ธเนศ วงศ์ยานนาวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

เกิด22 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (66 ปี)
โรงพยาบาลราชวิถี อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นธนา วงศ์ญาณณาเวช
ธเนศ เขตยานนาวา
ศิษย์เก่า
อาชีพอาจารย์, นักวิชาการ
มีชื่อเสียงจากเจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์นประเทศไทย
บุตร2
บิดามารดา
  • สมชาย วงศ์ยานาวา (บิดา)
  • เนลลี่ เตมี (มารดา)

ศาสตราจารย์ ธเนศ วงศ์ยานนาวา (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2500) เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการชาวไทยที่มีความถนัดและผลงานทางด้านสังคมศาสตร์โดยเฉพาะด้านปรัชญาการเมือง ทฤษฎีสังคม ประวัติศาสตร์ความคิด โดยเฉพาะในเรื่องของแนวคิดหลังยุคนวนิยมหรือ โพสต์โมเดิร์น จนได้รับฉายาว่าเป็น "'เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์น'" คนหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมทางสังคมเช่น ดนตรี ภาพยนตร์ เพศและ อาหาร อีกด้วย

ธเนศยังเป็นบรรณาธิการรัฐศาสตร์สารของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับดนตรีและภาพยนตร์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์โดยใช้นามปากกา "ธนา วงศ์ญาณณาเวช" ซึ่งเป็นคำผวนของชื่อจริงและนามสกุลของธเนศเอง นอกจากนี้ธเนศยังมีรายการสัตตะ ทางช่องใน Youtube ทำร่วมกับแขกผู้ดำเนินรายการอื่นๆ และยังมีกลุ่ม Thanes Wongyannava ใน Facebook ซึ่งเป็นพื้นที่เสรีสำหรับการถกประเด็นและถามคำถามจิปาถะ แต่ต่อมาได้ปิดตัวลงจากการที่มีสมาชิกสายเกรียนจำนวนหนึ่งได้ตั้งคำถามเชิงเหยียดและล่าแม่มดทางความคิดของผู้อื่น อาทิ การแซะเหล่า Feminism, LGBT...Z รวมไปถึงชาวมุสลิมสุดโต่ง (Muslim Fundamentalism)

ประวัติ[แก้]

ธเนศ วงศ์ยานนาวาเกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2500 มีชื่อเล่นว่า ตู่ เป็นบุตรของสมชาย วงศ์ยานนาวาและเนลลี่ เตมี บิดาของธเนศเป็นคนไทยเชื้อสายจีนมีแซ่เดิมว่าแซ่เหลี่ยงประกอบอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ส่วนมารดาเป็นลูกครึ่งเชื้อสายสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ซึ่งธเนศเป็นบุตรคนกลางจากพี่น้อง 3 คน โดยพี่สาวของธเนศได้เสียชีวิตด้วยโรคตับในวัยทารกและน้องชายชื่อ ธนา วงศ์ยานนาวา ซึ่งมีอายุห่างจากธเนศ 9 ปี[1]

ธเนศเข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนสมถวิล ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต ซึ่งในตอนแรกนั้นธเนศคิดและตัดสินใจเรียนต่อสายพาณิชย์ แต่เมื่อพ่ออยากให้เรียนสูงๆ ธเนศจึงตกลงใจสอบเข้าเรียนสายวิทย์ แล้วก็ย้ายมาเรียนศิลป์-คณิต ระดับชั้นมัธยมปลายในปีสุดท้าย และเขาเป็นรุ่นพี่ใกล้ ๆ กับไชยันต์ ไชยพร[2] (อายุห่างกันเพียง 2 ปี) เมื่อใกล้จบชั้นมัธยมปลาย ธเนศตั้งใจจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงไม่สนใจการเตรียมตัวเอนทรานซ์ และเขาก็สอบติดมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญตามที่หวังไว้ ทว่าช่วงชีวิตของเด็กม.6 สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องทำนั่นก็คือเอนทรานซ์ ธเนศก็เป็นเหมือนเด็กทั่วๆไปที่ต้องเลือกเอนทรานซ์ตามวิถีชีวิตของเด็กม.6 แต่ที่แปลกมากคือเขาตัดสินใจเลือกดิ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 อันดับรวด ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ "ชอบดูหนัง" ซึ่งแถบสยามมีแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับความชอบ ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ลิโด, โรงภาพยนตร์สกาล่า โดยอยู่ใกล้ที่เที่ยวและที่กินมากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นในสมัยนั้น [3] จนผลเอนทรานซ์ปรากฏว่าเขาสอบติดในสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขายังกล่าวอีกว่าที่เขาสอบติดเพราะความ "ฟลุ้ค" เนื่องจากสมัยที่ธเนศเรียนที่โรงเรียน ไม่ค่อยสนใจการเรียนมากนัก เขามักโดดเรียนไปกินเที่ยว อยู่เป็นประจำ จนมีผลการเรียนวิชาเคมี เพียง 6 คะแนน และวิชาภาษาไทยเพียง 3 คะแนนเท่านั้น จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และเช่นเดียวกันในสมัยที่เขาเรียนที่รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาก็ยังคงกินๆเที่ยวๆเป็นกิจวัตรตามเดิม ประกอบกับยังได้สนิทสนมกับไชยันต์ ที่เป็นทั้งรุ่นน้องและเพื่อนสมัยที่คณะรัฐศาสตร์ (ถึงแม้ว่าทั้งสองจะมีแนวคิดทางการเมืองที่ต่างกัน) แต่ในที่สุดธเนศก็จบโดยได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง B.A.(Second-class Honors), Sociology and Anthropology, Chulalongkorn University

ภายหลังจบการศึกษาธเนศได้เข้าทำงานที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือในค่ายผู้ลี้ภัยในเขตภาคอีสานช่วงสงครามครามอินโดจีนครั้งที่สาม และเข้าศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่ได้เลิกเรียนกลางคัน ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า "ไม่ชอบอาจารย์ที่สอน" การที่เขาเลิกเรียนกลางคันนั้นทำให้เขาใช้ชีวิตล่องลอย และเป็นสาเหตุที่ทำให้พ่อและแม่ของเขาทะเลาะกัน ดังนั้นพ่อของเขาจึงส่งเขาให้ไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาจึงได้เข้าศึกษาระดับปริญญาโทสาขาสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา M.S. (Sociology), University of Wisconsin Madison, U.S.A. โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์ของเขาคือ "Evolving views of "historicism": Althusser's criticisms of Gramsci"[4] ซึ่งขณะนั้นเขามีความสนใจและคลั่งไคล้ในทางความคิดและทฤษฎีของ Marxism เป็นอย่างมาก (ก่อนที่จะหันมาเปลี่ยนเป็น Foucauldian รวมทั้ง Postmodernism ในช่วงสมัยที่เรียนปริญญาเอก) และ ณ ที่แห่งนี้ธเนศก็ยังได้ไชยันต์เป็นทั้งรุ่นน้องมหาลัยรวมถึงเพื่อนร่วมหอพัก เมื่อสำเร็จการศึกษาธเนศได้กลับมายังประเทศไทยเพื่อสมัครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่แรก แต่โดนปฏิเสธโดยทางมหาวิทยาลัยให้เหตุผลว่าเพราะเขามารยาทไม่ดี ไม่ไปลามาไหว้ ไม่ทักทายสวัสดีผู้ใหญ่ตามขนบธรรมเนียมไทยเดิม ในระหว่างนี้ด้วยความที่ว่าเขาเป็นคนชอบเที่ยว เขาจึงได้ไปสมัครเป็นไกด์ในบริษัททัวร์แห่งหนึ่งด้วย แต่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์ ซึ่งบริษัทก็ให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของบุคลิก[5] และหลังจากนั้นในที่สุดเขาก็ได้มาสมัครเป็นอาจารย์ จนได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะเดินไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในสาขาทฤษฎีการเมืองและสังคมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า "เรียนตามแฟน" โดยในตอนแรกนั้นเขาได้รับทุนไปเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่เขาเลือกที่จะไม่ไปเพราะแฟนเขาไม่ได้ทุนนั้น โดยทั้งสองนั้นวางแผนจะไปเรียนที่ประเทศเดียวกัน สุดท้ายแล้วเขาไปเรียนที่อังกฤษ ส่วนแฟนก็ไปเรียนที่อเมริกาแทนที่จะเป็นไปตามที่ตกลงกันเอาไว้ โดยเขาให้เหตุผลว่า "การอยู่ด้วยกัน (ตัวติดกัน) ทำให้เบื่อหน่ายกันเร็ว" หลังจากได้ศึกษาในปริญญาเอกก็เกิดปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์ของเขาคือ "Talking Foucault Comically" ซึ่งวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ไม่สามารถจำแนกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาขาวิชาแบบใดแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่นๆ อันเนื่องมาจากเขาพบว่าแนวคิดของตัวเอง (วิทยานิพนธ์) นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะทางแค่ในสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งยิ่งทำให้เขารู้ว่าตัวเองเป็นนักคิดที่ไม่ได้จำกัดกรอบใด พูดให้ถึงที่สุดก็คือเขามีความเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ซึ่งโชคไม่ดีที่ในการทำวิทยานิพนธ์ที่เคมบริจน์นั้นมีความคับแคบและเคร่งครัด ไม่ให้คิดข้ามกรอบในสาขาที่ตนเองศึกษาอยู่ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์นั้นก็เป็นมหาวิทยาลัยอนุรักษ์นิยมจนเกินไป สุดท้ายวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขาก็ไม่ได้รับการพิจารณาให้สอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ เพราะเหล่าอาจารย์เห็นว่าไม่ตรงสาขาวิชาใด มีการถกเถียงกันว่าจะให้ธเนศโอนย้ายไปสังกัดในภาควิชาใด เพราะเป็นสหวิทยาการ สุดท้ายมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและต้องการให้แก้ไขให้ตรงกับสาขาวิชา ทำให้ธเนศสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทแทน M.Phil (Social & Political Theory), University of Cambridge, England[1] ธเนศได้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2560

คุณูปการของธเนศ วงศ์ยานนาวา คือการกล้าสอนในสิ่งที่คนอื่นเลี่ยงไม่พูด สอนให้ศิษย์ตรวจสอบรากความเชื่อ ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าโลกไม่ได้มีเพียงมิติเดียว ทุกคนต่างกัน และทุกสิ่งมีที่มาโดยไม่อาจพิจารณาแยกส่วน เขามักชำแหละเรื่องราวที่สอนอย่างถึงลูกถึงคน หยิบเม็ดฝุ่นจนกระทั่งผืนจักรวาลมาเชื่อมแบบสหวิทยาการได้อย่างน่าสนใจ และการถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ อย่างจัดจ้านทำให้เขากลายเป็นนักวิชาการสายป๊อปที่มีคนแห่แหนไปฟังเสวนาจนล้นสถานที่จัดอยู่เสมอ และการวางตัวที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย ผูกสัมพันธ์กับเพื่อนทั้งรุ่นเดียวกันและต่างรุ่นได้ดี ทำให้เพื่อนนักวิชาการหลายคนมองว่าเขาเป็นหนึ่งในตัวละครที่มีสีสันที่สุดในแวดวงวิชาการไทยร่วมสมัย

บทบาท[แก้]

อาจารย์มหาวิทยาลัย[แก้]

ธเนศดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวิชาส่วนใหญ่ที่ธเนศรับผิดชอบจะเป็นเรื่องของทฤษฏีสังคม แนวคิดและปรัชญาการเมือง นอกจากนี้ธเนศดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการของรัฐศาสตร์สารซึ่งเป็นวารสารของคณะรัฐศาสตร์อีกด้วย[6]

วิชาการด้านสังคมศาสตร์และแนวคิดหลังยุคนวนิยม[แก้]

เพศ[แก้]

อาหาร[แก้]

พฤติกรรมและทัศนคติ[แก้]

ธเนศกับสังคมไทย[แก้]

ผลงาน[แก้]

หนังสือภายใต้ชื่อ "ธเนศ วงศ์ยานนาวา"[แก้]

