เทศบาลตำบลเกาะสีชัง

พิกัด: 13°09′48″N 100°48′30″E / 13.16333°N 100.80833°E / 13.16333; 100.80833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลเกาะสีชัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Ko Sichang
ทต.เกาะสีชังตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทต.เกาะสีชัง
ทต.เกาะสีชัง
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลเกาะสีชัง
พิกัด: 13°09′48″N 100°48′30″E / 13.16333°N 100.80833°E / 13.16333; 100.80833
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเกาะสีชัง
จัดตั้ง25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (ทต.เกาะสีชัง)[1]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีดำรงค์ เภตรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด17.3 ตร.กม. (6.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[2]
 • ทั้งหมด4,494 คน
 • ความหนาแน่น259.76 คน/ตร.กม. (672.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05200801
เว็บไซต์www.kohsichang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลเกาะสีชัง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี มีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล และเป็นแหล่งประมงดั้งเดิม[3] ใน พ.ศ. 2563 เทศบาลตำบลเกาะสีชังมีประชากรทั้งหมด 4,494 คน[2]

ประวัติ[แก้]

เดิมเทศบาลตำบลเกาะสีชังเป็นส่วนหนึ่งของตำบลท่าเทววงษ์ (เดิมคือตำบลเกาะสีชัง)[4][5] ในยุครัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงครามได้ประกาศยกฐานะพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าเทววงษ์จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลเกาะสีชัง กิ่งอำเภอเกาะสีชัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2499[6] มีพื้นที่ทั้งหมด 7.96 ตารางกิโลเมตร[7]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุนี้สุขาภิบาลเกาะสีชัง จึงเปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลเกาะสีชัง มาแต่นั้น[1]

ต่อมากระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง โดยทำการยุบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเทววงษ์ซึ่งมีประชากรบนเกาะขามใหญ่ไม่ถึง 2,000 คน รวมเข้ากับเทศบาลตำบลเกาะสีชัง เมื่อวันทื่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551[8] ด้วยเหตุนี้เทศบาลตำบลเกาะสีชังจึงมีพื้นที่ทางทะเลเพิ่ม รวมเป็น 25.61 ตารางกิโลเมตร[7]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลตำบลเกาะสีชังอยู่กลางอ่าวไทย ห่างจากอำเภอศรีราชา 12 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองชลบุรี 39 กิโลเมตร[9] มีพื้นที่ทั้งหมด 25.61 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลท่าเทววงษ์ 7 หมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้[10]

เขตการปกครอง[แก้]

เดิมเทศบาลตำบลเกาะสีชังครอบคลุมเพียงเกาะสีชังเพียงแห่งเดียว แต่หลังการยุบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเทววงษ์รวมเข้ากับเทศบาล ทำให้เทศบาลตำบลเกาะสีชังครอบคลุมเกาะอื่น ๆ ได้แก่ เกาะขามใหญ่ เกาะขามน้อย (บ้างเรียกเกาะผี)[11][12] เกาะสัมปะยื้อ เกาะปรง เกาะร้านดอกไม้ เกาะยายท้าว เกาะค้างคาว และเกาะท้ายตาหมื่น[7][8] โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ชุมชน ดังนี้[13]

  1. ชุมชนบ้านท่าเทววงษ์
  2. ชุมชนบ้านศาลเจ้าเก๋ง
  3. ชุมชนบ้านท่าวัง
  4. ชุมชนบ้านตรอกด่านภาษี
  1. ชุมชนบ้านสะพานคู่
  2. ชุมชนบ้านท่าภาณุรังษี
  3. ชุมชนบ้านเกาะขามใหญ่

ประชากร[แก้]

ชาวประมงบนเกาะสีชัง
ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่

พ.ศ. 2562 เทศบาลตำบลเกาะสีชังมีประชากรทั้งหมด 4,538 คน[2] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองเดิม[14] ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นริมชายฝั่งแถบตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชัง โดยมากประกอบอาชีพประมง ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป[3]

จากเอกสารของจอห์น ครอว์เฟิร์ดราชทูตอังกฤษที่เคยพักบนเกาะสีชังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อ พ.ศ. 2365 ระบุว่าเป็นชุมชนชาวไร่ขนาดเล็ก เพาะปลูกอย่างจำกัดเพราะขาดน้ำ ราษฎรมีทั้งจีนและลาว[15] ดังจะพบว่าชื่อเกาะสีชังอาจจะมาจากภาษาจีนว่า "ซีซัน" แปลว่า "สี่คนทำไร่"[16] แต่หลังการเสด็จไปประทับบนเกาะสีชังของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคหลากหลาย[17] ทำให้บนเกาะสะดวกสบายขึ้น มีประชากรแฝงเพิ่มขึ้น และพัฒนาเป็นเมืองท่า[18] ใน พ.ศ. 2434 มีประชากรราว 1,700 คน[19]

