ข้ามไปเนื้อหา

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
Dr.Dan's 60th Birthday : 60 ปี คนดีมีพลัง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ 2548 – 24 กุมภาพันธ์ 2549
เขตเลือกตั้งบัญชีรายชื่อ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กันยายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย ไทย
คู่สมรสรจนา เจริญวงศ์ศักดิ์
บุตรอาณาจักร เจริญวงศ์ศักดิ์
ศิษย์เก่า
อาชีพนักวิชาการ, อาจารย์, นักเขียน, นักการเมือง
ประสบการณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ชื่อเล่นแดน

ศาสตราจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (เกิด 9 กันยายน 2498 ชื่อเล่น แดน) หรือที่รู้จักกันในนาม ดร.แดน กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์สาธารณรัฐซิมบับเวประจำประเทศไทย[1] และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22 นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ อดีตอาจารย์หลายมหาวิทยาลัย เคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพ พ.ศ. 2551 ในหมายเลข 2 มีผลงานด้านการเขียนหนังสือมากมาย ในหลากหลายสาขา เช่น เศรษฐกิจ นโยบายการศึกษา การต่างประเทศ สังคม การเมือง การศึกษา ความสำเร็จ การดำเนินชีวิต โดยมีหนังสือมากกว่า 200 เล่ม และมีผลงานบทความตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นประจำมากกว่า 500 เรื่อง และแสดงทัศนะต่างๆมากกว่า 6,000 เรื่อง

ประวัติ

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนนิวเบอร์ลิน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา โดยทุนจากเอเอฟเอส ระดับปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยมอแนช ประเทศออสเตรเลีย (ได้รับทุนของรัฐบาลออสเตรเลีย) ระดับปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) สหรัฐอเมริกา ปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาวิสาหกิจเพื่อสังคมและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) ประเทศอังกฤษ และศึกษาในระดับปริญญาเอก (1981) สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอแนช (Monash University) ประเทศออสเตรเลีย (ได้รับทุนของมหาวิทยาลัยมอแนช) การศึกษาหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) ประเทศอังกฤษ

นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมในหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชนและการเมือง รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2546-2547 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (วปม. รุ่นที่ 1) และหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 ปีการศึกษา 2547-2548 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

สมรสกับ คุณรจนา เจริญวงศ์ศักดิ์ (สกุลเดิม ทวีสิน) มีบุตรชาย ชื่อ อาณาจักร เจริญวงศ์ศักดิ์

การทำงาน

[แก้]

เป็นอดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอแนช เป็นอดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยทำงานวิจัยในศูนย์วิจัยทางเศรษฐศาสตร์ อิมแพคท์รีเสิร์ช ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เคยทำงานที่องค์การโทรคมนาคม ออสเตรเลีย

นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ปรึกษาให้กับภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนต่าง ๆ มากมายอีกด้วย

การเมือง

[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ยาวนานถึง 27 ปี เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 25 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[2]

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์โดยให้เหตุผลเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาส่งผู้สมัคร ส.ส. ลงเลือกตั้ง และยืนยันไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 กระทั่งได้มีโอกาสลงสมัครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ส่ง อภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงสมัครในนามพรรคฯ โดยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ได้เบอร์ 2 มีสโลแกนการหาเสียงว่า "ดร.แดนทำได้" หรือ "Dr. Dan Can Do" ได้รับคะแนน 260,051 คะแนน เป็นลำดับที่ 4

Dr.Dan's 60th Birthday : 60 ปี คนดีมีพลัง

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • เหรียญนักเรียนตัวอย่างดีเด่น โรงเรียนอัสสัมชัญ
  • ทุน AFS (American Field Service), เพื่อศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ทุน Colombo, เพื่อศึกษาในประเทศออสเตรเลีย
  • ทุนการศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัย Monash, ประเทศออสเตรเลีย
  • เกียรตินิยมอันดับ 1 และผลการเรียนอันดับหนึ่ง สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Monash
  • รางวัลชนะเลิศ การกล่าวสุนทรพจน์ยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง สโมสร Toastmasters ประเทศไทย
  • รางวัลชนะเลิศ การกล่าวสุนทรพจน์ยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง สโมสร Toastmasters ระดับภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • โล่เกียรติยศด้านความสำเร็จในการทำงาน (Shield of Honor for Work Achievements) โดย Asia-Pacific Association of Management Consultants, Singapore
  • โล่รางวัลจากการนำเสนอวิทยานิพนธ์เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตไทย” ของหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2546
  • พ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2558 สมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา
  • รางวัลผู้นำดีเด่น ประจำปี 2559 (1st Asian Thai-India Business Leadership Awards 2016)
  • รางวัล Asean Execellence Awards 2016, สมาคมส่งเสริมการค้าอาเซียน
  • รางวัล The BrandLaureate Life Inspired Global Thought Leadership Achievement Award 2018 Asia Pacific Brands Foundation (APBF) ประเทศมาเลเซีย
  • รางวัลมหานาคา อวอร์ด บุคคลต้นแบบ ประเภทผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติดีเด่น ประจำปี 2562
  • รางวัล Asia Brand Top 10 Innovators 2020, Asiabrand ประเทศจีน
  • รางวัล Knight of Honour Award 2021
  • รางวัลไทยบุคคลแห่งชาติ สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติดีเด่น ประจำปี 2565

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์สาธารณรัฐซิมบับเวประจำประเทศไทย (นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์)[ลิงก์เสีย]
  2. ‘ปชป.’ เปิดตัว ‘ดร.เกรียงศักดิ์’ ลงปาร์ตี้ลิสต์ ร่วมสร้างคน สร้างอนาคตที่ยั่งยืน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๙๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๔๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๓, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]