หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร
หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
หม่อม | หม่อมแมรี ชยางกูร ณ อยุธยา หม่อมละไม ชยางกูร ณ อยุธยา |
พระบุตร | 2 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป |
พระมารดา | หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา |
ประสูติ | 19 เมษายน พ.ศ. 2452 |
สิ้นชีพตักษัย | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 (78 ปี) |
หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร (19 เมษายน พ.ศ. 2452 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมถม
พระประวัติ[แก้]
หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร คนส่วนมากมักจะเรียกท่านว่า "ท่านวงษ์" เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมถม เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2452 ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 4 องค์ ดังนี้
- ประไพพงศ์ ศิริเวทิน
- หม่อมเจ้าทิพย์ลักษณ์สุดา ชยางกูร
- หม่อมเจ้าโสภาเพียงจันทร์ จันทรทัต
- หม่อมเจ้าสรรพไชยา ชยางกูร
หม่อมเจ้าวงษ์มหิปเสกสมรสกับหม่อมแมรี่ ชยางกูร ณ อยุธยา มีโอรส 2 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์อรรควงษ์ เอกเซล ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์พงษ์ชัย แพทริก ชยางกูร
และเสกสมรสอีกครั้งกับหม่อมละไม ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม จันทร์งาม) โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำสังข์ และเงินทำขวัญเนื่องในการเสกสมรส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493[1]
หม่อมเจ้าวงษ์มหิปมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทนฝ่ายไทยในการขึ้นศาลโลกในคดีเขาพระวิหาร
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้กล่าวถึงหม่อมเจ้าวงษ์มหิป ในจดหมายการลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ที่ยื่นแก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ดังนี้
ตามที่ได้มาเรียนปติบัติข้อราชการนะโรงเรียนลูกกำพร้าสงครามเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ศกนี้ และพนะท่านได้แสดความเห็นใจว่า ในตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญสึกสา ย่อมมีงานที่จะต้องปติบัติอยู่มากแล้ว ให้หาคนแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสานั้น นับว่าเป็นความกรุณาของพนะท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเชื่อและปติบัติตามคำแนะนำของพนะท่านด้วยความเคารพอย่างสูงสุด
ในโอกาสนี้ขอประทานกราบเรียนว่า นับตั้งแต่ พนะท่านได้เรียกไปกะซวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๘๐ เพื่อชี้แจงนโยบาย และมอบหมายให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นต้นมา ก็ได้ตั้งใจ ปติบัติงานอย่างเต็มสติกำลัง และพยายามรักสานโยบายของพนะท่านไว้เป็นนิจ จำนวนนักเรียนทวีขึ้นจาก ๓๕๐ คน ในปีแรก จนถึง ๓,๕๐๐ คนในปัจจุบัน การงานมิได้มีติดขัดประการได จนกระทั่งประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม ซึ่งย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา แต่ก็แก้ไขให้ลุล่วงไปได้ ภายใต้การบังคับบัญชาสูงสุดของพนะท่าน และพนะท่านรองอธิการบดี
การเปลี่ยนแปลงตัวผู้อำนวยการนั้น ขอประทานกราบเรียนว่ารู้สึกเป็นห่วงหยู่ไม่น้อย แต่หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร ก็เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสั่งสอนอบรมนักเรียนเป็นอย่างดี และเป็นอาจารย์ที่ได้หยู่ช่วยเหลือผู้อำนวยการมาเป็นอันมาก ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโรงเรียน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะตั้งเป็นผู้อำนวยการต่อไป ดีกว่าเลือกบุคคลซึ่งยังไม่เคยร่วมงานนี้มาแต่ก่อน
ส่วนไนทางไจนั้น รู้สึกมีความอาลัยเป็นอย่างมากในการที่จะไปจากโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสา เมื่อมาคำนึงว่า ตลอดเวลา ๖ ปีครึ่ง ที่ทำมานี้ มีตำแหน่งประจำอยู่ทางแผนกฝึกหัดครูคณะอักสรศาสตร์และวิทยาสาสตร์ในชั้นต้น และทางกรมสามัญสึกสาในเวลาต่อมา งานไนโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นงาน พิเสส ซึ่งมิได้มีตำแหน่งเงินเดือนหรือเงินเพิ่มพิเสสแต่อย่างใด แต่ก็ได้ทำมาด้วยความรักและการเสียสละไนทุกทาง เพราะเป็นงานชิ้นแรกที่พนะท่านมอบหมายให้ทำด้วยความไว้วางไจ และได้มีโอกาสสร้างครูอาจารย์ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นจำนวนร้อย และอบรมกล่อมเกลานักเรียนจำนวนพัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกำลังแก่ประเทศชาติไนภายหน้าได้ ก็บังเกิดความพากพูมไจและความสุขไจ ซึ่งเป็นรางวัลที่พนะท่านได้ให้มาในทางอ้อม… จึงค่อยปลดเปลื้องความอาลัยให้บรรเทาลงได้บ้าง
หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 สิริชันษา 78 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ปีเดียวกัน[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2511 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2508 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2514 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2504 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2504 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2499 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 2 (ทุติยาภรณ์)[7]
- พ.ศ. 2504 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์กูโรนน์ ชั้นที่ 1 ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งประเทศเบลเยี่ยมพระราชทาน[8]
- พ.ศ. 2504 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอเรนจ์ ชั้นที่ 1 ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถแห่งประเทศเนเธอแลนด์พระราชทาน[9]
- พ.ศ. 2504 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อดอล์ฟ เดอ นัสโซ ชั้นที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของหม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ เล่ม 67 ตอนที่ 63 หน้า 5999 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2493
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ ๒๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ เล่ม 104 ตอนที่ 176 หน้า 6279 วันที่ 3 กันยายน 2530
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฉบับพิเศษ หน้า 28 เล่ม 85 ตอนที่ 122 ราชกิจจานุเบกษา 31 ธันวาคม 2511
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 18 เล่ม 82 ตอนที่ 111 23 ธันวาคม 2508
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม 78 ตอนที่ 17 ราชกิจจานุเบกษา 21 กุมภาพันธ์ 2504
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2499/D/042/1516.PDF
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2452
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2530
- หม่อมเจ้าชาย
- นักการทูตชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ราชสกุลชยางกูร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์