บางกอกแอร์เวย์ส
| |||||||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2511 (56 ปี) (ในชื่อ สหกลแอร์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ระยอง-พัทยา เกาะสมุย | ||||||
เมืองสำคัญ | สุโขทัย ตราด ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงหม่ กระบี่ ลำปาง เวเลนา หลวงพระบาง | ||||||
สะสมไมล์ | ฟลายเออร์โบนัส | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 23 | ||||||
จุดหมาย | 20 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | 99 หมู่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||
บุคลากรหลัก | ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (ประธานกรรมการ) พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ (ซีอีโอ) | ||||||
เว็บไซต์ | www |
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานในชื่อ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (อังกฤษ: Bangkok Airways) เป็นสายการบินระดับภูมิภาคสัญชาติไทย ซึ่งเริ่มดำเนินงานกิจการด้านการบินเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในแผนกการบินสหกลแอร์ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินกิจการทำการบินบริการให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล (รบ.) รัฐวิสาหกิจ (รสก.) และธุรกิจเอกชนต่าง ๆ ทั่วไป
ในปี พ.ศ. 2527 ได้แยกตัวออกมาจัดตั้งเป็น บริษัท สหกลแอร์ จำกัด และได้รับอนุญาตประกอบกิจการการเดินอากาศแบบประจำภายในประเทศ เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2529 ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเดินอากาศแบบประจำมีกำหนด ต่อมา 5 เมษายน พ.ศ. 2532 บริษัท สหกลแอร์ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
ปัจจุบัน
[แก้]ในปัจจุบัน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีเครื่องบินเอทีอาร์ 72-600 จำนวน 10 ลำ เครื่องบินแอร์บัส เอ320-200 จำนวน 3 ลำ และ แอร์บัส เอ319 จำนวน 11 ลำ รวมทั้งสิ้น 24 ลำ ให้บริการแก่ผู้โดยสาร
ในอนาคตทาง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้วางแผนที่จะเช่าซื้อแอร์บัส เอ350-900 ขนาด 270 ที่นั่ง มาเข้าประจำการจำนวน 6 ลำอีกด้วย เพื่อจะขยายเส้นทางให้สามารถบินไปยังทวีปยุโรปได้ อีกทั้งทาง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หวังจะร่วมมือกับแอร์บัสไประยะยาวเพราะเครื่องบินแอร์บัส นักบินเรียนรู้เพียงเครื่องเดียวก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องรุ่นอื่น ๆ ส่วนเอทีอาร์ 72-600 จะยังประจำการต่อไปเพราะเป็นเครื่องบินที่ใช้งานได้ดีในระยะทางใกล้ ๆ และเป็นเครื่องบินใบพัดที่มีความปลอดภัยและประหยัดเมื่อเทียบกับเครื่อง Turboprop รุ่นอื่น ๆ
จุดหมายปลายทาง
[แก้]จุดหมายปลายทางในประเทศ
[แก้]ให้บริการจาก | ท่าอากาศยาน | หมายเหตุ |
---|---|---|
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฐานการบินหลัก | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
แม่ฮ่องสอน ผ่าน ลำปาง | ภายในประเทศ | |
ลำปาง | ภายในประเทศ | |
สุโขทัย | ภายในประเทศ | |
ตราด | ภายในประเทศ | |
สมุย | ภายในประเทศ | |
ภูเก็ต | ภายในประเทศ | |
กระบี่ | ภายในประเทศ | |
หาดใหญ่ ยกเลิกไปก่อน จะกลับมาในอนาคต | ภายในประเทศ | |
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ฐานการบินรอง | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
อู่ตะเภา | ภายในประเทศ | |
ภูเก็ต | ภายในประเทศ | |
หาดใหญ่ ยกเลิกไปก่อน จะกลับมาในอนาคต | ภายในประเทศ | |
กระบี่ | ภายในประเทศ | |
ท่าอากาศยานดอนเมือง | ภายในประเทศ | |
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ | ภูเก็ต | ภายในประเทศ |
สมุย | ภายในประเทศ | |
กระบี่ | ภายในประเทศ | |
ท่าอากาศยานภูเก็ต | อู่ตะเภา | ภายในประเทศ |
หาดใหญ่ | ภายในประเทศ | |
หาดใหญ่ | เบตง อนาคต | ภายในประเทศ |
จุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ
[แก้]ให้บริการจาก | สู่ท่าอากาศยาน | รูปธง |
---|---|---|
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | เวลานา | |
หลวงพระบาง | ||
ย่างกุ้ง | ||
เนปยีดอ | ||
มัณฑะเลย์ | ||
พนมเปญ | ||
เสียมราฐ | ||
ดานัง ยกเลิกไปก่อน จะกลับมาในอนาคต | ||
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย | ฮ่องกง | |
สิงคโปร์ | ||
กัวลาลัมเปอร์ ยกเลิกไปก่อน จะกลับมาในอนาคต | ||
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ | ย่างกุ้ง | |
มัณฑะเลย์ | ||
ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ | สิงคโปร์ อนาคต | |
กัวลาลัมเปอร์ อนาคต |
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 บางกอกแอร์เวย์สได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
- แอโรฟลอต[1]
- แอร์อัสตานา
- บริติชแอร์เวย์[2]
- คาเธ่ย์แปซิฟิค
- ไชนาแอร์ไลน์
- เอ็ลอัล[3]
- เอมิเรตส์
- สายการบินเอทิฮัด
- อีวีเอแอร์
- การูดาอินโดนีเซีย
- เจแปนแอร์ไลน์
- การบินลาว
- มาเลเซียแอร์ไลน์
- ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์[4]
- ควอนตัส
- กาตาร์แอร์เวย์
- เอสเซเว่นแอร์ไลน์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์[5]
- การบินไทย
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- เวียดนามแอร์ไลน์[6]
- เซี่ยเหมินแอร์[7]
ข้อตกลงระหว่างสายการบิน
[แก้]บางกอกแอร์เวย์สได้ทำข้อตกลงกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 บางกอกแอร์เวย์สมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร (บลูริบบ้อนส์/ชั้นประหยัด) |
หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ319-100 | 11 | — | 144 | |
แอร์บัส เอ320-200 | 2 | — | 162 | |
เอทีอาร์ 72-600 | 10 | — | 70 | |
ทั้งหมด | 23 | — |
บางกอกแอร์เวย์สมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 13.3 ปี
ฝูงบินในอดีต
[แก้]บางกอกแอร์เวย์สเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | จำนวน | เริ่มประจำการ (พ.ศ.) | ปลดประจำการ (พ.ศ.) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เอทีอาร์ 42-300 | 1 | 2540 | 2544 | |
เอทีอาร์ 72-200 | 9 | 2537 | 2549 | |
เอทีอาร์ 72-500 | 8 | 2545 | 2562 | |
1 | 2552 | ตกในเที่ยวบินที่ 266 | ||
โบอิง 717-200 | 4 | 2543 | 2552 | |
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8-100 | 1 | 2532 | 2537 | |
1 | 1990 | ตกในเที่ยวบินที่ 125 | ||
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8 คิว300 | 5 | 2533 | 2539 | |
เอ็มบราเออร์ อีเอ็มบี-110พี2 บาเดรันเต | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | |
ฟอกเกอร์ 100 | 1 | 2535 | 2536 | |
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-90-30 | 1 | 2551 | 2551 | |
ชอร์ต 330-200 | 1 | 2535 | 2537 |
อุบัติเหตุ
[แก้]- วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 125 เดินทางจากกรุงเทพ ไปยังเกาะสมุย ตกเนื่องจากนักบินหลงทิศทาง ผู้โดยสารและลูกเรือ 38 คน เสียชีวิต[9]
- วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 266 เดินทางจากกระบี่ ไปยังเกาะสมุย มีผู้โดยสาร 68 คน นักบิน 2 คน และลูกเรือ 2 คน เกิดอุบัติเหตุลื่นไหลออกนอกรันเวย์ จนพุ่งชนกับอาคารหอบังคับการบินหลังเก่าของสนามบิน กัปตันเสียชีวิตเนื่องจากติดอยู่ในห้องบังคับการบิน นอกนั้นรอดชีวิตทั้งหมด รายงานในเบื้องต้นระบุว่าสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย หลังการพุ่งเข้าชนแล้วไม่มีการลุกไหม้ของเครื่องบิน[10]
- วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554 บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 178 รุ่นเอทีอาร์ 72 เดินทางจากเกาะสมุย ไปยังสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสาร 38 คน นักบิน 2 คน และลูกเรือ 2 คน เกิดอุบัติเหตุลื่นไถลจากจุดจอดเครื่อง พุ่งไปด้านหน้าชนกำแพงรั้วของท่าอากาศยานนานาชาติเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนที่ล้อคู่หน้าจะตกลงไปในร่องระบายน้ำ ทำให้ส่วนหัวของเครื่องบินทิ่มต่ำลงกว่าส่วนหาง สร้างความแตกตื่นตกใจให้กับผู้โดยสารทั้งลำ แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยสายการบินได้จัดเครื่องบินลำใหม่ขนถ่ายผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางเมื่อเวลา 19.50 น. วันเดียวกัน ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบและกู้เครื่องบินต่อไป[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Liu, Jim (25 April 2019). "Aeroflot expands Bangkok Airways codeshare to Vietnam from April 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
- ↑ "Profile on British Airways". CAPA. Centre for Aviation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2016. สืบค้นเมื่อ 1 November 2016.
- ↑ "Singapore Airlines and Bangkok Airways enter codeshare partnership". CAPA. 5 September 2023.
- ↑ "Bangkok Airways and Vietnam Airlines Enter Code-Share Agreement". Bangkok Airways Public Co., Ltd. Bangkok Airways. 31 October 2017.
- ↑ "Air India enters into interline partnership with Bangkok Airways". The Times of India. 2023-09-07. ISSN 0971-8257. สืบค้นเมื่อ 2024-05-07.
- ↑ https://www.nytimes.com/1990/11/22/world/37-die-in-thailand-plane-crash.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-07. สืบค้นเมื่อ 2009-08-04.
- ↑ http://m.thairath.co.th/content/eco/224232
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บางกอกแอร์เวย์
- เว็บไซต์ทางการ