ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
ม.ว.ม., ป.ช., ป.ภ., ว.ป.ร.๔
เกิด22 มีนาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)[1]
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งและเจ้าของกรุงเทพดุสิตเวชการ
เจ้าของบางกอกแอร์เวย์ส
เจ้าของบริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด
คู่สมรสวัลลีย์ ปราสาททองโอสถ (โปษยะจินดา)
บุตร5
ห้างปราสาททองโอสถ

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2476) เป็นอดีตประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) โดยลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562[3] เจ้าของโรงพยาบาลนนทเวช โดยถือหุ้นไว้ 1.37%

นักธุรกิจ มหาเศรษฐีชาวไทย ผู้ก่อตั้งและเป็นเจ้าของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด กลุ่มการดูแลสุขภาพเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นเจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

ประวัติ[แก้]

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เกิดเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของ หมอทองอยู่ (ช้างบุญชู) ปราสาททองโอสถ และ บุญรอด ปราสาททองโอสถ นายแพทย์ปราเสริฐสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแพทยศาสตร์บัณฑิตจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล [4]

อาชีพ[แก้]

เขาเป็นเจ้าของปราสาททองโอสถและกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มดูแลสุขภาพเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เขาเป็นประธานและประธานบริหารของกรุงเทพดุสิต และประธานบริหารและรองประธานของบางกอกแอร์เวย์ส[4]

ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสุทธิ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รวยจริงเขาคือใคร! 10 รู้จัก ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย". thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 30 August 2018.
  2. "Forbes profile: Prasert Prasarttong-Osoth". Forbes. สืบค้นเมื่อ 30 August 2018.
  3. "ชี้แจงกรณี ก.ล.ต. ใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับกรรมการและผู้บริหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2019-01-21.
  4. 4.0 4.1 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