รายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นการรวบรวมรายชื่อบุคคลส่วนหนึ่งที่จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันสถาปนาโรงเรียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 โดยบาทหลวง เอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์

บุคคลที่จบจากโรงเรียนอัสสัมชัญไปมักจะถูกเรียกว่า "อัสสัมชนิก - Assumptionist" หรือ "โอแม็ก" (OMAC- Old Man Assumption College) หากอ้างอิงหมายเลขประจำตัวในปัจจุบัน จะพบว่านับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีบุคคลที่มาจากโรงเรียนอัสสัมชัญมากกว่า 5 หมื่นคน สำหรับนักเรียกคนแรกของโรงเรียน (อสช 1) มีชื่อว่า ยวงบัปติส หรือ เซียวเม่งเต็ก[1]

บทความในหน้านี้อ้างอิงข้อมูลหลักจาก (1) ประวัติส่วนบุคคลสาธารณะที่เผยแพร่โดยทั่วไป (2) ข้อมูลจากกลุ่มเฟสบุ๊ค "OMAC - Old Man Assumption College"[2] (3) เพจเฟ๊สบุ๊ค "สมาคมอัสสัมชัญ"[3] และ (4) เพจเฟซบุ๊คอย่างเป็นทางการของโรงเรียน[4] สามารถจำแนกตามศิษย์เก่าแบ่งตามอาชีพได้ดังนี้

ราชวงศ์[แก้]

ภาพ ชื่อ รหัสประจำตัว รายละเอียด
เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ อสช 7879 โอรสเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่
เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ บุตรเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)

การเมืองและงานราชการ[แก้]

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[แก้]

ภาพ ชื่อ รหัสประจำตัว รายละเอียด
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) อสช 971 อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 เป็นเวลา 15 ปี, อดีตสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7
พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส (หลวงอดุลเดชจรัส) (บัตร พึ่งพระคุณ) อสช 1257 อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9

องคมนตรี[แก้]

ภาพ ชื่อ รหัสประจำตัว รายละเอียด
พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) อสช 46 อดีตองคมนตรี, อดีตอธิบดีกรมตำรวจภูธร (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ), อดีตปลัดกรมสรรพการ
มหาอำมาตย์ตรี พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง โชติกะพุกกณะ) อสช 85 อดีตสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7, อดีตพระยายืนชิงช้า ปีมะเมีย พ.ศ. 2473 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 (ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า)
พระยาศรีธรรมาธิราช (เจิม บุณยรัตพันธุ์) อสช 299 อดีตองคมนตรี, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย, อดีตพระยายืนชิงช้า ปีระกา พ.ศ. 2464 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 (ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า)
มหาอำมาตย์ตรี พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์) อสช 651 อดีตสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7, อดีตพระยายืนชิงช้า ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 (ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า), อดีตนายกเนติบัณฑิตยสภา, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมคนสุดท้ายในสมัยราชาธิปไตยพ.ศ. 2470 - 2475, อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมคนแรกในสมัยประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 - 2479, อดีตวุฒิสมาชิกพ.ศ. 2490 - 2492
มหาอำมาตย์โท พระยาเพชรดา (สะอาด ณ ป้อมเพชร) อสช 714 สภากรรมการองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) อสช 771 เจ้าพระยาคนสุดท้ายของประเทศไทย อดีตประธานองคมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานรัฐสภา เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา รัฐมนตรี (เสนาบดี) หลายกระทรวง ผู้ก่อตั้งบริษัทไทยประกันชีวิตจำกัด
พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ) อสช 918 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำประเทศญี่ปุ่น และองคมนตรีไทย
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อสช 961 นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) อสช 971 อดีตอภิรัฐมนตรีและองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 โดยท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้เป็นองคมนตรียาวนานติดต่อกันถึง 29 ปี, อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลตุลาการต่างประเทศ, อดีตอธิบดีกรมอัยการ, อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร 11 สมัย
พลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส (หลวงอดุลเดชจรัส) อสช 1257 -
พระยาชลมารค์วิจารณ์ (หม่อมหลวงพงษ์ สนิทวงศ์) อสช 1369
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) อสช 1679 อดีตองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9, อดีตสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, เนติบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อสช 3570 อดีตประธานองคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานศาลฎีกา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สันติ ทักราล อสช 19399 องคมนตรี อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ อสช 18171[5] องคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ

นายกรัฐมนตรี[แก้]

ภาพ ชื่อ รหัสประจำตัว รายละเอียด อ้างอิง
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อสช 961 นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย [6][7]
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อสช 2990 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 6 [8][9]
พันตรี ควง อภัยวงศ์ อสช 3567 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 4 [10][11]
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อสช 3570 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 12 [12][13]

รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี[แก้]

  • รองนายกรัฐมนตรี
    • พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส (หลวงอดุลเดชจรัส) (อสช 1257) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 องคมนตรี รองนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการทหารบก
    • ศาสตราจารย์ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ (อสช 8055) อดีตรองนายกรัฐมนตรี
    • ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 5 สมัย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2 สมัย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, เอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น, คณบดีคนแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • รองศาสตราจารย์ นายกองใหญ่ ดร.โภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา
    • ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    • ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตอธิบดีกรมสรรพากร อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์
    • นายกองใหญ่ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรองนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
    • กิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร อดีตรองคณบดี และอดีตผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อดีตผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย
    • ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตอัยการสูงสุด และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
    • อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562-ปัจจุบัน
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
    • เล็ก นานา หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์, เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ
    • ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
    • เกษม จาติกวณิช และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (บุตรอัสสัมชนิก พระยาอธิกรณ์ประกาศ)
    • อบ วสุรัตน์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
    • อบ วสุรัตน์ และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม
    • กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร อดีตรองคณบดี และอดีตผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อดีตผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงยุติธรรม
    • ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม
    • ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตอัยการสูงสุด อดีตประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์หลักประเทศไทย อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อความยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • อดีตรัฐมนตรี ไม่สังกัดกระทรวง
    • อำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญหลง) คณะรัฐมนตรีชุดแรกของไทย ไม่มีการกำหนดกระทรวงต้นสังกัด
  • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
    • ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2 สมัย, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 5 สมัย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, เอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น, คณบดีคนแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • สุรพงษ์ ตรีรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ, วุฒิสมาชิก รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2511, สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดจันทบุรี 3 สมัย ชุดที่ 7, 8, 9 , นายกเทศมนตรี เทศบาลกรุงเทพ คนสุดท้าย, ประธานสภากรุงเทพมหานคร
    • พลตรี ละม้าย อุทยานานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
    • นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
    • ศาสตราจารย์ ดร.มาลัย หุวะนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตนายกสภา และ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อดีตวุฒิสมาชิก สมาชิกสภานิติบัญญัติ คณบดีคนแรก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา
    • ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
    • ศาสตราจารย์ ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล อดีตประธานที่ปรึกษารัฐบาล (พลเอกเปรม) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
    • เล็ก นานา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
    • ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
    • ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์
    • พล.ต.สมบัติ รอดโพธิ์ทอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
    • ดร.ณัฐ อินทรปาณ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
    • สุชน ชามพูนท อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
    • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อสช 14825) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายกราชบัณฑิตยสถาน อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
    • สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
    • อนุทิน ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
    • นายกองใหญ่ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 2 สมัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
    • ดร.ชาติชาย พุคยาภรณ์ (อสช 28489, AC97) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เจ้าของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
    • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ เลขาธิการพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
    • ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (อสช 15530) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
    • พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช

ปลัดกระทรวง[แก้]

  • อดีตปลัดกระทรวง (หมายเหตุ. ก่อน พ.ศ. 2475 เรียกว่าตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง)
    • พระยาศรีธรรมาธิราช (เจิม บุณยรัตพันธุ์) (อสช 299) - อดีตองคมนตรี, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย, อดีตพระยายืนชิงช้า ปีระกา พ.ศ. 2464 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 (ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า)
    • มหาอำมาตย์ตรี พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์)- อดีตสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7, อดีตพระยายืนชิงช้า ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 (ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า), อดีตนายกเนติบัณฑิตยสภา, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมคนสุดท้ายในสมัยราชาธิปไตยพ.ศ. 2470 - 2475, อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมคนแรกในสมัยประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 - 2479, อดีตวุฒิสมาชิกพ.ศ. 2490 - 2492
    • นาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม เจ้ากรมเสมียนตรา อดีตวุฒิสมาชิก เลขานุการส่วนพระองค์ตัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
    • หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ระพีพัฒน์ อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงคมนาคม
    • อเนก สิทธิประศาสน์ (AC59) อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
    • พลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
    • สมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
    • นิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
    • ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
    • ศิววงศ์ จังคศิริ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานกรรมการ บมจ.ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย
    • นายกองใหญ่ อารีย์ วงศ์อารยะ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
    • ดร.รองพล เจริญพันธุ์ (AC80, ก้ามปู) อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    • พลอากาศเอก ประวิช พจนประพันธ์ (AC70) อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
    • ดร.พีรพล ไตรทศาวิทย์ อสช 23730 อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
    • นายอภิชาติ ชินวรรโณ (อสช 23603, AC88, รุ่นสองผลัด) อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
    • นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย (อสช 23692, AC93) อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
    • นายกุลิศ สมบัติศิริ (AC94) อดีตอธิบดีกรมศุลกากรและอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[แก้]

ภาพ ชื่อ รหัสประจำตัว รายละเอียด อ้างอิง
เสริม วินิจฉัยกุล อสช 3748 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 2 [16]
ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อสช 7036 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 7 [17]
ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อสช 23745 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 19 [18]

พระภิกษุ นักบวช[แก้]

ข้าราชการ ตุลาการ สมาชิกรัฐสภา ฯลฯ[แก้]

