ข้ามไปเนื้อหา

กรมสรรพากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมสรรพากร
The Revenue Department
เครื่องหมายราชการ
ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณ
ตราสัญลักษณ์ชื่อของกรมสรรพากร
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง7 ตุลาคม พ.ศ. 2433; 134 ปีก่อน (2433-10-07)[1]
กรมก่อนหน้า
  • กรมสรรพากรนอก
  • กรมสรรพากรใน
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณต่อปี9,891,099,600 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ปิ่นสาย สุรัสวดี, อธิบดี
  • สลักจิต พงษ์ศิริจันทร์, รองอธิบดี
  • กฤดา กฤตยาโชติปกรณ์, รองอธิบดี
  • ภาณุวัฒน์ เหลืองวิไล, รองอธิบดี
  • สุรยุทธ กอบกิจพานิชผล, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงการคลัง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
เชิงอรรถ
กรมสรรพากรนอกและกรมสรรพากรในเข้าเป็นกรมเดียวกัน ให้เรียกว่า กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2458[3]

กรมสรรพากร (อังกฤษ: The Revenue Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง[4] ที่ก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433

กรมสรรพากร มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคภายในประเทศ ตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาล เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ จากหน้าที่ดังกล่าวเมื่อมีเหตุจลาจล กรมสรรพากรจึงมักถูกวางเพลิงเสมอ อาทิเหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ จนเป็นหน่วยงานของรัฐที่ถูกวางเพลิงมากที่สุดหน่วยงานหนึ่ง

นอกจากนั้นยังพิจารณาปรับปรุงตัวบทกฎหมาย และระบบการบริหารจัดเก็บภาษีเพื่อส่งเสริมการออม การลงทุนและการแข่งขันในการผลิตและการส่งออกกับนานาประเทศ ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และเสริมสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี และยังทำความตกลงระหว่างประเทศเพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยในปัจจุบันกรมสรรพากรแบ่งการบริหารเป็น 15 กอง และ 1 สำนักเลขานุการกรม[5]

เขตพื้นที่สรรพากร

[แก้]

กรมสรรพากร ได้แบ่งพื้นที่การบริการออกเป็นภูมิภาคต่างๆ รวม 12 ภาค เรียกว่า "เขตพื้นที่สรรพากร" ทั่วประเทศ[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. การจัดตั้งกรมสรรพากร[ลิงก์เสีย]
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศยกกรมสรรพากรนอกมาขึ้นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แล รวมกับกรมสรรพากรในเปลี่ยนนามเปนกรมสรรพากร, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๑๙๒, ๕ กันยายน ๒๔๕๘
  4. "หน่วยงานในสังกัด กระทรวงการคลัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-14. สืบค้นเมื่อ 2007-08-19.
  5. โครงสร้างการบริหาร
  6. แผนที่เขตพื้นที่สรรพากร

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]