พิรัส พัชรเศวต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผศ.พิรัส พัชรเศวต
พิรัส พัชรเศวต ในปี พ.ศ. 2565
เกิด ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัลAIA Henry Adams Gold Medal for Excellence in the Study of Architecture
ผลงานสำคัญ

ผู้ช่วยศาตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต (นามสกุลเดิม: เหล่าไพศาลศักดิ์) เป็นสถาปนิกชาวไทย อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งสำนักออกแบบอีสต์อาร์คีเท็กตส์ จำกัด (EAST Architects) มีผลงานออกแบบอาคารสาธารณะและอาคารพักอาศัยหลายแห่ง ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างงานออกแบบร่วมสมัยและทรอปิคอลโมเดิร์น ทั้งอาคารจุฬาพัฒน์ 1 ของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารจุฬาพัฒน์ 13 ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) เป็นต้น

ผลงานส่วนใหญ่ของ ผศ.พิรัส มีจุดเด่นทั้งการใช้หลังคาทรงจั่วสูง หรือการวางช่วงหลังคาที่ยาวเป็นพิเศษ เพื่อตอบรับกับสภาพฝนฝ้าอากาศและแดดในภูมิศาสตร์เขตร้อนชื้น การใช้เสากลม-เสาเหลี่ยมลอยแยกออกจากผนังเข้ามารับส่วนหลังคาและการวางบันไดด้านหน้าอาคาร เช่น อาคารจุฬาพัฒน์ 1 และอาคารวิชชาคาม 1 นอกจากนี้ยังมีการทำค้ำยัน ทรง V shape มาใช้รับส่วนที่ยื่น (cantilever) ซึ่งใช้ใน อาคารจามจุรี 10 อาคารจุฬาพัฒน์ 13 ในส่วนการใช้วัสดุงานของเขาส่วนใหญ่ประกอบด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก และอิฐ สำหรับงานสถาปัตยกรรมที่ใช้วัสดุอิฐเป็นส่วนหลักของอาคารที่ชัดเจน เช่น อาคารสยามสเคป อาคาร AUA LANGUAGE CENTER[1]

ผศ.พิรัส ยังมีความเชี่ยวชาญในงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแสง และการนำพลังงานทางเลือกจากแสงธรรมชาติเข้ามาใช้สร้างมิติและประสบการณ์ในพื้นที่ (space) งานสถาปัตยกรรม มีผลงานหนังสือ งานวิจัย และนิตยสารวิชาการเช่น แสงสร้างสรรค์, แสงในงานสถาปัตยกรรม, หลักเบื้องต้นการออกแบบแสงธรรมชาติ เป็นต้น[2] เขาเคยได้รับรางวัล AIA Henry Adams Gold Medal for Excellence in the Study of Architecture จากสถาบันสถาปนิกอเมริกัน ในระหว่างที่ศึกษาระดับปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอีกด้วย[3]

ประวัติ[แก้]

พิรัสจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 26467)[4] จากนั้นศึกษาต่อยังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบด้วยเกียรตินิยม จากนั้นศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย ได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้ก่อตั้งบริษัทอีสต์อาร์คีเท็กตส์ จำกัด[3] นอกจากนี้เขายังเคยเป็นอาจารย์พิเศษให้กับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี[5]

ผลงานออกแบบ[แก้]

ผลงานออกแบบทั้งหมดอยู่ภายใต้นามสำนักงานออกแบบ อีสต์อาร์คีเท็กตส์ จำกัด (EAST Architects) โดยเป็นผลงานร่วมออกแบบกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ สยาณี วิโรจน์รัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

  • อาคาร AUA LANGUAGE CENTER
  • อาคารสยามสเคป
  • ซัยวอร์ค (Zy Walk) สามย่าน
  • จุฬาพัฒน์ 1[6]
  • จุฬาพัฒน์ 13[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรกฎ หลอดคำภาพ มณีนุช บุญเรือง. (2564).Behind Brick Building สำรวจโฉมใหม่ของตึก AUA ราชดำริ ที่ตั้งใจเป็นศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง 7 ชั้น จัดงานศิลปะ คอนเสิร์ต ฉายหนัง ตลาดนัด และห้องสมุด. readthecloud.co สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2564
  2. Pirast Pacharaswata พิรัส พัชรเศวต. ข้อมูลประชาคมวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
  3. 3.0 3.1 [พิรัส พัชรเศวต - Li-Zenn http://www.li-zenn.com/pdf/life-philosophy/doc25530325174424.pdf เก็บถาวร 2018-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน], li-zenn.com .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
  4. ทำเนียบรุ่น AC100 เก็บถาวร 2017-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, omac100.awardspace.com .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
  5. [http://cop.car.chula.ac.th/1914/?sec=other Pirast Pacharaswata พิรัส พัชรเศวต], ข้อมูลประชาคมวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .สืบค้นเมื่อ 16/11/2559
  6. ข้อมูลคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักบริหารระบบกายภาพ .สืบค้นเมื่อ 15/11/2559
  7. อาคารเรียนรวมฯ จุฬาพัฒน์ 13 ARCHITECTURE OF THE TROPICAL POSTMODERNISM, Megazy .สืบค้นเมื่อ 15/11/2559
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑๔๖, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๐๖, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๗, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