อุเทน เตชะไพบูลย์
อุเทน เตชะไพบูลย์ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 3 มกราคม พ.ศ. 2456 มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐจีน |
เสียชีวิต | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (94 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อาชีพ | นักธุรกิจ |
คู่สมรส | จำเรียง เตชะไพบูลย์ |
บุตร | 6 คน |
อุเทน เตชะไพบูลย์ (3 มกราคม พ.ศ. 2456 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[1]) เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่ในสมัยหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีของเมืองไทย[2] ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร และมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปู[3]
นายอุเทน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สุรามหาคุณ ที่ได้สัมปทานในการผลิตและจำหน่ายสุราของโรงงานสุราบางยี่ขัน ในชื่อ “แม่โขง” และ “กวางทอง” เมื่อ พ.ศ. 2502 ก่อนจะสูญเสียธุรกิจนี้ไปจากการพ่ายแพ้การประมูลให้แก่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี นอกจากนี้นายอุเทนยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท วังเพชรบูรณ์ ผู้ก่อสร้างโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ปัจจุบัน คือ เซ็นทรัลเวิลด์)
นายอุเทน เกิดในตระกูลแต้ มีบิดาชื่อนายแต้จือปิง (鄭子彬) มารดาชื่อนางไอ๋เหีย (靄霞) โดยก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "อุเทน" ได้ใช้ชื่อเดิมว่า "แต้โหง่วเล้า" (鄭午樓) หรือในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า "เจิ้งอู่โหลว" ซึ่งนายอุเทน เป็นบิดาของนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์
การศึกษา
[แก้]อุเทน เตชะไพบูลย์ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 8893) และได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2523 และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. 2534) สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2545) ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จากสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2546)
ชีวิตครอบครัว
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2536 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2507 –
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สิ้น'อุเทน'เจ้าสัวใหญ่ ผู้ก่อตั้งแบงก์ศรีนคร ข่าวจากไทยรัฐ
- ↑ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์
- ↑ [goto.thestarto.com:780/news/printnews.aspx?id=4758 goto.thestarto.com:780/news/printnews.aspx?id=4758].
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2456
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการธนาคารชาวไทย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- บุคคลจากโรงเรียนเผยอิง
- สกุลเตชะไพบูลย์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์