  • มหาอำมาตย์โท พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์)- อดีตสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7, อดีตพระยายืนชิงช้า ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 (ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า), อดีตนายกเนติบัณฑิตยสภา, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมคนสุดท้ายในสมัยราชาธิปไตยพ.ศ. 2470 - 2475, อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมคนแรกในสมัยประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 - 2479, อดีตวุฒิสมาชิกพ.ศ. 2490 - 2492
  • พระยาศรีสกลไกรนุชิต (สวาสดิ์ ภัทรนาวิก) อดีตเจ้ากรมพลำภัง (อดีตอธิบดีกรมการปกครอง), อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร, อดีตปลัดมณฑลมหาราษฎร์, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
  • ศาสตราจารย์วิกรม เมาลานนท์ อดีตประธานศาลฎีกา
  • สันติ ทักราล (อสช 19399)[15] อดีตประธานศาลฎีกา องคมนตรี
  • ประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฎีกา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม
  • ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ อดีตประธานวุฒิสภา
  • เสริมพงศ์ วรยิ่งยง (AC2490/AC61) อดีตรองประธานศาลฎีกา, อดีตหัวหน้าคณะศาลฎีกา
  • เกษม บุรินทรามาตย์ (เกษม วรยิ่งยง) (อสช 12861 AC2485/AC56) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, ที่ปรึกษาอาวุโส สมาคมอัสสัมชัญ
  • ดร.โภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา
  • พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์) อดีตรองประธานวุฒิสภา, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา, อดีตอธิบดีกรมที่ดินและโลหกิจ, อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง, อดีตผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลมลฑลชุมพร, อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลสุราษฎร์, อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต, อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • หลวงดำรงดุริตเรข (เอี่ยม เสรีนิยม) ราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7, ผู้ก่อตั้งบริษัทอาคเนย์ประกันภัย
  • ภาวาส บุนนาค อดีตรองราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (อสช 12977) อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2516, อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน 2519, ราชบัณฑิตสาขาสถาปัตยกรรม
  • ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา
  • รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต. 2540-2544) ฝ่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549, อดีตประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศาสตราจารย์ ดร.มาลัย หุวะนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตนายกสภา และ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อดีตวุฒิสมาชิก สมาชิกสภานิติบัญญัติ คณบดีคนแรก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต อดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา
  • ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำอิตาลี อิสราเอล เอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ (กรีก) ณ กรุงเยรูซาเลม (อิสราเอล) ประธานคนแรกของมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟูลไบรท์), อดีตนายกสมาคมฝรั่งเศสในประเทศไทย, อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตอธิบดีกรมพิธีการ (กรมพิธีการทูตในปัจจุบัน), อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517, อดีตนายกสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย, อดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2518-2519 และ พ.ศ. 2532-2534
  • หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์และรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • ศาสตราจารย์ ดร.กนต์ธีร์ ศุภมงคล อดีตเอกอัครราชทูตประจำกรุงลอนดอน, เอกอัครราชทูตคนแรกประจำประเทศออสเตรเลีย, เลขาธิการองค์การ สปอ. (องค์การสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์)
  • ศรีภูมิ ศุขเนตร อดีตกงสุลกิตติมศักดิ์ ราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย
  • นิสสัย เวชชาชีวะ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีต่างประเทศ
  • ประพจน์ นรินทรางกูร ณ อยุธยา อดีตเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบอนน์
  • ไพบูลย์ เมาลานนท์ อดีตเอกอัครราชทูตอิหร่าน
  • อุ้ม เมาลานนท์ อดีตเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ มาเลเซีย พม่า
  • ธฤต จรุงวัฒน์ (อสช. 23606 AC88 รุ่นสองผลัด) อดีตอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแอฟริกาใต้, อดีตเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐบราซิล, เอกอัครราชทูตประเทศตุรกี
  • เอก วีสกุล (เอ๊กโป้ย วีสกุล อสช 2267) กรรมการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ, กรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ, สมาชิกสภาจังหวัดพระนคร, กรรมการที่ปรึกษาสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมอัสสัมชัญและเป็นเลขานุการสมาคมอัสสัมชัญคนแรก
  • พันเอก(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ (อสช 7066) อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (เดิมชื่อถนัดกิจ คอมันตร์)
  • ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (และรองหัวหน้า) พรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน
  • ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย
  • ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อดีตกรรมการบริหาร พรรคประชาธิปัตย์, อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ประชาชนรู้จักในชื่อ "DrDanCanDo", ผู้ได้รับรางวัล The BrandLaureate Awards 2018 บุคคลที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบเชิงบวกอย่างโดดเด่นให้กับโลก
  • ดร.ประกอบ จิรกิตติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากกรุงเทพมหานคร และระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคประชาธิปัตย์หลายสมัย, รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (มกราคม2551 ถึง ปัจจุบัน)
  • ดร.เกียรติ สิทธีอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานหอการค้าต่างประเทศ
  • ธรรมศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ผู้ก่อตั้งคณะนิติศาสตร์ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา, อธิบดีกรมสามัญศึกษา, รักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู, รักษาการอธิบดีกรมพลศึกษา, ผู้อำนวยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ระพีพัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงคมนาคม
  • ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ทรูคอร์ปอเรชั่น ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • ยุทธนา โพธสุธน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบูรี
  • ธวัช บวรวนิชยกูร สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาตามรัฐธรรมนูญปี 50 เสนอชื่อโดยสมาคมอัสสัมชัญ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550
  • อำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) ปลัดมณฑลปัตตานี, ปลัดมณฑลปราจีน, ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง, ข้าหลวงมหาดไทย มณฑลภูเก็ต,
  • ศาสตราจารย์ ดร. สิงห์โต จ่างตระกูล (อสช 11269) อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย อดีตกรรมการอำนวยการสภาคริสตจักรในประเทศไทย อดีตกรรมการมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย อดีตวุฒิสมาชิก อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยพายัพ
  • พ.อ.แสง จุละจาริตต์ อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
  • ดร.สันติภาพ เตชะวณิช อดีตผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • กนกพันธุ์ จุลเกษม อดีตผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • สุนัย ราชภัณฑารักษ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา, อดีตผู้ตรวจราชการมหาดไทย, อดีตผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
  • พินิจ เจริญพานิช อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม, อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง พัทลุง ชุมพร
  • จรัญ บุรพรัตน์ อดีตผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ศรัณย์ ลีฬหเกรียงไกร สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 2
  • ชัยยา พูนศิริวงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
  • ดร. ประเสริฐ เชื้อพานิช อดีตผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค
  • ชัยวัฒน์ อรุโณทัยวิวัฒน์ (อสช 19717) อดีตอธิบดีกรมการผังเมือง, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์, อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย, อดีตรองเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบท,
  • ศิริโชค โสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
  • อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกรุงเทพ 2 สมัย
  • พลตำรวจโท พิทักษ์ จารุสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ประสิทธิ์ โกมลมาลย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
  • วีรชัย วงศ์บุญสิน (อสช 23881, AC93) คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร, พรรคชาติไทยพัฒนา)
  • เมธ รัตนประสิทธิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
  • ปิยบุตร แสงกนกกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ(พรรคอนาคตใหม่)​ ปี2562
  • ดร. เยี่ยม อรุโณทัยวิวัฒน์ (อสช 33279, AC 111) ตุลาการศาลปกครองกลาง

ข้าราชการทหาร ตำรวจ[แก้]

สถาปนิก นักออกแบบ[แก้]

  • หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิชัย (อสช 12345) นักออกแบบที่มีชื่อเสียงในช่วงยุคทศวรรษ 2500 - 2510, ผู้ออกแบบชุดพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของการบินไทยครั้งแรก, รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2503 สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง "ดวงใจที่รัก", ผู้ออกแบบฉลองพระองค์ให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
  • ศ.กิตติคุณ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา อดีตอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ผู้ก่อตั้งบริษัท คาซา อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2520-2521)
  • ศ.ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (อสช 18562) อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ประภากร วทานยกุล (อสช 22006 รุ่นสองผลัด 2514 AC88) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) กรรมการผู้จัดการ ประธานกรรมการบริหาร บจ. สถาปนิก 49 (A49) อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2545-2547)
  • ฟรองซัวส์ มองโตเคียว (ทวีธวัส มั่นธนาการ) สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากการออกแบบโบสถ์คริสต์[19]
  • พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2557-2559)
  • อัชชพล ดุสิตนานนท์ ผู้ก่อตั้งสถาปนิก อัชชพล ดุสิตนานนท์และคณะ บจก. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน)
  • ปรีดาพนธ์ บัณฑิตยานนท์ (AC95) กรรมการผู้จัดการบริษัท ภูมิสถาปนิก 49 จำกัด (L49)
  • สมหวัง ลีวาณิชยกูล อดีตนายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย (พ.ศ. 2548 – 2550) และอดีตภูมิสถาปนิกบริษัทเบล คอลลิน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
  • ผศ. พิรัส พัชรเศวต (อสช 26467; AC100) สถาปนิก อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งบริษัท East Architect จำกัด
  • ผศ.ดร. ชวนนท์ โฆษกิจจาเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิชัย ตันตราธิวุฒิ (AC80, ก้ามปู) กรรมการผู้จัดการ สำนักสถาปนิกดีไซน์ 501 นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศไทย
  • ชัยบูรณ์ ศิริธนะวัฒน์ อาจารย์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงานด้านวิชาการ หัวหน้าสตูดิโอชั้นปีที่ 3 ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐสิทธิ์ อิทธิถาวร (อสช 25454) อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหาร (CEO) สถาปนิก บริษัท Design IQ จำกัด
  • ราเมศร ตันติโกสิชณน์ (อสช.22090 รุ่นสองผลัด แผนกฝรั่งเศส) รองประธานบริหาร บริษัท Design 103 ผู้ดำเนินการศึกษา และจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาค ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงใหม่ เชียงราย 4 ออกแบบศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติภูเก็ต ออกแบบโครงการ Medina Central ที่สร้างโดยการถมทะเล ขนาด 440,000 ตร.ม กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ทีมออกแบบสถานีรถไฟสาย Kowloon- Canton Railway และงานนออกแบบทั้งในและต่างประเทศ
  • ศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ (อสช 31106; AC108) กรรมการผู้จัดการบริษัท ทีม เอสคิว จำกัด และบริษัท เอทิลิเออร์ออฟอาคิเท็กส์ จำกัด[20]
  • อภิชาติ ศรีโรจนภิญโญ (อสช 34132; AC113) สถาปนิก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท สตูดิโอ อาร์คิเทคส์ จำกัด (stu/D/O)
  • กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ (อสช 35509; AC115) นักวิชาการอิสระ อาจารย์พิเศษภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ผู้ช่วยสอนคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โกวิทย์ สุริยาพร (อสช 27434; AC101) กรรมการผู้จัดการบริษัท อาคิเทคเจอร์ แอนด์ อินทีเรีย ออฟฟิต จำกัด (AIOdesigns)
  • ธนิก นิธิพันธวงศ์ (อสช 36412) นักออกแบบเครื่องบิน ยานอวกาศ จรวด และระบบเทคโนโลยีชั้นสูง

นักวิชาการ นักวิจัย นักวิชาชีพ[แก้]

  • พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) (เสฐียรโกเศศ) (อสช 1112)[15] นักปราชญ์และนักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมและเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกชาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2531 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
  • พันเอกพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) - อดีตองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9, อดีตสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7, อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, เนติบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศ.พ.ต.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ - ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.นพ.บุญสม มาร์ติน - ผู้บุกเบิกก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่, อดีตคณบดีคนแรกของคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • ศาสตราจารย์ ดร.มาลัย หุวะนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตนายกสภา และ อธิการบดีต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อดีตวุฒิสมาชิก สมาชิกสภานิติบัญญัติ คณบดีคนแรก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา
  • ศาสตราจารย์ นาวาเอก พระเรี่ยมวิรัชชพากย์ (เรี่ยม ทรรทรานนท์) ร.น. อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2477, อาจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้จัดทำพจนานุกรม ไทย - ฝรั่งเศส, ฝรั่งเศส - ไทย ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
  • ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต กันตะบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ, ผู้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก, ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บิดาของวิชาสถิติของประเทศไทย
  • ศาสตราจารย์ พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) (อสช 1176) ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น"ผู้วางรากฐานให้แก่วงการวิศวกรรมศาสตร์ของไทย", อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 32 ปี, รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์, สภานายกคณะฟุตบอลแห่งสยาม พ.ศ. 2473 - 2474
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ อรุณ ชัยเสรี (อสช 13436) ศาสตราจารย์กิตติคุณ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2523 นายกสภาวิศวกร (คนแรกของประเทศไทย) (พ.ศ. 2539 - 2543) ผู้ก่อตั้งบริษัท อรุณชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด
  • ภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ (อสช 15770) อดีตอธิการและผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล 2 สมัย อดีตอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง อดีตอธิการเจ้าคณะแขวงคณะเซนต์คาเบรียลประเทศไทยและเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ เจ้าแห่งผีเสื้อของเมืองไทยผู้ค้นพบแมลงชนิดใหม่เป็นคนแรกของโลก 24 ชนิดและแมลงทั้ง 24 ชนิดนั้นได้รับการตั้งชื่อตามนามสกุล "ปิ่นรัตน์" ของท่าน และเป็นผู้ก่อตั้ง "พิพิธภัณฑ์แมลง โรงเรียนเซนต์คาเบรียล" ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แมลงที่มีจำนวนและชนิดมากที่สุดในประเทศไทย ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์สาขาวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอห์น ดิวอี้ แห่งกรุงนิวยอร์ก ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ไทย
  • ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อัมมาร สยามวาลา - นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
  • ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ - ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกริก
  • ดร.เจริญ คันธวงศ์ - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ประธาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์, ผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย คือมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ไกรศรี นิมมานเหมินท์ - กรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บิดานายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ และ ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์
  • ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ - อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศาสตราจารย์จิ๊ด เศรษฐบุตร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เป็นตุลาการ นักนิติศาสตร์ และนักการทูตชาวไทย(ศึกษาภาคภาษาฝรั่งเศส) ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อปี 2461
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อสช 14835) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกราชบัณฑิตยสถาน
  • ศาสตราจารย์ ดร.เอี่ยม ฉายางาม - อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สูตะบุตร - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศาสตราจารย์ ดร. สุนทร เสถียรไทย - อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ,อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง
  • รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล - อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน - อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร, อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน, นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2533 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา, วุฒิสมาชิก, กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดลแผนกเกษตรศาสตร์
  • ดร.ธนู กุลชล - อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสมาชิกวุฒิสภา
  • ดร.วิพรรธ์ เริงพิทยา - อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
  • ศ.ดร.บุญเสริม วีสกุล - อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ - อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน (AC86) - รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตนายกสโมสรนิสิต แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ - นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2549, รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ - นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2548, คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร.พัทยา สายหู - ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ - อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประธานมูลนิธิเพื่อคนพิการ, หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย, อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • มาสเตอร์บรรณา ชโนดม - อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญ อดีตวุฒิสมาชิก
  • ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา (อสช 23974) - คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย (AC96) - คณบดี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยนายกสมาคมพอลิเมอร์ประเทศไทย
  • รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ - รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง (King Scholarship) และอดีตนักเรียนทุนมูลนิธิ Rockefeller, อดีตหัวหน้าสาขาวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตผู้อำนวยการสถาบันเอชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.ประกอบ จิรกิติ (AC86) - อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด มหาชน (เครือยูคอม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด), อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร, อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • ศาสตราจารย์ ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร - อดีตอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งและอดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู - อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ - อธิการวิทยาลัยรัฐกิจมหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตนายกสโมสรนิสิต แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ - อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (AC86) - หัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  • ดร.พีรพงษ์ ฟูศิริ (AC106) อสช 29779 นักวิชาการ และที่ปรึกษาธุรกิจ, ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และ ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย , อดีต รองอธิการบดี ฝ่ายสื่อสารการตลาด , อดีต คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย , อดีต คณบดี คณะบริหารธุรกิจ , อดีต คณบดี วิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • รศ.ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร. สราวุฒิ สุจิตจร (AC93, อสช 23889) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน), ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ดร.วินธัย โกกระกูล ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดีคณะดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร - อดีตหัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.วีระ สมบูรณ์ - หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร. มานพ วงศ์สายสุวรรณ - อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร. ธนิต มาลากร (อสช 29769 AC106) - อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รศ. ธเนศ วงศ์ยานนาวา - บรรณาธิการ "รัฐศาสตร์สาร" ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโท สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร
  • ฮาตาโน บุญโนซิง (อสช 8971) ล่ามภาษาของนายพลอาเคโตะ นากามูระ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามมหาเอเชียบูรพา คุมกำลังพล 150,000 นาย
  • ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ - รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่าย ทรัพยากรบุคคล กลุ่ม บ.เซ็นทรัล และ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นพ.โกดม อารียา - (สายวิทย์ แผนกฝรั่งเศส) รุ่น 2490 ปริญญาโททางสาธารณสุขจากประเทศฝรั่งเศส M.D., M.S.P. (Paris) , เจ้าของกิจการหอพักอารียาแมนชั่น , ผู้อำนวยการนิรมัยการแพทย์
  • นพ.สังกาศ ทองบริสุทธิ์ - ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล
  • กมล กมลตระกูล - ผู้อำนวยการโครงการของสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (FORUM - ASIA), นักเขียนประจำ นสพ. ประชาชาติธุรกิจ, คมชัดลึก
  • นพ.บุญ วนาสิน - ผู้บริหารโรงพยาบาลปิยะเวท และโรงพยาบาลธนบุรี
  • วิชัย ตันตราธิวุฒิ (AC80, ก้ามปู) กรรมการผู้จัดการ สำนักสถาปนิกดีไซน์ 501 นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศไทย
  • ประสัณห์ เชื้อพานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประธานกรรมการบริหารบริษัทไพ้ร์สวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ เซ้าท์อีสท์เอเชียเพนนินซูล่า จำกัด (PriceWaterhouseCoopers SEAPEN), กรรมการสภาวิชาชีพบัญชีแห่งประเทศไทย
  • ศาสตราจารย์ นพ.อรรถ นานา - นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย
  • บุญยง ว่องวานิช - อดีตประธานกรรมการกองทุนพระราชทานส่งเสริมอาชีพ สภาสังคมสงเคราะห์
  • มาสเตอร์เฉิด สุดารา (อสช 6035) บิดาแห่งการแปรอักษรของเมืองไทย ผู้บุกเบิกการแปรอักษรแห่งโรงเรียนอัสสัมชัญ
  • ดร.สุรพล สุดารา - อดีตประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ผู้ก่อตั้งวง CU Band และอดีตประธานเชียร์จุฬา
  • ดร.ณรงค์ มงคลวนิช - ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคสยาม
  • ดร.อาวุธ พลอยส่องแสง - อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ อดีตนายกสมาคมไทยในดัลลัส เท็กซัสตอนเหนือ
  • หม่อมราชวงศ์โอภาศ กาญจนะวิชัย - กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ, กรรมการใหญ่ สมาคมสโมสรราชกรีฑาสโมสร, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตันในประเทศไทย
  • ศุภฤกษ์ สกุลชัยพรเลิศ - ผู้ก่อตั้งสถาบันกวดวิชา Sup'K Center, เหรียญเงินจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ APMO (ระดับเอเชีย - แปซิฟิก),อดีตที่ปรึกษาและวิทยากรพิเศษโครงการโอลิมปิกคณิตฯแห่ง รร.อัสสัมชัญ
  • ชัชชัย ตั้งธรรม - ผู้ก่อตั้งสถาบันกวดวิชาภาษาอังกฤษ AC'Cess
  • ผศ.นพ.ดร.นรัตถพล เจริญพันธุ์ (AC109) อาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา และเครือข่ายวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2551
  • ศาสตราจารย์ นพ.กัมมันต์ พันธุมจินดา ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย,คณะกรรมการแพทยสภา พ.ศ. 2556-2558 หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์, อดีตผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ (AC101) นักวิชาการ, รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะบริหารธุรกิจ (อดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและการศึกษาขั้นสูง) ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดร.นวพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ นักวิชาการ, รองคณบดี วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • ผศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล (AC111) อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นหนึ่งในสมาชิก คณะนิติราษฎร์
  • เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ (AC120) อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ (AC94) นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วาระปี พ.ศ. 2557-2559
  • ผศ.ดร.พีรพงษ์ พรวงศ์ทอง (AC116) รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จ.นนทบุรี และอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศ.พล.ต.ม.ร.ว.ศุภวัฒย์ เกษมศรี (อสช 14659) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของไทย และที่ปรึกษาคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์อยุธยา
  • ไกรฤกษ์ นานา (อสช 22856) นักวิชาการอิสระ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี
  • ศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี (อสช 31731) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล อาจารย์ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เบญจพล นาคประเสริฐ (AC107) ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
  • รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิท ชาญวิทยาพงศ์ (AC93) อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศรัณย์ จิระมงคล
  • ศ.ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา (รุ่นลานกรวด) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งบริษัท East Architect จำกัด
  • สุระ พงศ์ประพฤทธิ์ (AC103) รองผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์
  • ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี (อสช. 22089 แผนกฝรั่งเศส รุ่นสองผลัด) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายกสมาคมอเมริกันศึกษาในประเทศไทย, คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อนุกรรมการด้านบุคลากร ภายใต้คณะกรรมการประชาคมอาเซียน สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร และอดีตนักการทูต รองกงศุล สถานเอกอัครราชทูตไทย นครโอซาก้า
  • ศ. ดร. วีระพงศ์ ลุลิตานนท์ (อสช. 22091 แผนกฝรั่งเศส รุ่นสองผลัด) ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอุปนายกสมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ผลงานทางวิชาการที่สำคัญ คือ การวิจัยและพัฒนาชุดน้ำยาตรวจหาเชื้อก่อโรคต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างถูกต้องและทันเวลา ตลอดจนการวิจัยพัฒนาเชื้อโปรไบโอติกส์ด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรมเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นวัคซีนทางเลือก
  • ภาคภูมิ อร่ามวารีกุล (พี่แท็ป) - ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกวดวิชาคณิตศาสตร์เอเลเวล (A-Level), เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักเรียนทุน นักเรียนโอลิมปิกวิชาการ[แก้]

