สโมสรฟุตบอลพัทยา ยูไนเต็ด (ก่อตั้ง พ.ศ. 2566)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พัทยา ยูไนเต็ด
Pattaya United Football Club
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลพัทยา ยูไนเต็ด (Pattaya United Football Club)
ฉายาโลมาอหังการ
ก่อตั้ง2015; 9 ปีที่แล้ว (2015) ในนาม อีสานพัทยา

2017; 7 ปีที่แล้ว (2017) ในนาม อีสาน ดีบีชออร่า พัทยา
2019; 5 ปีที่แล้ว (2019) ในนาม พัทยา ดิสคอฟเวอร์รี่ ยูไนเต็ด
2021; 3 ปีที่แล้ว (2021) ในนาม พัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด

2023; 1 ปีที่แล้ว (2023) ในนาม พัทยา ยูไนเต็ด
สนามสนามกีฬาเทศบาลหนองปรือ
ความจุ6,000 ที่นั่ง
ประธานโชคชัย เทศปาน
ผู้ฝึกสอนสุรชาติ สิงห์โหง่น (ชั่วคราว)
ลีกไทยลีก 2
2565–66อันดับที่ 4 (ระดับประเทศ)
(เลื่อนชั้น) เพิ่มขึ้น
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลพัทยา ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยจากเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันทำการแข่งขันอยู่ในไทยลีก 2 โดยมีการเปลี่ยนชื่อสโมสรจากพัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด

ประวัติสโมสร[แก้]

อีสาน พัทยา เอฟซี[แก้]

สโมสรฯ ก่อตั้งเมื่อปี 2557 ในนาม สโมสรฟุตบอลอีสาน พัทยา[1] โดยเริ่มต้นเข้าร่วมการแข่งขัน ของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ คือการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วย ง ในปี 2557 และทำผลงานได้ดี โดยได้สิทธิ์เลื่อนชั้นทำการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วย ค โดยหลังจากจบการแข่งขันฯ ก็ได้แปรสภาพเป็นทีมฟุตบอลเดินสายในแถบ จังหวัดระยอง และ จังหวัดชลบุรี

ในการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วย ค สโมสรทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย

ต่อมาเมื่อมีการยุบ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และแปรสภาพเป็น ฟุตบอล ดิวิชั่น 3 สโมสรได้ส่งลงเข้าร่วมการแข่งขัน ดิวิชั่น 3 2559 โซนภาคตะวันออก โดยในฤดูกาลนั้น สโมสรสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของโซน โดยแพ้ให้กับ สโมสรบ้านค่าย ยูไนเต็ด ในการดวลจุดโทษ

อีสาน ดีบีชออร่า พัทยา[แก้]

ต่อมาในการแข่งขัน ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ในปี 2560 สโมสรได้ส่งเข้าแข่งขันในนาม สโมสรฟุตบอลอีสาน ดีบีชออร่า พัทยา[2]โดยเป็นการรวมกลุ่มของพนักงานของ โรงแรมพัทยา ดิสคอฟเวอรี่ บีช โดยนักฟุตบอลส่วนใหญ่ เป็นพนักงานของโรงแรม ผสมกับนักฟุตบอลที่มีอยู่เดิม และสามารถชนะเลิศการแข่งขันของโซนได้สำเร็จ พร้อมเลื่อนชั้นมาทำการแข่งขันใน ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออก ได้สำเร็จ

พัทยา ดิสคอฟเวอร์รี่ ยูไนเต็ด[แก้]

ต่อมาสโมสร ได้ยื่นเรื่องขอเปลื่ยนชื่อสโมสรกับทาง ไทยลีก โดยได้ส่งเรื่องต่อไปยัง สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 ทาง เอเอฟซี ได้แจ้งมายังไทยลีก ให้อนุมัติคำร้อง ขอเปลื่ยนชื่อสโมสร จาก อีสาน ดีบีชออร่า พัทยา เป็น สโมสรฟุตบอลพัทยา ดิสคอฟเวอร์รี่ ยูไนเต็ด[3] พร้อมกับผ่านเกณฑ์ประเมินคลับไลเซนซิง ซึ่งทำให้สโมสรสามารถแข่งขันในไทยลีก 4 ฤดูกาล 2562

พัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด[แก้]

ก่อนเริ่มต้นไทยลีก 2 ฤดูกาล 2566–67 ทางบริษัท ไทยลีก จำกัด ได้แจ้งผลการพิจารณาว่าสโมสรฟุตบอลเอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ ไม่ผ่านคลับไลเซนซิง จึงทำให้สโมสรพัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด ได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 ในฤดูกาลดังกล่าวแทน[4]

พัทยา ยูไนเต็ด[แก้]

หลังจากที่สโมสรได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2566–67 ต่อมาสโมสรมีการปรับเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นพัทยา ยูไนเต็ด ซึ่งสโมสรพัทยา ยูไนเต็ด เดิมนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อไปเป็นสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ในปี พ.ศ. 2562[5]

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF ไทย ภูวดล ชนกกวินกุล
3 DF ไทย สุพจน์ วงษ์หอย
4 DF ไทย ภรัณยู อุปละ
5 DF บราซิล อเล็กซ์ ฟลาวีอู
6 DF ไทย ทศพร ไอจ้อย
8 MF ไทย ธนพงษ์ บุญทับ
11 FW ญี่ปุ่น เรียวตะ เอ็นโด
13 MF ไทย อรรถพงศ์ กิตติจำรัสศักดิ์
14 MF ไทย พรศักดิ์ ป้องทอง
16 MF ไทย สันติธร ลัทธิรมย์
17 FW ไทย ศุภกิจ เนียมคง
18 GK ไทย อัครชัย ขาวประเสริฐ
19 MF ไทย วิรชัช อำทำ
20 FW ประเทศพม่า ซวนลามมาน
25 MF ไทย นิติธร ศรีประมาณ
29 FW ไทย นรากร คณา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
31 GK ไทย สุรภัทร ว่องพาณิช
32 FW ไทย กิตติวุฒิ บัวลอย
35 GK ไทย สราวุธ กองลาภ
36 GK ไทย ชัยณรงค์ บุญเกิด
37 FW ไทย ภูฟ้า ชื่นกรมรักษ์
39 MF ไทย ภีมวิชช์ ทองนิธิโรจน์
44 FW ไทย สิทธิโชค ภาโส (ยืมตัวจาก ชลบุรี)
47 DF ไทย ศุภกร แสงธรรม
67 DF ไทย วันใหม่ เศรษฐนันท์ (กัปตันทีม)
68 MF ไทย ศรัณย์ภัทร ยิ่งสกุล
86 MF ไทย วรุตม์ วงศ์ดี
87 DF ไทย ก้องภพ ลวดทรง
88 DF ไทย ธนกร สิงห์โคกกรวด
93 FW บราซิล กริชตียาน อเล็กซ์
95 FW บราซิล ชูดิวัง

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ทีมงานชุดปัจจุบัน[แก้]

ตำแหน่ง ชื่อ-สกุล
ประธานสโมสร ไทย โชคชัย เทศปาน
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ไทย สุรชาติ สิงห์โหง่น (ชั่วคราว)
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย ดลยา ดาวเรือง
ผู้จัดการทีม ไทย จักรพรรณ แก้วสังข์ทอง
โค้ชผู้รักษาประตู ไทย สมเกียรติ ปัสสาจันทร์
ผู้ช้วยโค้ชผู้รักษาประตู ไทย สิทธิชัย กลยนีย์
เจ้าหน้าที่วิทยศาสตร์การกีฬา ไทย เกียรติศักดิ์ คงสนิท
ไทย ฉัตรวิช บุญไตรย์
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ไทย ธนิต จันทร์เทียน
ผู้จัดการสนาม ไทย วรวุฒิ สุวรรณสาโรจน์
เจ้าหน้าที่ทีม ไทย ชลธี พึ่งโคกสูง
ไทย ณัชภัทร วีรคุปต์