  • เช เกวารา กับความตาย, (ปทุมธานี: นาคา, 2541) [พิมพ์ครั้งที่ 1] (กรุงเทพฯ: เดอะ ยิปซี, 2550) [พิมพ์ครั้งที่ 3 พร้อมเพิ่มเนื้อหา]
  • ปฏิวัติบริโภค: จากสิ่งของฟุ่มเฟือยมาสู่สิ่งจำเป็น, (กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2550)
  • เพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ, [พิมพ์ครั้งที่1: มติชน, 2551], [พิมพ์ครั้งที่2 พร้อมเพิ่มเนื้อหา: สมมติ, 2556]
  • ความไม่หลากหลายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2552)
  • 1968: เชิงอรรถการปฏิวัติ, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2552)
  • ศิลปะกับสภาวะสมัยใหม่: ความย้อนแย้งและความลักลั่น (กรุงเทพฯ:สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย?, 2552) เล่มนี้มีผู้ที่ซื้อความไม่หลากหลายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ1968: เชิงอรรถการปฏิวัติ พร้อมกันภายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเท่านั้น
  • ความรัก ความรู้ ความตาย (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2553)
  • ความสมเหตุสมผลของความชอบธรรม (การครอบงำ), (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554)
  • ม(า)นุษย์โรแมนติค, (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2556)
  • เขียนหญิง : อำนาจ โยนี และการเขียนของลึงค์, (กรุงเทพฯ: Unfinished project, 2556)
  • Max Weber: วิถืแห่งการบำเพ็ญตบะและอาชีพทางการเมือง, (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2556)
  • เมื่อฉันไม่มีขน ฉันจึงเป็นศิลปะ, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2557)
  • On People ว่าด้วยประชาชน, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2558)
  • ความสมเหตุสมผลของความชอบธรรม (การครอบงำ) : On Legitmacy ว่าด้วยความชอบธรรม, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2559)
  • ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2560)
  • On Happiness ว่าด้วยความสุข, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2560)
  • On MONOTHEISM ว่าด้วยเอกเทวนิยม, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2562[7])
  • On Academic Capitalism in the Age of Neoliberalism ว่าด้วยทุนนิยมมหาวิทยาลัยในสภาวะเสรีนิยมใหม่, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2566)

หนังสือภายใต้นามปากกา "ธนา วงศ์ญาณณาเวศ"[แก้]

  • หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย: ว่าด้วยการขึ้นมาเป็นศิลปะของภาพยนตร์ในสังคมบริโภค, (กรุงเทพฯ: Unfinished Project Publishing, 2551)
  • ใต้เตียงนักดนตรี เล่ม 1, (กรุงเทพฯ: openbooks, 2554)
  • ใต้เตียงนักดนตรี เล่ม 2, (กรุงเทพฯ: openbooks, 2555)

บทความนำเสนอ, งานวิจัยและตำรา[แก้]

  • "ปัญหาผู้ลี้ภัย" ใน การศึกษาเปรียบเทียบผู้อพยพทางบกในค่ายอพยพคนลาว คนเขมร และคนเวียดนาม ใน กรุงเทพฯ, สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
  • "การวิเคราะห์ซับเจค (subject) : ทฤษฎีที่ใช้ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจของ มิเชล ฟูโก", คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532
  • "ผีของมาร์กและผีในมาร์ก : ข้อวิจารณ์ประวัติศาสตร์นิยมของพ็อพเพอร์และอัลธุสแซร์", โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540
  • "ประวัติศาสตร์นิยม : จาก Giambattista Vico สู่ Antonio Gramsci", โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541
  • "ประวัติศาสตร์และสหวิทยาการ : ชาตินี้เราคงรักกันไม่ได้ ", โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542
  • "รัฐกับธุรกิจ : ศีลธรรมแห่งวิชาการทางสังคมศาสตร์ ; ไปดูนาวาเสรีประชาธิปไตยล่มที่ปากอ่าว",คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2546
  • "แนวคิดเรื่องความชอบธรรม (The concept of legitimacy"), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2547
  • "รากฐานปรัชญาการเมืองของ Antonio Negri กับ Empire", คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547
  • "แนวคิดทางการเมืองและสังคมของตะวันตก 2" [Logos],ใน แนวคิดทางการเมืองและสังคม, นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
  • "การสร้าง"ซับเจค" : บทวิพากษ์ Foucault และการวิเคราะห์"ซับเจค"จากภาพ Las Meninas ", คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548
  • "ความรู้ต้อง (ไม่) ห้าม: จักรญาณนิยม", เอกสารประกอบคำบรรยาย “โครงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 2 โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เชียงใหม่ วันที่ 9-11 สิงหาคม พ.ศ. 2548
  • "การรวมศูนย์ศิลปะของการกระจายตัวของศิลปะและการเมือง : จากสภาวะสมัยหลังใหม่สู่สภาวะสมัยใหม่", คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549
  • "บทวิพากษ์ปรัชญา/ตรรกะของระบอบเสรีประชาธิปไตย", คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551