  • ศุภฤกษ์ สกุลชัยพรเลิศ (พี่ Sup'k) (AC113) - อดีตนักเรียนสมาคมฯ คณิตศาสตร์ , เหรียญเงินจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ APMO (ระดับเอเชีย - แปซิฟิก) ปัจจุบันเป็นเจ้าของ และคุณครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่โรงเรียนกวดวิชาสูงส่งเสริมปัญญา (Sup'K Center)
  • ผศ.ดร.พีรพงษ์ พรวงศ์ทอง (AC116) - อดีตนักเรียนทุน พสวท. อดีตประธานสมาคมนักเรียนไทยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California Berkeley) อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลไทย (ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
  • รศ.ดร.ธนิต มาลากร (อสช 29769 AC106) - นักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ Virginia Tech, USA
  • ศรัณยู อมรรัตนพรรณ (AC121) - นักเรียนทุนรัฐบาลไทย ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ Imperial College London
  • เอกมล วรรณเมธี (AC115 - SpS7) - นักเรียนทุนอานันทมหิดล
  • จารุพล สถิรพงษะสุทธิ (AC118) - อดีตนักเรียนอัสสัมชัญ สามารถสอบเข้าโรงเรียนสาธิตมศว.ปทุมวันและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้เป็นที่ 1 ในแผนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ และอดีตนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงลำดับที่ 1 (ลำดับที่หนึ่ง) ของประเทศไทย
  • ศิษฏ์ สิขรวิทย์ (AC118) - อดีตนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง (ทุน KING)
  • ธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์ (AC117) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญทองสาขาเคมี ปัจจุบันได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิทยาศาสตร์ ศึกษาระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) สหรัฐอเมริกา
  • เจษฎา เตมัยสมิธิ (AC119) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญทองปี ค.ศ. 2004 (สามารถทำคะแนนได้เป็นอันดับที่ 2 ของโลก) และเหรียญทองแดงในปี ค.ศ. 2003 สาขาเคมี ได้รับทุนการศึกษา/วิจัยต่อถึงปริญญาเอก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ณ University of Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ณ University of Oxford ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่ University of Oxford ประเทศอังกฤษ
  • ภูมิ ชัยรัตน์ (AC119) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญเงิน สาขาเคมี ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ ณ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธวัชชัย ชัยจรัสพงษ์ (AC120) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญเงิน สาขาเคมี ได้รับทุนการศึกษาต่อต่างประเทศจนถึงปริญญาเอก รวมทั้งทุนวิจัยอีกด้วย
  • บวร หงษ์ศรีจินดา (AC121) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญทอง สาขาเคมี ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เฉลิมชัย โกเมนธรรมโสภณ (AC122) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญเงิน สาขาเคมี ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุพรรณ ฟ้ายง (AC119) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการแห่งประเทศไทย (สสวท รอบสุดท้าย) เหรียญเงิน สาขาฟิสิกส์ ปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาภาควิชาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุนมูลนิธิฟูลไบรท์
  • ปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ (AC118) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญเงิน สาขาคอมพิวเตอร์ และทีมอันดับ 1 โลก Microsoft Imagine Cup 2007 จบการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วสันต์ เจียรมณีทวีสิน (AC118) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญทอง สาขาคอมพิวเตอร์ และทีมอันดับ 1 โลก Microsoft Imagine Cup 2007 จบการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปฐมพล แสงอุไรพร (AC119) - อดีตนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ เหรียญเงิน สาขาคอมพิวเตอร์ และทีมอันดับ 1 โลก Microsoft Imagine Cup 2007 ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กนิษฐ์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ (AC120) เหรียญทองแดงโอลิมปิควิชาการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์, ที่หนึ่งประเทศไทยการสอบเข้ามหาวิทยาลัยวิชาคณิตศาสตร์ A-NET 100 ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2549 คะแนนเต็ม, สำเร็จการศึกษาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นักเรียนทุนฟุลไบรท์ ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ฐิตพัฒน์ เงินสุทธิวรกุล (AC120) เหรียญเงิน โอลิมปิควิชาการ สาขาวิชาเคมี (สสวท. รอบสุดท้าย) ได้รับทุนการศึกษา/วิจัยต่อต่างประเทศจนถึงปริญญาเอก ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาตรีควบโท ณ University of Virginia ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ชาญ วัฒนาศรมศิริ (AC121) - เหรียญเงิน โอลิมปิกวิชาการ สาขาวิชาเคมี (สสวท.รอบสุดท้าย) และที่หนึ่ง O-NET 100 คะแนนเต็ม วิชาคณิตศาสตร์ แห่งประเทศไทยประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2550 ปัจจุบันศึกษาอยู่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภานุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล (AC121) - เหรียญเงิน โอลิมปิกวิชาการ สาขาวิชาเคมี (สสวท.รอบสุดท้าย) ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและเหมืองแร่
  • นครา กิตติศิริกุล (AC121) - เหรียญทองแดง และ เหรียญทอง โอลิมปิกวิชาการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (สสวท.รอบสุดท้าย) ปัจจุบัน ศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศรัณญู กู้ธนพัฒน์ (AC121) - เหรียญเงิน 2 ปี โอลิมปิกวิชาการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (สสวท.รอบสุดท้าย) ปัจจุบัน ศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐกรณ์ เบญจมสุทิน (AC121) - เหรียญทอง และ เหรียญทองแดง โอลิมปิกวิชาการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (สสวท.รอบสุดท้าย) ปัจจุบันศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐดนย์ สหวัฒน์วงศ์ (AC121) - เหรียญทองแดง โอลิมปิกวิชาการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (สสวท.รอบสุดท้าย) ปัจจุบัน ศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภควุฒิ จิรดิลก (AC126) - เหรียญทองแดงจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ APMO ปี ค.ศ. 2009 (ระดับเอเชีย - แปซิฟิก), เหรียญเงินโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ สาขาคณิตศาสตร์ (IMO) ประจำปี พ.ศ. 2552 ณ เมืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี[21] และเหรียญเงินโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ สาขาคณิตศาสตร์ (IMO) ประจำปี พ.ศ. 2553 ณ เมืองแอสตานา ประเทศคาซัคสถาน[22]