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 95 ศาสนาอิสลามร้อยละ 4 ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 1[10] มีศาสนสถานสำคัญได้แก่ วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร[20] วัดอัษฎางคนิมิตร (ชื่อเดิมวัดเกาะสีชัง)[21] และวัดถ้ำยายปริก[22]

พ.ศ. 2563 มีการเปิดมัสยิดอบูอุบัยดะห์ บิน ยัรรอฮ์ เกาะสีชัง เป็นมัสยิดแห่งแรกบนเกาะสีชัง[23]

วัฒนธรรม[แก้]

ในอดีตเกาะสีชังมีประเพณีที่เรียกว่าไอ้เมฆไอ้หมอก โดยจะให้ชาวบ้านสองคนแต่งตัวเป็นผี แล้วให้ชาวบ้านเอาของมาเซ่นไหว้ เมื่อได้เครื่องเซ่นมาแล้ว ผู้ที่แต่งตัวเป็นไอ้เมฆไอ้หมอกก็จะแย่งกินเครื่องเซ่นนั้น เมื่อกินเสร็จชาวบ้านที่ร่วมพิธีจะเอาไม้ทำเป็นไล่ตีไอ้เมฆไอ้หมอกลงทะเลไป ถือเป็นขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากเกาะ[24]

ส่วนประเพณีที่มีชื่อเสียงที่สุดและยังดำรงอยู่ในปัจจุบันคือประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ จะมีในช่วงสงกรานต์ที่ผู้ชายสามารถอุ้มสาวบนเกาะลงทะเล ถือเป็นกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานร่วมกันอย่างหนึ่ง[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  2. 2.0 2.1 2.2 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2562 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลเกาะสีชัง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 ทะเบียนย่านชุมชนเก่าในพื้นที่ภาคตะวันออก (PDF). สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. p. 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  4. "ประกาศด้วยแผนที่ เขียนที่เกาะสีชัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (32): 284. 15 สิงหาคม 2427.
  5. "ประกาศเก็บเงินค่าอาการน้ำ แก่ชาวเกาะสีชังในเขตร์จังหวัดสมุทปราการ และตำบลเกาะล้านในเขตร์จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ก): 165–166. 4 กันยายน 2470.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะสีชัง กิ่งอำเภอเกาะสีชัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง ฉบับพิเศษ): 6–7. 26 มกราคม 2500.
  7. 7.0 7.1 7.2 "ประวัติเทศบาลตำบลเกาะสีชัง". เทศบาลตำบลเกาะสีชัง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (ตอนพิเศษ 72 ง): 47. 20 พฤษภาคม 2552.
  9. กาญจนา ประเสริฐ (2558). ประวัติศาสตร์เกาะสีชัง : วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง (PDF). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. p. 39. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  10. 10.0 10.1 "ประวัติเกาะสีชัง". เทศบาลตำบลเกาะสีชัง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "เฮี้ยนที่สุดในชีวิตการทำงาน 'ป๋อง กพล' 5 สถานที่สุดสยองเคยไปกันหรือยัง ?". ไทยรัฐออนไลน์. 30 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "เปิดตำนานหลอน เกาะผีที่ชลบุรี แหล่งสุสานฝังศพ วัยรุ่นท้าทายเจอวิญญาณเฮี้ยน". Bugaboo. 4 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 30 ง): 22–25. 22 เมษายน 2541.
  14. กาญจนา ประเสริฐ (2558). ประวัติศาสตร์เกาะสีชัง : วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง (PDF). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. p. 35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  15. กาญจนา ประเสริฐ (2558). ประวัติศาสตร์เกาะสีชัง : วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง (PDF). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. p. 45. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  16. ชุมชนจีนในภาคตะวันออก (PDF). p. 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  17. "การปลูกสร้างที่เกาะสีชัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (18): 156. 2 สิงหาคม 2434.
  18. กาญจนา ประเสริฐ (2558). ประวัติศาสตร์เกาะสีชัง : วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง (PDF). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. p. 51. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  19. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เปิดบ่อน้ำจืดที่เกาะสีชัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (15): 122–123. 12 กรกฎาคม 2434.
  20. "โครงการตามรอยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง : รำลึก 104 ปี วันเสด็จสวรรคต เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี" (PDF). สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์. 4 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-05. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "ปิดทองพระประทานวัดเกาะสีชัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (10): 79. 7 มิถุนายน 2434.
  22. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งวัดในพระพุทธศาสนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (8 ง): 29. 25 มกราคม 2544.
  23. "ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเปิดมัสยิดหลังแรกบนเกาะสีชัง!! ในวันที่ 4-5 ม.ค. 63". มุสลิมไทยโพสต์. 18 พฤศจิกายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. 24.0 24.1 กาญจนา ประเสริฐ (2558). ประวัติศาสตร์เกาะสีชัง : วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง (PDF). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. p. 37. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.