ประกอบ จิรกิติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประกอบ จิรกิติ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสวรรณา จิรกิตติ

ดร.ประกอบ จิรกิติ (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 - ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามสมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายประสิทธิ และนางอิงอร จิรกิติ สมรสกับ นางวรรณา จิรกิติ (สกุลเดิม เบญจรงคกุล) น้องสาวของ นายบุญชัย เบญจรงคกุล อดีตผู้บริหารกลุ่มยูคอมและดีแทค และเป็นพี่สาวนายสมชาย เบญจรงคกุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

ประวัติ[แก้]

ดร.ประกอบ จิรกิติ เคยทำงานด้านวิชาการเป็นอาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มีผลงานจนได้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ก่อนจะเข้าเป็นผู้บริหารบริษัทหลายแห่งในเครือยูคอม ที่เป็นหนึ่งในธุรกิจสื่อสารยักษ์ใหญ่ของไทย กระทั่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ ยูคอม และต่อมาเป็น กรรมการผู้จัดการบริษัท เลิร์นทูเกเธอร์ จำกัด ธุรกิจการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (e-Learning) ในเครือยูคอม ซึ่งเท่ากับได้ทำงานในสายงานการศึกษาอีกครั้ง

ดร.ประกอบ จิรกิติ เคยเข้าสู่วงการเมือง โดยลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร เขต 10 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และชนะการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก แต่ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้อันดับ 1 เพียง 5 พันกว่าคะแนน และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 ดร.ประกอบลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 39 แต่พรรคได้รับคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อเพียง 26 ลำดับแรก เนื่องจากกระแสไทยรักไทยฟีเวอร์ในช่วงนั้น

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ดร.ประกอบ จิรกิติ ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งเป็น ส.ส. แบบสัดส่วน กลุ่ม 6 ในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ เช่นเดิม และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[1] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

การศึกษา[แก้]

การทำงาน[แก้]

  • พ.ศ. 2522-2525 : ผู้ช่วยนักวิจัย มหาวิทยาลัยมิสซูรี่
  • พ.ศ. 2526-2533 : อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • พ.ศ. 2533-2534 : รองคณบดีคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พ.ศ. 2534-2537 : รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พ.ศ. 2538 :
    • กรรมการ บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (พ.ศ. 2538-2539)
    • กรรมการ บริษัทไทยแซทเทิ่ลไล้ท์คอมมูนิเคชั่นจำกัด (พ.ศ. 2538-2539)
    • กรรมการ บริษัท เวิลด์เทเลคอมโฮลดิ้ง จำกัด (พ.ศ. 2538-2539)
  • พ.ศ. 2539 :
    • ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 10 พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2539-2543)
  • พ.ศ. 2543 :
    • ประธานกรรมาธิการกิจการ สภาผู้แทนราษฎร
    • กรรมการอำนวยการการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ (นายธวัชชัย สัจจกุล ลงสมัครในนามพรรค)
  • พ.ศ. 2544 : ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 29 (เขตบางพลัด บางกอกน้อย) แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • พ.ศ. 2546-2547 : ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บมจ.ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน : รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี
  • พ.ศ. 2548 : ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 39 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • พ.ศ. 2550 : ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 5 เขต 6 (กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี) ได้รับเลือกตั้ง
  • พ.ศ. 2552 : รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2552 : กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี(ครม.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

ในปี 2562 เขาลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 55 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