พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
เสวกโท พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ท.ช., ท.ม., ต.จ.ว., ว.ป.ร.4, ป.ป.ร.5 | |
---|---|
![]() | |
เกิด | ปิเตอร์ ไฟท์ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 (85 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | นางเบอร์ธา นางบัวคำ นางลิ้ม |
บุตร | 10 คน |
บิดามารดา | นายจาคอบ ไฟท์ นางทองอยู่ |
เสวกโท พระเจนดุริยางค์ (ปีติ วาทยะกร) (มักเขียนเป็น "ปิติ") ชื่อเดิม ปิเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) หรือ ปิเตอร์ ไฟท์ วาทยะกร[1] (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511) บุคคลสำคัญในวงการดนตรีของประเทศไทย ผู้ริเริ่มการบันทึกเพลงไทยเดิมด้วยโน้ตสากลโดยเทียบเสียงให้ตรงกับเครื่องดนตรีไทยทุกชิ้น เรียกว่า เพลงไทยประสานเสียง (Thai Music Harmony) ของ กรมศิลปากร
เป็นอาจารย์วิชาดนตรีผู้ทุ่มเทสนับสนุนศิษย์เอก ครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูชลหมู่ ชลานุเคราะห์ (นักเชลโล่ ,ผู้เรียบเรียงและอำนวยเพลงวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร) ครูประสาน สุทัศน์ ณ อยุธยา (นัก Cello, Double Bass และผู้เรียบเรียงเสียงประสานแห่งวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร) รวมทั้งเป็นผู้วางรากฐานวงดุริยางค์ทหารอากาศ และวงดุริยางค์ตำรวจ
ประวัติ[แก้]
วัยต้น[แก้]
เกิดที่ตำบลบ้านทะวาย อำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายจาคอบ ไฟท์ (Jacob Feit หรือ Veit) ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน[2] กับนางทองอยู่ ชาวไทยเชื้อสายมอญ[3] มีภรรยาสามคนคือ นางเบอร์ธา, นางบัวคำ และนางลิ้ม มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 10 คน
เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เมื่อ พ.ศ. 2433 จบการศึกษาหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2433
เริ่มเรียนดนตรีกับบิดาเมื่ออายุ 10 ขวบ ต่อจากนั้นได้ศึกษาดนตรีด้วยตนเองมาโดยตลอดจนมีความรู้และความชำนาญอย่างแตกฉาน และได้เดินทางไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยดนตรีเฟรเดริก ชอแป็ง ที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
วัยหนุ่ม[แก้]
สมัครเข้าเป็นครูโรงเรียนอัสสัมชัญขณะอายุได้ 18 ปี เมื่อ พ.ศ. 2444 หลังจากนั้นอีกสองปีจึงเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง กระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนเจนรถรัฐ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2456
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โอนมาเป็นผู้ช่วยปลัดกรมเครื่องสายฝรั่ง กรมมหรสพพร้อมกับรับพระราชทานยศชั้นหุ้มแพรต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเจนดุริยางค์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ในตำแหน่งครูวงเครื่องสายฝรั่งหลวง และทำหน้าที่ผู้สอนวิชาดนตรีสากลให้สามัคยาจารยสมาคมและผลักดันให้วิชาขับร้อง (ด้วยโน้ต) เป็นวิชาเลือกในการสอบเลื่อนวิทยฐานะทั้งชุดของครูประถมและครูมัธยม
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระเจนดุริยางค์ ถือศักดินา ๖๐๐ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465
วัยปลาย[แก้]
โอนสังกัดไปสอนในวงดุริยางค์ทหารอากาศเมื่อ พ.ศ. 2483 เมื่ออายุได้ 57 ปี จนเกษียณอายุราชการ หลังเกษียณแล้วได้รับเชิญเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากร
ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับคืนมีบรรดาศักดิ์ดังเดิม[4]
ปี พ.ศ. 2493 กรมตำรวจได้ขอยืมตัวให้ไปช่วยก่อตั้งวงดุริยางค์สากลกรมตำรวจและทำงานด้านดนตรี จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุได้ 85 ปี 5 เดือน
ผลงาน[แก้]
- ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย[5]
- ประพันธ์ทำนอง เพลงเถลิงศก
- ริเริ่มสร้าง เพลงไทยประสานเสียง (Thai Music Harmony) สำหรับการบรรเลงเพลงไทยด้วยเครื่องดุริยางค์สากล โดยเคาะระนาดเทียบเสียงโน้ตสากลทุกตัวเพื่อให้เสียงตรงต้นฉบับเพลงไทยเดิมอย่างไม่ผิดเพี้ยน เป็นเอกลักษณ์ของเพลงไทยเดิมที่บรรเลงด้วยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
- ประพันธ์เพลงไทยประสานเสียงเพลง ศรีอยุธยา ประกอบภาพยนตร์ เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก (2484) บทและอำนวยการสร้างโดย นายปรีดี พนมยงค์ , บ้านไร่นาเรา (2485) ของกองภาพยนตร์กองทัพอากาศ ทุ่งมหาเมฆ
- เรียบเรียงทำนองเพลงไทยประสานเสียง ได้แก่ แขกเชิญเจ้า ,ปฐม ,ต้นบรเทศ ,ขับไม้บัณเฑาะว์ ,พม่ารำขวาน ,ธรณีกรรแสง/พสุธากรรแสง ,พม่าประเทศ ฯลฯ รวมทั้งเพลงประกอบการแสดง /ละครเวที
- เรียบเรียงตำราวิชาดนตรีสากลเป็นภาษาไทย เช่นทฤษฎีการดนตรีตอนต้น การประสานเสียงเบื้องต้น รวมทั้ง ตำราประสานเสียง 3 เล่มจบ
บรรดาศักดิ์[แก้]
- 30 มีนาคม พ.ศ. 2456 ขุนเจนรถรัฐ ถือศักดินา ๔๐๐[6]
- 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 หลวงเจนดุริยางค์[7]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 พระเจนดุริยางค์ ถือศักดินา ๖๐๐[8]
ยศและตำแหน่ง[แก้]
- รองอำมาตย์เอก
- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2460 ผู้ช่วยปลัดกรมเครื่องสายฝรั่ง กรมมหรสพ[9]
- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2460 หุ้มแพร[10]
- 4 มกราคม พ.ศ. 2462 จ่า[11]
- นายหมวดเอก
- รองหัวหมื่น
เกียรติยศ[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. ๒๔๗๓ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[12]
- พ.ศ. ๒๔๖๙ -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[13]
- พ.ศ. ๒๔๖๒ -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[14]
- พ.ศ. ๒๔๖๙ -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 5 (ป.ป.ร.5)[15]
อ้างอิง[แก้]
- พระเจนดุริยางค์ ประมวลประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2535. หน้า 95
- ↑ "ส่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์ไปพระราชทาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ง): 454. 2 พฤษภาคม 2469. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ Mandy Radics (18 July 2009). "Der Auswanderer-Sohn und die Hymne". Trierischer Volksfreund (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ Gustaf Dietrich. "Die thailändische Nationalhymne – ihre Wurzeln reichen nach Trier" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 12 October 2014. สืบค้นเมื่อ 12 December 2016.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับคืนมีบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (11 ง): 127. 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ เพลงชาติไทย เนื้อร้อง ประวัติที่มาจากอดีตสู่ปัจจุบัน
- ↑ ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๕๗)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๘๘๙)
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๓๐๒๒)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๓๐๘๐)
- ↑ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๓๓๒๑)
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2426
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2511
- นักแต่งเพลงชาวไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระ
- ชาวไทยเชื้อสายเยอรมัน
- ชาวไทยเชื้อสายมอญ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ความสัมพันธ์เยอรมนี–ไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน