ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

เกิด25 มกราคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาวาย
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โรงเรียนอัสสัมชัญ
อาชีพอาจารย์, นักวิชาการ
คู่สมรสศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์

ศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2498) เป็นศาสตราจารย์ประจำและหัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในปี พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลศรีบูรพา ในปี พ.ศ. 2555 เป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่มีบทบาทในการเสนอแนวทางเพื่อคลี่คลายความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นกรรมการภาคประชาสังคมนอกพื้นที่ ในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) นอกจากนี้ชัยวัฒน์ยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการ และคณะทำงานฝ่ายจัดการ/บรรณาธิการ ของโครงการจัดพิมพ์คบไฟ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา ซึ่งเป็นโครงการจัดพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่หนังสือวิชาการทั้งของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ ตลอดจนวรรณกรรมชั้นดีจากต่างประเทศ เป็นจำนวนมากมายอย่างต่อเนื่อง

การศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ แล้วสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้อันดับที่ 13 ของประเทศในแผนกสายศิลป์ และจบการศึกษารัฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นเข้าศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนการศึกษาจาก East-West Center เมื่อ พ.ศ. 2524

ผลงานเขียน[แก้]

หนังสือ[แก้]

  • ความรุนแรงกับการจัดการ "ความจริง" : ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ISBN : 9789749900390, มกราคม 2551 (ผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2549 สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.))
  • งบประมาณทหารไทย 2525-2534 :วิสัยทัศน์และความคิดเชิงนโยบาย, โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ISBN :9747667169, 2539

เรื่องแปล[แก้]

  • ขุมทรัพย์ที่ปลายฝัน จาก The Alchemist ของ เปาโล โคเอลโย, โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, เมษายน 2542

บทความวิชาการ[แก้]

รวมบทความทั่วไป[แก้]

  • การเมืองมนุษย์, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
  • ราวกับมีคำตอบ, สำนักพิมพ์สารคดี, มิถุนายน 2547 (ฉบับที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์สารคดีผ่านการจัดเรียงตอนใหม่โดยผู้เขียนและได้ตัดบทความที่ผู้เขียนเห็นว่าพ้นสมัยออก)
  • มีกรอบไม่มีเส้น, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2538
  • ถึงเว้นไม่เห็นวรรค, สำนักพิมพ์สารคดี, มีนาคม 2547

คำวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เคยวิจารณ์ ชัยวัฒน์ว่า "ดัดจริต" ไม่มีความซื่อตรงต่อตัวเอง ทั่งๆที่ตลอดมาเป็นผู้ชูแนวทางสันติวิธีมาโดยตลอด แต่กลับไม่กล้าแสดงความกล้าต่อกรณี รัฐประหาร 19 กันยา 2549 ซึ่งชัดเจดว่าผิดกฎหมาย และขัดต่อแนวทางของเขา และเขามักนำคำพูดของเหล่าปราชญ์กรีกมาพูด เช่นโสกราตีส เพื่อยกระดับตัวเองให้ดูดีทางจริยธรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๒๐, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๓๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