เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่
เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ | |
---|---|
เจ้านายฝ่ายเหนือ | |
คู่อภิเษก | เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่ |
พระบุตร | เจ้ารัตนนินดนัย ณ เชียงใหม่ เจ้าวิไลวรรณ ณ เชียงใหม่ เจ้าสรรพสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าไพฑูรย์ศรี ณ เชียงใหม่ เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ทิพย์จักร |
เจ้าบิดา | เจ้าแก้วนวรัฐ |
เจ้ามารดา | หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ |
เกิด | 12 มีนาคม พ.ศ. 2453 |
อนิจกรรม | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2534 |
เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ (12 มีนาคม พ.ศ. 2453 — 24 มิถุนายน พ.ศ. 2534) เป็นราชโอรสองค์สุดท้ายในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 (องค์สุดท้าย) กับหม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ ชายารองในเจ้าแก้วนวรัฐ สมรสกับเจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง ราชธิดาในเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าหลวงนครเชียงตุง องค์ที่ 40 กับเจ้าบัวทิพย์หลวง มเหสีพระองค์หนึ่ง การสมรสระหว่างเจ้าอินทนนท์ กับเจ้าสุคันธา นับเป็นการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างนครเชียงตุงกับนครเชียงใหม่อย่างดียิ่ง
การศึกษา[แก้]
เจ้าอินทนนท์ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ย่านถนนห้วยแก้ว ต่อมาจึงย้ายเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ พร้อมกับเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ บุตรเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)[1]
ครอบครัว[แก้]
เจ้าอินทนนท์ ได้สมรสกับเจ้าสุคันธา ราชธิดาในเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าหลวงเมืองเชียงตุง ณ หอคำนครเชียงตุง ขณะที่ทั้ง 2 องค์มีอายุ 22 ปี โดยมีเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทแถลง เจ้าหอคำ เจ้านางปทุมมหาเทวี เป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 มีร้อยเอกโรแบรด์ ข้าหลวงอังกฤษผู้กำกับราชการนครเชียงตุง ร่วมเป็นเกียรติในงานมงคลสมรส เจ้านางสุคันธาและเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ จึงเป็นสายใยแห่งความรักของราชสำนักเชียงใหม่-เชียงตุง รุ่นราชโอรส ราชธิดา "เจ้าหลวง" สองราชสำนักรุ่นสุดท้าย โดยมีบุตรธิดา 5 คน คือ
- เจ้ารัตนนินดนัย ณ เชียงใหม่
- เจ้าวิไลวรรณ ณ เชียงใหม่
- เจ้าสรรพสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าไพฑรูย์ศรี ณ เชียงใหม่
- เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสันป่าตอง
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2534 รวมอายุได้ 81 ปี และเป็นราชโอรสของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ที่ถึงแก่อนิจกรรมเป็นองค์สุดท้าย
บทบาทเจ้านายฝ่ายเหนือ[แก้]
เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้นำเจ้านายฝ่ายเหนือในกระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีถวายพระขวัญเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดทางภาคเหนือ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2501[2] และเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปนาฏศิลป์ของเชียงใหม่ โดยทำการจัดตั้งโรงเรียนสอนหัดรำต่อมาคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ เชียงใหม่ และมอบทุนทรัพย์ส่วนตัวในการทำนุบำรุงโรงเรียน และสนับสนุนการอนุรักษ์งานพิธีสำคัญแบบพื้นเมือง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2521 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 4 (อ.ป.ร.4)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
ราชตระกูล[แก้]
พงศาวลีของเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ย่านท่าแพ 38[ลิงก์เสีย]
- ↑ วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 190-192
- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ.
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2453
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2534
- สกุล ณ เชียงใหม่
- ราชโอรสในเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ
- เจ้าแก้วนวรัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.4
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์