สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ | |
---|---|
สุชาติ ใน พ.ศ. 2497 ตอนเรียนมัธยมกับ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ถัดไป | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 เมษายน พ.ศ. 2483 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (69 ปี) เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2550) ชาติไทย (2550–2551) |
คู่สมรส | รัตนา เชาว์วิศิษฐ |
ลายมือชื่อ | |
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ (21 เมษายน พ.ศ. 2483 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ประวัติ
[แก้]เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2483 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้องชายของนายสุจินต์ เชาว์วิศิษฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าของฉายา "ส.ส.ปลาทูเค็ม" และนายสุรศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร[1] และมีน้องชายฝาแฝด คือ ร้อยโท สุชาย เชาว์วิศิษฐ อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย[2]
การศึกษา
[แก้]ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ต่อมาปี พ.ศ. 2499 จบการศึกษาจาก SCHOOL LEAVING CERTIFICATE DIOCESAN BOY'S SCHOOL ประเทศฮ่องกง
ปี พ.ศ. 2502 จาก GCE A' LEVEL BRISTOL COLLEGE OF COMMERCE ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ECONOMICS LONDON SCHOOL OF ECONOMICS AND POLITICAL SCIENCE ในปี พ.ศ. 2505
การทำงาน
[แก้]ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 สังกัดกองทัพบก ในตำแหน่ง ทส.เจ้ากรมการเงินทหารบก และโอนมาสังกัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ในตำแหน่ง วิทยากรโท สศค. และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในกระทรวงการคลังหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ในปี 2521 ผู้อำนวยการกองอากร กรมสรรพากร และผู้อำนวยการโรงงานกระสอบ ปี 2523 สรรพากรเขต 3 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมสรรพากร รองอธิบดีกรมสรรพากร
ในปี พ.ศ. 2536 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง อีก 2 ปีต่อมาเป็นอธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมธนารักษ์ ตำแหน่งละ 1 ปี และกลับมาเป็นอธิบดีกรมสรรพากรอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2540
ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ ก็ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง
ชีวิตครอบครัว
[แก้]ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางรัตนา เชาว์วิศิษฐ
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งกล่องเสียง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552[3] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร[ลิงก์เสีย]
- ↑ วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 27 08 58
- ↑ สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เสียชีวิตโรคมะเร็ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๓๒, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
ก่อนหน้า | สุชาติ เชาว์วิศิษฐ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.54) (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2548) |
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552
- บุคคลจากอำเภอสันกำแพง
- ทหารบกชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- อธิบดีกรมธนารักษ์
- อธิบดีกรมสรรพากร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- เสียชีวิตจากมะเร็งกล่องเสียง
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลฝาแฝดจากประเทศไทย