ทิปโก้แอสฟัลท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:TASCO
อุตสาหกรรมยางมะตอย
ก่อตั้ง15 มิถุนายน พ.ศ. 2522 (40 ปี)
ผู้ก่อตั้งประสิทธิ์ ทรัพย์สาคร
สำนักงานใหญ่อาคารทิปโก้ 1,
กรุงเทพมหานคร
,
ประเทศไทย
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศไทย
บุคลากรหลัก
ชัยวัฒน์ ศรีวรรณวัฒน์ (กรรมการผู้จัดการใหญ่)
ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยน้ำ พาราเอซี
บริการผลิตภัณฑ์ยางมะตอย
บริษัทในเครือKemaman Bitumen Company Sdn. Bhd.
บริษัท ไทยบิทูเมน จำกัด
บริษัท เรย์โคล แอสฟัลท์ จำกัด
Tasco International (Hong Kong) Ltd.
Tipco Asphalt (Cambodia) Co., Ltd.
Kemaman Oil Corporation Sdn. Bhd.
Langfang Tongfai Road Material Co., Ltd.
Zhenjiang Tipco Asphalt Co., Ltd.
Tipco Asphalt (Xinhui) Co., Ltd.
Highway Resources Trading Pte. Ltd.
บริษัท ทิปโก้มารีไทม์ จำกัด
เว็บไซต์https://www.tipcoasphalt.com/

บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ)(อังกฤษ: TIPCO ASPHALT PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:TASCO)[1] ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ปัจจุบันบริษัทฯ บริษัทย่อย กิจการร่วมค้า และบริษัทร่วม (กลุ่มบริษัทฯ) เป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ยางมะตอยสำหหรับนำไปใช้ในการก่อสร้างถนน และซ่อมบำรุงผิวจราจร ทางยกระดับ ผิวทางวิ่งขึ้นลงของสนามบิน ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กลุ่มบริษัทฯ ยังได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังผู้นำเข้าและผู้รับเหมาก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนนในทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมัน (Non Asphalt Products) เช่น Naphtha, Gas Oil, Fuel Oil ที่ได้จากโรงกลั่นยางมะตอยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน และโรงกลั่นในประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ในช่วงปลายปี 2559 บริษัทฯ ได้เข้าสู่ธุรกิจก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนนโดยเข้าซื้อหุ้นสามัญจำนวนร้อยละ 25 จากบริษัทผู้รับเหมาไทยและบริษัทย่อยซึ่งมีความชำนาญพิเศษในการซ่อมบำรุงและสร้างทั้งผิวถนน ทางยกระดับและผิวทางวิ่งขึ้นลงของสนามบิน

จากความร่วมมือกับบริษัท Colas S.A. ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในการก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคม โดยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของบริษัทฯ ทำให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ยางมะตอยคุณภาพสูง และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 12 ล้านบาท โดยกลุ่มตระกูล "ทรัพย์สาคร" เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแอสฟัลต์อิมัลชั่น (Asphalt Emulsion) หรือเรียกว่า "ยางมะตอยน้ำ" สำหรับใช้สร้างทางและซ่อมบำรุงผิวทางหลวงและผิวจราจรด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 60,000 ตันต่อปี ภายใต้ชื่อ "บริษัท ทิปโก้ จำกัด" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท ทิปโก้อิมัลชั่น จำกัด" และ "บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด" ตามลำดับ โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตยางมะตอยน้ำรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ISO 9001 และผลิตภัณฑ์แอสฟัลท์ทุกชนิดได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

บริษัทฯ แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2535 ทะเบียนเลขที่ 0107535000044 (เดิม บมจ.37) โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 500 ล้านบาท และเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน)"

ในปี พ.ศ. 2543 บริษัท โคลาส เอสเอ ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างและบำรุงถนนในประเทศฝรั่งเศส เข้ามาร่วมถือหุ้นในสัดส่วนปัจจุบันร้อยละ 31.599 ทำให้บริษัทฯ มีผู้ถือหุ้นหลัก 2 กลุ่ม คือ บริษัท โคลาส เอสเอ และ บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันบริษัทฯ มีการประกอบธุรกิจในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางมะตอย กลุ่มธุรกิจเรือ และกลุ่มธุรกิจโรงกลั่น

บริษัทร่วมทุน[แก้]