นักธุรกิจ ผู้บริหาร[แก้]

มหาเศรษฐีไทย ประจำปี พ.ศ. 2566[แก้]

อ้างอิงจากการจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2566 โดยฟอบส์ ประเทศไทย[23]

อันดับในฟอบส์ ชื่อที่ระบุในฟอบส์ ชื่อที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจ
1 พี่น้องเจียรวนนท์ วัลลภ เจียรวนนท์ (อสช 18537)
ศุภชัย เจียรวนนท์ (อสช 28953)
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ทรู คอร์ปอเรชั่น
5 ตระกูลจิราธิวัฒน์ วันชัย จิราธิวัฒน์
สุทธิชาติ จิราธิวัฒน์
ทศ จิราธิวัฒน์
สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์
สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ (รุ่น 2490)
สุทธิพร จิราธิวัฒน์
ศักดิ์ชัย จิราธิวัฒน์ (รุ่น 2516)
พิชัย จิราธิวัฒน์ (อสช 24297)
เครือเซ็นทรัล
7 ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ น.พ. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (อสช 15081) กรุงเทพดุสิตเวชการ
บางกอกแอร์เวย์ส
9 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ และครอบครัว จตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ (อสช 29328) ทีโอเอ เพ้นท์
21 กฤตย์ รัตนรักษ์ กฤตย์ รัตนรักษ์ ช่อง 7HD
25 ชาติศิริ โสภณพนิช และครอบครัว ชาติศิริ โสภณพนิช (อสช 23038) ธนาคารกรุงเทพ
28 อนันต์ อัศวโภคิน และครอบครัว อนันต์ อัศวโภคิน แลนด์แอนด์เฮ้าส์
39 ตระกูลมาลีนนท์ วิชัย มาลีนนท์ บีอีซี เวิลด์
ช่อง 3 เอชดี
40 พรเทพ พรประภา พรเทพ พรประภา สยามกลการ

นักเขียน นักประพันธ์[แก้]

  • หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เจ้าชายนักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย หรือเป็นที่รู้จักในนามปากกา วรเศวต
  • ประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียน, นักวาดการ์ตูน และนักหนังสือพิมพ์ เจ้าของสมญานาม "ปรมาจารย์การ์ตูนนิสต์" และ "ราชาการ์ตูนเมืองไทย" รางวัลชนะเลิศการประกวดเขียนภาพการ์ตูนสันติภาพโลกที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ปี พ.ศ. 2503, รางวัลแมกไซไซสาขาผู้นำชุมชนในปี พ.ศ. 2514, บรรณาธิการหนังสือพิมพ์อโยธยา, บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามสมัยรายสัปดาห์ ผลงานสำคัญคือ การ์ตูนล้อเลียนการเมืองซึ่งใช้ตัวการ์ตูนชื่อดัง "ศุขเล็ก" และการ์ตูนเรื่องดังในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ "ขบวนการแก้จน"
  • เลียว ศรีเสวก นักเขียน นามปากกา อรวรรณ, เรืองฤทธิ์, กุลปราณี, ล.ศรีเสวก
  • เหม เวชกร นักเขียน, จิตรกร, นักวาดภาพประกอบหนังสือ ผลงานสำคัญคือ ภาพเขียนภาพวิจิตรฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม, ผลงานดีเด่นด้านงานประพันธ์งานเขียนหนังสือ "ชุดภูตผีปีศาจไทย"
  • ศาสตราจารย์อาคันตุกะ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนชั้นแนวหน้าของประเทศไทย มีผลงานพิมพ์รวมเล่มแล้วมากกว่า ๒๐๐ เล่ม ได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เมื่อปี ๒๕๓๘ ได้รับรางวัล Alternative nobel จากรัฐสภาสวีเดน และได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ ๖ (๒๕๓๗) นอกจากนี้ ยังเคยได้เสนอชื่อเข้ารับ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ถึง 2 ครั้ง
  • สันต์ ท.โกมลบุตร นักเขียน, นักแปล นามปากกา สันต์, เทวรักษ์, พ.พิทยา, นายดอกรัก ผลงานสำคัญคือ แปลจดหมายเหตุลาลูแบร์
  • ภาณุ มณีวัฒนกุล นักเขียน นามปากกา "ก้อนกรวดบนดินแดง" ผลงานรวมเล่ม โลกใบนี้, คือคนในความทรงจำ, ตาดู ตีนเดิน, คือสาระจากชีวิตเร่ร่อน, เที่ยวติดดิน, อารมณ์กาแฟ และอื่นๆ
  • ไกรฤกษ์ นานา นักเขียน ผลงานรวมเล่ม การเมืองนอกพงศาวดารรัชกาลที่ 5 (เสด็จประพาสยุโรป), สยามที่ไม่ทันได้เห็น, พระมหากษัตริย์โลกไม่ลืม เล่ม 1-2, สยามกู้อิสรภาพตนเอง และอื่นๆ
  • พจนา จันทรสันติ (อสช. 22108 แผนกฝรั่งเศส รุ่นสองผลัด) นักเขียน, นักแปล เจ้าของผลงานหนังสือเกือบ ๑๐๐ เล่ม ในรูปของงานเขียน งานแปล หรืองานบรรณาธิการ เป็นที่จดจำของนักอ่านมาแล้วหลายรุ่น อาทิ ขลุ่ยไม้ไผ่วิถีแห่งเต๋าในท่ามกลางอารยธรรมผุกร่อนชัยชนะในอ้อมกอดหิมาลัยแด่หนุ่มสาวกุญแจเซนขุนเขายะเยือกดอกไม้ไม่จำนรรจ์ชัมบาลา, อนาคตอันเก่าแก่, ดินแดนแห่งนกอินทรี, ความเรียงสี่ชิ้นของธอโร และยังเป็นนักแสวงหาที่มีบางคนเคยเรียกเขาว่า "ฤๅษีในป่าคอนกรีต"