รายชื่อผู้ฝึกสอน[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

ชื่อ-สกุล สัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติประวัติ
พิพัฒน์ ต้นกันยา ไทย 2563 – มิถุนายน 2564
ศราวุฒิ จันทพันธ์ ไทย มิถุนายน – ตุลาคม 2564
ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย ไทย พฤศจิกายน 2564 – สิงหาคม 2565 ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – โซนภาคตะวันออก
เทิดศักดิ์ ใจมั่น ไทย สิงหาคม 2565 – มิถุนายน 2566 อันดับที่ 4 ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2565–66 (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2)
ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2565–66 – โซนภาคตะวันออก
วิมล จันทร์คำ ไทย มิถุนายน – ตุลาคม 2566
ธีระเวคิน สีหะวงศ์ ไทย ตุลาคม 2566 –มีนาคม 2567
สุรชาติ

สิงห์โหง่น (ชั่วคราว)

มีนาคม 2567 -

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก[6] เอฟเอ คัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ ประตู
2557 ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง. ระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก รอบ 16 ทีมสุดท้าย - - - -
2558 ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค ระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก รอบ 16 ทีมสุดท้าย - - - -
2559 ดิวิชั่น 3 โซนภาคตะวันออก 2 2 0 0 15 1 6 อันดับ 2 - - สัญญา บางประเสริฐ 5
ระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก รอบรองชนะเลิศ
2560 ทีเอ ภาคตะวันออกตอนล่าง 5 4 1 0 18 8 13 ชนะเลิศ - - ศิริพงษ์ มิศิริ 6
ระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ชนะเลิศ
2561 ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออก 27 9 8 10 31 36 35 อันดับ 6 - - ตรีเพชร เครือรัญญา 7
2562 ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออก 28 15 6 7 52 31 51 อันดับ 3 - - นราธิป เครือรัญญา 17
2563–64 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก 16 4 5 7 21 34 17 อันดับ 8 รอบคัดเลือก ไม่เข้าแข่ง พิพัฒน์ ต้นกันยา 6
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก 22 16 5 1 62 14 53 ชนะเลิศ รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง เปดรู เอากุสตู 24
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน 5 4 0 1 11 8 12 อันดับ 3
2565–66 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก 22 16 2 4 32 18 50 ชนะเลิศ รอบแรก รอบคัดเลือกรอบแรก ดานีลู ลอปึช 13
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน 5 3 1 1 9 5 10 อันดับ 2
2566–67 ไทยลีก 2 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1470465866 เก็บถาวร 2016-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ‘อีสานพัทยา’เตรียมเปิดตัวลุยศึกดิวิชั่น 3 - วางงบ 1 ล้าน ตั้งเป้าขึ้นเอไอเอสลีก - ข่าวสด
  2. https://www.matichon.co.th/sport/news_615152 ‘เฮียปิ้ง’ ส่ง อีสาน ดี-บีช ออร่า สปอร์ต ลุยศึกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก - มติชนออนไลน์
  3. https://www.facebook.com/Gucheerputd/photos/a.118038425462912/334567197143366/ อนุมัติแล้ว พัทยา ดิสคอฟเวอร์รี่ ยูไนเต็ด ชื่อใหม่พร้อมลุยไทยลีก 4 ในฤดูกาล 2019 - กูเชียร์พัทยา ดิสคอฟเวอรี่ ยูไนเต็ด
  4. ผลการพิจารณาใบอนุญาตสโมสรในระดับไทยลีก 3 ที่มีสิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2
  5. "ปรับโลโก้-เปลี่ยนชื่อ กำเนิดใหม่"พัทยา ยูไนเต็ด"ลุยไทยลีก 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-18. สืบค้นเมื่อ 2023-07-18.
  6. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]