ทิปโก้แอสฟัลท์ได้ดำเนินการร่วมทุนกับบริษัท Kemaman Oil Corporation Sdn. Bhd. และ Kemaman Bituman Company Sdn. Bhd. ภายใต้สัญญาร่วมทุนบริษัทดังกล่าวเป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกันระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยโดยถือหุ้นผ่านทั้งบริษัทและบริษัทย่อยปัจจุบันบริษัทถือหุ้นบริษัท Kemaman Bituman Company Sdn Bhd ร้อยละ 100 และ Kemaman Oil Corporation Sdn Bhd ร้อยละ 100 ทิปโก้แอสฟัลท์ยังมีบริษัทย่อยในต่างประเทศเช่นในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและในประเทศกัมพูชาได้แก่บริษัท TASCO International (Hong Kong) Ltd.และบริษัท Tipco Asphalt(Combodia) Co., Ltd.โดยถือหุ้นผ่านบริษัทร่วมกับบริษัทในอัตรา 100% และในประเทศจีน 3 บริษัทได้แก่บริษัท Langfang Tongfai Road Material Co., Ltd. บริษัทZhenjiang Tipco Asphalt Co., Ltd.และบริษัท Tipco Asphalt (Xinhui) Co., Ltd.ในประเทศสิงคโปร์ 1 บริษัทได้แก่บริษัทHighway Resources Trading Pte. Ltd.

ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561 บริษัทได้จัดตั้ง บริษัทย่อย Tipco Asphalt Lao Co., Ltd.

บริษัทที่เกี่ยวโยงกัน[แก้]

บริษัทที่เกี่ยวโยงกันเป็นบริษัทในเครือทิปโก้และทำรายได้ให้กับบริษัททิปโก้แอสฟัลท์[2]มีดังต่อไปนี้ในปีพ.ศ. 2556 บริษัทที่เกี่ยวโยงกัน ได้แก่ บริษัท เอกชัยคอนเทนเนอร์ จำกัด และ บริษัท สยามคอนเทนเนอร์ แอนด์ เทอร์มินอล จำกัด ได้ควบรวมกิจการส่งผลให้เหลือแต่บริษัท สยามคอนเทนเนอร์ แอนด์ เทอร์มินอล จำกัด เพียงบริษัทเดียว 2 บริษัทดังกล่าวสร้างรายจ่ายแก่บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ ใน ปี พ.ศ. 2556 โดย บริษัท เอกชัยคอนเทนเนอร์ จำกัด สร้างรายจ่าย 2 ล้านบาท และ บริษัท สยามคอนเทนเนอร์ แอนด์ เทอร์มินอล จำกัด 3 ล้านบาทก่อนครบรวมกิจการ ต่อมา ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ทิปโก้แอสฟัลท์ ก่อกำเนิด บริษัท ทิปโก้ ทาวเวอร์ จำกัด โดยแยกจำนวนพนักงานในกลุ่ม บริษัท ถนอมวงศ์บริการ จำกัด ในกลุ่มบริหารอาคาร วิศวกรรม และกิจการสถานที่ออกกำลังกายภายในอาคารทิปโก้ ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทมีรายได้รวมจากทุกกลุ่มบริษัท 2928 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายให้กับทุกกุล่มบริษัท 125 ล้านบาท

ลำดับที่ รายชื่อบริษัทที่ถือหุ้น รายได้(ล้านบาท)ปี2560
1 บริษัท ถนอมวงศ์บริการ จำกัด 216
2 บริษัท ไทยสเลอรี่ซิล จำกัด 127
3 บริษัท ทิปโก้ฟูด จำกัด (มหาชน) 1
4 Colas S.A. (Colas S.A. Sami Bitumen Technology and Highway Resources) 1168
5 ISCO Industy PTE 9
6 Hindustan Colus 0
7 PT sarana Distribusi Aspal Nusantara 0
8 บริษัท สยามคอนเทนเนอร์เทอร์มินอล จำกัด 1
9 บริษัท ทิปโก้ทาวเวอร์ จำกัด 1
10 Asia Bitumen Trading Pte Ltd. 1405
11 รายได้รวมจากการขายสินค้าและบริการ 2928

ผลิตภัณฑ์[แก้]

ธุรกิจเรือขนส่ง[แก้]

บริษัททิปโก้แอสฟัลท์ได้ดำเนินธุรกิจเรือเพื่อใช้ขนส่งยางมะตอยโดยมีบริษัทย่อยทั้งหมด 5 บริษัทได้แก่[3] โดยปัจจุบันมี Mr.Louis -Frederic Sachs เป็นผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจเรือ

ลำดับที่ รายชื่อบริษัทที่ถือหุ้น รายได้(ล้านบาท)ปี2558 สัดส่วนการถือหุ้น สัดส่วนรายได้ในกลุ่มบริษัทปี2556
1 บริษัท ทิปโก้ มารีไทม์ 45 99.99% 0.12%
2 บริษัท เดลต้า ชิพปิ้ง 433.78 99.99% 1.16%
3 บริษัท อัลฟ่า มารีไทม์ 259.87 99.99% 0.69%
4 บริษัท บิทูเมน มารีน 209.17 99.99% 0.56%
5 บริษัท ทาสโก้ ชิพปิ้ง 340.94 99.99% 0.91%

โดยในปี พ.ศ. 2558 เมื่อหักรายการระหว่างกัน จำนวน 1222.97 ล้านบาทแล้ว กลุ่มธุรกิจเรือนำรายได้ให้แก่บริษัท 65.79 ล้านบาท คิดเป็น 0.18%

ธุรกิจยางมะตอย[แก้]

กลุ่มธุรกิจยางมะตอยเป็นกลุ่มที่ทำรายได้ให้บริษัทมากที่สุดโดยทิปโก้แอสฟัลท์ มีบริษัทย่อยในจีนทั้งหมด 3 บริษัท บริษัทย่อยในประเทศสิงค์โปร์ 1 บริษัท และบริษัทในประเทศกัมพูชา 1 บริษัท บริษัทในประเทศมาเลเซีย 2 บริษัท เป็นประเภทธุรกิจยางมะตอย 1 บริษัท และประเภทกิจการลงทุน 1 บริษัท

ลำดับที่ รายชื่อบริษัทที่ถือหุ้น รายได้(ล้านบาท)ปี2557 สัดส่วนการถือหุ้น สัดส่วนรายได้ในกลุ่มบริษัท %
1 บริษัท ไทยบิทูเมน 1412.84 99.99% 3.06%
2 บริษัท เรย์โคล แอสฟัลท์ 994.62 41.44% 2.15%
3 Tipco Asphlt (combodia) co.,ltd. 701.23 100% 1.52%
4 Kemaman Oil Corp. Sdn. Bhd. 3163.58 100% 6.85%
5 Langfang Tongfai Road Material Co., Ltd. 51%
6 Zhenjiang Tipco Asphalt Co., Ltd. 51%
7 Tipco Asphalt (Xinhui) Co., Ltd. 100%
8 KBC Energy Pte. Ltd. (Singapore) 100%

มาตรฐานและรางวัลที่บริษัทได้รับ[แก้]

  • ISO/IEC17025 - มอก.17025-2548 มาตรฐานด้านห้องปฏิบัติการ โรงงานนครราชสีมา
  • CSR-DIW 2555 ทุกโรงงานในประเทศ
  • ISO9001:2008
  • ISO14001:2004
  • ISO26000:2010
  • มอก.18001-2554 ทุกโรงงานในประเทศ
  • มอก. 9001-2552 ทุกโรงงานในประเทศ
  • มอก.14001-2548 ทุกโรงงานในประเทศ
  • มอก.26000-2553 ผ่านการทวนสอบทุกโรงงานทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลชมเชย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
  • รางวัล SET Sustainability Awards 2018 ประจำปี พ.ศ. 2561

การทำผิดกฎหมายแพ่ง[แก้]

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สั่งลงโทษปรับ นายสิทธิลาภ ทรัพย์สาคร และ นางสาวภนิดา เกิดธูป (ภรรยา) เป็นเงินจำนวน 12,993,120[4] ล้านบาท[5]การกระทำของนายสิทธิลาภ ทรัพย์สาคร เป็นความผิดฐานขายหุ้น ทิปโก้แอสฟัลท์ โดยอาศัยข้อมูลภายในตามมาตรา 242(1) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 296 และมาตรา 296/2 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ส่วนการกระทำของนางสาวภนิดาผู้เป็นภรรยา เป็นความผิดฐานยินยอมให้นายสิทธิลาภใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อปกปิดตัวตนของนายสิทธิลาภตามมาตรา 297 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 317/5(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-04-11.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2013-04-05.
  4. กลต.ลงโทษทางแพ่ง13ล้านบาท
  5. ก.ล.ต.ลงโทษทางแพ่งกรรมการบริหารTASCO ปรับ 13 ล้านบาท อินไซด์หุ้น