฮวย ครอส ทั้งหมดนี้สร้างความไม่พอใจให้กับ นายพลเติ่น เฟียน เคียม กับ แรม วัน พัต และ พันเอกท้าว เป็นอย่างยิ่งเพราะทหารเหล่านี้ได้สูญเสียความดีความชอบไปหลังจากที่พยายามทำรัฐประหารนายพลเหงียนคานห์ในปี1964 ทำให้ นายพลเหล่านี้ลุกขึ้นมาทำรัฐประหารอีกครั้ง แต่แล้วนายพลเหงียน คานห์ก็ได้ นายพลเหงียน เกา กี และ พันเอกเหงียน จัน ธีช่วยเอาไว้ ทำให้คณะผู้ก่อการต้องหนีไปในที่สุด แต่แล้วนายพลเหงียน คานห์ก็ถูกนายพลเหงียน เกา กี และพันเอก เหงียน จัน ธี ปลดออกจากอำนาจและให้ลี้ภัยไปอยู่ที่อเมริกา เพราะนายพลเหงียน เกา กี ต้องการจะสร้างให้การเมืองมีเสถียรภาพ หลังจากนั้นไม่กี่วัน ทางเวียดนามเหนือได้ประกาศ ว่านพันเอกท้าวคือพวกคอมมิวนิสต์ ที่ทางเวียดนามเหนือได้ส่งให้มาก่อกวนกองทัพ หลังจากนั้นไม่นาน นายพลท้าวก็เสียชีวิตจากการลอบสังหาร จากเหตุการณ์นี้ทำให้นายพลเหงียน เกา กีกลายเป็นผู้นำทางพฤตินัยของประเทศเวียดนามใต้โดยทันที
9.การลุกฮือของชาวพุทธ ในปี 2509 นั้นหลังจากนายพลเหงียนเกากีได้อำนาจมาแล้วก็ได้แต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีของเวียดนามใต้โดยการขับไล่รัฐบาลของฟาม ฮวย คอสออกไปและก็ได้แต่งตั้งให้เหงียน วัน เถี่ยว เป็นประธานาธิบดี ตามมาด้วยขับไล่พันเอกเหงียน จัน ธี ออกจากเวียดนามใต้ไปเหตุการณ์ตั้งแต่ขับไล่นายพลเหงียนคาห์น แต่งตั้งเหงียน วัน เถี่ยวซึ่งเคยร่วมงานกับรัฐบาลของเสี่ยมมาแล้วจนมาถึงขับไล่พันเอกเหงียน จัน ธีออกจากเวียดนามใต้ซึ่งชาวพุทธให้การยอมรับพันเอกเหงียน จัน ธีเป็นอย่างมาก เลยสร้างความไม่พอใจให้กับชาวพุทธจำนวนนึงที่นำโดยพระทิจ ทิจ กวางเป็นอย่างมาก ชาวพุทธกลุ่มนี้เลยร่วมมือกับทหารกบฎของเวียดนามใต้จำนวนนึงล้มรัฐบาลของเหงียน เกากี แต่แล้วเหงียนเกากีก็สั่งการให้ตำรวจแห่งชาติและทหารจัดการกับชาวพุทธกลุ่มนี้และจัดการกับทหารกบฏที่ออกมา ทำให้มีชาวพุทธเสียชีวิตจำนวนมากในที่สุดเหงียนเกากีก็ได้รับชัยชนะ แต่แล้วชาวพุทธบางคนก็ต้องถูกตามล่าจากรัฐบาลและรัฐบาลก็ได้มีขู่ว่าใครออกมาประท้วงจะถูกยิง ซึ่งเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง จากเหตุการณ์นี้พระทิจ ทิจ กวางได้ถูกกักบริเวณอยู่ในวัดของตัวเองโดยไม่ให้ออกมาพบใครทั้งสิ้นจนมาถึงเหตุการณ์ไซง่อนแตกจึงถูกปล่อยตัว
จะสังเกตได้ว่าเวียดนามใต้มีการทำรัฐประหารถึงสี่ครั้งและความพยายามถึงห้าครั้งรวมเป็นเก้าครั้งในรอบหกปีตั้งแต่ปี 2503-2509 ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลขาดเสถียรภาพในการปกครองประเทศและเปิดโอกาสให้เวียดกงฟื้นตัวอย่างรวดเร็วรวมไปถึงทำให้ประชาชนส่วนนึงหลงเชื่อไปกับชาวเวียดนามเหนือที่แอบแฝงมาในเวียดนามใต้ที่ประกาศว่ารัฐบาลเป็นหุ่นเชิดของอเมริกาบ้าง รัฐบาลเป็นเผด็จการบ้าง ส่วนนี้ทำให้ประชาชนจำนวนมากเข้าไปร่วมกับขบวนการเวียดกงรวมไปถึงนักการเมืองของเวียดนามใต้จำนวนนึงที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลเวียดนามใต้ ดังนั้นตรงนี้จึงเป็นเหตุปัจจัยส่วนนึงในการล่มสลายของเวียดนามใต้
กองทัพ
[แก้]กองทัพเวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนจากชาติพันธมิตรโดยสหรัฐอเมริกาแล้ว กองทัพเวียดนามใต้ถือว่าได้เปรียบทางยุทธศาสตร์อย่างมากแต่กองทัพเวียดนามใต้ไม่สามารถเอาชนะกองทัพกองโจรของเวียดกงได้ ในปี1960 เวียดนามใต้มีกองกำลัง 550000 คน มีรถถัง 200 คัน อาวุธยุทธโนปกรณ์รวม 15000 กระบอก กองทัพเวียดนามใต้เคยมีกฎหมายการเกณฑ์ทหารอยู่จนถึงจบสงคราม
