เกริก มังคละพฤกษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดร. เกริก มังคละพฤกษ์
เกิด23 มีนาคม พ.ศ. 2458
กรุงเทพ
เสียชีวิต27 กรกฎาคม พ.ศ. 2521
อาชีพอาจารย์

ดร. เกริก มังคละพฤกษ์ ผู้ก่อตั้งเกริกวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกริก

ประวัติ[แก้]

นายเกริก มังคละพฤกษ์ ชื่อเดิม ปทุม เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2458 ที่ตำบลท่ากลาง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายเดียวเซียะ (ตีระ) และนางบุญรอด มังคละพฤกษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน พี่น้อง 4 คน คือ นางสาลี่ กรัยวิเชียร นางสาวองุ่น มังคละพฤกษ์ นายเกรียง มังคละพฤกษ์ พล.อ.อ. เกียรติ มังคละพฤกษ์ และมีน้องหนึ่งคนคือ นายมนัส มังคละพฤกษ์ (ขณะนี้ถึงแก่กรรมทั้งหมดแล้ว) และได้สมรสกับ นางสุวรรณี (กอวัฒนา) ปัจจุบันคือ ดร.สุวรรณี มังคละพฤกษ์ เป็นประธานมูลนิธิเกริก มังคละพฤกษ์ มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน

เมื่อเยาว์ได้รับการศึกษาชั้นมูล ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จนจบมัธยมปีที่ 8 นายเกริกได้ประกอบอาชีพครั้งแรกเป็นครูอยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ 3 ปี ต่อมาใน พ.ศ. 2480 ได้อุปสมบท 1 พรรษา ที่วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อลาสิกขาแล้วได้เริ่มทำงานหนังสือพิมพ์เสียงไทยและประชามิตรและหลังจากนั้นได้จัดตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นเองชื่อสำนักงานเทอดไทย อยู่ที่ตำบลบ้านหม้อ จังหวัดพระนคร รับทำบล็อก และงานช่างเขียน ทำอยู่ได้ 2 ปีก็ต้องเลิกกิจการแล้ว จนกระทั่งพ.ศ. 2487 ได้เข้าทำงานที่บริษัท โนมูระ ทำอยู่ได้ระยะหนึ่งก็กลับไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนประชาไทยวิทยาลัย ต่อมาเมื่อโรงเรียนประชาไทยวิทยาลัยเลิกกิจการแล้ว มีนักเรียนมาขอเรียนที่บ้าน 2 คนได้ชักชวนเพื่อนมาเรียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีรายได้พอเลี้ยงตัว พร้อมกันนั้นก็สอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนขัตติยาณีผดุง แล้วเปลี่ยนไปทำงานที่สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์ ปี พ.ศ. 2507 ได้ขยายโรงเรียนสอนภาษาและวิชาชีพ โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี พ.ศ. 2508 ได้ย้ายจากอาคาร ก.ถนนราชดำเนินไปตั้งที่ตำบลบางด้วน (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลปากน้ำ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ ใช้ชื่อว่าโรงเรียนภาษาและวิชาชีพปากน้ำ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกริกวิทยาลัย

ดร.เกริก และ ดร.สุวรรณี มังคละพฤกษ์

ด้านการศึกษา[แก้]

ด้านศาสนา[แก้]

  • บริจาคเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ
  • เป็นโยมอุปัฏฐากบวชพระ 40 รูป
  • ถวายทุนพระภิกษุในด้านการศึกษา
  • สร้างและบูรณะซ่อมแซมถาวรวัตถุต่างๆเช่น สร้างพระประธาน ศาลาสุวรรณี บูรณะถ้ำวิมุตสุขวัดเขาชายธง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
  • ถวายตำราเรียนแก่พระภิกษุและวัดต่างๆ

ด้านการกุศล[แก้]

งานด้านสังคม[แก้]

  • เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี่ บางกะปิ
  • เป็นผู้ให้กำเนิดสโมสรโรตารีสมุทรปราการ สโมสรโรตาแคท์เกริก (วิทยาลัยเกริก) มหาวิทยาลัยเกริกในปัจจุบัน และสโมสรอินเตอร์แรคท์เกริก (โรงเรียนเกริกวิทยาลัย) เกริกวิทยาลัยในปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]