บทความ[แก้]

  • "Historicism หลังเฮเกล รันเก และโครเช่" ใน รัฐศาสตร์สาร 9, 3 (ก.ย.-ธ.ค.26) 1-36
  • "อ่านงานฟูโก้" ใน วารสารธรรมศาสตร์ 14, 3 (ก.ย. 2528) 36-57
  • "มิเชล ฟูโกต์: ปัญญาชน ความจริงและอำนาจ" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1-2 (ต.ค. 28-มี.ค. 29) 142-154
  • "บทส่งท้าย ตรรกะของการกดบังคับ ฟูโก้และเฟมินิส" ใน รัฐศาสตร์สาร 12, 13 (เม.ย.29-30) 166-178
  • "มิเชล ฟูโก้และอนุรักษนิยมใหม่" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 6,3-4 (ต.ค.31) 16-37
  • "นำเที่ยวสวนจูราสสิคดูสัตว์ประหลาดดึกดำบรรพ์และสัตว์โลกปัจจุบัน" ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 17,1 (ก.ค.-ธ.ค.37) 101-107
  • "กรุณาอย่ามีทฤษฎีที่เป็นนามธรรม: เราเป็นชาวอังกฤษ", สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 17,1 (ก.ค.-ธ.ค.37) , 15-24
  • "ภาพตัวแทน แทนสิ่งที่แทนไม่ได้" ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 12, 1 (ส.ค.-ต.ค. 2538) 16-18
  • "ประชาธิปไตยไทยหลังสมัยใหม่" ใน จินตนาการสู่ปี 2000 : นวกรรมเชิงกระบวนทัศน์ด้านไทยศึกษา?, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2539)
  • "ความรัก/ความรู้/ความตาย : เมื่ออาทิตย์เริ่มอัสดง" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 30,2 (พ.ค.39) 1-25
  • "มนุษย์โรแมนติคกับการบริโภคภาพเสรี" ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 13, 3 (ก.พ.-เม.ย. 2540) 10-15
  • "ภาพตัวแทนของตูด" ใน เผยร่าง-พรางกาย: ทดลองมองร่างกายในศาสนา ปรัชญาการเมือง ปรวัติศาสตร์ ศิลปะ และมานุษยวิทยา, ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล, บรรณาธิการ, (กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2541)
  • " "ผีของมาร์กซ์" และ "ผีในมาร์กซ์" ข้อวิจารณ์ประวัติศาสตร์นิยมของพ็อพเพอร์และอัลธุสแซร์" ใน รัฐศาสตร์สาร 20, 2 (2541) 1-55
  • "ประวัติศาสตร์นิยม: จากวิโก้สู่กรัมชี่" ใน รัฐศาสตร์สาร 20, 3 (2541) 35-100
  • "ห้องสมุด: โลกที่ไร้เสียง" ใน รัฐศาสตร์สาร 21, 1 (2542) 301-313
  • " "ท่อง" ไปในแดนโพสต์โมเดิร์น: ความเหมือน/อัตลักษณ์และความแตกต่างในการเมือง" ใน รัฐศาสตร์สาร 21, 2 (2542) 333-382
  • "อาณาเขตสาธารณะ/ประชาสังคมและนักมานุษยวิทยากับคนชายขอบ" ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 15, 4 (พ.ค.-ก.ค. 2542) 16-37
  • "อภัยวิถี: เทววิทยาทางการเมือง ความทรงจำและความหลงลืมของประวัติศาสตร์ไทย" ใน รัฐศาสตร์สาร 22, 1 (2543) 130-183
  • "ปัญญาชนตะวันตกกับสภาวะสมัยใหม่: ความขัดแย้งและความต้องการ" ใน รัฐศาสตร์สาร 22, 3 (2543) 342-406
  • "Carl Schmitt: การเผชิญหน้ากับความลักลั่นของสภาวะสมัยใหม่" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 32, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2544) 107-153
  • "ประวัติศาสตร์ครอบครัวตะวันตก: ประวัติศาสตร์คนใช้และการใช้คน" ใน รัฐศาสตร์สาร 23, 3 (2545) 1-49
  • "ความเป็นอนิจจัง ของอาหารจีนชั้นสูงในกรุงเทพ : การเดินทางสู่เส้นทางของอาหารประชาธิปไตย" ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 18, 4 (พ.ย. 2545-ม.ค.2546) 42-51 และ ศิลปวัฒนธรรม 24, 4 (ก.พ. 2546) 132-145
  • "ประวัติศาสตร์และสหวิทยาการ: ชาตินี้เราคงรักกันไม่ได้" ใน รัฐศาสตร์สาร 24, 2 (2546) 297-334
  • "อำนาจอธิปไตยกับสภาวะสมัยใหม่: พื้นที่ลักลั่นและความเป็นตัวตน" ใน รัฐศาสตร์สาร 24, ฉบับพิเศษ (พ.ย.2546) 205-276
  • "ชาติพันธุ์วรรณาในความเป็นซับเจคของนักมานุษยวิทยา: จริยธรรม ระหว่างการหาความจริงและการสร้างความจริง" ใน รัฐศาสตร์สาร 24, 3 (2546) 154-189