เศรษฐกิจ
[แก้]ประชาชนเวียดนามใต้ ทำการเกษตร 90% เป็นลูกจ้างทำนา สวนยาง สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทำนาได้ผลผลิตดี ปลูกข้าวได้ 4,381,000 เมตริก ยาง 75,700 ตัน และยังมีใบชา ข้าวโพด ยาสูบ นุ่น พริกไทย
โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในเมือง เมืองโชลองและกรุงไซ่ง่อน เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กของจีน การสีข้าว โรงเลื่อย
ในปี 1960 สินค้าส่วนใหญ่มาจากยางพารา ส่งออกไปยัง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ไทย และเขมร
สื่อสารมวลชน
[แก้]เวียดนามใต้เริ่มระบบสื่อสารมวลชนครั้งแรกตอนปี 2497 ตอนนั้นรัฐบาลของเสี่ยมได้มีการนำวิทยุเข้ามาในประเทศเพื่อให้ประชาชนได้รับฟังข่าวสาร ก่อนหน้านั้นใช้แต่หนังสือพิมพ์
ซึ่งวิทยุนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปี 2503 มีการซื้อขายกันอย่างกว้างขวางดังที่ปรากฏในภาพของเมืองไซง่อนเมื่อปี 1960 ซึ่งวิทยุจะออกอากาศในสองลักษณะคือ 1.คลื่นวิทยุที่ออกอากาศในภาษาเวียดนาม 2.คลื่นวิทยุที่ออกอากาศในภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสำหรับคนอเมริกาและเพื่อให้ชาวอเมริการวมไปถึงทหารอเมริกาที่อยู่ในเวียดนามใต้ได้รู้ข่าวสาร
แต่ถึงกระนั้นรัฐบาลหลายรัฐบาลก็มีการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด ในปี 2503 รัฐบาลเผด็จการพลเรือนของเสี่ยม ได้มีการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด ในการนำเสนอข่าวนั้นจะต้องถูกกลั่นกรองก่อนเสมอ ทำให้สื่อไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ ตามมาด้วยในปี 2509 ได้มีนักข่าวทางวิทยุท่านนึงไปสัมภาษณ์นายพลเหงียน เกา กี นายพลเหงียน เกา กีได้เอาปืนมาจ่อที่หัวของนักข่าวคนนั้นเลยที่เดียว
ต่อมาในปี 2509 ในรัฐบาลของเหงียน วัน เถี่ยว ได้มีการนำโทรทัศน์เข้าในประเทศเพื่อให้คนได้เข้าถึงข่าวสาร โดยครั้งแรกออกอากาศสองช่องคือช่องทั่วไปและช่องของทหารอเมริกา ช่องทั่วไปนั้นได้มีรายการเกมส์โชว์ต่างๆ ภาพยนตร์จากทั่วโลกนำมาฉาย ส่วนช่องของทหารอเมริกานั้นได้บอกถึงเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ในสงครามเวียดนาม สื่อในเวียดนามใต้นั้นถูกครอบงำโดยรัฐบาลมาโดยตลอดมีแค่รัฐบาลของนายพลเดือง วัน มินห์เท่านั้นที่ไม่ถูกครอบงำเพราะนายพลเดืองวันมินห์ต้องการให้เสรีภาพแก่สื่อ แต่รัฐบาลอื่นมีการควบคุมอย่างเข้มงวดถึงขนาดที่เหงียนวันเถี่ยวประกาศว่าใครต่อต้านรัฐบาลของเขาจะถูกยิง
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Origins of the Insurgency in South Vietnam, 1954–1960". The Pentagon Papers. 1971. pp. 242–314. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2010. สืบค้นเมื่อ 30 September 2019.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (อังกฤษ) The Constitution of the Republic of Vietnam 1956(archived from the originalเก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on 2009-03-25).
- (เวียดนาม) HIẾN PHÁP VIỆT NAM CỘNG HOÀ 1967 เก็บถาวร 2006-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Timeline of NVA invasion of South Vietnam