1.รางวัลนักเขียนบทความดีเด่นคนแรกของกองทุนมรว.อายุมงคล​ โสณ​กุล​ปีพศ.​​2530

2.รางวัลนักแปลดีเด่นสุรินทราชา​ปี​พ.ศ. 2555

  • ทันตแพทย์ สม สุจีรา นักเขียน ผลงานสร้างชื่อคือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" เป็นหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำถึง 49 ครั้ง
  • เกริก กุลมาตย์ นักเขียน, นักวาดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก นามปากกา โอตะ อึมเมะ, สร้างสรรค์ผลงานหนังสือภาพสำหรับเด็กมาแล้วมากมาย
  • บุญทวี สิริเวสมาศ (เดวิด บุญทวี) นักเขียน เจ้าของผลงาน "คิดติดปีก", "IDEAพลิกชีวิต" รวมทั้งหนังสือไพ่ยิปซีอีกหลายเล่ม และยังเป็นนักเขียนบทสารคดี, นักเขียนบทภาพยนตร์, ครีเอทีฟ และบรรณาธิการสำนักพิมพ์
  • ไมยสิทธิ์ สว่างธรรมรัตน์ ผลงานหนังสือ "คิดแบบปูไม" ประวัติแห่งความสำเร็จของนักธุรกิจหนุ่มผู้มีรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน ตั้งแต่อายุ 25 ปี

สื่อสารมวลชน[แก้]

ศิลปิน ผู้กำกับ นักแสดง นักดนตรี[แก้]

บุคลากรทางการกีฬา[แก้]

ศิลปินแห่งชาติ[แก้]

ภาพ ชื่อ รหัสประจำตัว สาขา-ปี
เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ อสช 11256 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ปี พ.ศ. 2535
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา อสช 12977 สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ปี พ.ศ. 2550
จิตต์ จงมั่นคง สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) ปี พ.ศ. 2538
เรือตรี สันติ ลุนเผ่ อสช 15713 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ปี พ.ศ. 2558
ประภากร วทานยกุล อสช 22066 สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ปี พ.ศ. 2563

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "นักเรียนอัสสัมชัญหมายเลขประจำตัว1". สืบค้นเมื่อ 27 November 2023.
  2. "OMAC - Old Man Assumption College". สืบค้นเมื่อ 27 November 2023.
  3. "สมาคมอัสสัมชัญ". สืบค้นเมื่อ 27 November 2023.
  4. "Assumption College • โรงเรียนอัสสัมชัญ". สืบค้นเมื่อ 27 November 2023.
  5. อัลบั้มที่ 3549 : เข้าพบ ฯพณฯ พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรี เก็บถาวร 2022-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โรงเรียนอัสสัมชัญ .วันที่ 9 กันยายน 2557
  6. ไทยรัฐออนไลน์. (2562). "4นายกฯ -15องคมนตรี" โรงเรียนอัสสัมชัญ สถานศึกษานักธุรกิจ มหาเศรษฐีไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  7. assumption.ac.th. (2021). ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญโดยสังเขป. เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  8. ไทยรัฐออนไลน์. (2562). "4นายกฯ -15องคมนตรี" โรงเรียนอัสสัมชัญ สถานศึกษานักธุรกิจ มหาเศรษฐีไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  9. assumption.ac.th. (2021). ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญโดยสังเขป. เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  10. ไทยรัฐออนไลน์. (2562). "4นายกฯ -15องคมนตรี" โรงเรียนอัสสัมชัญ สถานศึกษานักธุรกิจ มหาเศรษฐีไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  11. assumption.ac.th. (2021). ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญโดยสังเขป. เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  12. ไทยรัฐออนไลน์. (2562). "4นายกฯ -15องคมนตรี" โรงเรียนอัสสัมชัญ สถานศึกษานักธุรกิจ มหาเศรษฐีไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  13. assumption.ac.th. (2021). ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญโดยสังเขป. เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  14. "เล่ม ๓๔ น่า ๒๑๐๘ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐" (PDF). สืบค้นเมื่อ 24 November 2023.
  15. 15.0 15.1 15.2 "บุคคลที่มีคุณูปการ". สืบค้นเมื่อ 24 November 2023.
  16. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). นายเสริม วินิจฉัยกุล.​ เก็บถาวร 2021-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  17. โครงการ 100 ปีชาตกาล ศ. ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2560). ครอบและการศึกษา ป๋วย อึ๊งภากรณ์. เก็บถาวร 2021-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  18. สมาคมอัสสัมชัญ. (2553). แสดงความยินดีกับ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ในโอกาสดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมธนาคารไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  19. วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์. (2563). François Montocchio and Architecture for Worship. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  20. ACPTA. (2554). "เปิดตัวโครงการ"น้ำใจอัสสัมชัญช่วยผู้ประสบอุทกภัย"" สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564.
  21. "สรุปอันดับและเหรียญที่ได้รับของ ภควุฒิ จิรดิลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-17. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07.
  22. http://www.imo-official.org/participant_r.aspx?id=18762
  23. "50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2566". Forbes Thailand. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/021/5.PDF