  • "ประวัติศาสตร์และ "สัตสังคม" ของคาร์ล มาร์กซ์ ช่วงต้น บทวิจารณ์อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 34, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2546) 55-72
  • "Michael Hardt & Antonio Negri ในฐานะ "Return of the Jedis": เมื่อ Empire ถูก Strike Back" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 34, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2546) 112-162
  • "องค์รวม/องค์ขาด/องค์อนันต์" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 15, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2547) 63-111
  • "Michel Foucault กับรัฐเสรีนิยมใหม่ : วินัย/วิชา และสภาวะปกติ/สภาวะที่ผิดปกติ" ใน ดำรงวิชาการ 3, 5 (ม.ค. - มิ.ย. 2547) 271-290
  • "สภาวะสมัยใหม่ของวัฒนธรรมการอ่าน : ห้องสมุดกับการเผชิญหน้ากันของ ตา และ หู" ใน วารสารไทยคดีศึกษา 1, 2 (เม.ย.-ก.ย. 2547) 67-92
  • "การจัดระเบียบเพศในศิลปะ: จากภาพนู้ดสู่ภาพระดับ X" ใน รัฐศาสตร์สาร 25, 2 (2547) 204-223
  • "รากฐานปรัชญาการเมืองของ Antonio Negri กับ Empire" ใน รัฐศาสตร์สาร 25, 3 (2547) 180-255
  • "รัฐเสรีนิยมใหม่ ทรัพยากรมนุษย์และชุมชน." ใน ฟ้าเดียวกัน 2, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2547) 112-124
  • "The heart of the king is unsearchable" ใน ฟ้าเดียวกัน 3, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2548) 124-140
  • " "เหลี่ยมมุม" ของตัวต่อเลโก (Lego) : อำนาจท้องถิ่นกับจักรวรรดิ " ใน พระอัจฉริยคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : เอกสารการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองศุภวาระ 200 ปี แห่งพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, จันทนี สุวรรณวาสี, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา, 2548)
  • "การแลกเปลี่ยนทางความคิดกับความ "ทัศนะ 'ชุมชน' กับการปกครองชีวญาณ : อำนาจที่ซ่อนเร้นในสาธารณสุขไท" ใน รัฐศาสตร์สาร 27, 1 (2549) 40-53
  • " (การร่วม) เพศนอกสถาบันการแต่งงานในฐานะ 'ระเบิด': จากประวัติศาสตร์ 'การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง' ถึง..." ใน รัฐศาสตร์สาร 27, 3 (ก.ย.-ธ.ค.2549) 1-55
  • "สิงคโปร์ : ภาพฝันของประเทศด้อยพัฒนาจากภาพสะท้อนของคนเดินทาง" DOME 6 (เม.ย.-มิ.ย.49) 50-60
  • " ฐานทางความคิดของ "ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ" " ใน วารสารสถาบันพระปกเกล้า 4, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2549) 77-90
  • "การ "ครอบ", "ครัว" "ไฟ": จากตะวันตกสู่ตะวันออก" ใน จักรวาลวิทยา : บทความเพื่อเป็นเกียรติแก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ธเนศ วงศ์ยานนาวา, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549)
  • "วัฎจักรของทฤษฎีและประวัติศาสตร์ของชนชั้นกลาง : จากการปฏิวัติฝรั่งเศสสู่พฤษภาทมิฬ 19 กันยายน" ใน ศึกษา รู้จัก วิพากษ์คนชั้นกลาง : รวมบทความจากการสัมมนาทางวิชาการ,นลินี ตันธุวนิตย์, บรรณาธิการ,นพชัย แดงดีเลิศ, บรรณาธิการต้นฉบับ, (กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550)
  • " ปรับ 'ลิ้นจีน'ให้เป็น 'ลิ้นไทย'" ใน ข้ามขอบฟ้า : 60 ปี ชิเกฮารุ ทานาเบ, ขวัญชีวัน บัวแดง และ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2550)
  • "การรวมศูนย์ศิลปะของการกระจายตัวของศิลปะและการเมือง : จากสภาวะหลังสมัยใหม่สู่สภาวะสมัยใหม่" ใน รัฐศาสตร์สาร 29, ฉบับพิเศษ (2551) 203-274
  • " 'จากประเพณีประดิษฐ์' สู่ความหลากหลายของ 'วัฒนธรรม' อาทิ 'วัฒนธรรมทางสายตา' " ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี / รัฐศาสตร์สาร 30 ปี, เล่ม 4 , (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552), pp. 317-391

