นักบวช
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
นักบวช หมายถึง ผู้ได้รับการบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ[1]
ส่วนในศาสนาอเทวนิยม เช่น ศาสนาพุทธ นักบวชคือผู้เข้าสู่ธรรมวินัย ปฏิบัติตามหลักพรหมจรรย์คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่ออบรมขัดเกลาชีวิต มุ่งตรงต่อนิพพาน เรียกภิกษุบ้าง สมณะบ้าง ทำหน้าที่อบรมตนและช่วยเหลือสังคม
นักบวชในศาสนาต่าง ๆ
[แก้]กรมการศาสนาของประเทศไทยประกาศยอมรับศาสนาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการดังนี้
- ศาสนาพุทธ เรียกนักบวชว่า
- คริสต์ศาสนา มีความแตกต่างในแต่ละนิกาย เช่น บาทหลวง, ปุโรหิต
- ศาสนาอิสลาม
- ศาสนาฮินดู
นักบวชในศาสนาฮินดูมีสองประเภท ได้แก่ นักบวช (สวามี โยคี และกูรู) และปุโรหิต (ผู้เชี่ยวชาญ) ปุจารีประกอบพิธีกรรมในวัด พิธีกรรมเหล่านี้รวมถึงการสรงน้ำ มูรติ (รูปปั้นของเทพเจ้าและเทวี) การแสดงบูชา พิธีกรรมถวายสิ่งของต่างๆ แด่เทพเจ้า การโบกเนยใสหรือตะเกียงน้ำมันหรือที่เรียกว่าเครื่องบูชาท่ามกลางแสง ซึ่งเป็นที่รู้จักในศาสนาฮินดูว่าอารตี ปุจาริสมักจะแต่งงานแต่ในทางกลับกัน ปุโรหิตจะทำพิธีกรรมและสังสการ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ยัชนัส (เครื่องบูชา) นอกวัด มีปุโรหิตพิเศษที่ทำพิธีศพเท่านั้น ในหลายกรณี ปุโรหิต ยังทำหน้าที่เป็นนักบวชอีกด้วย ทั้งหญิงและชายได้รับการอุปสมบทเป็นปุโรหิตและนักบวช
ปุโรหิต
[แก้]ปุโรหิต หมายถึง พราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในทางนิติ คือขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี[2] ในปัจจุบันชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยและราชบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศาสตร์ ใช้คำนี้เป็นคำแปลของคำว่า Priest[3] หรือนักบวชในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ซึ่งมีที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา ในฐานะเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระยาห์เวห์
ปุโรหิตในศาสนายูดาห์เรียกโดยทับศัพท์ว่าโคเฮน มีต้นกำเนิดมาจากอาโรนพี่ชายของโมเสสซึ่งได้รับเจิมให้ทำหน้าที่ปุโรหิตเป็นคนแรกแก่วงศ์วานอิสราเอลในการถวายเครื่องบูชาแก่พระยาห์เวห์
ปุโรหิตในศาสนาคริสต์มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ เรียกปุโรหิตว่าบาทหลวง ปุโรหิตในนิกายโปรเตสแตนต์ เช่น ลูเทอแรน แองกลิคัน เมทอดิสต์ มักเรียกว่าศาสนาจารย์หรือศิษยาภิบาล แต่บางคริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนต์ เช่น เพรสไบทีเรียน แบปทิสต์ ไม่มีปุโรหิตเพราะถือว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิตของพระเจ้าอยู่แล้ว สามารถนมัสการพระเจ้าได้เองโดยไม่ต้องผ่านทางนักบวชใด ๆ มีแต่ศิษยาภิบาลซึ่งเป็นหัวหน้าคริสตจักรท้องถิ่น เป็นผู้นำศาสนพิธีคล้ายกับปุโรหิตนั่นเอง
ศาสนาอิสลามไม่มีปุโรหิต แต่ในการประกอบศาสนกิจ เช่น ละหมาด จะต้องมีผู้นำเรียกว่า อิมาม ซึ่งมีหน้าที่คล้ายปุโรหิตในศาสนาอื่น ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า = 613
- ↑ "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 1
- เดือน คำดี ; ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสร์, 2541
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4