บุญชัย โชควัฒนา
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บุญชัย โชควัฒนา | |
---|---|
เกิด | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2490 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ |
อาชีพ | ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน) |
นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 สมรสกับ นางลัดดา โชควัฒนา เป็นบุตรของดร.เทียม-นางสายพิณ โชควัฒนา มีบุตร 2 คน คือ ชัยลดา ตันติเวชกุล ชัยลดล โชควัฒนา
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1]
ประวัติ
[แก้]บุญชัย โชควัฒนา เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นบุตรคนที่ 7 ของ เทียม โชควัฒนา และ นางสายพิณ โชควัฒนา นายบุญชัยเป็นแฝดผู้พี่ของนายบุญเกียรติ โชควัฒนา โดยเกิดห่างกัน 5 นาที
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนอัสสัมชัญ
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สาขาอักษรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
- ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร[2]
การทำงาน
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]- ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการ บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน)
ดำรงตำแหน่งในบริษัทต่าง ๆ
[แก้]- ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการ บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการ บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท เฟมไลน์ จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพทาวเวอร์ (1999) จำกัด
ตำแหน่งอื่น ๆ
[แก้]- เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
- ประธานคณะกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรมวุฒิสภา
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการด้านพลังงานทดแทน ในคณะกรรมาธิการการพลังงาน
- รองประธานคณะกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- กรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค[3]
ผลงานเพื่อสังคม
[แก้]ผลงานด้านวิชาการและการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]- อาจารย์พิเศษ สอนหลักสูตร Marketing Management ให้กับนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- วิทยากรรับเชิญของสถาบันต่าง ๆ อาทิเช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ บริษัท SCG Chemicals บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กระทรวงพาณิชย์ มูลนิธิสัมมาชีพ กรุงเทพมหานคร ฯลฯ
- งานเขียน
- เขียนบทความวิชาการ เรื่อง 3T+1 เคล็ดลับความสำเร็จ ลงวารสาร MIS Journal ของคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับเดือนเมษายน – กันยายน 2553
- เขียนบทความคอลัมน์ Creative CEO ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
งานส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]- โครงการทุนการศึกษา มูลนิธิ ดร. เทียม โชควัฒนา
- โครงการรณรงค์เลือกตั้งใสสะอาด
- การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวสาธารณรัฐเฮติ
- การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยมาโดยตลอด
- ร่วมสนับสนุนโครงการวันแม่แห่งชาติ ที่จัดขึ้นโดยสภาสังคมสงเคราะห์
- โครงการ Thailand Best (ผลิตในไทย เพื่อคนไทย ช่วยไทย พึ่งพาตัวเอง)
- โครงการครอบครัวพระโพธิสัตว์ (ซึ่งเป็นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เข้าถึงความรู้และกิจกรรมที่สุจริต รู้จักการเป็นผู้ให้) ของบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด
- ร่วมสนับสนุนโครงการแทนคุณแผ่นดิน ร่วมกับหนังสือพิมพ์ The Nation กิจกรรมโลกสวยด้วยคนดี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[6]
รางวัลเกียรติยศ
[แก้]- รับพระราชทานรางวัล "เทพทอง" จากพลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ องคมนตรี
- รางวัลพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2551
- ได้รับโล่เกียรติคุณจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในนามคณะกรรมการรณรงค์เลือกตั้งใสสะอาด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อแสดงความขอบคุณที่ให้ความสนับสนุนสำนักงาน
- คณะกรรมการเลือกตั้ง
- ได้รับเกียรติบัตร “จิตอาสาทำดี.. มีคนเห็น” ภายใต้โครงการส่งต่อความดี...ไม่มีวันหมด จากกรมประชาสัมพันธ์
- ได้รับใบประกาศเกียรติคุณประเภท “องค์กรจิตอาสา” ที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จากหนังสือพิมพ์ The Nation
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ข้อมูลประวัติของสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ข้อมูลประวัติของสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลประวัติของสมาชิกวุฒิสภาเก็บถาวร 2012-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หมวดหมู่:
- สกุลโชควัฒนา
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- ฝาแฝดเหมือน
- นักธุรกิจชาวไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ง.ภ.