ผลงานแปล[แก้]

  • มิเชล ฟูโก,"ว่าด้วยการปกครอง (On Governmentality)," แปลโดย ธเนศ วงศ์ยานนวา ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 4,2 (ธ.ค.2529) 96-103
  • มิเชล ฟูโก้. "ว่าด้วยการปกครอง." แปลโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา ใน วารสารสังคมศาสตร์ 30 (3) 114-120

ผลงานภาษาอังกฤษ[แก้]

  • Kenneth Kim and Thanes Wongyannava, "Perceptions of mother-daughter relations and pubertal development" in The Family System Test FAST: Theory and Application edited by Thomas M. Gehring, Marianne Debry and Peter K. Smith (East Sussex: Brunner-Routledge, 2001), pp. 149-156.
  • "Perceptions of Antisocial and Bullying Behavior in 8- and 14-Year-Old Children in Rural North Thailand" International Journal of Adolescence and Youth Vol.8 (2000) 129-137.
  • "Postmodernization as the Anglo-Americanization of Contemporary French Thought and the Re-Modernization of Postmodern Thai Studies: A Historical Trajectory of Thai Intellectuals", Paper presented at International Conference on Postmodern and Thai Studies, December 13-14, 2003, Surasammanakan Convention Center, Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima, Thailand.
  • Thanes Wongyannava, "Policing the Imagined Family and Children in Thailand: From Family Name to Emotional Love" in Imagining Communities in Thailand Ethnographic Approaches edited by Shigeharu Tanabe (Chiang Mai, Thailand: Mekong Press, 2008), 22-40.
  • Thanes Wongyannava, "Wathakam: The Thai Appropriation of Foucault's "Discourse"" in The Ambiguous Allure of the West: Traces of the Colonial in Thailand edited by Rachel V. Harrison and Peter A. Jackson, (University Press Scholarship Online: September 2011), DOI: 10.5790/hongkong/9789622091214.001.0001[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ตัวตน (Self) ของธเนศ วงศ์ยานนาวา
  2. ตัวตน, หน้า 26
  3. ตัวตน, หน้า 29
  4. Wongyannava, Thanes (1983). Evolving views of "historicism" : Althusser's criticisms of Gramsci. [Place of publication not identified]: [publisher not identified].
  5. สมการชีวิตของผมที่ยาวเป็นอนันต์ | ธเนศ วงศ์ยานนาวา | SINGHDAM TALK | สมการชีวิตที่ยาวเป็นอนันต์ หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อเสียงเรียงนามของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้เขียนหนังสือชื่อดังหลากหลายเล่ม... | By คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | Facebook, สืบค้นเมื่อ 2023-02-20
  6. ธเนศ วงศ์ยานนาวา
  7. https://www.sm-thaipublishing.com/product/25360/on-monotheism
  8. http://www.universitypressscholarship.com/view/10.5790/hongkong/9789622091214.001.0001/upso-9789622091214-chapter-8
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๐๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๓๔, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ผลงาน[แก้]